จังหวัดบึงกาฬมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ทั้งน้ำตก ภูเขา แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก อาจเพราะอยู่ห่างจาก กรุงเทพมหานครไกลถึง 751 กิโลเมตร เด็ดสุดที่เราไม่อยากให้คุณพลาดเลย เพราะเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดก็ว่าได้ นั่นคือ “วัดภูทอก” หรือ “วัดเจติยาคีรีวิหาร” สถานที่ปฏิบัติธรรมสวยงามด้วยธรรมชาติแวดล้อม แฝงไว้ซึ่งเสน่ห์ทางธรรม
Posts Tagged ‘กล้าใหม่ใฝ่รู้’
THE BEST OF PATTANI
เอ่ยชื่อสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้คนก็เกิดความหวาดกลัว ไม่กล้าที่จะมาพื้นที่แห่งนี้ พวกเราเยาวชนคนในพื้นที่จึงอยากนำเสนอมุมมองที่งดงามของจังหวัดพวกเราบ้าง ความจริงแล้วปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีคนหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ เห็นได้จากทั้งสถาปัตยกรรม วิถีชีวิต อาหารการินที่หลากหลาย และนี่คือสถานที่ที่คุณไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนปัตตานี
สายบุรี ไม่สายที่จะรู้จัก
สายบุรีเป็นอำเภอเก่าแก่ของจังหวัดปัตตานี ในอดีตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ มีฐานะเป็นเมืองหนึ่งในจำนวน ๗ หัวเมือง เรียกว่า “เมืองสายบุรี” มาถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้รับยกฐานะเป็นจังหวัดขึ้นกับมณฑลปัตตานี เรียกว่า “จังหวัดสายบุรี” แต่พอถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็ลดฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดปัตตานี เรียกว่า “อำเภอสายบุรี”
“เบอร์อามัส” ว่าวทอง มลายู แห่งวังสายบุรี
“หากว่าฉันตายไป ว่าวเบอร์อามัส ฉันยังอยู่ ไม่เป็นไร
แต่ถ้าไม่มีคนมาสืบทอด ภูมิปัญญา ก็จะหายไป ฉันเสียใจ”
ช่าวทำว่าว กล่าว
คิดถึง…พ่อหลวง ซแรย์ อทิตยา โรงเรียนชาวนา ตามรอยเท้าพ่อ
“ซแรย์ อทิตยา” เป็นภาษาเขมรท้องถิ่น แปลว่า “นาของพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ”
โครงการหลวงอ่างขาง “รอยพระบาทที่ยาตรา นำผาสุกสู่พสกนิกร”
แทบไม่อยากจะเชื่อเลยว่าที่นี่จะเคยเป็นภูเขาหัวโล้นแห้งแล้งและเต็มไปด้วยฝิ่น
ในที่สุดเราก็ถึงดอยอ่างขาง สถานที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
โครงการหลวงแห่งแรกของ “พ่อ” ที่พระราชทานให้แก่พสกนิกรชาวไทย
วิบูลย์ ตั้งยืนยง ชายผู้ปฏิเสธการเข้าเฝ้าในหลวงรัชกาลที่ 9
“คุณเชื่อเรื่องพรหมลิขิตไหมครับ” คนพันล้านคนที่เชื่อว่ามันมีอยู่จริง ผมคือหนึ่งในนั้น พรหมลิขิตที่นำพาให้ชายคนหนึ่งได้ทำในสิ่งที่คุณลุงรัก และพรหมลิขิตนี่เองที่ทำให้เขามีโอกาสเข้าใกล้กับบุคคลผู้เป็นแรงบันดาลใจในชีวิต
รอยยิ้มจากวันวาน ปาฏิหาริย์ของชาวเล
มีคนเคยกล่าวไว้ว่า “เรามักจะเห็นคุณค่าของบางสิ่งในวันที่เราสูญเสียสิ่งนั้นไป” แต่จะเป็นอย่างไร หากสิ่งนั้นคือศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งประเทศ
ทุ่งกุลา (เลิก) ร้องไห้
ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นที่ราบที่มีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน หากเปรียบกับกรุงเทพฯ มีขนาดใหญ่กว่าถึง 2 เท่า ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ และยโสธร
โฮงเจ้าฟองคำ
โฮงเจ้าฟองคำเป็นบ้านทรงล้านนาที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ต้องมาแวะชมเพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างน่าประทับใจ นับตั้งแต่เดินเข้าประตูรั้วสู่บริเวณบ้านที่ร่มรื่นมาจนถึงโฮงเจ้าฟองคำ
TOP 10 หลังสวน สถานที่ท่องเที่ยวห้ามพลาด
นอกจากอำเภอหลังสวนจะมีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมอันโดดเด่นแล้ว สถานที่ท่องเที่ยวของหลังสวนก็สวยงามไม่แพ้ที่ไหนเหมือนกัน
วันนี้พวกเราจะพาไปตะลุยกับสถานที่ยอดฮิต 10 อันดับของหลังสวน ที่เป็นแหล่งรวมตัวของนักท่องเที่ยวหรือคนท้องถิ่นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวัด ภูเขา ทะเล สถานที่สำคัญต่างๆ ที่หลายคนอาจไม่รู้จัก
ชิโนโปรตุกีส รากเหง้า เมืองเก่าภูเก็ต
สถาปัตยกรรมเปี่ยมเสน่ห์เก๋ล้ำด้วยวัฒนธรรม 2 ทวีป คือคำจำกัดความของสถาปัตยกรรมใจกลางเมืองภูเก็ตอย่างตึกชิโนโปรตุกีส ที่ผสมผสานการตกแต่งของชาวจีนและรูปแบบการสร้างสไตล์ยุโรปไว้ได้อย่างลงตัว แต่เพราะต้องการยกย่องโปรตุเกส ชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับภูเก็ต จึงเรียกสถาปัตยกรรมนี้ว่า ชิโน-โปรตุกีส
โพถ้อง รถสองแถว 4.0
ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีไม่เฟื่องฟู คนภูเก็ตสมัยก่อนเดินทางสัญจรทางบกด้วยวิธีลากจูงเช่นใช้ม้าลากเรียก แบ้เชี้ย ใช้คนลากเรียก หล่างเชี้ย แต่เมื่อเวลาเปลี่ยน เครื่องยนต์มาแทนที่แรงงาน เป็นจุดเริ่มต้นของภูมิปัญญาที่ชาวภูเก็ตรู้จักกันดีในชื่อ รถโพถ้อง
เปิดประตู สู่ตำนาน ถิ่นโบราณ “ไทลื้อ”
วันนี้เรามีโอกาสมาเที่ยวที่ชุมชนไทลื้อ บ้านดอนมูล อ. ท่าวังผา จ. น่าน ทำให้ได้รู้จักคุณยายคำหล้า อินปา หรือแม่อุ้ยหล้า ยายหล้า
18 ตุลาคม 2511 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ตรัสว่า “จะไม่มาจังหวัดตราดอีกแล้ว”
เรื่องเล่าและเรื่องราวมากมายข้ามเวลามาอย่างสนุกสนาน จนถึงบทสนทนาหนึ่งที่พวกเราสนใจเป็นพิเศษ คือเรื่องในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยเสด็จฯ มาที่จังหวัดตราด และตรัสว่า “จะไม่มาจังหวัดตราดอีกแล้ว”
เที่ยวสุโขทัย 4 มิติ ลึกๆ ลับๆ สุโขทัยมีอะไรมากกว่าที่คุณคิด
เที่ยวสุโขทัย 4 มิติ ลึกๆ ลับๆ สุโขทัยมีอะไรมากกว่าที่คุณคิด
“ตลาดริมยม 2437”
ในครั้งนี้เราจะพาทุกท่านไปตามล่าหาอาหารอร่อยๆ ไปสัมผัสกับมนตร์เสน่ห์ย้อนยุคแบบชาวอำเภอกงไกรลาศ ที่ตลาดริมยม 2437 ซึ่งจะจัดในทุกวันเสาร์แรกของเดือนเท่านั้น
“สะเร็นน่า” น่าไป ทะเลสาบทุ่งกุลา ทะเลน้ำจืดอีสานใต้
ปัจจุบันทุ่งกุลาเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลก และที่นี่มี “ทะเลสาบทุ่งกุลา” เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำที่ตื่นตาตื่นใจและฮอตฮิตที่สุดในจังหวัดสุรินทร์อีกด้วย
“สะเร็นน่า” น่าไป “เขาพนมสวาย”
รู้หรือเปล่า??? จังหวัดสุรินทร์ก็มีภูเขานะ
ไม่สูงเด่นเหมือนภาคเหนือ แต่มีความสำคัญมาก คือทิวเขาพนมดงรักที่เป็นแนวพรมแดนของไทยกับเพื่อนบ้านกัมพูชา
ภูเขาที่เราภูมิใจนำเสนอคือ เขาพนมสวาย ในพื้นที่ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ค่ะ
“สะเร็นน่า” น่าไป ปราสาทตาเมือน จุดเชื่อมสองแผ่นดิน
“สะเร็นน่า” น่าไป ปราสาทตาเมือน จุดเชื่อมสองแผ่นดิน สุรินทร์ดินแดนร่ำรวยปราสาท เพราะมีปราสาทอยู่ถึง ๓๙ แห่ง สันนิษฐานว่าสมัยขอมเรืองอำนาจ สุรินทร์คงเป็นดินแดนหนึ่งที่อยู่ในเส้นทางการไปมาของขอมโบราณ จึงได้สร้างปราสาทขึ้นตามเส้นทางสัญจร ปราสาทในจังหวัดสุรินทร์เป็นปราสาทขนาดเล็ก ที่โดดเด่นคือปราสาทศีขรภูมิ ที่อำเภอศีขรภูมิ เพราะอยู่ในชุมชน มีความสมบูรณ์ สวยงาม และปราสาทภูมิโปนที่อำเภอสังขะ เพราะเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย มีความสัมพันธ์กับนิทานท้องถิ่นเรื่อง “เนียงเด๊าะทม” (นางนมใหญ่) ธิดากษัตริย์ขอมที่มาพักเพื่อหลบหนีภัยสงคราม แต่สำหรับครั้งนี้จะขอนำเสนอปราสาทริมชายแดนที่เป็นจุดร่วมของคนเดินทางระหว่างคนเขมรต่ำ-เขมรสูงในอดีต ซึ่งก็คือกลุ่มปราสาทตาเมือน กลุ่มปราสาทตาเมือน ประกอบด้วยปราสาท ๓ หลังที่บ้านหนองคันนาสามัคคี ตำบลตาเมืยง
“สะเร็นน่า” น่าดู วิถีชาวกูย หมู่ บ้านช้าง งานช้างสุรินทร์
กลุ่มชาวกวยที่เรียกตนเองว่า “กวยตำแร็ย” (กวยช้าง) นับถือผีปะกำ ต้องแสดงความเคารพและถือปฏิบัติเหมือนถือปฏิบัติศีล ๕ แต่มีข้อห้ามและข้อปฏิบัติหลายข้อมากกว่า โดยเฉพาะตอนเข้าปะกำต้องถือโดยเคร่งครัด ทั้งผู้ออกจับช้างป่า และคนในครอบครัวที่อยู่ทางบ้านก็ต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัดเช่นกัน
“สะเร็นน่า” น่าลอง อร่อยมาก…ขอบอก
อับ อับ … อับ อับ เสียงกบร้อง เมื่อถึงต้นฤดูฝน นอกจากจะเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นทำนาแล้วยังเป็นสัญญาณบอกฤดูกาลอาหารพื้นบ้านจานเด็ดของชาวสุรินทร์กำลังเริ่มขึ้นแล้ว
“สะเร็นน่า”…น่าซื้อ หัตถกรรรมทรงคุณค่า
หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่ชื่นชอบเครื่องประดับหรือกำลังมองหาเครื่องประดับให้กับคนพิเศษสักคน เราขอแนะนำสินค้าเลื่องชื่อของจังหวัดสุรินทร์ คือ “ประคำ” สวย หรือเครื่องประดับประเภท “เครื่องเงิน” ที่ประดิษฐ์ขึ้นด้วยฝีมืออันประณีตของกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่อพยพเข้ามาตั้งแต่เมื่อครั้งยุคแรกตั้งเมืองสุรินทร์
วังหาด ย้อนรอยอดีตกาล ค้นหา “บรรพบุรุษ”
สุโขทัย จังหวัดเล็กๆ ที่มีความโดดเด่นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนาน แต่หากจะจัดโปรแกรมท่องเที่ยวแบบเดิมๆ ในสถานที่เดิม คงไม่น่าตื่นตาตื่นใจเท่าไรนัก พวกเราจึงลองค้นหาสถานที่ใหม่ๆ สุดท้ายก็จบที่หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในอำเภอบ้านด่านลานหอย ที่มีชื่อว่า “บ้านวังหาด”
เที่ยวบ้านฉัน…ชาติตระการ
ถ้ากล่าวถึง อำเภอชาติตระการ หลายคนจะรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ คือ น้ำตกชาติตระการ แต่วันนี้เราไม่ได้พาไปเที่ยวชมน้ำตก แต่เราจะพามารู้จักกับบ้านเราอีกหลายมุม ที่หลายคนยังไม่รู้จัก จะว่าไปแล้ว…พวกเรายังรู้จักไม่หมดเลย บ้านเรามีดีขนาดนี้เลยเหรอ
ตื่นสายก็มีกิน (สายบุรี)
พูดถึงสามจังหวัด สิ่งแรกที่ทุกคนคิดถึงคงหนีไม่พ้นระเบิด ระเบิด และระเบิด แต่ในฐานะเราเป็นคนพื้นที่ อยากประกาศให้ไทยทั้งชาติรับทราบว่าพื้นที่ดังกล่าวยังคงมีวิถีชีวิตและมุมสวยๆ ที่ทุกคนยังไม่รู้อีกเยอะ
เอกกวี วงศ์ข้าหลวง พิพิธภัณฑ์ท่าเตียนที่มีชีวิต
“หนูๆ มาทำรายงานกันใช่ไหม” เสียงอันอบอุ่นของผู้ใหญ่คนหนึ่งดังแว่วมาถึงผม เมื่อหันไปก็พบกับคุณลุงที่ห้อยพระเครื่องเต็มคอนั่งอยู่บนเก้าอี้สำนักงานสีดำ ทำให้เราได้รู้จักกับคุรลุงเอกกวี วงศ์ข้าหลวง หรือที่ชาวท่าเตียนรู้จักในนาม “ลุงคุ้ง”
วิถีนวดแผนโพธิ์ จุฬาลักษณ์ พรหมมานอก
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือที่รู้จักกันในนาม “วัดโพธิ์” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกและเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 ซึ่งเปรียบเป็นมหาวิทยาลัยเปิดสรรพวิชาแห่งแรกของไทยที่รวมเอาภูมิปัญญาไทย จิตรกรรม และสถาปัตยกรรมไทย เพื่อไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานได้เรียนรู้กันอย่างไม่รู้จบสิ้น
คุยกับต้นตำรับก๋วยเตี๋ยวพระร่วง
เมนูนั้นมีชื่อว่า “ก๋วยเตี๋ยวพระร่วง” หรือที่เรียกกันว่า “ข้าวเปิ๊บ” นั่นเอง
และหากจะถามหาต้นตำรับแล้วละก็ ก็คงเป็นเจ้าไหนไปไม่ได้นอกเสียจาก “ข้าวเปิ๊บยายเครื่อง”
ท่าเตียน
ท่าเตียน ชุมชนท่าน้ำที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน สะท้อนวิถีชีวิตที่ผูกพันกันระหว่างวัด วัง ชุมชน และตลาด เป็นศูนย์กลางการค้าทางเรือมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เริ่มจากมีชาวจีนเข้ามาค้าขายเป็นอันดับแรกๆ จนกระทั่งในสมัยรัตนโกสินทร์ที่เริ่มมีการก่อสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้น จึงกลายเป็นชุมชนตลาดขนาดใหญ่ เรียกว่า “ตลาดท้ายวัง” หรือ “ตลาดท้ายสนม”
“ลอง” ปั่นจักรยานพิชิตเขานางหงส์
“ชีวิตจะยืนยาว หนุ่มสาวจะยืนยง จงหมั่นออกกำลังกาย”
จากคนไม่กี่คน ได้ชักชวนคนในชุมชนให้หันมาออกกำลังกาย รวมกลุ่มกันนานนับ 6 ปี จนกลายเป็น “ทับปุดไบค์”
“ชม” วัดราษฎร์อุปถัมภ์
หากหัวใจของพุทธศาสนิกชน คือ พระพุทธศาสนาการสักการบูชาและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาจึงเป็นหน้าที่ซึ่งพึงปฏิบัติ
กล่าวโดยพระครูถิรธรรมรัต เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
“ไม้สืบไม้ คนสืบคน ฟ้อนเจิง บนวิถีแห่งความเปลี่ยนแปลง”
ตึง ต๊ะ ตึงตึง ตึง ตึง ต๊ะ ตึงตึง ตึง ตึง”
จังหวะกลองอันครื้นเครงเร้าใจเป็นเสียงของเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่ประกอบการแสดงอันแฝงไปด้วยพลัง นั่นก็คือ “ฟ้อนเจิง”
ท้าให้ลอง “ลูกชก” ของดีเมืองพังงา
พืชที่ถือได้ว่าเป็นของดีขึ้นชื่อประจำท้องถิ่นของพังงา นั่นคือ “ลูกชก”
หลายคนอาจสงสัยว่าลูกชกคืออะไร รสชาติของมันเป็นอย่างไร
คำถามนานาต่างเข้ามาเมื่อได้ยินชื่อของมัน
“ตำบลใบตอง” อันดับ 1 ประเทศไทย
กล้วยนั้นถือว่าเป็นพืชที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์อย่างแท้จริง เราสามารถนำเอาทุกส่วนของต้นกล้วยมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหัวปลีที่ใช้ประกอบอาหาร ผลกล้วยที่ใช้รับประทาน ก้านใบที่ใช้ทำปอจากเชือกกล้วย และที่ขาดไม่ได้คือพระเอกของงานนี้ นั่นก็คือ “ใบตอง” นั่นเอง
ประเพณีวิถีพวน บ้านหาดเสี้ยว
บรรพบุรุษชาวชุมชนบ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย นั้น สืบเชื้อสายมาจากชาวไทยพวน ซึ่งเป็นกลุ่มคนชาวลาวที่อพยพมาจากเมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ประเทศชนลาว เข้ามาประเทศไทยทางจังหวัดน่าน ผ่านจังหวัดแพร่และอุตรดิตถ์ มุ่งหน้าสู่เมืองสวรรคโลก
บางขลัง ไม่สิ้นมนตร์ขลัง
รอบๆ ตัวเมืองบางขลัง มีซากโบราณที่เป็นวัดร้าง เจดีย์ร้างตั้งเป็นระยะเรียงรายอยู่รอบพื้นที่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ได้ถูกขุดค้น ทำลายจนเกือบสูญสิ้นสภาพไป เกือบทั้งหมดแล้วเช่นเดียวกัน
วัดยานนาวา วัด…หรือยานนาวา
ในวัดมีเรือด้วยเหรอ ?
เป็นประโยคที่หลาย ๆ คนชอบถามเมื่อก้าวพ้นประตูวัดบานเบ้อเร่อเข้ามา
วัดยานนาวามีสำเภาเจดีย์เป็นเหมือน “ซิกเนเจอร์”
เมื่อเราเดินไปซื้อดอกไม้มาไหว้พระ
คุณยายแม่ค้าบอกกับเราว่า “ยินดีต้อนรับขึ้นสู่เรือสำเภาจ้า”
หยูง้วน ร้านอาหารที่เชื่อมชีวิตนับร้อยเข้าด้วยกัน
“หิวแล้วไปกินอะไรดี ตังค์ก็ไม่มี” น่าจะเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนเคยคิดตอนช่วงเวลาอาหาร พอคิดแล้วท้องก็ส่งเสียงประท้วง
หากอยู่สาธร คำตอบของหลายๆ คนก็น่าจะเป็น ”หยูง้วนโภชนา” ร้านก๋วยเตี๋ยวที่ราคาสบายกระเป๋า อาหารอร่อย มีคุณภาพ ที่แค่เดินไปใกล้ๆ ก็ส่งกลิ่นมาเชิญชวนแล้ว
Take Me To Temple “สู่จุดกำเนิดความรุ่งเรือง”
เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดขอนแก่น หลายๆคนคงนึกถึงแต่ความศิวิไลซ์ หากลองมองลึกลงไปให้ถึงแก่น ถึงจุดเริ่มต้นของความรุ่งเรือง หรือมองลงไปให้เห็นถึงความงดงามที่ซ่อนอยู่ภายใต้สถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวขอนแก่นจะพบว่ามีวัดที่มีความสำคัญและมีชื่อเสียงในจังหวัดขอนแก่นมากมายหลายแห่ง
บ้านฮวก พักกายพักใจในอ้อมกอดแห่งขุนเขา
บ้านฮวกเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในอำเภอภูซาง ที่ซ่อนตัวอยู่ในอ้อมกอดของภูเขาทางทิศตะวันออกของจังหวัดพะเยาติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ยังคงรักษาวิถีชีวิตและประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ รวมทั้งสานต่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันของคนไทย-คนลาว
หนมดู@สงขลา
“หนมดู๋” คืออะไร หนมดู๋มาจากไหน? ตอนนี้กำลังสงสัยกันอยู่ใช่ไหมคะ คำว่า ขนมดู๋ คือ ชื่อขนมสำเนียงคนใต้ แต่สำหรับคนภาคกลางที่ไม่คุ้นชินกับคำนี้ จะเรียกกันว่า “ขนมดู” ขนมดูเป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดสงขลา
Kolae Boat มาสเตอร์พีซแห่งท้องทะเล
แสงแดดยามเช้าตรู่สาดส่องสะท้อนผิวน้ำเป็นประกายระยิบระยับ นางฟ้าในมหาสมุทรแล่นผ่านไปอย่างช้าๆ ราวกับภาพสโลว์โมชั่น ความรู้สึกเหมือนกำลังมองภาพวาดของโคล้ด โมเนต์ เป็นภาพที่แสนประทับใจ ซึ่งความสวยงามแบบนี้หาดูได้แค่ในท้องทะเลแถบอ่าวไทยเพียงเท่านั้น
K of Dye – สะเก็ดธรรม
“ผ้าครามได้ขึ้นชื่อว่า #ราชาแห่งสี เพราะไม่มีสีชนิดใดที่มีความสัมพันธ์กับขนมธรรมเนียมและประเพณี เทียบเท่ากับสีคราม”
เมืองสกลเฮานี้ แหล่งของดีมีหลายอย่าง
ในปัจจุบัน จังหวัดสกลนครยังได้รับการขนานนามว่าเป็น “แอ่งธรรมะแห่งอีสาน” ดังเห็นหลักฐานได้จากวัดวาอารามเก่าแก่ที่มีอยู่มากมาย แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่มีมาตั้งแต่ครั้งอดีต เ
แพร่งภูธร : คนในอยากบอก คนนอกอยากกิน
เราคิดถึงคนข้างใน คนข้างในฝากถึงคนข้างนอก
ความรู้สึกผ่านรสชาติอาหารแสนอบอุ่น
จักสานย่านลิเภา
การทำย่านลิเภา มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบันก็ประมาน 23 ปีแล้ว คนที่นี่สานย่านลิเภาเป็นอาชีพเสริมรองจากการกรีดยางและทำนา โดยมี ป้าลั่น ชูศรี ผู้ริเริ่มสานย่านลิเภาเป็นคนฝึกสอน จุดประสงค์ที่ก่อตั้งกลุ่มจักสานย่านลิเภานี้ขึ้นมาเพราะอยากให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยใช้เวลาว่างหลังจากการทำสวนยาง
ปลากุเลาเค็มกางมุ้ง Organic Food and Save the Sea
ตอนนี้พูดได้ว่าปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์มาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานโครงการพระราชดำริการทำปะการังเทียมมาช่วย
สามล้อเชื่อมใจ วิถีชีวิตบนความต่างของวัฒนธรรม
ท่ามกลางกระแสข่าวตามหน้าสื่อต่างๆ ที่นำเสนอเรื่องราวความรุนแรงของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ บางครั้งก็ดูรุนแรงเกินกว่าความเป็นจริง ทำให้คนต่างจังหวัดต่างเกิดความหวาดกลัวและไม่กล้าที่จะย่างก้าวเข้ามาในพื้นที่แห่งนี้
เอาใจสายบุญ..ไหว้พระชมความงามวัดดังเมืองสุโขทัย
มาเยือนดินแดนประวัติศาสตร์ชาติไทยทั้งที โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุโขทัยที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องวัดวาอารามที่สง่างามและมีคุณค่าในทุกยุคทุกสมัยแล้วนั้นไซร้ ก็ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ที่จะ แวะเวียนมาไหว้พระขอพร หรือชื่นชมความงามของวัดต่างๆ ในจังหวัดสุโขทัย
ทริปเปี่ยมสุขที่ “บ้านบัว”
เอ้กอีเอ้กเอ้ก เสียงไก่ขันยามเช้าตรู่ปลุกให้ฉันตื่นจากความฝัน เช้านี้หนาวเหน็บจนไม่อยากลุกออกจากผ้าห่มเสียจริงๆ แต่วันนี้เรามีนัดสำคัญรออยู่… เที่ยว “บ้านบัว” คิดแล้วก็ตื่นเต้นกว่าการลุ้นกดบัตรคอนเสิร์ต
เฉลิมหล้ากราฟฟิตี้
กราฟฟิตี้ ภาพวาดตามกำแพง ถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ไร้ระเบียบ ทำลายของสาธารณะ และสกปรกรุงรังในสายตาคนไทยมานาน จนทำให้มีเราอคติกับศิลปะรูปแบบนี้ แต่มีชุมชนหนึ่งใกล้ๆ สยามล้มความคิดนี้และเปิดให้นักเขียนกราฟฟิตี้เข้ามาสร้างสรรค์ผลงาน
MADE IN KOKKRAI สปาโคลนร้อนที่ไม่เหมือนใคร
ใครจะนึกบ้างว่าดินสีดำคล้ำที่เหมือนกับความมืดมนในชีวิต เมื่อเราเดินย่ำลงไปมันก็จะดูดเราให้ตกอยู่ในวังวนของการไร้ทางออก เหมือนเป็นอุปสรรคที่เหนี่ยวรั้งยากที่จะหลุดพ้น แต่มีชุมชนหนึ่งที่เห็นคุณค่าของโคลน เปลี่ยนจุดด้อยให้กลายเป็นจุดเด่น จึงหยิบมาสร้างประโยชน์ จนกลายเป็นจุดแข็งและสามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนเป็นกอบเป็นกำ และได้รับการขนานนามว่า “หมู่บ้านโอทอปท่องเที่ยว”