CHUANTANI CLOTH ผ้าไหมมัดหมี่ลายจวนตานี
นุ่งจวนตานีสีตอง ยกเป็นตะเกียงทองเฉิดฉาย
พระนุ่งให้เฟื้อยเลื้อยลอยชาย คาดปั้นเหน่งสายลายทองเรือง”
ดาหลัง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ท่ามกลางกระแสข่าวตามหน้าสื่อต่างๆ ที่นำเสนอเรื่องราวความรุนแรงของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ บางครั้งก็ดูรุนแรงเกินกว่าความเป็นจริง ทำให้คนต่างจังหวัดต่างเกิดความหวาดกลัวและไม่กล้าที่จะย่างก้าวเข้ามาในพื้นที่แห่งนี้ ขณะที่คนในพื้นที่เองก็ยังใช้ชีวิตตามปกติ ไปเรียนหนังสือไปทำงาน และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขไม่ว่าจะเป็นคนพุทธ จีน หรือมุสลิม เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็แค่บางพื้นที่เท่านั้นเอง
ภาพหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นการอยู่ร่วมกันได้เป็นอย่างดีของคนต่างศาสนิกในจังหวัดปัตตานี เคยโด่งดังในหน้าโซเชียลมีเดียเมื่อหลายปีก่อน คือภาพของคนมุสลิมที่ปั่นสามล้อถีบ เพื่อพาพระรูปหนึ่งไปบิณฑบาตในทุกๆเช้า ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนที่นี่มาตั้งแต่อดีตและปัจจุบันก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ สะท้อนให้เห็นถึงความรักความผูกพัน และความไว้เนื้อเชื่อใจกันของคนต่างศาสนิกต่างจากข่าวคราวที่เราได้ยินมาอย่างสิ้นเชิง
นายมะ แวหามะ หรือ เปาะจิมะ ชายอายุ 70 ปี(เปาะจิเป็นภาษามาลายูใช้เรียกชายสูงอายุ) เป็นคนไทยมุสลิมที่มีอาชีพปั่นสามล้อถีบ เป็นเวลาเกือบ 40 ปีแล้วที่เปาะจิมะประกอบอาชีพนี้ ซึ่งในปัจจุบันเราจะพบเห็น
คนปั่นสามล้อถีบน้อยมาก เพราะรายได้ที่ได้รับจากการปั่นสามล้อถีบไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิต คนรุ่นใหม่จึงไม่นิยมปั่นสามล้อถีบกัน จะมีให้เห็นก็เฉพาะคนวัย 60-70 ปี ที่ประกอบอาชีพนี้ เปาะจิมะ เล่าว่า
“ในอดีตก่อนที่รถตุ๊กตุ๊ก และรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างจะเข้ามาให้บริการ การเดินทางของชาวปัตตานีส่วนใหญ่นิยมนั่งสามล้อพ่วง จึงมีผู้โดยสารทั้งวันทั้งคืน แต่เดี๋ยวนี้มีเฉพาะที่ตลาดเช้าเท่านั้น และผู้โดยสารส่วนใหญ่ก็เป็นลูกค้าประจำ พ่อค้าแม่ค้าในตลาดบ้าง ลูกค้าประจำที่มาซื้อหาอาหารบ้าง รวมทั้งหลวงพ่อวีระ (พระวีระ จิตตธัมโม) ด้วย”
ปัจจุบันอาชีพนี้สร้างรายได้ให้ไม่มากนัก เพียงวันละประมาณ 100 – 200 บาท หากมีลูกค้าขาจรมาให้ปั่นชมเมือง วันนั้นก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นหน่อย การปั่นสามล้อก็เหมือนกับเราได้ออกกำลังกายไปด้วย สุขภาพ
เราก็จะแข็งแรง อีกทั้งเรายังได้มาพบปะพูดคุยกับเพื่อนสามล้อด้วยกัน พบปะพูดคุยกับผู้โดยสารที่ใช้บริการกันมานานตั้งแต่รุ่นหนุ่มสาว” เปาะจิมะเล่าพร้อมรอยยิ้ม
หลังจากนั้นเราได้ถามถึงภาพสุดแสนประทับใจที่ปรากฏตามหน้าสื่อต่างๆ ระหว่างเปาะจิมะกับพระวีระจิตตธัมโมหรือ หลวงตาวีระ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร? เปาะจิมะเล่าให้เราฟังว่า “ก่อนหน้านี้จะมีบังเซ็ง คนปั่นสามล้อถีบอีกคนที่คอยรับส่งหลวงตาวีระ จากวัดตานีนรสโมสร หรือวัดกลาง ออกบิณฑบาตในชุมชน และตลาดละแวกใกล้เคียงอยู่เป็นประจำทุกวัน แต่หลังๆมานี้บังเซ็งแกป่วย และอายุแกก็มากแล้ว ร่างกายไม่ค่อยจะแข็งแรง เลยปั่นสามล้อต่อไม่ไหว ตนเองจึงรับอาสาทำหน้าที่นี้แทน เพราะเห็นใจหลวงตาวีระ แกก็อายุมากแล้ว เดินเหินไม่ค่อยสะดวก” เปาะจิมะอธิบายต่อว่า
“เราทุกคนเป็นคนไทยเหมือนกัน ต่างกันก็ตรงแค่การนับถือศาสนา อย่าให้สิ่งนี้มาแบ่งแยกมิตรภาพความรู้สึกดีๆที่มีให้แก่กัน ในสมัยศาสดามูฮัมหมัด(ศาสดาของอิสลาม) เอง ท่านก็สอนให้เราทำดีกับทุกคน ไม่แบ่งแยกว่าศาสนาไหน ขนาดคนทำไม่ดีกับท่าน ท่านยังทำดีตอบแทนกลับไป เราต้องปฏิบัติตามคำสอนของท่านให้สมบูรณ์ หากทุกคนปฏิบัติตามคำสอนของแต่ละศาสนาได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์แล้ว โลกนี้ก็คงจะสงบสุขขึ้น อีกอย่างหนึ่งเมื่อคนไทยเกิดไปเสียชีวิตอยู่ต่างประเทศ เขาก็จะบอกว่าเป็นคนไทยที่เสียชีวิต ไม่ใช่คนอิสลามหรือคนพุทธ เพราะเราทุกคนคือคนไทยเหมือนกัน
ตอนนี้ตนรู้สึกว่าสนิทและผูกพันกับหลวงตาวีระมาก เพราะหลวงตาเป็นคนใจกว้าง ช่วยเหลือเกื้อกูลตลอด แบ่งปันสิ่งของ และตอบแทนค่าเหน็ดเหนื่อยจากการปั่นสามล้อรับส่ง ส่วนใครจะมองว่าไม่เหมาะสม มาช่วยเหลือคนต่างศาสนาโดยเฉพาะกับพระสงฆ์ด้วยนั้น เรามองว่าไม่เกี่ยวกัน เราแค่ช่วยเหลือเขา ปั่นสามล้อรับส่งไม่ได้กราบไหว้บูชา จึงไม่ได้ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม”
นับเป็นภาพความประทับใจที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งขัดแย้งกับข่าวที่สื่อต่างๆพากันนำเสนอออกมา คนปัตตานีทุกคนรู้สึกดีใจและภาคภูมิใจที่ได้เห็นภาพดีๆแบบนี้ ความผูกพันที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่เฉพาะสองคนนี้เท่านั้น แต่นับเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวในอดีต ที่ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ไม่มีการแบ่งแยก หรือขัดแย้งเพียงเพราะการนับถือศาสนาที่ต่างกัน…
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เสริมสร้างเยาวชนไทยให้เติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
โรงเรียนอามานะศักดิ์ 1
นุ่งจวนตานีสีตอง ยกเป็นตะเกียงทองเฉิดฉาย
พระนุ่งให้เฟื้อยเลื้อยลอยชาย คาดปั้นเหน่งสายลายทองเรือง”
ดาหลัง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
เสียงไก่ขันในโทรศัพท์ปลุกให้ลุกขึ้นมาชื่นชมบรรยากาศยามเช้าตรู่ หยิบ รองเท้ามาสวมให้กระชับ ผูกเชือกให้แน่นพร้อมที่จะออกไปสัมผัสอากาศสดชื่น และไม่พลาดที่จะแวะมา “ตลาดเช้าเทศบาลตำบลทับปุด” เพื่อเติมพลังด้วยมื้อเช้า
ท่ามกลางความร้อนของอากาศในกรุงเทพมหานคร มีร้านไอศกรีมรสชาติไทยๆ ซ่อนอยู่ในตึกแถวเล็กๆ ในชุมชนแพร่งภูธร ที่นี่คือร้านไอศกรีมที่ทำให้เราได้รู้จักกับคุณป้านัฐพร รุ่งโรจน์สุวรรณ “พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตแห่งแพร่งภูธร”
บ้านเขาตำหนอน ตำบลถ้ำทองหลาง อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เป็นสถานที่ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดพังงาเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีขมิ้นที่ขึ้นชื่อ เป็นที่ยอมรับถึงความมีคุณภาพและปลอดภัยไร้สารเคมี
© 2018 All rights Reserved.