K of Dye - สะเก็ดธรรม

#K(ing)OFDYE

“ผ้าครามได้ขึ้นชื่อว่า #ราชาแห่งสี เพราะไม่มีสีชนิดใดที่มีความสัมพันธ์กับขนมธรรมเนียมและประเพณี เทียบเท่ากับสีคราม”

สะเก็ดธรรม คืออะไร ?

หลายคนคงตั้งคำถามอยู่ในใจและคงสงสัยว่า สะเก็ดธรรมหมายถึงอะไร

เกือบทุกจังหวัดที่มีการทอผ้าจะมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แต่จังหวัดสกลนครยังไม่มีลายผ้าเป็นของตนเอง นายทวีป เทวิน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครจึงให้กลุ่มทอผ้าต่างๆ ในจังหวัดคิดค้นและส่งลายผ้าเข้าประกวด ซึ่งกลุ่มทอผ้าบ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน ได้รับพิจารณาชนะการประกวด ให้เป็นลายผ้าประจำจังหวัด

เดิมมีชื่อว่า “ลายสะเก็ดแลน” ซึ่งเป็นคำไม่เป็นมงคลจึงเปลี่ยนเป็น “สะเก็ดธรรม”

แม่บ้านสามัคคี

กว่าจะมาเป็นผ้าครามที่มีชื่อเสียงนั้น ต้องผ่านเวทีการตัดสินมานับไม่ถ้วน ซึ่งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสามัคคี ได้มีการผลิตผ้าฝ้ายย้อมครามเป็นสินค้าหลักของกลุ่มและยังมีการฟื้นฟูส่งเสริมให้สมาชิกผลิตผ้าฝ้ายย้อมคราม

คุณพัชรินทร์ แก้วฝ่าย ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสามัคคี เล่าว่ากว่าจะมาเป็นผ้าครามที่สวยงามนั้นได้ผ่านกรรมวิธีหลายอย่าง ซึ่งก็ยากพอสมควรเพราะต้องใส่ใจตั้งแต่การปลูกการเก็บเกี่ยว การหมัก จนถึงการนำผ้าไปย้อม

เนื้อผ้าที่ใช้ในปัจจุบันนั้นทางกลุ่มแม่บ้านของเธอใช้ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าฝ้ายมัดหมี่ที่มีเนื้อผ้าที่นุ่มใส่สบายไม่ร้อน และยังมีผ้าอีกชนิดคือผ้าฝ้ายดิบ  หากนำไปหมักกับน้ำครามแล้วจะทำให้เนื้อผ้านุ่มเย็นสบายเช่นเดียวกันกับผ้าฝ้ายมัดหมี่

คุณพัชรินทร์บอกเคล็ดลับในการดูผ้าครามอย่างง่าย คือ กลิ่นของผ้าคราม  

ผ้าผืนไหนที่หมักด้วยน้ำต้นครามนั้น จะมีกลิ่นเฉพาะที่หอมไม่เหมือนผ้าที่ย้อมสีทั่วไป  อีกทั้งผ้าครามนี้ยังช่วยกันแสงอัลตราไวโอเล็ต  และเมื่อเราสวมใส่ผ้าย้อมคราม ทำให้ลดชะลอการเกิดเม็ดสีในเนื้อผ้าอีกด้วย

คุณพัชรินทร์บอกอีกว่า การผลิตของกลุ่มได้คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม จนได้รับมอบคำรับรองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือที่เรียกกันว่ารางวัล G และได้เกียรติบัตรประเภท การผลิตสิ่งทอขนาดเล็ก ระดับดีมาก (G เงิน) จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

#ผ้าคราม

การปลูกใบคราม

การปลูกต้นครามนั้นมักจะปลูกช่วงฤดูฝน ประมาณปลายเดือนเมษายน และในช่วงฤดูแล้ง ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม

ต้นครามมี 2 ชนิดได้แก่ ต้นครามน้อย และต้นครามงอ เมื่อนำไปหมักจะให้สีที่แตกต่างกัน  ต้นครามน้อยจะ

ให้สีที่ครามอ่อนส่วนต้นครามงอจะให้สีครามเข้ม

การเลือกใบคราม

ในการเก็บเกี่ยวครามจะตัดเฉพาะแขนงเก็บใบรักษาต้นครามไว้ในฤดูหนึ่งใช้เวลาประมาณ 60 วัน เพื่อให้ต้นครามได้พักฟื้น เจริญเติบโตผลิใบใหม่ ใช้วิธีการเก็บเกี่ยวจากหัวมาท้ายหมุนเวียกันไปในระยะเวลา 60 วัน หากต้องการไว้เป็นสายพันธุ์จะทิ้งเอาไว้ให้ดอกแก่จนกลายเป็นฝัก เมื่อฝักแก่จะเก็บเกี่ยวฝักตากให้แห้งอีกครั้ง เอาไว้สำหรับขยายสายพันธุ์ของต้นครามในปีต่อไป

การย้อมสีคราม

สีครามในน้ำย้อม แทรกเข้าไปอยู่ภายในโครงสร้างของเส้นใยได้ดีเมื่อยกเส้นใยพ้นน้ำย้อม สัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ  สีครามจะถูกออกซิไดส์เป็นสีน้ำเงิน (indigo blue) ซึมอยู่ภายในเส้นใย เส้นใยที่ย้อมติดสีครามได้ดีจึงเป็นเส้นใยเซลลูโลสที่มีหมู่-OH ในโครงสร้าง โดยเฉพาะใยฝ้าย

ดังนั้นก่อนย้อม ต้องทำความสะอาดเส้นใย และทำให้เส้นใยเปียกด้วยการแช่น้ำสะอาด เมื่อนำไปย้อม สีครามแทรกเข้าเส้นใยสม่ำเสมอ ส่วนการติดสีของใยไหม ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโปรตีน

การทอผ้าคราม

1.สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง

2.เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยกออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อยๆ

3.การกระทบพื้นฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ่าที่แน่นหนา

4.การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้วยยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะ

โครงการกล้าใหม่…ใฝ่รู้

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เสริมสร้างเยาวชนไทยให้เติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Writer/ Photographer

นิตยสารสกลนคร โดย  โรงเรียนสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

นิตยสารสกลนคร โดย โรงเรียนสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

Relate Place

Travel

5 อาหารเด็ดที่ห้ามพลาดในตลาดเช้าทับปุด จ. พังงา

เสียงไก่ขันในโทรศัพท์ปลุกให้ลุกขึ้นมาชื่นชมบรรยากาศยามเช้าตรู่ หยิบ รองเท้ามาสวมให้กระชับ ผูกเชือกให้แน่นพร้อมที่จะออกไปสัมผัสอากาศสดชื่น และไม่พลาดที่จะแวะมา “ตลาดเช้าเทศบาลตำบลทับปุด” เพื่อเติมพลังด้วยมื้อเช้า

Travel

ขมิ้นดี เครื่องแกงดี ที่บ้านเขาตำหนอน ทับปุด พังงา

บ้านเขาตำหนอน ตำบลถ้ำทองหลาง อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เป็นสถานที่ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดพังงาเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีขมิ้นที่ขึ้นชื่อ เป็นที่ยอมรับถึงความมีคุณภาพและปลอดภัยไร้สารเคมี

Eat

คุณป้านัฐพร รุ่งโรจน์สุวรรณ เจ้าของร้านไอศกรีมรสไทยที่ลูกพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปเสวย

ท่ามกลางความร้อนของอากาศในกรุงเทพมหานคร มีร้านไอศกรีมรสชาติไทยๆ ซ่อนอยู่ในตึกแถวเล็กๆ ในชุมชนแพร่งภูธร ที่นี่คือร้านไอศกรีมที่ทำให้เราได้รู้จักกับคุณป้านัฐพร รุ่งโรจน์สุวรรณ “พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตแห่งแพร่งภูธร”

Travel

ศาสตร์ภูมินทร์ สินสุโขทัย โครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย

หากท่านต้องการเดินทางมาเยือนสวรรคโลก แต่ไม่ต้องการเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟ อย่าวิตกกังวลไปครับ เพราะสวรรคโลกมีสนามบินและเที่ยวบิน บินตรงจากบางกอกสู่เมืองสวรรค์แห่งนี้ ที่พร้อมให้บริการผู้ที่ต้องการมาเยือนอย่างสะดวกสบาย