เที่ยวสุโขทัย 4 มิติ ลึกๆ ลับๆ สุโขทัยมีอะไรมากกว่าที่คุณคิด

1. วัดชมชื่น “ย้อนรอยโบราณสถาน เล่าตำนานสู่กันฟัง”

วัดชมชื่นเป็นหนึ่งในวัดที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม ห่างจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมาทางทิศตะวันออกประมาณ 400 เมตร  โบราณสถานที่สำคัญคือเจดีย์ประธานทรงกลม ก่อด้วยศิลาแลงขนาด 6 ห้อง มีวิหารอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน ด้านหลังมีซุ้มจรนัมซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก

สิ่งสำคัญของโบราณสถานที่วัดชมชื่น คือโครงกระดูกของมนุษย์โบราณที่ตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี้ก่อนชุมชนยุคสุโขทัย จำนวน 15 โครง ระดับลึก 7-8 เมตร กำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 ปัจจุบันรักษาสภาพของหลุมขุดค้นโครงกระดูกและซากโบราณสถาน โบราณวัตถุไว้โดยสร้างอาคารคลุมหลุมทั้งหมด และเปิดให้เข้าชมในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง

เนื่องด้วยในบริเวณวัดเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนสมัยโบราณ คุณเกรียงศักดิ์ ใจดี เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เล่าว่า “สมัยก่อนนั้นชาวบ้านร่อนทองบริเวณแอ่งแม่น้ำยมในช่วงน้ำแล้ง เจอแก้วแหวนเงินทอง หากันได้เป็นเข่งๆ บ้างก็นำไปขาย บ้างก็เก็บไว้ และยังขุดหาไห หม้อสังคโลก สมบัติต่างๆ ที่คนสมัยก่อนเคยฝังเอาไว้ แต่เมื่อกรมศิลปากรเข้ามาบูรณะก็ห้ามไม่ให้ใครเข้ามาขุดอีก” แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีโจรแอบเข้ามาขุดสมบัติ

“แถวนี้มีเจ้าที่เจ้าของ ใครมาทำอะไรไม่ดีก็เจอหมด ขนหัวลุกไปตามๆ กัน” 

สถานที่เก่าแก่มีประวัติยาวนานเช่นนี้ คงไม่แปลกที่จะมีเรื่องลี้ลับให้เล่าสู่กันฟังเสมอ

2. Art Gallery มนตร์เสน่ห์ในตำนาน บ้านศิลปะศิลาแลง

บ้านศิลปะศิลาแลง (Art Gallery) ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านพระปรางค์ ซึ่งอยู่ติดเขตอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมมากว่า 17 ปี เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะของชุมชนและผู้ที่สนใจงานด้านศิลปะ  ผู้ก่อตั้งคือคุณอนุสรณ์ และคุณสุปรีย์ อ่อนละมูล ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งาน รวบรวมผลงาน จัดแสดงงาน และเผยแพร่ ภายในอาคารบ้านศิลปะศิลาแลง

งานศิลปะที่จัดแสดงมีภาพวาดจากจิตรกรหลายท่าน ผลงานเน้นการสื่ออารมณ์และความรู้สึก รวมถึงการประยุกต์เข้ากับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในอดีต จัดแต่งด้วยไฟสีส้ม และห้องสไตล์เก่าแบบโบราณ ให้ความรู้สึกอบอุ่นและมีมนตร์ขลัง นอกจากนั้นยังมีห้องจัดแสดงของใช้สมัยโบราณของเมืองศรีสัชนาลัย อาทิ เครื่องสังคโลก เหรียญกษาปณ์ ใบลาน มีดโบราณ เป็นต้น

คุณสุปรีย์ถือหลักการว่า “เจอเก็บ แต่ไม่ขุด” เพื่ออนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุให้คงอยู่ถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

บ้านศิลปะศิลาแลงนับเป็นศูนย์รวมของงานศิลปะจากจิตรกรหลายรุ่น หลากหลายสถาบัน ที่เชื่อมโยงสายสัมพันธ์ระหว่างกัน จนนำมาสู่แนวคิดการเผยแพร่งานศิลปะแก่เยาวชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบๆ อุทยานโดยไม่คิดค่าตอบแทนใดๆ

3. ถ้ำพระราม มีอะไรอยู่ในถ้ำ?

ถ้ำพระรามอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้าเจ้าราม อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย เป็นถ้ำที่มีการกล่าวถึงในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง อีกทั้งยังเคยเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อศิลา พระพุทธรูปเก่าแก่ ณ วัดทุ่งเสลี่ยม เป็นพระพุทธรูปหินทรายศิลปะเขมรปางนาคปรก อันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัยมายาวนาน

ถ้ำพระรามเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ “ค้างคาวปากย่น” ที่มีจำนวนมากเป็นอันดับที่ ๒ ของประเทศไทย  ค้างคาวปากย่นกินแมลงเป็นอาหาร ทำให้มูลของมันมีธาตุอาหารสูงมากและเป็นที่ต้องการของผู้ที่มีอาชีพค้าขายมูลค้างคาว  ในอดีตเล่ากันว่า “ชาวบ้านนำมูลค้างคาวไปต้มแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง ปล่อยให้ตกผลึกจะได้เกลือที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำดินประสิวและดินปืน หรือจะนำไปทำปุ๋ยหมักก็เปลี่ยนดินเลวให้กลายเป็นดนดีได้”

ค้างคาวปากย่นในถ้ำพระรามมีมากประมาณ ๕ แสน- ๑ ล้านตัวและจนถึงปัจจุบันจำนวนค้างคาวยังเพิ่มขึ้นมากมายนับไม่ถ้วน

ช่วงเวลาที่ค้างคาวออกจากถ้ำจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับฤดูกาลนั้นๆ ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคมอากาศจะเริ่มเย็น ค้างคาวจะออกจากถ้ำประมาณ ๑๗.๓๐-๑๘.๐๐ น. แต่ถ้าหากช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนเข้าสู่ฤดูร้อนและฤดูฝนอากาศจะร้อน พระอาทิตย์ตกดินช้ากว่า ค้างคาวจะออกจากถ้ำประมาณเกือบๆ ๑๙.๐๐ น. นักท่องเที่ยวที่มาดูค้างคาวจึงควรต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน

ข้อสังเกตอีกหนึ่งอย่างของการดูค้างคาวที่นี่ เจ้าหน้าที่แอบกระซิบบอกว่า ก่อนฝูงค้างคาวจะออกจากถ้ำ จะมีเหยี่ยวบินนำออกมาก่อน จากนั้นค้างคาวจะบินออกมาเป็นสาย และบินออกมาเรื่อยๆ จนหมด ใช้เวลาประมาณ ๑๕ นาที

4. ขนมปรง ทานแล้วไม่ปลง

ขนมต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของเมืองโบราณบางขลัง จากวัตถุดิบที่ถูกซ่อนเร้นอยู่ในป่าลึกเมืองโบราณ ผสมผสานกับเคล็ดลับการสรรค์สร้างแป้งแบบเฉพาะตัว ซึ่งหาทานได้เพียงปีละ 1 ครั้ง รสชาติหวานละมุนหอมนุ่ม ทานพร้อมกับมะพร้าวขูดโรยหน้าเพิ่มความมัน อร่อยจนต้องขออีกจาน

สมัยก่อนชาวบ้านมักทำขนมปรงในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น งานมงคล งานสงกรานต์  ใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เนื่องจากเป็นขนมที่มีกระบวนการและขั้นตอนการผลิตที่ยาก มีความเฉพาะตัว  หากทำไม่ถูกต้องตามกระบวนการจะมีพิษตกค้างอยู่ในแป้ง ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่ทานเกิดอาการเมา

สำหรับการทำแป้งปรงให้ไร้สารพิษ ขั้นแรกกะเทาะเปลือกลูกปรงแล้วควักเนื้อสีขาวออกมาปั่น จากนั้นนำเนื้อปรงที่ปั่นเสร็จแล้วมาใส่ไว้ในผ้าขาวบาง จากนั้นกรองทิ้งไว้สักพักให้แป้งตกตะกอนนอนก้นภาชนะมีน้ำใสๆ ที่เรียกว่าน้ำเมา ต้องเทน้ำส่วนนี้ออกให้หมด จากนั้นกรองแป้งอีกประมาณ 3-4 รอบ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีน้ำเมาเหลืออยู่อีก

เทคนิคการกวนแป้งปรงคือต้องเติมน้ำเย็นอยู่เรื่อยๆ ไม่อย่างนั้นแป้งจะจับตัวเป็นก้อนเหมือนเม็ดสาคู  โดยปรกติขนมปรงจะต้องเนื้อเนียนละเอียด เหลวใส และไม่จับตัวเป็นก้อน

คุณป้าบรรเลง หนึ่งในอาสามัครที่สาธิตการทำขนมปรงให้พวกเราได้ชมและชิมกันยังบอกเคล็ดว่า การเพิ่มความหวานโดยใช้น้ำตาลทรายควรใส่ตอนแป้งสุก มีสีใสได้ที่ เพราะน้ำตาลจะทำให้แป้งสีใสเนียนกว่าเดิม แต่ถ้าใส่ผิดขั้นตอนจะทำให้แป้งปรงนั้นไม่สุกและรสชาติไม่อร่อย

โครงการกล้าใหม่…ใฝ่รู้

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เสริมสร้างเยาวชนไทยให้เติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Writer/ Photographer

นิตยสาร ฉันเป็นคนศุโขทัย

นิตยสาร ฉันเป็นคนศุโขทัย

โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จังหวัดสุโขทัย

Relate Place

Travel

5 อาหารเด็ดที่ห้ามพลาดในตลาดเช้าทับปุด จ. พังงา

เสียงไก่ขันในโทรศัพท์ปลุกให้ลุกขึ้นมาชื่นชมบรรยากาศยามเช้าตรู่ หยิบ รองเท้ามาสวมให้กระชับ ผูกเชือกให้แน่นพร้อมที่จะออกไปสัมผัสอากาศสดชื่น และไม่พลาดที่จะแวะมา “ตลาดเช้าเทศบาลตำบลทับปุด” เพื่อเติมพลังด้วยมื้อเช้า

Travel

ขมิ้นดี เครื่องแกงดี ที่บ้านเขาตำหนอน ทับปุด พังงา

บ้านเขาตำหนอน ตำบลถ้ำทองหลาง อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เป็นสถานที่ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดพังงาเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีขมิ้นที่ขึ้นชื่อ เป็นที่ยอมรับถึงความมีคุณภาพและปลอดภัยไร้สารเคมี

Eat

คุณป้านัฐพร รุ่งโรจน์สุวรรณ เจ้าของร้านไอศกรีมรสไทยที่ลูกพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปเสวย

ท่ามกลางความร้อนของอากาศในกรุงเทพมหานคร มีร้านไอศกรีมรสชาติไทยๆ ซ่อนอยู่ในตึกแถวเล็กๆ ในชุมชนแพร่งภูธร ที่นี่คือร้านไอศกรีมที่ทำให้เราได้รู้จักกับคุณป้านัฐพร รุ่งโรจน์สุวรรณ “พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตแห่งแพร่งภูธร”

Travel

ศาสตร์ภูมินทร์ สินสุโขทัย โครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย

หากท่านต้องการเดินทางมาเยือนสวรรคโลก แต่ไม่ต้องการเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟ อย่าวิตกกังวลไปครับ เพราะสวรรคโลกมีสนามบินและเที่ยวบิน บินตรงจากบางกอกสู่เมืองสวรรค์แห่งนี้ ที่พร้อมให้บริการผู้ที่ต้องการมาเยือนอย่างสะดวกสบาย