โฮงเจ้าฟองคำ

โฮงเป็นคำพื้นเมืองล้านนา มีความหมายว่า คุ้ม หรือที่อยู่อาศัยของเจ้านายล้านนา

โฮงเจ้าฟองคำเป็นบ้านทรงล้านนาที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ต้องมาแวะชมเพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างน่าประทับใจ นับตั้งแต่เดินเข้าประตูรั้วสู่บริเวณบ้านที่ร่มรื่นมาจนถึงโฮงเจ้าฟองคำ

เจ้าของบ้าน อาจารย์ภัทราภรณ์ ปราบริปู ทักทายเราด้วยภาษาคำเมืองด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ให้ความรู้สึกอบอุ่นเสมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว พร้อมที่จะดูแลและบริการอย่างเป็นกันเองที่สุด 

โฮงเจ้าฟองคำ1

อาจารย์ภัทราภรณ์เล่าให้ฟังว่าโฮงเจ้าฟองคำตั้งอยู่บริเวณหลังวัดพระเกิด เดิมเป็นคุ้มของเจ้าศรีตุมมา หลานเจ้ามหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 61 ตั้งอยู่ติดกับคุ้มแก้ว ที่พำนักของเจ้าผู้ครองนครน่านในเวียงเหนือ  เมื่อเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ย้ายเมืองน่านกลับมายังพื้นที่ปัจจุบัน คุ้มแก้วจึงถูกทิ้งร้างไว้  เจ้าบุญยืน ธิดาคนสุดท้องของเจ้าศรีตุมมากับเจ้ามโน (หลานของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ) ได้ย้ายตัวโฮงลงมาสร้างในที่ปัจจุบัน และตกทอดมายังเจ้าฟองคำ

เจ้าฟองคำเป็นธิดาของเจ้าบุญยืนกับเจ้าอินต๊ะ จากนั้นตกทอดมายังนางวิสิฐศรี คงกระจ่าง ธิดาคนสุดท้องของเจ้าฟองคำ และนายมณฑล คงกระจ่าง ผู้เป็นบุตรชาย ตามลำดับ

ตัวโฮงเดิมหลังคามุงด้วยไม้แป้นเล็ด (ไม้เกล็ด) ต่อมาในปี 2467 ได้รื้อออกแล้วมุงกระเบื้องดินขอแทน ส่วนโครงสร้างอื่นๆ ใช้วัสดุเดิมเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะตัวเรือนบางส่วนได้รับการดัดแปลงเพื่อให้แข็งแรงและเน้นประโยชน์ใช้สอยตามยุคสมัย

เมื่อสัมผัสบันไดไม้และภาพสิ่งต่างๆ ที่จัดวางบริเวณชานบ้าน บนเติ้น และที่ประดับบนฝาผนังไม้ จนถึงบันไดขั้นบนสุด  ความรู้สึกรอบกายช่างงดงาม เรียบง่าย เสมือนได้มาอยู่อาศัยในบ้านด้วยจริงๆ  พื้นที่ชั้นบนจัดแบ่งเป็นสัดส่วน มีห้องนอน ห้องโถง ห้องพระ  ส่วนห้องครัวแยกไปอยู่ด้านหลังบ้าน เชื่อมด้วยชานไม้ที่เว้นช่องให้มองเห็นพื้นดินที่มีก้อนหินกระจายทั่วใต้ถุนบ้าน

นอกจากข้าวของเครื่องใช้ประจำวันและของตกแต่งแล้ว ภายในตู้ที่ตั้งอยู่จัดแสดงภาชนะเครื่องเงิน อาทิ พาน ขันน้ำ สลุง กระบวย เงินตราต่างๆ ที่ใช้ในเมืองน่านสมัยโบราณ 

เราเดินลงไปที่ใต้ถุนโฮงเจ้าฟองคำ ชมการสาธิตการปั่นฝ้าย ทอผ้า ปักหมอนลวดลายโบราณคล้ายกับที่เคยใช้ในราชสำนักน่าน และยังได้ความรู้เกี่ยวกับผ้าลายน้ำไหล ไทลื้อ ที่มาของฝ้ายและสีฝ้ายที่นำมาทอ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ

เวลา 1 ชั่วโมงกับการซึมซับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่โฮงเจ้าฟองคำอาจจะน้อยไปด้วยซ้ำ

บรรยายภาพ  อาจารย์ภัทราภรณ์ ปราบริปู (คงกระจ่าง) ทายาทผู้ดูแลโฮงเจ้าฟองคำ

โครงการกล้าใหม่…ใฝ่รู้

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เสริมสร้างเยาวชนไทยให้เติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Info

โฮงเจ้าฟองคำ

ที่ตั้ง บ้านเลขที่ 8 ซอย 2 ถนนสุมนเทวราช .ในเวียง .เมือง .น่าน

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 วิ่งไปตามถนนสุริยพงษ์ ผ่านข่วงเมืองน่าน ก่อนถึงสวนสาธารณะศรีเมือง เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนสุมนเทวราช ตรงไปเรื่อยๆ ผ่านสวนภูมิรักษ์เฉลิมพระเกียรติ เข้าซอยสุมนเทวราช 2 ประมาณ 100 เมตร โฮงเจ้าฟองคำตั้งอยู่ด้านซ้ายมือ

เปิด พุธอาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 .

โทร 0-5471-0537, 08-9560-6988

Writer/ Photographer

นิตยสารน่านฟ้า

นิตยสารน่านฟ้า

โรงเรียนสตรีศรีน่าน จังหวัดน่าน

Relate Place

Travel

5 อาหารเด็ดที่ห้ามพลาดในตลาดเช้าทับปุด จ. พังงา

เสียงไก่ขันในโทรศัพท์ปลุกให้ลุกขึ้นมาชื่นชมบรรยากาศยามเช้าตรู่ หยิบ รองเท้ามาสวมให้กระชับ ผูกเชือกให้แน่นพร้อมที่จะออกไปสัมผัสอากาศสดชื่น และไม่พลาดที่จะแวะมา “ตลาดเช้าเทศบาลตำบลทับปุด” เพื่อเติมพลังด้วยมื้อเช้า

Travel

ขมิ้นดี เครื่องแกงดี ที่บ้านเขาตำหนอน ทับปุด พังงา

บ้านเขาตำหนอน ตำบลถ้ำทองหลาง อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เป็นสถานที่ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดพังงาเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีขมิ้นที่ขึ้นชื่อ เป็นที่ยอมรับถึงความมีคุณภาพและปลอดภัยไร้สารเคมี

Eat

คุณป้านัฐพร รุ่งโรจน์สุวรรณ เจ้าของร้านไอศกรีมรสไทยที่ลูกพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปเสวย

ท่ามกลางความร้อนของอากาศในกรุงเทพมหานคร มีร้านไอศกรีมรสชาติไทยๆ ซ่อนอยู่ในตึกแถวเล็กๆ ในชุมชนแพร่งภูธร ที่นี่คือร้านไอศกรีมที่ทำให้เราได้รู้จักกับคุณป้านัฐพร รุ่งโรจน์สุวรรณ “พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตแห่งแพร่งภูธร”

Travel

ศาสตร์ภูมินทร์ สินสุโขทัย โครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย

หากท่านต้องการเดินทางมาเยือนสวรรคโลก แต่ไม่ต้องการเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟ อย่าวิตกกังวลไปครับ เพราะสวรรคโลกมีสนามบินและเที่ยวบิน บินตรงจากบางกอกสู่เมืองสวรรค์แห่งนี้ ที่พร้อมให้บริการผู้ที่ต้องการมาเยือนอย่างสะดวกสบาย