ทริปเปี่ยมสุขที่ “บ้านบัว”

เอ้กอีเอ้กเอ้ก เสียงไก่ขันยามเช้าตรู่ปลุกให้ฉันตื่นจากความฝัน เช้านี้หนาวเหน็บจนไม่อยากลุกออกจากผ้าห่มเสียจริงๆ แต่วันนี้เรามีนัดสำคัญรออยู่… เที่ยว “บ้านบัว” คิดแล้วก็ตื่นเต้นกว่าการลุ้นกดบัตรคอนเสิร์ต ฉันท้าภารกิจส่วนตัวอย่างรีบเร่งจากนั้นก็หอบสัมภาระขึ้นรถและออกเดินทางทันที ฉันนั่งรถมองไปสองข้างทางด้วยจิตใจที่จดจ่อ อยากจะให้ถึงจุดหมายปลายทางอย่างรวดเร็ว ฉันใช้เวลาเดินทางไปถึงบ้านบัวราว 2 ชั่วโมง ฉันและเพื่อนๆ เตรียมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ลงจากรถ เพื่อมาสัมผัสกับบรรยากาศภายนอก

พระอาทิตย์สาดส่องแสง แดดอ่อนๆ ทะลุกลุ่มหมอกมากระทบตัว ท้าให้รู้สึกอบอุ่นขึ้นมาบ้าง พวกเราอยู่ที่ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนเพื่อดูแผน แล้วจึงชวนกันเดินเล่นในหมู่บ้าน เราเห็นผักขึ้นตามรั้วบ้านทุกหลังที่เดินผ่าน  ขณะที่ฉันเดินเพลินจนสุดถนน ก็ได้ยินเสียงกรุ๊งกริ๊งดังมาแต่ไกล ฉันจึงเงี่ยหูฟัง ทันใดนั้นก็เหลือบไปเห็นระฆังเล็กๆ แขวนอยู่ตามชายหลังคาวัดจำนวนมาก และที่นี่ก็คือ “วัดบ้านบัว” ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน วัดที่นี่จะมี 2 ชั้น โดยชั้นบนจะเป็นวิหารเพื่อประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนชั้นล่างจะเป็นที่สำหรับจัดกิจกรรมในชุมชน ฉันจึงเดินเข้าไปกราบไหว้พระพุทธรูปและเดินดูรอบๆ ภายในวัด จะเห็นได้ว่าวัดนี้ยังมีของเก่าแก่โบราณเก็บไว้อยู่

หลังจากไหว้พระขอพรเสร็จเรียบร้อย เราก็เดินเลี้ยวขวาประมาณ 50 เมตร แล้วเลี้ยวขวาอีกครั้งตรงสามแยก เดินตรงไปอีก 100 เมตร เจอบ้านที่มีสุ่มไก่เรียงรายอยู่ใต้ถุนบ้าน พื้นใต้ถุนมีรอยขีดของปากกาเป็นวงกลมขนาดต่างกันออกไป และเครื่องมือจักสาน เช่น มีด ขวาน ไม้ที่ผ่าเป็นซีกๆ ไว้ คุณลุงเจ้าของบ้านใจดี สาธิตวิธีการจักสานสุ่มไก่ให้ดู คุณลุงยังแนะนำต่อว่าใกล้ๆ แถวนี้ยังมี “สวนสตรอว์เบอร์รี่อินทรีย์” พวกเราไม่รอช้ารีบลาคุณลุงแล้วไปเยี่ยมชมสวนสตรอว์เบอร์รี่ คุณยายเจ้าของสวนพาเราชมสวนที่นอกจากจะปลูกสตรอว์เบอร์รี่แล้ว ยังมีพุทรานมสด และผัก ผลไม้ ที่ปลูกแบบอินทรีย์อีกหลายชนิด คุณยายการันตีความปลอดภัยอย่างนี้ พวกเราเลยอดไม่ได้ที่จะขอชิมสตรอว์เบอร์รี่ลูกเล็กๆ แต่หอมหวานอย่าบอกใครเชียว

และก็อีกตามเคย คุณยายแนะนำที่เที่ยวในหมู่บ้านต่อ ความจริงแล้วบ้านแทบทุกหลังในหมู่บ้านบัวล้วนน่าแวะเที่ยวชม คุณยายชี้จุดเตาแกลบชีวมวลให้พวกเรา คือ ที่บ้านคุณลุงเสาร์แก้ว ใจบาล พอไปถึงก็ได้คลายความสงสัยตลอดทางว่า เตาแกลบชีวมวลเป็นอย่างไร? คุณลุงต้อนรับเราอย่างคล่องแคล่วพร้อมอธิบายการทำงานของเตาแกลบชีวมวล ว่ามันก็คือเตาที่ใช้หุงต้มโดยมีแกลบเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งแกลบก็ได้มาจากโรงสีของหมู่บ้าน เป็นการลดรายจ่าย คุณลุงยังสร้างเตาแกลบเอาไว้เพื่อจำหน่าย เป็นการสร้างรายได้อีกด้วย

คุณลุงเสาร์แก้วไม่ได้ทำเตาแกลบอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีสวนองุ่นอินทรีย์ที่หลังบ้านอีกด้วย คุณลุงเล่าว่า “ในสมัยก่อนชาวบ้านที่นี่ใช้สารเคมีในการเกษตร มีอยู่ครั้งหนึ่งมีคนป่วยต้องการเลือดจากคนในหมู่บ้าน แต่เมื่อพากันไปบริจาคเลือดกลับพบว่าเลือดของพวกเขาไม่สามารถให้คนป่วยได้เพราะมีการปนเปื้อนของสารจากยาฆ่าแมลง ผู้ใหญ่บ้านมองเห็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้ชาวบ้านมีสุขภาพที่ดี จึงชวนชาวบ้านหันมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์ จนปัจจุบันบ้านบัวกลายเป็นแหล่งเกษตรอินทรีย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งต้นน้ำ ดิน อากาศ”

             ถัดจากบ้านคุณลุงประมาณ 50 เมตร ฉันสะดุดตากับป้าย “สปาบ้านทุ่ง” เข้าไปสอบถามได้ข้อมูลมาว่า เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบผ่อนคลายโดยการอบสมุนไพรแบบไทยๆ ด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิม สปาที่นี่ตั้งอยู่ใต้ต้นขนุน บนพื้นหินกรวดแม่น้า ถูกล้อมเป็นวงกลมด้วยอิฐมอญ ก่อนเข้าสปาต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดกระโจมอกสำหรับผู้หญิง ส่วนผู้ชายก็นุ่งผ้าขาวม้าสบายๆ เมื่อพร้อมแล้วเจ้าของสปาใจดีจะเตรียมเตาพร้อมหม้อดินสมุนไพรร้อนได้ที่วางใกล้ที่นั่ง จากนั้นครอบด้วยสุ่มไก่ที่ปิดรอบด้วยใบตองและผ้า ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ให้ไอร้อนจากสมุนไพรอบอวลในสุ่มไก่และค่อยๆ ซึมซาบเข้าสู่ร่างกาย มีวิวทุ่งนาเขียวขจีให้พักสายตาในขณะที่อบสมุนไพร

เมื่อผ่อนคลายสบายตัวแล้ว ฉันก็เลี้ยวซ้ายเข้าซอยถนนลูกรัง เห็นอุโมงค์ไม้ไผ่เขียวชอุ่มยาวสุดลูกหูลูกตา สามารถถ่ายรูปได้ตามใจชอบ เมื่อได้รูปที่พอใจแล้วก็กลับออกมา เลี้ยวขวา ตรงไปเรื่อยๆ จะเห็นบ้านที่มีน้ำพุอยู่หน้าบ้าน นั่นก็คือ “บ้านต้นเต๊า” ซึ่งเป็นโฮมสเตย์ของที่นี่ มีอาหารบริการให้แก่นักท่องเที่ยว และมีผักหลายชนิดที่สามารถเก็บมาประกอบอาหารได้ สะอาดและปลอดภัย เพราะปลอดสารเคมี

การได้มา “บ้านบัว” ครั้งนี้ทำให้ฉันได้สัมผัสหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่กันอย่างพอเพียง ทุกคนใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จนกลายเป็นหมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้คนทั่วสารทิศจากหลายหน่วยงาน หลายชุมชน แวะเวียนมาที่นี่เพื่อดูเป็นแบบอย่าง ฉันคิดว่าพวกเขาคงรู้สึกได้เหมือนกับฉันตอนนี้ว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้เป็นหลักการที่อยู่ในตำราวิชาสังคมในห้องเรียน แต่เป็นสิ่งที่นำมาใช้ได้จริงและเหมาะกับวิถีชีวิตของคนไทยอย่างที่สุด วิถีที่เรียบง่าย แต่งดงามและเปี่ยมสุข เป็นบุญและความโชคดียิ่งแล้วที่ฉันได้เกิดบนแผ่นดินไทย

โครงการกล้าใหม่…ใฝ่รู้

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เสริมสร้างเยาวชนไทยให้เติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Writer/ Photographer

นิตยสารปลื้ม - กชมน หัวนา, กัลยกร หัวนา โรงเรียนภูซางวิทยาคม

นิตยสารปลื้ม - กชมน หัวนา, กัลยกร หัวนา โรงเรียนภูซางวิทยาคม

Relate Place

Travel

5 อาหารเด็ดที่ห้ามพลาดในตลาดเช้าทับปุด จ. พังงา

เสียงไก่ขันในโทรศัพท์ปลุกให้ลุกขึ้นมาชื่นชมบรรยากาศยามเช้าตรู่ หยิบ รองเท้ามาสวมให้กระชับ ผูกเชือกให้แน่นพร้อมที่จะออกไปสัมผัสอากาศสดชื่น และไม่พลาดที่จะแวะมา “ตลาดเช้าเทศบาลตำบลทับปุด” เพื่อเติมพลังด้วยมื้อเช้า

Travel

ขมิ้นดี เครื่องแกงดี ที่บ้านเขาตำหนอน ทับปุด พังงา

บ้านเขาตำหนอน ตำบลถ้ำทองหลาง อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เป็นสถานที่ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดพังงาเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีขมิ้นที่ขึ้นชื่อ เป็นที่ยอมรับถึงความมีคุณภาพและปลอดภัยไร้สารเคมี

Eat

คุณป้านัฐพร รุ่งโรจน์สุวรรณ เจ้าของร้านไอศกรีมรสไทยที่ลูกพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปเสวย

ท่ามกลางความร้อนของอากาศในกรุงเทพมหานคร มีร้านไอศกรีมรสชาติไทยๆ ซ่อนอยู่ในตึกแถวเล็กๆ ในชุมชนแพร่งภูธร ที่นี่คือร้านไอศกรีมที่ทำให้เราได้รู้จักกับคุณป้านัฐพร รุ่งโรจน์สุวรรณ “พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตแห่งแพร่งภูธร”

Travel

ศาสตร์ภูมินทร์ สินสุโขทัย โครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย

หากท่านต้องการเดินทางมาเยือนสวรรคโลก แต่ไม่ต้องการเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟ อย่าวิตกกังวลไปครับ เพราะสวรรคโลกมีสนามบินและเที่ยวบิน บินตรงจากบางกอกสู่เมืองสวรรค์แห่งนี้ ที่พร้อมให้บริการผู้ที่ต้องการมาเยือนอย่างสะดวกสบาย