
ฝนนี้เที่ยวน่านที่ สกาดดีโฮมสเตย์
ว่ากันว่าเที่ยวหน้าฝนต้องมานอนโฮมสเตย์ และคงจะดีไม่น้อยหากการพักผ่อนของเรา มีทั้งธรรมชาติอันงดงาม ห้องพักแสนน่ารัก กาแฟร้อนๆ และเรื่องราวน่ารักของเจ้าบ้าน
แข่งเรือลือเลี่ยง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง
น่านเป็นหนึ่งในจังหวัดของภาคเหนือที่มีศิลปวัฒนธรรมอันน่าสนใจ ที่ไม่ควรพลาดชมคือวิหารวัดภูมินทร์ แหล่งรวมงานศิลปกรรมชั้นยอดทั้งภายในและภายนอกวิหาร โดยเฉพาะด้านในนั้นมีพระประธานซึ่งมีพุทธ-ลักษณะพิเศษ คือมีสี่องค์หันหลังชนกัน ผินพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศ มีจิตรกรรมแสดงวิถีวัฒนธรรมชาวน่าน จ. น่านยังเป็นที่ตั้งของ อช. ดอยภูคา ซึ่งมีต้นชมพูภูคาที่มีดอกสวยงามและพบเฉพาะที่ป่าแห่งนี้เท่านั้น
ที่ตั้ง อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 675 กม.
พื้นที่ 11,472.076 ตร.กม. หรือประมาณ 7.17 ล้านไร่
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดกับ จ. แพร่ จ. อุตรดิตถ์
ทิศตะวันออก ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก ติดกับ จ. พะเยา
แม่น้ำ แม่น้ำสําคัญ ได้แก่
แม่น้ำน่าน มีต้นกําเนิดจากลําห้วยหลายสายบนภูเขาใหญ่ ไหล มารวมกันเป็นต้นน้ําระหว่างทิวเขาผีปันน้ําตะวันออกกับทิวเขา หลวงพระบาง แล้วไหลลงสู่ที่ราบต่ําในเขต อ. ทุ่งช้าง ผ่าน อ. บัว อ. ท่าวังผา อ. เมือง อ. เวียงสา อ. นาน้อย จากนั้นไหลผ่าน จ. อุตรดิตถ์ จ. พิษณุโลก จ. พิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ําปิง แม่น้ําวัง และแม่น้ํายม ที่ปากน้ําโพ จ. นครสวรรค์ ความยาว ของแม่น้ําช่วงที่ผ่าน จ. น่านประมาณ 300 กม.
แม่น้ำสา ต้นน้ำเกิดจากทิวเขาใน อ. เวียงสา ไหลลงมาบรรจบ กับแม่น้ำน่านที่ ต. กลางเวียง อ. เวียงสา
แม่น้ำว้า ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาจอม ไหลผ่าน อ. เมืองไป บรรจบกับแม่น้ำน่านที่ ต. ซึ่ง อ. เวียงสา
แม่น้ำสมุน ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาผาจิ ไหลผ่าน ต. ถืมตอง ต. ไชยสถาน และ ต. คู่ใต้ อ. เมือง
แม่น้ำแหง ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาแปช้าง ไหลผ่าน อ. เวียงสา ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ ต. ส้าน อ. เวียงสา
แม่น้ำและ ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาใน อ. ทุ่งช้าง ไหลลงมา บรรจบกับแม่น้ำน่านที่บ้านมอญ อ. ทุ่งช้าง
แม่น้ำบัว ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาใน อ. ปัว ไหลลงมาบรรจบ กับแม่น้ำน่านที่บ้านสบปัว อ. บัว
ภูมิอากาศ มีสามฤดู คือ
ฤดูร้อน เดือน มี.ค.-พ.ค. อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 26 องศา เซลเซียส ร้อนที่สุดในเดือน เม.ย.อุณหภูมิอาจสูงถึง 40 องศา เซลเซียส
ฤดูฝน กลางเดือน พ.ค.-ต.ค. ฝนตกเฉลี่ยประมาณ 1,100 มม. ต่อปี
ฤดูหนาว เดือน พ.ย.-ก.พ. บริเวณยอดดอยอาจมีอุณหภูมิต่ำ ถึง 0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือน ม.ค. 7 องศา เซลเซียส
การปกครอง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 อําเภอ ได้แก่
อ. เมืองน่าน อ. เฉลิมพระเกียรติ อ. เชียงกลาง อ. ท่าวังผา อ. ทุ่งช้าง อ. นาน้อย อ. นาหมื่น อ. บ่อเกลือ อ. บ้านหลวง อ. ปัว อ. แม่จริม อ. เวียงสา อ. สันติสุข อ. สองแคว และ อ. ภูเพียง
คําขวัญประจําจังหวัด แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง
ดวงตราประจําจังหวัด รูปพระธาตุแช่แห้งประดิษฐานบนหลังโค อุศุภราช
วัดพระธาตุแช่แห้ง
ที่ตั้ง : บนเนินเขา บ้านหนองเต่า ต. ม่างตึ๊ด กิ่ง อ. ภูเวียง
ปูชนียสถานเก่าแก่คู่เมืองน่าน เป็นเจดีย์ทรงระฆังหุ้มแผ่นทองเหลืองอร่ามได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย มีวิหารหลวงเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง
วัดต้นแหลง
ที่ตั้ง : บ้านต้นแหลง ต. ไชยวัฒนา อ. ปัว
วัดเก่าแก่ของ อ. ปัว ที่มีวิหารแบบพื้นบ้านไทยลื้อที่สวยงามและหาชมได้ยาก
วัดบุญยืน
ที่ตั้ง : ต. กลางเวียง อ. เวียงสา ตรงข้ามกับสำนักงานเทศบาล
มีโบสถ์ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนตามอิทธิพลแบบสุโขทัย มีลวดลายปูนปั้นและงานแกะสลักงดงาม
วัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร
ที่ตั้ง : ตรงข้ามมุมสี่แยก ถ. สุริยะพงษ์ ต. ในเวียง อ. เมือง
มีเจดีย์ช้างค้ำเป็นเจดีย์ช้างล้อมทรงระฆังศิลปะสุโขทัย และพระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนีซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำปางลีลา
วัดภูมินทร์
ที่ตั้ง : ในตัวเมือง ต. ในเวียง อ. เมือง
วัดใหญ่ใจกลางเมืองโดดเด่นด้วยวิหารแบบจัตุรมุข และจิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสุดยอดแห่งล้านนาตะวันออก ตรงข้ามวัดภูมินทร์เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ที่มีงาช้างดำโบราณวัตถุคู่เมืองน่านจัดแสดง
วัดหนองแดง
ที่ตั้ง : บ้านหนองแดง ต. เปือ อ. เชียงกลาง
มีวิหารไทยลื้อเก่าแก่ ภายในมีศิลปวัตถุล้านนา เช่น พระประธาน ธรรมาสน์ทรงบุษบก ฯลฯ
วัดหนองบัว
ที่ตั้ง : บ้านหนองบัว ต. ป่าคา อ. ท่าวังผา
อยู่ท่ามกลางหมู่บ้านไทยลื้อ มีวิหารหลังคาซ้อนลดหลั่นหลายชั้นแบบพื้นเมืองล้านนาที่เรียกว่า “วิหารซด” จิตรกรรมฝาผนังภายในเป็นเรื่องชาดกและสอดแทรกสภาพชีวิตชาวเมืองน่านในอดีตไว้อย่างน่าชม
เสาหินนาน้อยและคอกเสือ
ที่ตั้ง : บ้านแต ต. เชียงของ อ. นาน้อย
เกิดจากการกัดเซาะของน้ำและกระแสลมตามธรรมชาติ ทำให้เกิดเสาหินผสมลูกรังและหุบผาเว้าแหว่งเป็นรูปทรงต่างๆ
หมู่บ้านมณีพฤกษ์
ที่ตั้ง : บ้านมณีพฤกษ์ ต. งอบ อ. ทุ่งช้าง
หมู่บ้านชาวม้งและลัวะ ที่มีแปลงปลูกพืชผักและดอกไม้เมืองหนาว
อช. ดอยภูคา
ที่ตั้ง : ริมทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว-บ่อเกลือ) ประมาณหลักกม. 24-25 ต. ปัว อ. ปัว
เป็นแหล่งที่พบพันธุ์ไม้หายากเพียงแห่งเดียวในเมืองไทยอย่างต้นชมพูภูคา และต้นเต่าร้างยักษ์สูงกว่า 10 ม.
อช. ถ้ำสะเกิน
ที่ตั้ง : บ้านสะเกิน ต. ยอด อ. สองแคว
ถ้ำหลวงที่มีโถงถ้ำกว้างใหญ่กว่า 60 ม. เต็มไปด้วยเสาหิน ม่านปูน และหินงอกหินย้อย นอกจากนี้ยังมีน้ำตกผาธารและน้ำตกห้วยหาด
อช. แม่จริม
ที่ตั้ง : บ้านห้วยทรายมูล ต. น้ำปาย อ. แม่จริม
ผืนป่าผลัดใบที่จะเปลี่ยนสีสันสวยงามในช่วงต้นฤดูร้อน และมีกิจกรรมล่องแก่งลำน้ำว้า
อช. ศรีน่าน
ที่ตั้ง : บริเวณดอยผาชู้ หมู่ 9 บ้านหนองบัว ต. ศรีษะเกษ อ. นาน้อย
เป็นที่ตั้งของผาชู้ จุดชมทะเลหมอกเหนือลำน้ำน่าน ผาหัวสิงห์ที่มีลานกว้างสำหรับชมดวงอาทิตย์ขึ้น และแก่งหลวงเป็นจุดชมแม่น้ำน่าน
เมืองน่านก็เหมือนกับจังหวัดทางภาคเหนืออื่นๆ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ที่ผู้คนส่วนใหญ่เป็นคนเมือง หรือชาวไทยยวนรวมถึงชาวไทยลื้อ ที่มีวัฒนธรรมการกินคล้ายๆ กัน ทั้งยังได้รับอิทธิพลเรื่องอาหารจากพม่าคล้ายหัวเมืองภาคเหนือต่างๆ ดังนั้นภายในสำรับของคนเมืองน่านจึงไม่ได้แตกต่างไปจากทางเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แต่อาจไม่หลากหลายเท่า
นายรอบรู้แนะนำ ร้านอาหารเมืองน่าน คลิ๊กเลย…
เมืองน่านเป็นเมืองที่ทำการเกษตรเป็นหลัก จึงมีผลไม้หลากชนิดเป็นของฝากกลับบ้าน โดยเฉพาะส้มเขียวหวานสีทอง หรือมะไฟจีนที่หากินได้ยาก ทั้งยังมีชุมชนที่มีฝีมือในการทอผ้าอยู่หลายแห่ง โดยเฉพาะผ้าทอลายน้ำไหลอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวน่าน ถ้าไม่มีโอกาสไปตามหมู่บ้าน ก็สามารถซื้อหาได้ตามร้านขายของที่ระลึกในเมือง ซึ่งก็รับมาจากหมู่บ้าน หรือบางแห่งก็เป็นผู้ออกแบบลวดลายให้ชาวบ้านในหมู่บ้านทอ
ส้มสีทอง
มีผลสีเหลืองทอง รสหวานหอม ออกสู่ตลาดช่วงปลายปี หาซื้อได้ในทุกตลาดของเมืองน่าน
มะไฟจีน
เป็นผลไม้เฉพาะถิ่น ปลูกได้เฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำน่านเขต อ. เมืองผลสุกมีสีเหลืองอมน้ำตาล เนื้อคล้ายลางสาด กินสดได้ทั้งเปลือก มีขายในตัวเมืองน่าน บริเวณ ถ. สุมนเทวราช
ผ้าทอมือ
มีลวดลายและสีสันอันเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะผ้าซิ่นลายน้ำไหลที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ยังมีผ้าห่ม ย่ามและผ้าคลุมเตียง ย่าน ถ. สุมนเทวราชในตัวเมืองน่านเป็นแหล่งให้ซื้อหา หรือจะไปซื้อที่แหล่งผลิตที่บ้านหนองบัว อ. ท่าวังผา ก็จะได้ชมขั้นตอนการทอด้วย
เครื่องเงิน
เป็นงานหัตถกรรมของชาวเขาเผ่าเมี่ยน มีทั้งตุ้มหู สร้อยคอ กำไล แหวน และมีทำเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วย เช่น ช้อน ขัน เป็นต้น เลือกซื้อหาได้ในตัวเมืองน่าน หรือที่บ้านป่ากลาง อ. ปัว ซึ่งเป็นแหล่งผลิต
นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปน่านมักนั่งรถโดยสารประจำทาง ซึ่งมีบริการทั้งรถปรับอากาศ VIP (24 ที่นั่ง) ปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 ให้เลือกใช้บริการ ความสะดวกสบายและบริการแตกต่างตามระดับราคา บริษัทที่ได้รับความนิยมคือบริษัทขนส่ง จำกัด และบริษัทสมบัติทัวร์
ว่ากันว่าเที่ยวหน้าฝนต้องมานอนโฮมสเตย์ และคงจะดีไม่น้อยหากการพักผ่อนของเรา มีทั้งธรรมชาติอันงดงาม ห้องพักแสนน่ารัก กาแฟร้อนๆ และเรื่องราวน่ารักของเจ้าบ้าน
แม้เวียงเก่าเมืองน่าน จะมีอาณาเขตไม่ใหญ่โต แต่จะให้เที่ยวให้จบครบทุกที่ก็คงจะยาก ยิ่งใครที่เพิ่งเคยมาถ้ามัวแต่เสียเวลาขับรถ คงไปได้ไม่กี่แห่ง เทศบาลเมืองน่านจึงเอาใจนักท่องเที่ยวที่สนใจแอ่วเวียงน่าน ด้วยการจัดบริการรถรางวิ่งรอบเมืองเก่า พร้อมมัคคุเทศก์อธิบายไปตามเส้นทาง
ใครที่มาเที่ยวเมืองน่าน นอกเหนือจากความงดงามของธรรมชาติ หรือการมากราบพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำปีเกิดของคนปีเถาะแล้ว อีกแห่งทีเปรียบดังอัญมณีค่าควรเมือง ก็คือการได้มากราบพระประธานสี่ทิศ พร้อมทั้งยลจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือช่างเมืองน่านที่เชื่อกันว่ามีเพียงสองแห่งคือที่ วัดหนองบัว อ. ท่าวังผา และที่วัดภูมินทร์ กลางข่วงเมืองน่านแห่งนี้
ในช่วงเทศกาลยี่เป็ง ชาวไทลื้อบ้านร้องแงจะรวมใจกันทำแตะดอกไม้ปันโดง (ตามสำเนียงลื้อ) ซึ่งก็คือดอกไม้พันดวง แต่ละบ้านจะทำบ้านละอันสองอัน ขนาดเล็กหรือใหญ่แล้วแต่ศรัทธา ส่วนใหญ่มีขนาดประมาณ 1-2 ตารางฟุต โดยนำดอกไม้หลายชนิดเรียงรายแล้วใช้ไม่ไผ่สานประกบทั้งสองด้าน เรียกว่าแตะดอกไม้
โฮงเจ้าฟองคำเป็นบ้านทรงล้านนาที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ต้องมาแวะชมเพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างน่าประทับใจ นับตั้งแต่เดินเข้าประตูรั้วสู่บริเวณบ้านที่ร่มรื่นมาจนถึงโฮงเจ้าฟองคำ
ผ้าทอหลากลวดลายหลายสีสันที่แขวนวางอยู่ตามมุมต่างๆ ของร้านค้าในหมู่บ้านหนองบัว อ. ท่าวังผา ใกล้กับวัดหนองบัวที่มีงานจิตกรรมฝาผนังชั้นเลิศนั้น สร้างความตื่นตาแก่ผู้ที่รักผ้าไทย อีกทั้งรูปแบบลายผ้า ยังมีหลายผืนที่คล้ายคลึงกับที่ปรากฏในจิตรกรรม
วันนี้ นายรอบรู้นักเดินทาง พาทุกคนขึ้นเหนือไปเยือนเมืองน่านกันอีกสักครั้ง ไปสัมผัสหมู่บ้านน่ารักๆ ที่บ้านบ่อสวก อ. เมือง จ. น่าน ไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์เก่าแก่ ไปลองปั้นดิน ไปช้อปผ้าทอ ไปชิมของดี แล้วจะรู้ว่าบ้านบ่อสวกนั้นดี ดี๊ ดี ล่ะคุณ
วันนี้เรามีโอกาสมาเที่ยวที่ชุมชนไทลื้อ บ้านดอนมูล อ. ท่าวังผา จ. น่าน ทำให้ได้รู้จักคุณยายคำหล้า อินปา หรือแม่อุ้ยหล้า ยายหล้า
ได้ยินข่าวมาสักพักใหญ่แล้วว่าปัจจุบันเมืองไทยเป็นแหล่งปลูกโกโก้คุณภาพดี วันนี้มีโอกาสดีได้มาเยือน Cocoa ValleyResort ที่ไม่เพียงเป็นแหล่งปลูกโกโก้อินทรีย์ที่มีคุณภาพเท่านั้น ที่นี่ยังแปรรูปโกโก้จนเป็นช็อคโกแลตแสนอร่อย แล้วยังมีคาเฟ่แสนน่ารักๆ เสิร์ฟเมนูหวานหอมจากช็อคโกแลตหลากหลายเมนู
น่านวันนี้ ก้าวสู่ความเป็นเมืองท่องเที่ยวสไตล์เนิบ เนิบ สโลว์ไลฟ์ เหมาะสำหรับการพักกายพักใจ ไม่ต้องรีบ ไม่ต้องเร่ง หนึ่งในบรรยากาศสบายๆ กับการได้นั่งจับเครื่องดื่มแก้วโปรด รื่นรมย์ในบรรยากาศหลากหลาย เมืองน่านก็มีร้านกาแฟเล็กๆ ที่มีทั้งกาแฟดีและสิ่งละอันพันละน้อยที่น่าค้นหา ล้วนแล้วแต่มีแนวทางของตัวเองหลายแห่ง อยากรู้ใช่ไหมลองไปแวะดูสิ
“ฮึบ เอ้า ฮึบ หนึ่ง สอง สาม สี่ …..” เสียงฝีพายจากเรือยาวสองลำกำลังส่งเสียงพร้อมกับออกแรงวาดพายให้กินน้ำพร้อมตวัดพายอย่างรวดเร็วจนน้ำกระจาย เพื่อเร่งส่งให้เรือยาวหัวนาคลำสวยของหมู่บ้านตนชิงเข้าเส้นชัย
ใครที่เคยมาจังหวัดน่านในฤดูหนาว แล้วต้องมนต์เสน่ห์ดินแดนขุนเขา สายหมอก คุณอาจจะเคยสัมผัสอากาศหนาว ดาวเต็มฟ้า แต่รู้ไหมว่า ความสวยงามตระการตาของ จ. น่าน นั้นอยู่ในหน้าฝน ในฤดูที่ความเขียวขจีปกคลุมไปทุกพื้นที่ มองไปทางไหนก็มีแต่สีเขียวสดตัดกับสายหมอกขาว สวยงามเกินบรรยาย
วันนี้ นายรอบรู้นักเดินทาง จึงถือโอกาสพาเที่ยว 5 ไฮไลค์ห้ามพลาด เมื่อมาเที่ยวน่านในหน้าฝน
เสียงซึง สะล้อ บรรเลงดังแว่วหวานอยู่ตั้งแต่เรามาถึงหน้าวัด มองเข้าไปถึงเห็นตูบ หรือกระท่อมเล็กๆ ที่มีพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยหลายคนเล่นดนตรีบรรเลงอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ มองเห็นวิหารไทลื้อขนาดใหญ่ อยู่ด้านหลัง นั่นหมายความว่า เราเดินทางมาถึงถิ่นไทลื้อวัดหนองบัวแล้ว
อร่อยแบบ Low Carbon ในเมืองน่าน อร่อยแบบไหนถึงเรียกว่า Low Carbon ก็เริ่มตั้งแต่เลือกปั่นจักรยานหรือนั่งสามล้อถีบไปที่ร้านก็ช่วยลดโลกร้อนได้แล้ว และถ้าเลือกกินเมนู Low Carbon อย่างพืชผักพื้นบ้านและวัตถุดิบพื้นถิ่นที่ทางร้านปลูกเอง หรือรับซื้อจากชาวบ้านในละแวก ก็ไม่สิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิงในการขนส่งจากที่ไกลๆ และปลอดภัยไร้กังวลเรื่องสารเคมี ก็ยิ่งช่วยโลกได้ถึงสองสามเท่า ว่าแล้วก็โบกสามล้อ หรือคว้าจักรยานปั่นไปหาร้านอร่อยกันเลย ขอบอกว่าแต่ละร้านเขามีส่วนลดสำหรับผู้ปั่นสองล้อ นั่งสามล้อ ด้วยนะเออ.. โอวีโอสลัด (บริเวณสามแยกโรงเรียนน่านคริสเตียน) ถ. รังษีเกษม เปิด 10.30-21.00 น. หยุดวันอังคาร โทร. 096-208-8891
ร้านนี้หาไม่ยาก เลยวัดหนองบัวมาไม่ไกลจะเห็นต้นโพใหญ่สองต้น ตั้งตระหง่านคู่กันอยู่หน้าร้าน ชื่อร้าน “กิ่งโพธิ์” มาจากชื่อลูกสาวเจ้าของร้านรวมกับชื่อไม้ใหญ่สัญลักษณ์ของร้าน ด้วยบรรยากาศดีติดแม่น้ำน่าน และความยาวนานของบริการความอร่อยที่ดำเนินกิจการมากว่า 10 ปี
เดิมเป็นร้านอาหารตามสั่งเล็กๆ ในตลาดสดเทศบาลท่าวังผา แต่ด้วยรสชาติอาหารซึ่งถูกปากคนพื้นถิ่น จึงขายดิบขายดีจนขยายกิจการเปิดเป็นร้านใหญ่โตบริเวณเนินเขาตรงข้ามตลาดสดเทศบาลฯ โดยสร้างเป็นศาลาหลังคามุงจากหลังใหญ่ พร้อมศาลาไม้หลังเล็ก ให้เลือกนั่งแบบเป็นส่วนตัว
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเต็มงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 ณ นครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย โดยผนึกกำลังพันธมิตรอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ยกทัพ Soft Power ของไทยเสนอแก่นักท่องเที่ยวออสเตรเลียอย่างใกล้ชิด เพื่อมุ่งสร้างความเชื่อมั่นและแรงบันดาลใจ
สู่การตัดสินใจเดินทางมายังประเทศไทย พร้อมตอกย้ำแบรนด์ Amazing Thailand ควบคู่กับแนวคิด Responsible Tourism ฉายภาพมิติใหม่ของท่องเที่ยวไทยที่พร้อมส่งมอบประสบการณ์ Amazing Experience อันเปี่ยมด้วยคุณค่า และความหมายในทุกช่วงเวลา
นางสาวปาริชาติ บุญคล้าย ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า การจัดงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ถือเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ “ปีท่องเที่ยวไทย 2566”
ตามแคมเปญ “Visit Thailand Year 2023, Amazing New Chapters” โดย ททท. มุ่งมั่น กระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลกมายังประเทศไทย เพื่อค้นพบมุมมองใหม่ของการท่องเที่ยวไทย โดยเฉพาะการท่องเที่ยว
เชิงประสบการณ์ (Experience-based-Tourism) ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เติมพลัง เติมความหมายบทใหม่ของชีวิต ผ่านสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว รวมถึง Soft Power of Thailand และการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ เพื่อยกระดับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยภายใต้แบรนด์ Amazing Thailand ให้แข็งแกร่งและยั่งยืน
สำหรับหมุดหมายสุดท้ายของงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 ณ the Southern Forecourt, Overseas Passenger Terminal, Circular Quay West ใจกลางนครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย โดยได้รับความร่วมมือจากทีมประเทศไทย ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงแคนเบอร์รา ผู้ประกอบการร้านอาหารไทย ธุรกิจนำเที่ยว และหน่วยงานพันธมิตร ผนึกกำลังออกแบบประสบการณ์ Amazing Experience ของประเทศไทยผ่านพลังแห่ง Soft Power มานำเสนอให้ชาวออสเตรเลียสัมผัสอย่างใกล้ชิด
พิธีเปิดงาน “Amazing Thailand Fest 2023 in Sydney” ในวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ได้รับเกียรติจาก นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรีเลีย นางสาวสุกัญญา สิริกาญจนากุล ผู้อำนวยการภูมิภาคอาเซียน เอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้ ททท. นางสาวปาริชาต บุญคล้าย ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ททท. ร่วมเปิดงาน ภายในงาน ททท. เนรมิตบรรยากาศแห่งความรื่นเริงภายใต้ธีมงานเทศกาลประเพณีไทย F-Festival ประดับด้วยธงราว ตุง โคม และกระทงหลากสี พร้อมจัดพื้นที่จำลองบรรยากาศสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม โดดเด่น เช่น หาดทรายและชายทะเลไทย ก่อนจะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้นักท่องเที่ยวผ่าน
Soft Power ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย 4 ภาค อาทิ รำไทย
สี่ภาค โขน โนรา เซิ้งอีสาน รำกลองยาว และการแสดงสุดพิเศษศิลปะการต่อสู้แม่ไม้มวยไทย F-Fight มรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังได้มีส่วนร่วมลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในโซนสาธิต ภายใต้แนวคิด Responsible Tourism นำเสนอกิจกรรมทำกระเป๋าสานจากขยะอวนทะเล จาก จ.กระบี่ และกิจกรรมการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นของที่ระลึกจาก จ. ภูเก็ต รวมทั้งกิจกรรมสาธิตทางวัฒนธรรม ได้แก่ การวาดร่ม การเพ้นท์หน้ากากผีตาโขน และ F-Fashion เชิญชวนผู้เข้าร่วมงานแบ่งปันและโพสต์ประชาสัมพันธ์งาน Amazing Thailand Fest 2023 บนโซเชียลมีเดีย เพื่อรับของที่ระลึกกางเกงช้างแฟชั่นยอดฮิตของไทย
อีกหนึ่งไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด คือ การนำเสนอวัฒนธรรมอาหาร F-Food กับ 8 บูธร้านอาหารไทยในซิดนีย์
จัดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มต้นตำรับไทย ประกอบด้วย ร้านชาติไทย (หมูพวง ส้มตำ ปากหม้อ ลาบไก่ ไส้กรอก
ไก่ย่างไม้) ร้าน Dodee Paidang Haymarket (ก๋วยเตี๋ยวต้มยำกุ้ง ปาท่องโก๋ เกี๊ยวทอด กล้วยทอด ไก่ทอด) ร้าน Thai Riffic Express (ผัดไทย โรตี ทาโก้ สะเต๊ะ) ร้าน Show Neua (ข้าวเหนียวหมูทอดน้ำพริก ข้าวซอย น้ำเงี้ยว ขนมจีน
แกงปู) ร้านพริกไทย (ผัดผักรวมเม็ดมะม่วง มัสมั่นเนื้อ ขาหมู แกงเขียวหวาน ผัดกะเพรา ผัดซีอิ๊ว) ร้าน Tawandang @ George St (ส้มตำ ไก่ย่าง ข้าวเหนียว) ร้าน Sabuy Express (ทุเรียน ขนุน ส้มโอ สับปะรด) ร้าน Top Class (มะพร้าว)
ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีบูธผู้ประกอบการพันธมิตรด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์
จัดกิจกรรมสาธิตเพ้นท์หน้ากากรูปสัตว์, สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (Thai Trade) ณ นครซิดนีย์
จัดกิจกรรมชิมผลไม้ไทย, สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงแคนเบอร์รา จัดกิจกรรมชิมเนื้อเป็ดปรุงสุกซึ่งมีการนำเข้าเพื่อจำหน่ายในออสเตรเลียเป็นครั้งแรก, สายการบินไทย, ไทยแอร์เอเชีย และต่อยอดแนวคิด Responsible Tourism เสนอเส้นทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ 20 เส้นทาง รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการตลาด “BOOK NOW, GET 80 AUS NOW” จัดโปรโมชั่นจองที่พักที่ส่งเสริมความยั่งยืนในประเทศไทยภายในงาน ผ่านเว็บไซต์ agoda รับส่วนลด 80 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราคา 2,000 บาท) ทั้งนี้ การจัดงานยังคง DNA ของ ททท. ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมด้วยการลดปริมาณการใช้พลาสติก เลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ย่อยสลายได้ มีการวางระบบการคัดแยกขยะ และตระหนักถึงการใช้วัสดุตกแต่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
นอกจากนี้ ททท. ได้จัดกิจกรรม “Amazing Thailand Fest Media Briefing” ในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ณ Watersedge at Campbell’s Stores, the Rocks นครซิดนีย์ โดยเชิญพันธมิตรผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและสื่อมวลชนในพื้นที่ จำนวน 40 ราย ร่วมอัปเดตสถานการณ์ท่องเที่ยวไทย รวมถึงสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวของไทย และต่อยอดจัดกิจกรรม “Amazing Thailand Fest to Fam Trip Australia to Thailand” นำคณะสื่อมวลชน influencers bloggers จากเครือรัฐออสเตรเลีย เดินทางสัมผัสประสบการณ์ Amazing Experience ทดสอบสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวไทย ใน 3 จุดหมายปลายทางหลัก ได้แก่ มาสัมผัส กรุงเทพฯ เชียงราย และกาญจนบุรี- สมุทรสงคราม ระหว่างวันที่ 20 – 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
ตลาดนักท่องเที่ยวออสเตรเลียเป็นตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีนัยยะสำคัญต่ออัตราการเติบโตของตลาดระยะใกล้ จากสถิติปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีโอกาสต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียแล้วกว่า 336,688 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 กรกฎาคม 2566 มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียเดินทางเข้าไทย
385,100 คน เทียบเท่าร้อยละ 85 ของสถิติในปี 2562 และจุดหมายปลายทางยอดนิยม 5 อันดับ ได้แก่กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต เกาะสมุย (สุราษฎร์ธานี) พัทยา (ชลบุรี) และกระบี่ ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Millennials
/ Gen Y Digital nomad Family และ Health-conscious รวมทั้ง เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพที่ตระหนักถึงการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน สอดคล้องกับกลยุทธ์พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปีท่องเที่ยวไทย ทั้งนี้ ททท. วางเป้าหมายกระตุ้นตลาดนักท่องเที่ยวออสเตรเลียเข้าเที่ยวไทย 522,000 ภายในสิ้นปีนี้
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
“นายรอบรู้” แวะมานอนแถวสามเหลี่ยมทองคำ เมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ใกล้กับสายน้ำโขงกั้นพรมแดนพม่าและลาว ตอนเช้าจึงยอมตื่นเร็วกว่าทุกวัน แวะไปกาดสบรวก ซึ่งห่างจากพระใหญ่ไปประมาณ 500-600 เมตร ทางเมืองเชียงแสน
ใครจะเชื่อว่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชุมชนบ้านเชียงจะเก่าแก่เทียบเท่า อารยะธรรมเมโสโปเตเมียอันเลื่องชื่อ ยังได้รับเลือกให้เป็นแหล่งมรดกโลกอีกด้วย หากไม่ได้มาเห็นด้วยตาตัวเองก็ต้องต้องคิดว่าโกหกแน่ๆ ที่พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงยังมีเรื่องราวอารยะธรรมก่อนประวัติศาสตร์น่าสนใจ ชวนให้เราเรียนรู้อีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น วิถีชีวิต เรื่องราวจากข้าวของเครื่องใช้ การฝังศพ และอีกมากมายมาให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกัน
ข้อมูลจังหวัด กรุงเทพมหานคร รวบรวมโดย นายรอบรู้นักเดินทาง จากหนังสือท่องเที่ยวจังหวัดต่างๆ ในเมืองไทย ที่รวมรวมข้อมูลน่ารู้ ที่เที่ยวน่าไป ของกินน่าทาน
นุ่งจวนตานีสีตอง ยกเป็นตะเกียงทองเฉิดฉาย
พระนุ่งให้เฟื้อยเลื้อยลอยชาย คาดปั้นเหน่งสายลายทองเรือง”
ดาหลัง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
© 2018 All rights Reserved.