ตลาดหัวปลี….มากี่ทีก็หลงรัก
“ตลาดหัวปลียินดีต้อนรับ” คำกล่าวทักทายแสนเป็นมิตรยังติดหู คำธรรมดาที่ได้ยินทั่วไปแต่หากได้ฟังพร้อมสีหน้าเปี่ยมล้นด้วยรอยยิ้มเเสนหวานของพ่อค้าแม่ขายที่นี่แล้วกลับอบอุ่นชวนให้อยากกลับไปอีกครั้ง
“ฮึบ เอ้า ฮึบ หนึ่ง สอง สาม สี่ …..” เสียงฝีพายจากเรือยาวสองลำกำลังส่งเสียงพร้อมกับออกแรงวาดพายให้กินน้ำพร้อมตวัดพายอย่างรวดเร็วจนน้ำกระจาย เพื่อเร่งส่งให้เรือยาวหัวนาคลำสวยของหมู่บ้านตนชิงเข้าเส้นชัย
ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมที่น้ำในแม่น้ำน่านเอ่อล้นจนเต็มฝั่ง ก็เป็นเวลาที่ชาวน่าน ผู้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำ ตั้งแต่อำเภอทางเหนือ ที่ อ. ปัว อ. ท่าวังผา ไปจนถึง อ. เมือง และใต้สุดที่ อ. เวียงสา ก็ได้เวลานำเรือยาวลงสู่ลำน้ำ พร้อมฝึกซ้อมฝีมือเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันตามประเพณี ซึ่งดำเนินมาเนิ่นนานหลายร้อยปี
ประเพณีนี้สมัยก่อนกำหนดการแข่งขันกันระหว่างหมู่บ้านต่างๆ ในงานประเพณีตานก๋วยสลาก ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวล้านนา แสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษที่ลวงลับแล้ว ด้วยการนำข้าวสารอาหารแห้ง ผลไม้ ของใช้จำเป็น ดอกไม้ธูปเทียน มาใส่ในชะลอมหรือก๋วย นำไปที่วัดทำพิธีโดยการจับสลาก โดยไม่เจาะจงถวาย ซึ่งตานก๋วยสลากนี้นิยมจัดกันประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคม
ภายในงานนี้ก็นิยมเชื้อเชิญหมู่บ้านอื่นๆ มาร่วมแข่งเรือกันตลอดทั้งเดือน ต่อมาทางราชการจึงได้มีการกำหนดให้งานตานก๋วยสลาก ของวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นยามที่เหมาะกับการเปิดสนามแข่งเรือประจำปีของเมืองน่าน และจะมีการแข่งขันนัดปิดสนามกันอีกครั้งหลังออกพรรษา ในการฉลองกฐินพระราชทาน
เอกลักษณ์ของเรือยาวเมืองน่านนั้น อยู่ที่รูปทรงเพรียวบางของเรือ สมัยก่อนจะใช้ต้นตะเคียนทองทั้งต้นมาขุดทำเป็นเรือแข่ง หัวเรือใช้ไม้แกะสลักเป็นรูปพญานาค ระบายสี ประดับกระจกสี ตัวเรือระบายสีสวยงาม ส่วนหางจะงอนงามเป็นหางนาค แต่บางคนก็เรียกว่าหางหงส์
การนำหัวพญานาคมาประดับที่หัวเรือนี้ อาจมาจากตำนานขุนนุ่น ขุนฟอง ซึ่งเป็นต้นเค้าราชวงศ์ภูคา บรรพบุรุษของเมืองน่านที่เชื่อว่ากำเนิดมาจากพญานาค และยังมีตำนานอุรังคธาตุว่า พญาสุวรรณนาคราชเป็นผู้สร้างแม่น้ำน่าน แข่งกับพญานาคาศรีสุทโธ ที่สร้างแม่น้ำโขง (ซึ่งในเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ก็มีการแข่งเรือหรือส่วงเฮือ เช่นเดียวกัน)
ชาวบ้านนั้นเชื่อกันว่าพญานาคมีความศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล การแข่งเรือนี้ก็ประหนึ่งการบูชาพญานาค ทั้งยังสร้างความรัก ความสามัคคีให้กับชุมชน เพราะเมื่อถึงเวลาแข่งเรือ จะเริ่มตั้งแต่การบายศรีสู่ขวัญเรือ บูชา “ผีเรือ” หรือที่ภาคกลางเรียกว่า “แม่ย่านางเรือ” ทุกคนในชุมชนจะร่วมไม้ร่วมมือกัน ส่งข้าว ส่งน้ำ พร้อมไปช่วยกันเชียร์ฝีพายของหมู่บ้านตนเอง แม้กระทั่งเมื่อแข่งเสร็จแล้วก็ยังมีพิธีบายศรีสู่ขวัญและเลี้ยงผีเรือ เพื่อเป็นสิริมงคลของคนในหมู่บ้านอีกด้วย
การแข่งเรือในเมืองน่าน นอกจากประเภทความเร็วที่ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวมาเป็นฝีพายแล้ว ยังมีประเภทเรือโบราณอายุนับร้อยปี ที่ฝีพายก็อายุกว่าครึ่งศตวรรษ มาแข่งเพื่อความสนุกสนานสามัคคี และยังมีประเภทสวยงาม ซึ่งการแข่งเรือนี้ ไม่ได้เน้นเรื่องการแพ้ชนะเป็นสำคัญ แต่เป็นการสืบสานประเพณีอันยิ่งใหญ่และงดงามของเมืองน่านไว้สืบไป
ตารางแข่งเรือที่น่าสนใจ ประจำปี ๒๕๖๒
ประเพณีแข่งเรือในเมืองน่านนั้น มีสนามใหญ่ๆ อยู่สาม สี่ แห่งซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำน่าน คือ ที่ อ. ท่าวังผา ซึ่งเป็นอำเภอแรกที่เริ่มเปิดฤดูกาลแข่งเรือเมืองน่าน จากนั้น ก็จะมีแข่งที่ อ. เมือง อ. เวียงสา และ อ. ปัว นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันกันระหว่างหมู่บ้าน ซึ่งเป็นงานเล็กๆ ที่ยังดำรงประเพณีสืบต่อกันมา งานแข่งเรือที่น่าสนใจในปี ๒๕๖๒ มีดังนี้
1.ประเพณีแข่งเรือ อ. ท่าวังผา 31 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน เชิงสะพานท่าวังผาพัฒนา อ.ท่าวังผา (ไทยพีบีเอส ถ่ายทอดสด)
2.ประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน (นัดเปิดสนาม) 14-15 กันยายน
3.ประเพณีแข่งเรือบ้านหนองเงือก ต.แงง อ.ปัว 22 กันยายน
4.ประเพณีแข่งเรือ ต. น้ำปั้ว อ. เวียงสา 5-6 ตุลาคม
5.ประเพณีแข่งเรือออกพรรษา ตานก๋วยสลาก วัดบุญยืนพระอารามหลวง อ. เวียงสา 12-13 ตุลาคม (ไทยพีบีเอส ถ่ายทอดสด)
6.ประเพณีแข่งเรือตักบาตรเทโวโรหนะวัดศิลามงคล อ.ท่าวังผา 14 ตุลาคม
7.ประเพณีแข่งเรือเยาวชนจังหวัดน่าน ท่าน้ำบ้านเจดีย์ ต. ดู่ใต้ อ.เมือง 19 ตุลาคม
8.ประเพณีแข่งเรือตานสลากจูมปู ต. ดู่ใต้ อ. เมือง จ. น่าน 20 ตุลาคม
9.ประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน (นัดปิดสนาม) 25-27 ตุลาคม
สำหรับคนที่อยากไปชมความสนุก ไปเชียร์เรือแข่ง ก็อย่าลืมวางแผนลางานกันให้พร้อม….คุณอาจจะได้พบกับ นายรอบรู้ นักเดินทาง ตะโกนเชียร์เรือแข่งอยู่ข้างๆ คุณ ก็เป็นได้
ประเพณีแข่งเรือในเมืองน่านนั้น มีสนามใหญ่ๆ อยู่สาม สี่ แห่งซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำน่าน คือ ที่ อ. ท่าวังผา ซึ่งเป็นอำเภอแรกที่เริ่มเปิดฤดูกาลแข่งเรือเมืองน่าน จากนั้น ก็จะมีแข่งที่ อ. เมือง อ. เวียงสา และ อ. ปัว นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันกันระหว่างหมู่บ้าน ซึ่งเป็นงานเล็กๆ ที่ยังดำรงประเพณีสืบต่อกันมา
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
“ตลาดหัวปลียินดีต้อนรับ” คำกล่าวทักทายแสนเป็นมิตรยังติดหู คำธรรมดาที่ได้ยินทั่วไปแต่หากได้ฟังพร้อมสีหน้าเปี่ยมล้นด้วยรอยยิ้มเเสนหวานของพ่อค้าแม่ขายที่นี่แล้วกลับอบอุ่นชวนให้อยากกลับไปอีกครั้ง
ททท.สำนักงานแพร่ ขอเชิญร่วมงาน ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง ประจำปี 2562 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่ ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว และผู้สนใจเที่ยวงาน “ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง ประจำปี 2562” ในระหว่างวันที่ 14-20 มีนาคม 2562 ณ วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ นางสิรินาถ ฉัตรศุภกุล ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่ กล่าวว่า
หลายคนฝันที่จะตื่นขึ้นพบกับภาพป่าเชียวชอุ่มจากหน้าต่างห้องพัก ฝันว่ามีเสียงน้ำไหลรินขับกล่อมให้เข้านอนและเป็นเสียงแรกที่ได้ยินเมื่อตื่น ทุกอย่างเป็นจริงได้ที่นี่ — “บ้านป่าเหมี้ยง” ชุมชนเล็กๆ ที่น่ารักในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง — เมืองรองต้องห้ามพลาด
ร้านอาหารเล็กๆ ที่ภายนอกดูไม่โดดเด่นนัก แต่ทว่ากลับการันตีด้วยรางวัลมิชลินเพลท ที่ใครต่อใครก็ต่างจองคิวเพื่อมาลิ้มลองให้ได้สักครั้งในชีวิต ที่นี่คือร้านอาหาร Fine Thai Cuisine เสิร์ฟอาหารไทยที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมพื้นบ้านและรสชาติของวัตถุดิบท้องถิ่น ตามแบบฉบับของครอบครัวนันทิแสง ที่เชฟใหญ่ประจำร้านอย่าง ต้อม–นพดล นันทิแสง พยายามถ่ายทอดออกมาให้ทุกคนได้ลิ้มรส
© 2018 All rights Reserved.