ก๋วยเตี๋ยวเป็ดภูเก็ต
ก๋วยเตี๋ยวเป็ด “ภูเก็ต” น่ะถูกแล้ว อ่านชื่อไม่ผิดหรอก เขาตั้งชื่อร้านอย่างนี้เพราะเจ้าของสูตรเคยเป็นกุ๊กที่ภูเก็ต เมนูที่ “นายรอบรู้” ถูกใจกลับเป็นอาหารจานเดียวสารพัดเป็ด โดยเฉพาะผัดกะเพราเป็ดราดข้าว
ใครที่มาเที่ยวเมืองน่าน นอกเหนือจากความงดงามของธรรมชาติ หรือการมากราบพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำปีเกิดของคนปีเถาะแล้ว อีกแห่งทีเปรียบดังอัญมณีค่าควรเมือง ก็คือการได้มากราบพระประธานสี่ทิศ พร้อมทั้งยลจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือช่างเมืองน่านที่เชื่อกันว่ามีเพียงสองแห่งคือที่ วัดหนองบัว อ. ท่าวังผา และที่วัดภูมินทร์ กลางข่วงเมืองน่านแห่งนี้
ตามหลักฐานพงศาวดารเมืองน่านระบุว่า เดิมวัดนี้ชื่อวัดพรหมมินทร์ สร้างโดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ในปี พ.ศ. 2139 โดยสร้างเป็นอาคารจัตรุมุข ประดิษฐานพระประธานสี่องค์ โดยหมายถึงพรหมวิหารสี่ สมดังพระนามของพระองค์ กาลต่อมาจึงค่อยๆ เพื่อนเป็นชื่อวัดภูมินทร์
ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ประมาณปี พ.ศ. 2410 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน เห็นว่าอาคารทรุดโทรมไปมาก จึงทำการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ทั้งยังให้หนานบัวผัน ซึ่งเป็นจิตรกรผู้วาดภาพฝาผนังวัดหนองบัว มาวาดภาพที่วัดภูมินทร์นี้ด้วย ทั้งการบูรณะและวาดภาพเพิ่มเติมนี้ใช้เวลาถึง 8 ปี จึงแล้วเสร็จ
อาคารที่มีมุขหลังคายื่นออกมาสี่ด้านนี้ สันนิษฐานว่าเป็นวิหารทรงจัตรุมุขหลังแรกของประเทศ มีนาคคู่คอยหนุนรองรับ หัวนาคอยู่ด้านเหนือ ปรากฏหางทางด้านใต้ ส่วนนี้ถือเป็นพระอุโบสถ ส่วนทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกถือเป็นพระวิหาร ความงามโดดเด่นนี้ทำให้รัฐบาลไทยในสมัยรัชกาลที่ 8 นำรูปวิหารไปตีพิมพ์ลงบนธนบัตรใบละ 1 บาท
บริเวณหน้าบันเป็นรูปพรรณพฤกษา เปรียบประดุจป่าหิมพานต์ เมื่อเดินเข้าไปในวิหารก็เปรียบดังเดินขึ้นเขาพระสุเมรุ ผ่านบานประตูที่มีรูปพระเวสสุวัณแผลงฤทธิ์ เข้าไปจะพบพระประธานปางมารวิชัยขนาดใหญ่สี่องค์หันพระปฤษฎางค์ (หลัง) ชนกัน หันหน้าไปยังทิศทั้งสี่ มีผู้สันนิษฐานว่าหมายถึงอดีตพระพุทธเจ้าทั้งสี่ที่ตรัสรู้แล้วในภัทรกัป ด้านหลังเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง สูงขึ้นไปจรดเพดานหากออกไปมองดูจากภายนอกจะเห็นยอดเจดีย์เป็นเหมือนพระพุทธรูปอยู่ทั้งสี่ทิศ มีฉัตรห้าชั้นกางอยู่ด้านบนสุด
บริเวณเสายังมีการประดับปูนปั้น ลงรักปิดทองประดับกระจก บริเวณเพดานมีลวดลายประดิษฐ์อย่างวิจิตร ผนังโดยรอบเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเต็มทั้งสี่ทิศ
จิตรกรรมฝาผนังนี้ วาดเต็มผนังทุกด้านบริเวณด้านบนเหนือประตูของทุกด้าน เขียนเป็นภาพพุทธประวัติขนาดใหญ่ เกือบเท่าตัวคน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของช่างเขียนท่านนี้ สามด้านจะเป็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัย ล้อมรอบด้วยอัครสาวก ส่วนด้านตะวันตกจะเป็นปางไสยาสน์ ปรินิพพาน
ที่น่าสนใจคือ ด้านทิศเหนือจะมีภาพวาดแม่ชี นั่งอ่านหนังสือ มีแมวอยู่ด้านข้าง หรือภาพพระกำลังสอนหนังสือเณร ช่วงวาดให้มีขนาดใหญ่เกือบเท่าคนจริง ซึ่งภาพลักษณะเดียวกันนี้ ก็ปรากฏอยู่ที่วัดหนองบัว เช่นกัน ส่วนด้านล่างจะวาดเป็นชาดกเรื่อง คัทธนกุมารชาดก
เรื่องราวของพระโพธิสัตว์ ที่เสวยชาติเป็นหนุ่มน้อย ผู้เดินทางช่วยเหลือสรรพสัตว์ ภาพเริ่มจากทางผนังด้านซ้ายของทิศเหนือ เล่าเรื่องหญิงม่ายผู้มีใจอารีอาศัยในเมืองศรีษะเกษ เมื่อพระโพธิสัตว์จะมาสั่งสมบุญบารมียังโลก พระอินทร์จึงแปลงร่างเป็นพญาช้างเผือกมาเหยียบย่ำนาข้าวของนางจนเสียหาย นางตามรอยเท้าช้างไปจนเหนื่อย ก้มลงกินน้ำในรอยเท้า ทำให้ตั้งครรภ์ คลอดออกมาพร้อมดาบวิเศษสรีกัญไชย จึงได้ชื่อว่า “คัทธนกุมาร” และมีกำลังแข็งแรง เมื่ออายุได้ 16 ปีได้ช่วยมารดาจากนางยักษ์ในป่าจนได้ทองคำ และน้ำทิพย์ จนเจ้าเมืองได้ยินคำร่ำลือถึงความเก่งกาจ จึงโปรดให้เป็นอุปราช กุมารจึงนำน้ำทิพย์มาโปรยใส่แม่ จนกลับมาเป็นหญิงงามอีกครั้ง และถวายให้เป็นอัครมเหสี
ต่อมาด้วยความคิดถึงบิดา จึงออกเดินทางเพื่อตามหา ได้พบกับ ชายที่มีกำลังลากไผ่ร้อยกอ และชายที่มีกำลังลากเกวียนร้อยเล่ม เจ้าคัทธนกุมาร เอาชนะจนได้สองชายไผ่ร้อยกอ และชายร้อยเล่มเกวียนมาเป็นผู้ติดตาม ไปจนถึงเมือง อินทปัตนคร ได้ปราบจิ้งกุ่ง (จิ้งหรีด)ยักษ์ ได้ของวิเศษคือ ไม้เท้าต้นชี้ตายปลายชี้เป็น และพิณสามสาย ซึ่งดีดแล้วจะให้คนมาสวามิภักด์ ขับไล่ศัตรู หรือเรียกหาอาหารได้
ผนังด้านทิศตะวันออกเป็นเรื่องการเดินทางไปถึงเมืองขวางทะบุรี ช่วยเจ้าหญิงกลองสี จากฝูงงูยักษ์ ที่มีทำร้ายชาวเมืองเนื่องจากไม่อยู่ในศีลในธรรม เมื่อรบชนะและฟื้นคืนชีพชาวเมืองแล้ว จึงให้ชายไผ่ร้อยกอครองเมืองกับนางกลองสี ด้านขวาเป็นอีกเมืองชวาทวดี ช่วยเจ้าหญิงคำสิงในหอกลอง และปราบนกแร้ง เหยี่ยว ยักษ์ และให้ชายร้อยเล่มเกวียนครองเมือง
ผนังด้านทิศใต้เล่าเรื่องเมื่อถึงเมืองจำปานคร ได้พบรักกับนางสีไว ลูกสาวเศรษฐีมีบุตรด้วยกันสองคน คือ คัทธเนตร และคัทธจัน
ด้วยการประกอบกรรมดีหลายอย่างในที่สุด พระอินทร์จึงแปลงร่างเป็นพญาช้างเผือกมาพบกับคัทธนกุมาร โดยแกล้งป่วยตาย และมอบงาวิเศษให้ แต่คัทธนหลงอุบายเจ้าเมืองตักศิลา เอาไม้เท้าชี้ตัวเองตาย ลูกสองคนได้ข่าวโดยคัทธจันผู้น้องออกมาตามหาบิดาได้ฆ่าเจ้าเมืองตักศิลาและได้งาช้างคืนมา แต่คัทธเนตรเกิดริษยาน้องอยากได้งาช้างกิ่งหนึ่ง จึงเกิดการรบรากันขึ้น จนพระอินทร์ต้องสั่งให้ขุนแถนสร้าง “ลมพิชฌขอด” (ลมที่คมกล้าดังมีดโกน พ่วงด้วยกระดึงหลวง มีเสียงดังดุจฟ้าผ่าแสนครั้ง) ตัดพระศอคัทธเนตรจนสิ้นพระชนม์ คัทธนจันได้ครองชมพูทวีป เป็นจักรพรรดิราชทรงทศพิธราชธรรมสืบมา
ชาดกเรื่องนี้ สอนลูกหลานชาวน่าน ให้มีความพยายาม ตั้งใจทำความดี มีความเสียสละ กตัญญู และช่วยเหลือผู้อื่น
โดยตัวละครสำคัญที่กลับชาติมาเกิด เช่น เจ้าเมืองศรีษะเกษ คือพระสุโทธนะ หญิงม่าย คือพระนางสิริมหามายา พระเจ้าคัทธนะ กลับชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ชายไผ่ร้อยกอคือพระสารีบุตร ชายเกวียนร้อยเล่มคือพระโมคคัลลานะ คัทธจันคือพระราหุล คัทธเนตรคือพระเทวทัต เป็นต้น
ส่วนผนังด้านทิศตะวันตก เป็นเรื่อง เนมีราชชาดก ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี พระอินทร์ทรงอัญเชิญให้ไปโปรดปวงเทวดาบนสวรรค์ โดยให้พระมาตุลีนำเวชยันตราชรถมารับ บนสวรรค์มีทั้งต้นปาริชาติ และพระธาตุเกตแก้วจุฬามณี รวมถึงทรงลงไปโปรดปวงคนบาปในนรก เป็นการสอนให้คนหมั่นทำความดีละเว้นความชั่ว
ในจำนวนภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้ นอกเหนือจากภาพขนาดเล็ก ที่เขียนเป็นเรื่องชาดกแล้ว ยังมีภาพขนาดใหญ่ อีกจำนวนหนึ่งตามด้านข้างของกรอบประตู หรือบริเวณใกล้เคียงกับภาพพุทธประวัติ อย่างเช่นภาพแม่ชีกำลังให้อาหารแมว หรือพระเณรกำลังอ่านหนังสือบนผนังด้านทิศเหนือ ภาพชายสูงศักดิ์สวมเสื้อครุยสีแดง ที่สันนิษฐานว่าอาจเป็นภาพของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่านผู้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ บนผนังทิศตะวันออก ผนังด้านใต้สองฝั่งประตู เป็นภาพหญิงและชายสูงศักดิ์ ในชุดพื้นเมือง และภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดอีกภาพคือ ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน กระซิบรักอยู่ริมประตูด้านทิศตะวันตก
แต่หลายภาพที่น่าสนใจไม่ควรพลาด ที่ทั้งศิลปิน และผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ กล่าวยกย่อง อย่างน้อยมี 4 ภาพ ดังนี้
“หญิงม่ายสอนทอผ้า”
ภาพบริเวณผนังทิศเหนือด้านซ้ายนี้ จะเห็นวิถีชีวิตของคนเมืองน่านสอดแทรกอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการคลอดลูก การละเล่น การทำนา โดยเฉพาะกระบวนการทอผ้า ลวดลายผ้าซิ่นที่ปรากฏอยู่ในชุดต่างๆ ของหญิงสาว ยังเป็นผ้าที่ชาวเมืองน่านยังนุ่งกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นซิ่นป้อง หรือซิ่นม่าน โดยเฉพาะภาพนางยักษ์ที่อยู่ใกล้เคียงกัน จะเป็นว่านางยักษ์นุ่งซิ่นคาดก่าน แทรกด้วยลายป้อง เป็นชั้นๆ
“ต่อบุหรี่ชายตา”
ภาพบริเวณผนังทิศเหนือด้านขวา เป็นภาพชายคนหนึ่งกำลังของต่อบุหรี่กับหญิงสาว โดยฝ่ายชายมีเพื่อนมาด้วยสามคน ช่วยฝ่ายหญิงมีเพื่อนกลุ่มใหญ่อีกหกคนยืนอยู่ด้านหลังด้วยอากัปกิริยาต่างๆ กัน มีหญิงสาวอีกนางหนึ่งกำลังหาบคุน้ำ ภาพนี้งดงามด้วยองค์ประกอบต่างๆ อย่างลงตัว และแฝงเร้นการสักขา ลวดลายของผ้าซิ่นแบบต่างๆ โดยเฉพาะกิริยาการขอต่อบุหรี่ขี้โยในพื้นที่สาธารณะ ก็เปรียบเหมือนการต่อไมตรีซึ่งกันและกัน
ถ้าหญิงสาวไม่มีใจ คงไม่ยินยอมต่อบุหรี่ด้วย ถ้าเป็นในปัจจุบันก็คงเหมือนการเข้าไปขอแลกไลน์ หรือขอเบอร์โทร. กระนั้น
“โมนาลิซาเมืองไทย”
ภาพริมประตูด้านทิศตะวันออก เป็นภาพผู้หญิงขนาดใหญ่เกือบเท่าคนจริง กำลังเกล้าผม เชื่อว่าเป็นภาพของนางสีไว ในคัทธนกุมารชาดก นางแต่งกายแบบผู้มีฐานะ เกล้าผมเสียงดอกไม้แห้ง และปิ่นปัก เจาะหูม้วนแผ่นทอง (แผ่นทองนี้เปรียบเสมือนบัตรประชาชนในปัจจุบัน เพราะจะมีการจารึกวันเดือนปีเกิด และชื่อตนไว้ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเจ้านายราชสกุล หรือผู้มีฐานะมั่งคั่ง จึงจัดทำ โดยการตีแผ่นทองให้บางแล้วม้วน ก่อนเจาะใส่แทนต่างหูทั้งชายและหญิง)
ภาพนี้งดงามด้วยการทอดสายตา และรอยยิ้มชวนสงสัย จะมองมุมใดก็งดงาม จนปราชญ์เมืองน่านท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่าเป็นดังภาพ “โมนาลิซา” แห่งเมืองเหนือ
“ปู่ม่านย่ามานกระซิบรัก”
ภาพบุคคลขนาดใหญ่ริมประตูด้านทิศตะวันออก ชายหนุ่มเปลือยอกเห็นรอยสักดำตั้งแต่สะดือมาจนถึงโคนขา สมดังคำเรียก ลาวพุงดำ ที่หนุ่มไหนไม่กล้าสักแสดงความกล้าหาญ หญิงสาวมักไม่ชายตามอง ทำท่าเกาะไหล่กระซิบกับหญิงสาวที่นุ่งซิ่นลุนตยา สวมเสื้อคลุมแบบพม่า การเกาะไหล่แบบนี้ในสมัยก่อนบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระดับสามีภรรยา ทั้งแววตา สีหน้า ท่าทาง อากัปกิริยาของทั้งคู่ก็แสดงถึงความรักความผูกพันกัน
ภาพชายหนุ่มสักขาดำลาย ป้องปากกระซิบคำกับหญิงสาวที่สวมชุดแต่งกายแบบพม่า หรืออาจเป็นไทใหญ่ บริเวณริมประตูด้านทิศตะวันตก มีอักษรล้านนาโบราณกำกับไว้ลางๆ ว่า “ปู่ม่านย่าม่าน”
อ. สมเจตน์ วิมลเกษม อดีตอาจารย์โรงเรียนสตรีศรีน่าน อธิบายภาพนี้ในบทความ “ภาษาล้านนา : อักษรศาสตร์ที่ปรากฎในภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ ว่า
“คำว่าม่านนั้น ภาษาล้านนาใช้เรียกดินแดนพม่าและชาวพม่า และบางทียังใช้เรียกชาวไทใหญ่ในที่ราบสูฉาน ในเขตพม่า หรือ “ม่าน” ส่วนคำว่า “ปู่” และ “ย่า” ในภาษาถิ่นล้านนามิได้หมายถึงผู้เฒ่าผู้แก่เสมอไป ในบางบริบทก็เป็นคำสรรพนามเรียกชายหญิง ดังนั้นคำนี้อาจหมายถึง หนุ่มม่านสาวม่านก็ได้”
ครั้งหนึ่งท่านเคยเอ่ยคำค่าวโบราณให้ธีรภาพ โลหิตกุล นักเขียนสารคดี ฟังว่า
“คำฮักน้อง กูปี้จักเอาไว้ในน้ำก็กลัวหนาว จักเอาไว้พื้นอากาศกลางหาว ก็กลัวหมอกเหมยซอนดาวลงมาคะลุม จะเอาไปใส่ในวังข่วงคุ้ม ก็กลัวเจ้าปะใส่แล้วลู่เอาไป ก็เลยเอาไว้ในอ๊กในใจ๋ตัวจายปี้นี้ จักหื้อมันไห้อะอิอะฮี้ ยามปี้นอนสะดุ้งตื่นเววา..” แปลว่า ความรักของน้องนั้น พี่จะเอาไปฝากในน้ำก็กลัวเหน็บหนาว จะฝากไว้กลางท้องฟ้านภากาศ ก็กลัวเมฆหมอกมาปกคลุม จะเอาไปฝากในวังในคุ้มเจ้าหลวง ก็กล้วเจ้านายจะมาเจอะเจอแล้วแย่งไป เลยขอเอามาไว้ในอกในใจของพี่ จะให้มันร้องไห้กระซิกกระซี้ถึงน้อง ไม่ว่ายามพี่นอนหลับหรือสะดุ้งตื่น”
ธีรภาพจึงนำวลีเก่าที่ อ. วินัย ปราบริปู ศิลปินชาวน่านเคยอ้างถึงภาพนี้ไว้ว่า ชื่อภาพ กระซิบบันลือโลก มารวมกับคำว่ารัก กลายเป็น “กระซิบรักบันลือโลก” โดยนำไปตั้งเป็นชื่อบทความ “ยลยอดจิตรกรรมโรมานซ์ล้านนา อดัม–อีวา ณ น่าน” ในนิตยสาร Travel Guide ในปี 2553
จากนั้นทั้งวลี “กระซิบรักบันลือโลก” และคำค่าวโวหารชมสาวแบบ “นารีปราโมทย์” จึงค่อยๆ ซึมซาบลงไปในใจผู้คนที่มาเยี่ยมเยือน กลายเป็นอีกเอกลักษณ์หนึ่งของเมืองน่านไป
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
ก๋วยเตี๋ยวเป็ด “ภูเก็ต” น่ะถูกแล้ว อ่านชื่อไม่ผิดหรอก เขาตั้งชื่อร้านอย่างนี้เพราะเจ้าของสูตรเคยเป็นกุ๊กที่ภูเก็ต เมนูที่ “นายรอบรู้” ถูกใจกลับเป็นอาหารจานเดียวสารพัดเป็ด โดยเฉพาะผัดกะเพราเป็ดราดข้าว
เสียงขิมบรรเลงเพลงไทยเดิมที่ดังมาจากศาลา หน้าบ้านไม้หลังเก่า “บ้านโสมส่องแสง” ทำให้หวนนึกถึงบทเพลงจากครูมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติสาขาดุริยางคศิลป์ ศิลปิน 5 แผ่นดินที่แต่งเพลงกว่า 200 บทเพลง
วัดล้านขวด เก๋ไก๋ ไม่เหมือนใคร @ ศรีสะเกษ เคยเข้าวัดสุดแปลกบ้างไหม? อยากให้ลองมาเยือนวัดล้านขวด จ.ศรีสะเกษกันสักครั้ง “นายรอบรู้” ขอชวนแวะไหว้สักการะพระพุทธรูปหยกขาว พร้อมชมสถาปัตยกรรมสุดแปลกตา เก๋ไก๋ไม่เหมือนใครกันที่วัดล้านขวด – เห็นเพียงชื่อวัดก็สงสัยว่า ทำไมถึงมีคำว่าขวดด้วยละ วัดล้านขวด หรือวัดป่ามหาเจดีย์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2547 อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ โดยวัดแห่งนี้ตั้งชื่อตามจำนวนขวดที่นำมาสร้าง นับได้ถึง 1,500,000 ขวดกันเลยทีเดียว เกิดจากความคิดของท่านพระครูวิเวกธรรมาจารย์ หรือหลวงปู่ หลอด เจ้าอาวาสวัดป่ามหาเจดีย์ที่ต้องการสร้างเป็นปริศนาธรรม
ททท.สำนักงานแพร่ ขอเชิญร่วมงาน ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง ประจำปี 2562 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่ ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว และผู้สนใจเที่ยวงาน “ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง ประจำปี 2562” ในระหว่างวันที่ 14-20 มีนาคม 2562 ณ วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ นางสิรินาถ ฉัตรศุภกุล ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่ กล่าวว่า
© 2018 All rights Reserved.