
ยองเส้น @ เชียงคาน ต้องลองสักครั้ง!
ใครไปเที่ยวอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ไม่ควรพลาดการนวด “ยองเส้น” อันแสนเร้าใจสูตรไทเลยของแม่คำก้อย – อุไรรัตน์ ทิพย์รส ซึ่งเปิดให้บริการเพียงหนึ่งเดียวในเชียงคาน และอาจจะเป็นหนึ่งเดียวในประเทศ
ผ้าทอหลากลวดลายหลายสีสันที่แขวนวางอยู่ตามมุมต่างๆ ของร้านค้าในหมู่บ้านหนองบัว อ. ท่าวังผา ใกล้กับวัดหนองบัวที่มีงานจิตกรรมฝาผนังชั้นเลิศนั้น สร้างความตื่นตาแก่ผู้ที่รักผ้าไทย อีกทั้งรูปแบบลายผ้า ยังมีหลายผืนที่คล้ายคลึงกับที่ปรากฏในจิตรกรรม
ในยุคหลายร้อยปีก่อนที่ผู้คนยังมีวิถีชีวิตพึ่งพิงกับธรรมชาติ ผู้คนในถิ่นฐานต่างๆ อาศัยฝีมือในการสร้างพื้นฐานปัจจัยสี่ อาหาร บ้านเรือน ยารักษาโรค และโดยเฉพาะ เครื่องนุ่งห่ม ล้วนแต่เป็นความสามารถในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
เช่นเดียวกับหญิงสาวชาวไทลื้อ ซึ่งอพยพจากดินแดนสิบสองปันนา มาอาศัยอยู่ในหลายจังหวัดทางภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะใน เชียงราย น่าน พะเยา ราว 200 ปีมาแล้ว ไทลื้อเมืองล้า กลุ่มใหญ่ได้มาตั้งรกรากอยู่บริเวณบ้านหนองบัว อ. ท่าวังผา รวมไปถึงบ้านดอนมูล บ้านต้นฮ่าง และอีกหลายหมู่บ้าน
ในยุคที่ต้องลงแรงปลูกฝ้ายในเดือนสิงหาคม–กันยายน เพื่อให้ได้ดอกฝ้ายสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน (ปุยหุ้มเมล็ด) เพื่อพร้อมในการนำมาทำเป็นเส้นด้ายในปลายปี สาวๆ ในยุคนั้นชำนาญในการ “อีดฝ้าย” แยกเมล็ดออกจากปุย ดีดให้ฟูแล้วนำมาม้วนที่อุ๊ยๆ บอกว่าเป็นการ “แปงหาง” เป็นม้วนๆ ก่อนนำมาดึงเป็นเส้นฝ้ายยาว นำมาม้วนเป็นใจ
จากนั้นจึงนำไปย้อมด้วยสีสันต่างๆ เช่น สีน้ำเงินจากฮ่อม สีแดงจากครั่ง สีน้ำตาลจากแก่นฝาง สีดำจากมะเกลือ และอื่นๆ จากนั้นจึงนำมาทอเป็นผืนผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ผ้าหลบหรือผ้าเติ้ม (ผ้าปุที่นอน) ผ้าห่ม ที่เรียกว่า ผ้าตาโก้ง หรือผ้าผืนธรรมดาที่ไว้ตัดเสื้อป้าย ตัดกางเกงสะดอขายาว มุ้ง หมอน
ที่โดดเด่นและงดงามที่สุดคงเป็น ผ้านุ่ง หรือที่เรียกว่าผ้าซิ่นตา มีลักษณะแปลกว่าผ้ากลุ่มชนอื่นคือเป็นผ้าซิ่นที่มีสองตะเข็บ เรียกว่าซิ่นตา โดยจะทอผ้าตามยาวจนได้ขนาดที่ต้องการแล้วนำมาเย็บด้านข้างทั้งสองด้านจนเป็นถุง
ในช่วงกาลหลายร้อยปี ชาวไทลื้อนอกจากได้รักษาลวดลายในผืนผ้าของตัวเองไว้แล้ว ยังได้รับอิทธิพล และผสมผสานลวดลายต่างๆ ทั้งจากกลุ่มคนไทยวน ม่าน (พม่า) ลาว รวมถึงลื้อกลุ่มใหม่ๆ ที่อพยพเข้ามาในระยะหลังๆ ทำให้ซิ่นไทลื้อมีความโดดเด่นด้วยเทคนิคการทอที่หลากหลาย ตั้งแต่การมัดหมี่ จก ขิด เกาะ ล้วง การยกดอก
ผ้าไทลื้อที่โดดเด่นมากมีสามประเภท คือ ผ้าซิ่นม่าน ซิ่นก่าน และซิ่นลายน้ำไหล
ถ้ามาที่หลังวัดหนองบัวจะมีกลุ่มคนเฒ่า มีแม่อุ๊ยสามสี่คน นั่งทอผ้าอยู่เกือบทุกวัน แม่อุ๊ยนิยมนุ่งผ้าซิ่นม่านกับเสื้อป้าย ซิ่นม่านเป็นซิ่นที่ใช้นุ่งในชีวิตประจำวัน รวมถึงในในงานพิธีกรรม หรืองานบุญต่างๆ มีลักษณะเป็นลายขวาง สีน้ำเงิน ม่วง แดง สลับลายมุก แต่ละช่องไม่เท่ากัน บ้างก็นิยมทอด้วยไหมหรือสอดดิ้นเงินดิ้นทองไว้ด้วย
ซิ่นก่าน หรือเรียกว่า ซิ่นมัดก่าน/คาดก่าน ซิ่นแบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากคนไทลื้อในลาวที่อพยพเข้ามา มีลักษณะเดียวกับผ้ามัดหมี่ คือนำด้ายที่จะทอมามัดเป็นลวดลายต่างๆ เช่น ลายน้ำไหล ลายขอ หรือลวดลายอื่นๆ ตามจินตนาการของผู้ทอ ส่วนใหญ่นิยมย้อมด้วยคราม ซึ่งจะให้สีน้ำเงิน หรือครั่งที่ให้สีแดงก่ำ โดยบริเวณที่มัดไว้จะเป็นลวดลายสีขาว
ซิ่นลายน้ำไหลไทลื้อ ซิ่นลายนี้เป็นการรทอลวดลายเลียนแบบการไหลของกระแสน้ำที่พลิ้วไหว ใช้ด้ายพุ่งสลับสีแล้วใช้วีธีเกาะ ล้วง ทำเป็นลวดลาย มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เรียกลวดลายแตกต่างกันออกไป เช่น ลายน้ำใหลใบข้าว น้ำไหลมัดแตง น้ำไหลภูเขา
ในสมัยก่อนนั้น หญิงสาวทุกคนจะต้องทอผ้าเป็น เพราะถือเป็นคุณสมบัติสำคัญ หากใครทอผ้าไม่เป็นก็จะไม่มีใครมาสู่ขอ เช่นเดียวกันชายหนุ่มที่นิยมสักลายที่ขา เพื่อแสดงถึงความกล้าหาญ การที่เราเห็นลวดลายผ้าทอหลากลวดลายเต็มผืนผ้านั้น ส่วนใหญ่คนทอมักจะเป็นสาวๆ หรือแม่เรือนที่เพิ่งออกเรือน สายตายังดี จึงสามารถทอผ้าที่มีลวดลายจำนวนมาก เช่นลายมุก ลายขอใหญ่ ลายหงส์ เป็นลายลื้อล้วงที่สวยงาม พออายุมากขึ้นสายตาแย่ลงก็มักจะทอผ้าที่เรียบง่าย ลวดลายน้อยลง
ผ้าทอลายเรียบๆ ผืนหนึ่งๆ หากนับเวลาตั้งแต่เตรียมปลูกฝ้ายจนสามารถเก็บดอกฝ้ายได้ก็ใช้เวลานานหลายเดือน และยังต้องใช้เวลาอีกนับเดือนหลังงานบ้าน งานนา เพื่อมาทอผ้า ยิ่งเป็นผ้าผืนสวยลวดลายประณีตที่สาวๆ มักจะทอให้ตัวเองไว้ใช้ในงานบุญ หรือแม้แต่เก็บไว้ใช้ในงานแต่งงานของตัวเองนั้น บางผืนต้องใช้เวลาทอนานนับปี
ลวดลายที่สอดแทรกอยู่ในผืนผ้าจึงมีใช่เพียงใช้เป็นอาภรณ์ แต่ยังเป็นผลงานของศิลปะแห่งชีวิต ที่นับวันจะมีผู้สืบทอดน้อยลงไป
เป็นกลุ่มทอผ้าโดยคนเฒ่าคนแก่ของบ้านหนองบัว มีการสาธิตการอีดฝ้าย การดีดฝ้าย หรือการดึงฝ้ายเป็นเส้น สามารถไปทดลองทำได้
ร้านสิบสองปันนา ผ้าทอไทลื้อ
ที่ตั้ง ตำบล ป่าคา อำเภอ ท่าวังผา น่าน 55140
Facebook สิบสองปันนา ผ้าทอไทลื้อ
หลายสิบปีก่อน นางจันทร์สม พรหมปัญญา เป็นผู้รื้อฟื้นและชักชวนให้หญิงสาวชาวหนองบัวกลับมาทอผ้าพื้นเมืองขึ้นมาอีกครั้ง โดยเฉพาะผ้าทอลายน้ำไหลไทลื้อ สามารถไปชมการทอผ้าได้ทุกวัน
ที่ตั้ง บ้านหนองบัว ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน
โทร 054 685 222
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
ใครไปเที่ยวอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ไม่ควรพลาดการนวด “ยองเส้น” อันแสนเร้าใจสูตรไทเลยของแม่คำก้อย – อุไรรัตน์ ทิพย์รส ซึ่งเปิดให้บริการเพียงหนึ่งเดียวในเชียงคาน และอาจจะเป็นหนึ่งเดียวในประเทศ
“อยู่สระแก้ว… ไปตลาดโรงเกลือหรือ” เป็นคำถามของเพื่อนคนหนึ่งที่รู้ว่าตอนนี้อยู่ที่ไหน ซึ่งชวนให้คิดเหมือนกันว่า จ. สระแก้วที่ทุกคนนึกถึง นอกจากตลาดโรงเกลือแล้ว คนทั่วไปรู้จักอะไรในสระแก้วบ้าง
ท่ามกลางฤดูฝน สายชลหลั่งจากฟ้า ชโลมต้นหญ้าให้ชุ่มฉ่ำ เหล่าผีเสื้อนานาพันธุ์ มาชุมนุมกันที่ปางสีดา” สายฝนชุ่มฉ่ำแบบนี้ “นายรอบรู้” ขออาสาพาคุณไปยังอุทยานแห่งชาติปางสีดา “ดินแดนผีเสื้อแห่งผืนป่าตะวันออก” ที่ที่คุณจะได้พบกับผีเสื้อนับร้อยนับพัน เสน่ห์ของผีเสื้อปางสีดา คือ พบได้ง่าย มีจำนวนมาก และหลากหลายสายพันธุ์ ที่สำคัญได้เห็นแบบใกล้ๆ ขนาดผีเสื้อบินมาเกาะเลยทีเดียว หากไม่อยากพลาด ขอแนะนำให้เลือกวันที่ฟ้าเป็นใจ ช่วงฟ้าเปิด มีแสงแดดรำไร โดยเฉพาะช่วงเช้า 9 โมงถึง 11 โมง จะพบผีเสื้อเกาะนิ่งๆ ผึ่งปีกบนใบไม้ บ้างก็โบกบินไปมาอวดสีสันสวยงาม เส้นทางดูผีเสื้อปางสีดามีถึง
สำหรับใครไปเที่ยวหัวหิน เหตุผลหลักๆนั้นคือการไปเที่ยวทะเล ส่วนเหตุผลรองคือการไปกิน ครั้งนี้ “นายรอบรู้” ขอเสนอเพื่อสนองเหตุผลรองๆ ว่าในหัวหินมีอาหารเมนูเด็ดที่มีให้เลือกเก็บมากมาย ขอยกมาซัก 10 อย่างให้เก็บกันไปแบบเชิ้บๆ กันก่อน
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเต็มงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 ณ นครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย โดยผนึกกำลังพันธมิตรอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ยกทัพ Soft Power ของไทยเสนอแก่นักท่องเที่ยวออสเตรเลียอย่างใกล้ชิด เพื่อมุ่งสร้างความเชื่อมั่นและแรงบันดาลใจ
สู่การตัดสินใจเดินทางมายังประเทศไทย พร้อมตอกย้ำแบรนด์ Amazing Thailand ควบคู่กับแนวคิด Responsible Tourism ฉายภาพมิติใหม่ของท่องเที่ยวไทยที่พร้อมส่งมอบประสบการณ์ Amazing Experience อันเปี่ยมด้วยคุณค่า และความหมายในทุกช่วงเวลา
นางสาวปาริชาติ บุญคล้าย ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า การจัดงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ถือเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ “ปีท่องเที่ยวไทย 2566”
ตามแคมเปญ “Visit Thailand Year 2023, Amazing New Chapters” โดย ททท. มุ่งมั่น กระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลกมายังประเทศไทย เพื่อค้นพบมุมมองใหม่ของการท่องเที่ยวไทย โดยเฉพาะการท่องเที่ยว
เชิงประสบการณ์ (Experience-based-Tourism) ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เติมพลัง เติมความหมายบทใหม่ของชีวิต ผ่านสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว รวมถึง Soft Power of Thailand และการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ เพื่อยกระดับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยภายใต้แบรนด์ Amazing Thailand ให้แข็งแกร่งและยั่งยืน
สำหรับหมุดหมายสุดท้ายของงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 ณ the Southern Forecourt, Overseas Passenger Terminal, Circular Quay West ใจกลางนครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย โดยได้รับความร่วมมือจากทีมประเทศไทย ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงแคนเบอร์รา ผู้ประกอบการร้านอาหารไทย ธุรกิจนำเที่ยว และหน่วยงานพันธมิตร ผนึกกำลังออกแบบประสบการณ์ Amazing Experience ของประเทศไทยผ่านพลังแห่ง Soft Power มานำเสนอให้ชาวออสเตรเลียสัมผัสอย่างใกล้ชิด
พิธีเปิดงาน “Amazing Thailand Fest 2023 in Sydney” ในวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ได้รับเกียรติจาก นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรีเลีย นางสาวสุกัญญา สิริกาญจนากุล ผู้อำนวยการภูมิภาคอาเซียน เอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้ ททท. นางสาวปาริชาต บุญคล้าย ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ททท. ร่วมเปิดงาน ภายในงาน ททท. เนรมิตบรรยากาศแห่งความรื่นเริงภายใต้ธีมงานเทศกาลประเพณีไทย F-Festival ประดับด้วยธงราว ตุง โคม และกระทงหลากสี พร้อมจัดพื้นที่จำลองบรรยากาศสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม โดดเด่น เช่น หาดทรายและชายทะเลไทย ก่อนจะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้นักท่องเที่ยวผ่าน
Soft Power ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย 4 ภาค อาทิ รำไทย
สี่ภาค โขน โนรา เซิ้งอีสาน รำกลองยาว และการแสดงสุดพิเศษศิลปะการต่อสู้แม่ไม้มวยไทย F-Fight มรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังได้มีส่วนร่วมลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในโซนสาธิต ภายใต้แนวคิด Responsible Tourism นำเสนอกิจกรรมทำกระเป๋าสานจากขยะอวนทะเล จาก จ.กระบี่ และกิจกรรมการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นของที่ระลึกจาก จ. ภูเก็ต รวมทั้งกิจกรรมสาธิตทางวัฒนธรรม ได้แก่ การวาดร่ม การเพ้นท์หน้ากากผีตาโขน และ F-Fashion เชิญชวนผู้เข้าร่วมงานแบ่งปันและโพสต์ประชาสัมพันธ์งาน Amazing Thailand Fest 2023 บนโซเชียลมีเดีย เพื่อรับของที่ระลึกกางเกงช้างแฟชั่นยอดฮิตของไทย
อีกหนึ่งไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด คือ การนำเสนอวัฒนธรรมอาหาร F-Food กับ 8 บูธร้านอาหารไทยในซิดนีย์
จัดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มต้นตำรับไทย ประกอบด้วย ร้านชาติไทย (หมูพวง ส้มตำ ปากหม้อ ลาบไก่ ไส้กรอก
ไก่ย่างไม้) ร้าน Dodee Paidang Haymarket (ก๋วยเตี๋ยวต้มยำกุ้ง ปาท่องโก๋ เกี๊ยวทอด กล้วยทอด ไก่ทอด) ร้าน Thai Riffic Express (ผัดไทย โรตี ทาโก้ สะเต๊ะ) ร้าน Show Neua (ข้าวเหนียวหมูทอดน้ำพริก ข้าวซอย น้ำเงี้ยว ขนมจีน
แกงปู) ร้านพริกไทย (ผัดผักรวมเม็ดมะม่วง มัสมั่นเนื้อ ขาหมู แกงเขียวหวาน ผัดกะเพรา ผัดซีอิ๊ว) ร้าน Tawandang @ George St (ส้มตำ ไก่ย่าง ข้าวเหนียว) ร้าน Sabuy Express (ทุเรียน ขนุน ส้มโอ สับปะรด) ร้าน Top Class (มะพร้าว)
ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีบูธผู้ประกอบการพันธมิตรด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์
จัดกิจกรรมสาธิตเพ้นท์หน้ากากรูปสัตว์, สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (Thai Trade) ณ นครซิดนีย์
จัดกิจกรรมชิมผลไม้ไทย, สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงแคนเบอร์รา จัดกิจกรรมชิมเนื้อเป็ดปรุงสุกซึ่งมีการนำเข้าเพื่อจำหน่ายในออสเตรเลียเป็นครั้งแรก, สายการบินไทย, ไทยแอร์เอเชีย และต่อยอดแนวคิด Responsible Tourism เสนอเส้นทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ 20 เส้นทาง รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการตลาด “BOOK NOW, GET 80 AUS NOW” จัดโปรโมชั่นจองที่พักที่ส่งเสริมความยั่งยืนในประเทศไทยภายในงาน ผ่านเว็บไซต์ agoda รับส่วนลด 80 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราคา 2,000 บาท) ทั้งนี้ การจัดงานยังคง DNA ของ ททท. ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมด้วยการลดปริมาณการใช้พลาสติก เลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ย่อยสลายได้ มีการวางระบบการคัดแยกขยะ และตระหนักถึงการใช้วัสดุตกแต่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
นอกจากนี้ ททท. ได้จัดกิจกรรม “Amazing Thailand Fest Media Briefing” ในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ณ Watersedge at Campbell’s Stores, the Rocks นครซิดนีย์ โดยเชิญพันธมิตรผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและสื่อมวลชนในพื้นที่ จำนวน 40 ราย ร่วมอัปเดตสถานการณ์ท่องเที่ยวไทย รวมถึงสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวของไทย และต่อยอดจัดกิจกรรม “Amazing Thailand Fest to Fam Trip Australia to Thailand” นำคณะสื่อมวลชน influencers bloggers จากเครือรัฐออสเตรเลีย เดินทางสัมผัสประสบการณ์ Amazing Experience ทดสอบสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวไทย ใน 3 จุดหมายปลายทางหลัก ได้แก่ มาสัมผัส กรุงเทพฯ เชียงราย และกาญจนบุรี- สมุทรสงคราม ระหว่างวันที่ 20 – 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
ตลาดนักท่องเที่ยวออสเตรเลียเป็นตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีนัยยะสำคัญต่ออัตราการเติบโตของตลาดระยะใกล้ จากสถิติปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีโอกาสต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียแล้วกว่า 336,688 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 กรกฎาคม 2566 มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียเดินทางเข้าไทย
385,100 คน เทียบเท่าร้อยละ 85 ของสถิติในปี 2562 และจุดหมายปลายทางยอดนิยม 5 อันดับ ได้แก่กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต เกาะสมุย (สุราษฎร์ธานี) พัทยา (ชลบุรี) และกระบี่ ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Millennials
/ Gen Y Digital nomad Family และ Health-conscious รวมทั้ง เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพที่ตระหนักถึงการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน สอดคล้องกับกลยุทธ์พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปีท่องเที่ยวไทย ทั้งนี้ ททท. วางเป้าหมายกระตุ้นตลาดนักท่องเที่ยวออสเตรเลียเข้าเที่ยวไทย 522,000 ภายในสิ้นปีนี้
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
ตึง ต๊ะ ตึงตึง ตึง ตึง ต๊ะ ตึงตึง ตึง ตึง”
จังหวะกลองอันครื้นเครงเร้าใจเป็นเสียงของเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่ประกอบการแสดงอันแฝงไปด้วยพลัง นั่นก็คือ “ฟ้อนเจิง”
ภูเก็ตมีของอร่อยให้เลือกชิมหลากหลาย เริ่มจากอาหารเช้า แต่กระซิบนิดนึงว่าการมองหาข้าวเป็นอาหารเช้าคงเป็นเรื่องยาก เพราะคนภูเก็ตไม่กินข้าวเป็นอาหารเช้า
ถึงแม้คนกับงูจะอยู่ด้วยกันไม่ได้ ยิ่งเป็นงูที่มีพิษแล้วนั้น คงไม่มีใครอยากอยู่ด้วย แต่ที่หมู่บ้านบ้านโคกสง่า อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น แห่งนี้ ชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนเลี้ยงงูจงอางไว้ใต้ถุนบ้าน และจัดการแสดงงู ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติแวะมาที่หมู่บ้านนี้เป็นจำนวนมาก
‘นายรอบรู้’ อยากชวนปิดบ้านพากันไปเที่ยวฟาร์มนมควาย! คุณอ่านไม่ผิดหรอก ที่นี่เขาเลี้ยงควายเพื่อรีดนมจริงๆ เป็นฟาร์มเล็กๆ น่ารัก มีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ทำร่วมกันทั้งครอบครัว ที่สำคัญอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ แค่ฉะเชิงเทราเท่านี้เอง
© 2018 All rights Reserved.