ทะเลหมอกหยุนไหล เวลาความสุขที่เมืองปาย
ภาพทะเลหมอกสีขาว ให้ความรู้สึกราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์ คงเป็นสิ่งที่ใครๆ อยากจะพบ “นายรอบรู้” เองก็เหมือนกัน
หากถามว่า “เรารู้จักบ้านเราดีแค่ไหน?” คำตอบแรกที่นึกได้คงไม่มีใครรู้จักบ้าน ดีเท่าเจ้าบ้านอีกแล้ว แต่หากคำว่าบ้าน ในที่นี้ คือกรุงรัตนโกสินทร์ ราชธานีที่มีอายุกว่า 230 ปี คุณจะรู้จักบ้านหลังนี้…ดีแค่ไหน
วันนี้ นายรอบรู้ นักเดินทาง ออกเดินทางตามคำเชิญของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยไกด์มากความรู้ หลากอารมณ์ขันอย่าง คุณธานัท ภุมรัช ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ นักประชาสัมพันธ์ สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กทม. ไปทำความรู้จักบ้านหลังนี้ในช่วงอยุธยาตอนปลาย ต่อกรุงธนบุรี ตลอดเรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ไปชมความงามของวัดวาอาราม เรื่องราวประวัติศาสตร์ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
ริ่มต้นเส้นทางของวันนี้กันที่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษที่ตั้งอยู่ภายในเกาะรัตนโกสินทร์ วัดแห่งนี้เคยเป็นที่สังคยานาพระไตรปิฏกครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2331 สังเกตุได้จากการที่พระอุโบสถ และวิหารของวัดมหาธาตุมีขนาดใหญ่ สามารถรองรับพระภิกษุได้จำนวนมาก
ศิลปะภายในวัดมหาธาตุสร้างตามแบบ สกุลช่างวังหน้า เป็นวัดที่ออกแบบอย่างเรียบง่ายแต่ตรงตามแบบสถาปัตยธรรมไทย สังเกตุได้จากรูปแบบออาคารที่เป็นแบบจั่วชั้นเดียว ไม่ทำยอดปราสาท การใช้สีสันไม่ฉูดฉาดเท่าสกุลช่างวังหลวง
สิ่งน่าสนใจภายในวัดนั้นมีหลายสิ่ง ตั้งแต่ใบเสมาของพระอุโบสถที่ไม่ได้ตั้งล้อมรอบพระอุโบสถ แต่กลับเป็นเสมาติดผนัง สร้างความแปลกใจให้ผู้ได้มาพบเห็นครั้งแรกอย่างมาก สิ่งต่อมาคือ พระเจดีย์ทอง ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระอัฐิของสมเด็จพระปฐมมหาชนก หรือ พระราชบิดาของรัชกาลที่ 1 และสมเด็จพระวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
นอกจากนี้ภายในวิหารหลวงของวัดยังประดิษฐาน หลวงพ่อหิน พระประธานองค์เดิมสมัยอยุธยา และตู้พระไตรปิฏกที่มีลวดลายเก่าแก่ สวยงามน่าชมอย่างยิ่ง
เราออกเดินจากวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์เลี้ยวเข้าสู่กรมศิลปากร มาถึง หอประติมากรรมต้นแบบ เพื่อชมความงดงาม และละเอียดอ่อนของงานช่างหล่อ หนึ่งในแขนงงานช่างสิบหมู่ที่ใครหลายคนเคยได้ยินมาบ้าง ในอดีตที่แห่งนี้เป็นโรงปั้นและโรงหล่อของกรมศิลปากร จึงเป็นแหล่งบ่มเพาะศิลปินเอกของชาติ
ภายหลังจึงได้ย้ายโรงปั้น–หล่อออกไป และปรับเปลี่ยนเป็นหอประติมากรรมต้นแบบ เพื่อเก็บรวบรวมต้นแบบงานอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญต่างๆ ในประเทศ เช่น รูปหล่อต้นฉบับพระมหากษัตริย์ในอดีตเช่น รัชกาลที่ 1, รัชกาลที่ 5, รัชกาลที่ 9 เป็นต้น รูปหล่อต้นแบบของพระศรีศากยะทศพลญาณ พระพุทธรูปปางลีลา ซึ่งเป็นองค์ประธานที่ประดิษฐานอยู่ที่พุทธมณฑล จ. นครปฐม ใครที่สนใจงานประติมากรรม และงานศิลปะ ไม่ควรพลาด
จากนั้นเดินเลาะข้างกำแพงพระบรมหาราชวังเข้าสู่ท่าช้าง แล้วมุ่งหน้าไปขึ้นเรือข้ามฟากกันที่ท่าเตียน เพื่อเข้าไปชมความงามของ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษที่มีความสำคัญมากในประวัตศาสตร์ไทย วัดอรุณ เดิมชื่อวัดมะกอก หรือวัดมะกอกนอก สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ต่อมาพระเจ้าตากสินยกทัพจากอยุธยามาเพื่อตั้งราชธานี เรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า วัดแจ้ง และเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระบรมหาราชวัง และเคยเป็นวัดที่พระดิษฐาน พระแก้วมรกต คล้ายกับวัดพระแก้วในปัจจุบัน
วัดอรุณได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยปลายรัชกาลที่ 1 โดย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ภายหลังทรงขึ้นครองราชเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และทรงพระราชทานนามว่า “วัดอรุณราชธาราม”
หลังจากนั้นรัชกาลที่ 2 ทรงรับสั่งให้สร้างพระปรางค์ขึ้นใหม่ แต่กว่าจะแล้วเสร็จก็ล่วงเลยไปจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความรู้และภูมิปัญญาของช่างสมัยก่อนทำให้พระปรางค์วัดอรุณกลายเป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญแบบที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ว่ากันว่าต้องใช้ความรู้และความชำนาญในการสร้างอย่างมาก เพราะดินหน้าวัดเป็นดินเลน และพระปรางค์นั้นห่างจากริมแม่น้ำเพียงไม่กี่เมตร
ศราชโลกธาตุดิลก เล่ากันว่าหุ่นพระพักตร์ปั้นโดยรัชกาลที่ 2 ส่วนพระวรกายปั้นโดยรัชกาลที่ 3 ส่วนฐานขององค์พระยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอีกด้วย
ภายในพระอุโบสถยังมีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามเป็นอย่างมาก โดยผนังด้านบน ด้านหน้าและด้านหลังพระประธานเป็นภาพพุทธประวัติ ระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพทศชาติชาดก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือพระมหาชนก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของพระราชนิพนธ์พระมหาชนก พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 นั่นเอง (ชมภาพพระอุโบสถแบบ 360 องศา)
ออกจากวัดอรุณเดินเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนอรุณอัมรินทร์ ข้ามคลองบางกอกใหญ่แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปชมความงามของ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ไปกราบหลวงพ่อโตซำปอกง พระพุทธรูปที่ชาวบ้านในระแวกนี้ให้ความเคารพนับถือ
วัดกัลยาณมิตรนั้นเป็นวัดที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเจ้าพระยานิกรบดินทร์มหินทรมหากัลยาณมิตร (โต) ต้นสกุลกัลยาณมิตร ได้ยกที่ดินของตนสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าสัวโตนั้นเป็นพระสหายคนสนิทของรัชกาลที่ 3 และรู้ว่าพระองค์ทรงโปรดวัดพนัญเชิง จ. อยุธยาเป็นอย่างมาก จึงอยากสร้างวัดที่เลียนแบบวัดพนัญเชิงถวาย เมื่อทรงทราบเรื่อง รัชกาลที่ 3 จึงทรงมอบเงินเพื่อสร้างพระวิหาร และพระประธาน แล้วพระราชทานนามของวัดว่า “วัดกัลยาณมิตร”
พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อโต เป็นพระประธานในวิหารหลวง ซึ่งเป็นพระประธานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ก็ว่าได้ หน้าตักกว้าง 11.75 ม. สูง 14.75 ม. เป็นพระพุทธรูปที่ชาวจีนและไทยในย่ายนี้เคารพนับถือ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “ซำปอกง” โดยคำว่า “ซำ” แปลว่า สาม ส่วน “ปอ” แปลว่า ป้องกันรักษาแก้วประเสริฐหรือแก้ววิเศษ และ “กง” เป็นคำยกย่องผู้ใหญ่ ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งก็ใช้แทนได้ทั้งกับผู้ที่เป็นวีรบุรุษผู้เป็นที่เคารพบูชาหรือพระพุทธรูป ใครมากราบไว้จะเป็นศิริมงคลกับชีวิต
ก่อนออกจากวัดแนะนำให้ไปชมพระอุโบสถ ที่อาจจะดูแล้วแปลกตา แต่เป็นศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของการสร้างวัดในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการผสมผสานศิลปะแบบจีน ลักษณะคล้ายกับศาลเจ้าจีน เนื่องจากรัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าการสร้างวัดด้วยไม้นั้นไม่ทนทาน จึงเปลี่ยนมาใช้ปูนเป็นโครงสร้าง ตัดทอนส่วนของช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ออกไป และตกแต่งด้วยเครื่องถ้วยกระเบื้อง เรียกว่า ศิลปะแบบพระราชนิยม
ล่ากันว่าในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาล่วงมาถึงกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ มีชุมชนชาวจีนชุมชนใหญ่อยู่ในพื้นที่ระแวกวัดกัลยาณมิตรแห่งนี้ ก่อนจะมีวัดกัลยาฯ ก็มีหลักฐานว่ามีพระภิกษุจีนมาจำพรรษาอยู่ในศาลเจ้าในย่านนี้ จนหลายคนเรียกว่า ย่านกุฏีจีน หรือ กุฏิของพระภิกษุชาวจีนนั่นเอง
เพื่อให้เข้าใจเรื่องราวของย่านกุฏีจีนมากขึ้น เราจึงเดินทางมาที่ ศาลเจ้าเกียนอันเกง ศาลเจ้าเก่าแก่ที่มีทั้งเรื่องราวประวัติศาสตร์และเรื่องราวการอนุรักษ์ของคนรุ่นใหม่รวมอยู่ที่นี่ เราจึงเดินทางมาพบคุณบุญยนิธย์ สิมะเสถียร ผู้ดูแลศาลเจ้า เพื่อรับฟังเรื่องราวความเป็นมาของศาลเจ้าและชุมชนกุฏีจีน
บุญยนิธย์เล่าว่า ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางว่าในระแวกกุฏีจีนแห่งนี้เป็นย่านที่เรือสินค้าที่มาจากต่างประเทศต้องจอดเพื่อทำการตรวจตา ในระหว่างที่จอดเรือชาวเรือก็ลงพักในชุมชนริมน้ำ มีบันทึกเรื่องราวในสมัยกรุงธนบุรีว่ามีศาลเจ้าตั้งอยู่ในบริเวณนี้อยู่ก่อนแล้ว นอกจากเป็นศาลเจ้า ยังเป็นที่พักคณะสงค์จากจีน จนกลายเป็นชื่อชุมชน กุฏีจีน มาจนถึงทุกวันนี้
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการสร้างอาคารศาลเจ้าขึ้นใหม่ ด้วยการร่วมแรงร่วมใจกันของชาวชีนฮกเกี้ยน ซึ่งมีฝีมือมากเรื่องการแกะสลักไม้ จึงทำให้ศาลเจ้าแห่งนี้ถูกประดับด้วยเครื่องไม้แกะสลักทั่วทุกมุม ตั้งแต่ช่องหน้าต่าง ขื่อไม้ ถูกแกะสลักเป็นลวดลายอย่างวิจิตรบรรจง และยังได้รับการดูแลมาเป็นอย่างดี
ภายในศาลเจ้าประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิมเป็นองค์ประธาน หลังจากศักการะเจ้าแม่กวนอิมแล้วอยากให้ลองเงยหน้าขึ้น บนผนังด้านข้างของศาลเจ้ามีจิตรกรรมฝาผนังศิลปะจีนเรื่องสามก๊กที่งดงามมาก ถึงแม้ว่ากาลเวลาจะทำให้ภาพจิตรกรรมลบเลื่อนไปบ้าง แต่ก็ยังสามารถมองเห็นรายละเอียดและเรื่องราวได้เป็นอย่างดี
ศาลเจ้าเกียนอังเกงนั้นได้รับการดูแลจากครอบครัวสิมะเสถียร จนได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากร และได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ อีกด้วย
เมื่อพูดถึงศาลเจ้าย่านกุฏีจีน แล้วจะไม่กล่าวถึงโบสถ์คริสต์ก็คงจะไม่ได้ เราจึงเดินเลาะริมน้ำเจ้าพระยาเพื่อมาชมเรื่องราวของโบสถ์ซางตาครู้ส โบสถ์คาทอลิคเก่าแก่ที่อยู่คู่ชุมชนกุฏีจีนมานาน
โบสถ์ซางตาครู้ส เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิคที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่ครั้งสมัยพระเจ้าตากสินกอบกู้เอกราช ทหารโปรตุเกสนั้นเป็นหนึ่งในกำลังหลักที่ทำให้ทรงกอบกู้เอกราชสำเร็จ พระองค์จึงพระราชทานที่ดินบริเวณกุฏีจีนแห่งนี้ให้เป็นชุมชนโปรตุเกศหลังจากที่ตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ต่อมาจึงมีการสร้างโบสถ์ขึ้นจนเกิดเป็นวัดซางครู้ส
ส่วนอาคารของวัดซางตาครู้สแห่งนี้ไม่ใช่อาคารหลังเก่าสมัยครั้งก่อตั้งวัด เนื่องจากเกิดเพลิงไหม้ในปี พ.ศ. 2376 จึงทำให้ต้องสร้างอาคารก่ออิฐถือปูนใหม่ และมีการบูรณะอาคารหลังเก่าที่ทรุดโทรมขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. 2459 ด้วยศิลปะแบบนีโอคลาสสิก จนเป็นอาคารดังเช่นที่เราเห็นในปัจจุบันนี้
ถัดมาไม่ไกลจากวัดซางตาครู้ส จะพบกับ พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน ที่ซึ่งเก็บรวบรวมเรื่องราวของหมู่บ้านโปรตุเกส และความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนไทย และโปรตุเกสตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน โดยคุณตอง นาวินี พงษ์ไทย ทายาทลูกหลานเชื้อสายโปรตุเกสที่เห็นถึงความสำคัญของเรื่องราวในชุมชนและพยายามรักษาเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชม
ภายในพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีนชั้นล่างนั้นเป็นร้านกาแฟชิลล์ๆ น่านั่ง ส่วนชั้นบนของบ้านจัดทำเป็นห้องพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าประวัติความเป็นมาของชาวโปรตุเกสในเมืองไทย เรื่องราวการค้า อาหาร และขนมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวโปรตุเกส
ขนมอย่างหนึ่งที่ขึ้นชื่อของที่นี่ คือ ขนมฝรั่งกุฎีจีน ที่ใครๆ มาก็ต้องลองชิม หน้าตาคล้ายๆ ขนมไข่ที่กรอบนอก นุ่มใน เป็นการนำภูมิปัญญาของชาวโปรตุเกสมาปรับใช้จนกลายเป็นขนมขึ้นชื่อที่สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน เสียดายในตอนพวกเรามาถึงก็ใกล้เวลาที่ตะวันจะตกดินแล้ว ทำให้ไม่มีโอกาสได้ถ่ายภาพขนมฝรั่งกุฎีจีนมาให้ได้ชม แต่ส่วนรสชาตินั้นตัวผมเองมีโอกาสได้ชิมมาก่อนหน้านี้สมัยที่มาเที่ยวชมย่านกุฎีจีนครั้งก่อน บอกเลยว่า หอม อร่อย ทานกับกาแฟร้อนยิ่งเข้ากันดี ใครอยากชิมแนะนำว่าให้มาแต่เช้า แล้วตามกลิ่นหอมฟุ้งไปตามร้านเก่าแก่ในซอยกุฎีจีนแห่งนี้
เส้นทางที่เราเดินตั้งแต่สายจรดเย็นของวันนี้เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ บ้านที่หลายๆ คนอาศัยอยู่ หากอยากรู้ว่าบ้านหลังนี้มีอะไรน่าสนใจอีกบ้าง เพียงแค่คุณออกไปเดินสำรวจ มุมมองของคุณต่อบ้านหลังนี้อาจเปลี่ยนไป…
นายรอบรู้ชวนเที่ยวต่อกับ บทความ : Click >> เดินชมย่านเก่าทรงวาด เสพสตรีทอาร์ตคลองโอ่งอ่าง
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
ภาพทะเลหมอกสีขาว ให้ความรู้สึกราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์ คงเป็นสิ่งที่ใครๆ อยากจะพบ “นายรอบรู้” เองก็เหมือนกัน
สุดสัปดาห์นี้ถ้ายังไม่มีแพลนจะเดินทางไปไหน “นายรอบรู้ นักเดินทาง” จะพาทุกคนนุ่งซิ่นเดินชมงาน เส้นสายสีสันอัศจรรย์ผ้าไทย ครั้งที่๕ จัดขึ้นที่เดอะสตรีทรัชดา ตั้งแต่วันที่ ๑ – ๔ สิงหาคมนี้ ภายในงานจะพบกับร้านค้าผ้าชื่อดังที่ยกขบวนตบเท้าเข้ามาให้เลือกซื้อกันถึงเมืองกรุง อาทิ ร้านผ้าและสิ่งถักทอไท Dadaลุนตยาผ้าโบราณ ร้านบุญยวง และอีกต่างๆมากมาย
ขอนแก่น : ย่านตัวเมืองขอนแก่นมีคนไทยเชื้อสายเวียดนามอาศัยอยู่ไม่น้อย การกินไข่กระทะกับขนมปังสอดไส้เป็นมื้อเช้าจึงไม่ใช่เรื่องแปลกของคนที่นี่ และร้าน “เอมโอช” นี้ก็มีเมนูเด็ดคือขนมปังสอดไส้ เป็นขนมปังบาแกตต์ (Baguette) แบบฝรั่งเศส แต่ขนาดเล็กกว่า ผ่ากลางแล้วทาเนยใส่กุนเชียงหมูยอ แล้วนำไปอบสักครู่ เวลากินราดซอสพริกหรือซอสมะเขือเทศตามชอบ
เมื่อขึ้นไปถึงเป้าหมายที่ทำให้เรามีความมานะบากบั่นมุ่งตรงมาถึงคือ “ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาตร์” ศิลปะจากถ้ำโดยฝีมือมนุษย์อายุกว่า 3,000 ปี บนชะโงกผา ทำให้ความเหนื่อยล้าระหว่างทางหายไปทันที
© 2018 All rights Reserved.