บุกป่าตามหาพระศิวะที่นครศรีธรรมราช
เมื่อเอ่ยถึงภาคใต้ หลายคนคงนึกถึงทะเลสีคราม หาดทรายสีขาว หากจะลองเปลี่ยนบรรยากาศมาขึ้นเขา บุกตะลุยตามหาความศักดิ์สิทธิ์ของมหาเทพศิวะก็คงตื่นเต้นไม่น้อยกว่ากัน…
ยอมรับว่าก่อนมา “นายรอบรู้” ก็ใจตุ้มๆ ต่อมๆ เพราะสารพัดข่าวความไม่สงบที่เคยเกิดขึ้น ได้วาดภาพความอันตราย น่ากลัวฝังอยู่ในสมอง จนกระทั่งมาสัมผัสจริงถึงพบว่า นราธิวาส 1 ใน 3 จังหวัดปลายด้ามขวานซึ่งเป็นพื้นที่สีแดงนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หนำซ้ำกลับเป็นเมืองที่สงบ คนใจดี มีธรรมชาติที่สวยงามและเงียบสงบ มีอาหารแปลกตาที่เราไม่เคยเห็นเลยสารพัด ถ้าไม่ก้าวออกจากความกลัวนั้นคงจะพลาดอะไรดีๆ ไปมากมาย
เราอยากแนะนำ 5 ที่เที่ยวจังหวัดนราธิวาส ที่มาแล้วจะต้องประทับใจ และหลงใหลในดินแดนปลายด้ามขวานแห่งนี้เหมือนกับเรา
เขาบอกว่า ถ้าอยากดูว่าคนเมืองนั้นกินดีอยู่ดี มีวิถีชีวิตเป็นอย่างไร ให้ลองมาเดินที่ตลาด…
ตลาดเช้าใจกลางเมืองที่เรียกกันว่า ตลาดสดเทศบาล ใกล้กับถนนภูผาภักดี คือศูนย์รวมอาหารนานาชนิดที่คึกคักอย่างยิ่ง เนื่องจากนราธิวาสมีทั้งชายทะเลและเทือกเขา เราจึงเห็นผลผลิตจากทั้งสองพื้นที่ ทั้งพืชผักท้องถิ่นตามฤดูกาล เช่น สะตอ กล้วย ยอดมะม่วงหิมพานต์ ลูกเนียง ฯลฯ หากเป็นฤดูผลไม้ก็สามารถเลือกชิมกันได้ทั้งเงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ผลไม้ขึ้นชื่อของอำเภอตันหยงมัส
แต่ที่อลังการคือสุดคือบรรดากุ้งหอยปูปลาสดๆ จากทะเล ที่มาจากเรือประมงพื้นบ้านเป็นส่วนใหญ่ เราจะได้เห็นปลาตัวโตเกือบเท่าตัวเด็ก เห็นปลาทูที่ยังเห็นลายข้างลำตัวสีเหลืองเพราะเพิ่งจับได้ไม่นาน แทบไม่ต้องบอกเลยว่าอาหารการกินและทรัพยากรของที่นี่อุดมสมบูรณ์ขนาดไหน
นอกจากอาหารสดเหล่านี้แล้ว ยังมีอาหารพื้นถิ่นแบบมุสลิมมลายูที่ต้องลอง ไม่ว่าจะเป็นข้าวเหนียวไก่ทอด ข้าวหมกไก่ โรตี ข้าวยำ นาซิดาแก ลาแซหรือขนมจีนแบบมลายู เป็นแผ่นแป้งข้าวเจ้าบางๆ คล้ายก๋วยเตี๋ยวแต่หนากว่า นำมาม้วน มีน้ำยาให้เลือกหลายรส ทั้งน้ำแกงพุงปลา น้ำยาใต้ และน้ำยาสีขาวแบบมลายู รวมทั้งขนมหวานที่กินได้อย่างไม่รู้เบื่อ แต่ละชนิดล้วนเป็นขนมแปลกหูแปลกตาน่าลองทั้งนั้น
ที่ตั้ง ถ.ภูผาภักดี ต.บางนาค อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส
มาถึงนราธิวาสแล้ว ไม่ควรพลาดชมมัสยิดแบบดั้งเดิมที่มีสถาปัตยกรรมงดงามแบบโบราณ มัสยิดตะโละมาเนาะ หรือมัสยิดวาดิล ฮูลิน เป็นมัสยิดเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ความโดดเด่นอยู่ที่รูปแบบอาคารผสมผสานศิลปกรรมของทั้งไทย จีน เข้าด้วยกันอย่างงดงามลงตัว
มัสยิดตะโละมาเนาะเป็นอาคารยกพื้นสูงประมาณ 2 ม. เสาเดิมทำจากไม้ตะเคียนฝังดิน แต่ปัจจุบันใช้ตอม่อซีเมนต์รองรับแทน พื้นและฝาทำด้วยไม้ตะเคียนแผ่นใหญ่ เหนือประตูหน้าต่างมีช่องลมฉลุเป็นลายเครือเถารอบอาคาร ดูอ่อนช้อยน่าชมมาก
ส่วนหออะซานที่ใช้สำหรับส่งเสียงประกาศละหมาด ทำเป็นรูปแบบเก๋งจีนแต่เป็นหลังคาทรงไทย มีหลังคาสองชั้น มุงด้วยกระเบื้องดินเผา มุมหลังคาด้านบนทั้งสี่มุม ใช้ปูนซีเมนต์หล่อหรือปั้นเป็นลายกระหนกเครือเถา คล้ายช่อฟ้าหลังคาโบสถ์ในศาสนาพุทธ ส่วนต่างๆ ของอาคารประกอบเข้าด้วยกันโดยใช้การเข้าลิ่มเข้าเดือยด้วยเทคนิคการเข้าไม้แบบไทย โดยไม่ใช้ตะปูหรือสกรูยึดแม้แต่ตัวเดียว ดูแล้วก็ทึ่งในภูมิปัญญาของคนโบราณ
ยิ่งพอถึงเวลาละหมาดที่มีชาวบ้านมารวมกัน เราจึงได้เห็นถึงความศรัทธาอันแรงกล้าที่มีต่อพระเจ้า ภาพผู้คนที่สวดภาวนาและโน้มกายลงทำความเคารพที่ปรากฎตรงหน้าเรานั้น ยังประทับใจมาถึงทุกวันนี้
ที่ตั้ง ต. อูโบะซาวอ อ. บาเจาะ จ. นราธิวาส
เปิด ทุกวัน 08.00-18.00 น.
นักท่องเที่ยวควรแต่งกายสุภาพ สวมกางเกงขายาว ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวร่วมพิธีละหมาดหากไม่ใช่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม
พรุคือที่ลุ่มต่ำมีน้ำท่วมขังตลอดปี เหมือนอุ้งมือที่คอยรับน้ำเอาไว้ เมื่อ 5,000ปีก่อนพื้นที่บริเวณนี้เป็นทะเลจึงมีดินชั้นล่างเป็นดินเลนทะเล แต่มีกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุทับถมกันขึ้นมาและมีต้นไม้ขึ้นจนเป็นป่า น้ำในพรุจะมีสีน้ำชา ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของพืช ป่าพรุนับเป็นระบบนิเวศน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หาชมไม่ได้ง่ายๆ
หนึ่งในป่าพรุที่สำคัญของนราธิวาสคือป่าพรุสิรินธร อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส เรียกอีกชื่อว่า พรุโต๊ะแดง ซึ่งเป็นป่าพรุผืนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีตำนานเล่าว่า ด้วยเมื่อก่อนพื้นที่บริเวณนี้ไม่มีถนน ต้องเดินทางโดยใช้เรือ ก็มีคนพบผู้หญิงชื่อยายแดงจมน้ำเสียชีวิต หลังจากนั้นก็มีคนพบจระเข้หางกุด ข้างตัวมีลายเหมือนสไบ ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่ายายแดงใช้คาถาอาคมปลอมตัวเป็นจระเข้ จึงเรียกว่าพรุโต๊ะทวดแดง ก่อนจะกร่อนมาเป็นพรุโต๊ะแดง
ที่พรุโต๊ะแดงมีทางเดินศึกษาธรรมชาติให้เราได้ดูชมระบบนิเวศน์ในพรุ เราจะได้เห็นต้นไม้ต่างๆ สร้างรากค้ำยันหรือพูพอนขนาดใหญ่ขึ้นมาเพื่อให้ยืนลำต้นอยู่ได้ในป่าพรุที่มีดินอ่อน มีพันธุ์ไม้ท้องถิ่นหลากหลายประเภททั้งสาคู มะฮัง ตับจาก รวมถึงน้ำหลุมพีซึ่งเป็นพืชตระกูลปาล์มขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น เราจะรู้สึกเหมือนเดินในป่าดิบที่ขึ้นอยู่ในน้ำ อากาศเย็นสบาย ร่มรื่น สำหรับคนรักธรรมชาติ เพียงเท่านี้ก็ทำให้หัวใจพองโตแล้ว
ตั้ง ต.ปูโยะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
ชายหาดที่เงียบสงบและเป็นธรรมชาติที่สุดแห่งหนึ่งในนราธิวาส ที่นี่ไม่มีสาวๆ ในชุดว่ายน้ำน้อยชิ้น มีแต่คนในพื้นที่สวมฮิญาบมาเที่ยวทะเลกันอย่างรื่นรมย์ เป็นภาพที่ไม่คุ้นตาแต่คุณจะประทับใจ
ที่หาดบ้านทอน เรายังจะได้ชมศิลปะอันงดงามที่โลดแล่นอยู่บนผืนน้ำเมืองนราฯ คือเรือฆอและ เรือพื้นบ้านที่มีต้นกำเนิดอยู่ที่บ้านปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ก่อนจะแพร่หลายออกไปในหลายพื้นที่ของปัตตานีและกระจายมาถึงนราธิวาส
ชาวบ้านจะจอดเรือไว้ในชุมชนริมหาด บางทีพวกเขาก็มานั่งทาสีเรือ เราสามารถแวะเข้าไปดูใกล้ๆ พูดคุยซักถามและเรียนรู้ทุกกระบวนการอย่างล้วงลึกตั้งแต่หัวเรือยันท้ายเรือกับพวกเขาได้
เรือฆอและคือหัวและท้ายเรือถอดออกได้ และทั่วลำเรือมีการวาดลวดลายอย่างสวยงาม เน้นสีสันสดใสฉูดฉาดสะดุดตา ที่หัวเรือนิยมเขียนรูปสัตว์หรือเรื่องราวในตำนาน เช่น พญานาค หนุมานจับมัจฉา ราหูอมจันทร์ เมขลาล่อแก้ว รามสูรขว้างขวาน หรือเขียนตามจินตนาการของช่าง ส่วนลายที่ท้ายเรือจะเป็นลายส่วนหางหรือส่วนท้ายของลายที่หัวเรือ นอกจากนี้ยังมีลายอื่นๆ อย่างลายไทย ลายเครือเถา ลายดอกไม้ ลายจีน ลายมุสลิม ลายอาหรับทรงเรขาคณิตด้วย โดยรวมลวดลายบนเรือจึงเป็นแบบสามวัฒนธรรม ไทย-จีน-มลายู
เดินชมเรือลำใหญ่ซึ่งโดดเด่นทั้งเรื่องการสู้คลื่นลมทะเลได้ดี ทั้งด้านความพิถีพิถันของช่างที่ใส่หัวใจลงไปในการต่อเรือทุกขั้นตอน เรารู้สึกทึ่งและขอยกให้เรือฆอและเป็น “ราชินีงานศิลป์แห่งสายน้ำ”
ทุกเย็นที่สะพานปรีดานราทัศน์ บริเวณปากน้ำบางนรา เมืองนราธิวาส เราจะได้เห็นฉากพระอาทิตย์ตกที่งดงามเหนือแม่น้ำบางนรา โดยมีกระชังปลาของชาวบ้านเป็นฉากหน้า และมีโดมสูงตระหง่านของมัสยิดกลางนราธิวาสเป็นฉากหลังอยู่ไม่ไกล ส่วนด้านหลังจะเป็นชุมชนชาวประมงที่นำเรือฆอและลวดลายสวยงามมาจอดเรียงราย
นับเป็นฉากพระอาทิตย์ตกที่สวยงามตรึงตาตรึงใจ และทำให้เราลาจากนราธิวาสด้วยความรู้สึกว่า อยากจะมาสัมผัสความงดงามแบบนี้ด้วยสองตาอีกสักครั้ง
เมื่อเอ่ยถึงภาคใต้ หลายคนคงนึกถึงทะเลสีคราม หาดทรายสีขาว หากจะลองเปลี่ยนบรรยากาศมาขึ้นเขา บุกตะลุยตามหาความศักดิ์สิทธิ์ของมหาเทพศิวะก็คงตื่นเต้นไม่น้อยกว่ากัน…
ไปไหม ไปเที่ยวใต้กัน… เพราะตอนนี้กระแสท่องเที่ยวภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดปลายด้ามขวานอย่างยะลา กลายเป็นหมุดหมายที่นักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนอย่างไม่ขาดสาย ในโซเชี่ยลเต็มไปด้วยภาพความงดงามของป่าดิบชื้นแดนใต้ ทะเลหมอก อาหารหน้าทาน แล้วใครล่ะจะอดใจไหว
เอ่ยชื่อสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้คนก็เกิดความหวาดกลัว ไม่กล้าที่จะมาพื้นที่แห่งนี้ พวกเราเยาวชนคนในพื้นที่จึงอยากนำเสนอมุมมองที่งดงามของจังหวัดพวกเราบ้าง ความจริงแล้วปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีคนหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ เห็นได้จากทั้งสถาปัตยกรรม วิถีชีวิต อาหารการินที่หลากหลาย และนี่คือสถานที่ที่คุณไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนปัตตานี
สายบุรีเป็นอำเภอเก่าแก่ของจังหวัดปัตตานี ในอดีตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ มีฐานะเป็นเมืองหนึ่งในจำนวน ๗ หัวเมือง เรียกว่า “เมืองสายบุรี” มาถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้รับยกฐานะเป็นจังหวัดขึ้นกับมณฑลปัตตานี เรียกว่า “จังหวัดสายบุรี” แต่พอถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็ลดฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดปัตตานี เรียกว่า “อำเภอสายบุรี”
© 2018 All rights Reserved.