ยี่เป็งวัดร้องแง แปงแตะดอกไม้ปันดวง

ในช่วงเทศกาลยี่เป็ง  ชาวไทลื้อบ้านร้องแงจะรวมใจกันทำแตะดอกไม้ปันโดง (ตามสำเนียงลื้อ)  ซึ่งก็คือดอกไม้พันดวง  แต่ละบ้านจะทำบ้านละอันสองอัน ขนาดเล็กหรือใหญ่แล้วแต่ศรัทธา ส่วนใหญ่มีขนาดประมาณ 1-2 ตารางฟุต โดยนำดอกไม้หลายชนิดเรียงรายแล้วใช้ไม่ไผ่สานประกบทั้งสองด้าน เรียกว่าแตะดอกไม้

ใส่บรรยาย แม่อุ๊ย แม่หม่อน มาช่วยกัน แป๋งแตะดอกไม้ปันโดง (ทำแผงดอกไม้พันดวง) ภาพ
ดยใช้ตอกไม้ไผ่สานเป็นตะแกรง เลือกดอกไม้ทั้งสวยทั้งหอมและมีความหมาย
ใส่บรรยา เช่น ดาวเรือง บานไม่รู้โรย ดอกปีป ฯลฯ มาวางเรียงจนเต็ม จากนั้นประกบแตะทั้งสองด้าน มัดด้วยตอกไม่ไผ่ ยภาพ
ทำธงพันช่อ

ยามเช้าในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่  ก่อนคืนวันยี่เป็ง (หรือ 15 ค่ำเดือน 12 ตรงกับประเพณีลอยกระทง ตามเวลาของภาคกลาง) 1 วัน นอกจากจะทำแตะดอกไม้ที่บ้านแล้ว กลุ่มแม่หม่อน แม่อุ๊ย จะมารวมทำแตะดอกไม้ที่หน้าวิหาร  บ้างก็เก็บดอกไม้รอบบ้านมาทำ ดอกไม้เหล่านี้จะมีทั้งดอกที่มีกลิ่นหอม เช่น สบันงา (กระดังงา) เก็ตถวา กาสะลอง (ปีป) รวมถึงดาวเรือง ตะล่อม (บานไม่รู้โรย) หงอนไก่ ดอกเข็ม  ซึ่งเป็นดอกไม้รอบๆ บ้าน ซึ่งบางบ้านปลูกเตรียมไว้เพราะเชื่อว่าได้อานิสงส์มากกว่าไปซื้อดอกไม้ตามตลาดมาทำ  นอกจากนี้ยังทำธงติดไม้เล็กๆ เรียกว่า ช่อ หรือตามสำเนียงว่า จ้อ รวมถึงนำข้าวสารมารวมกัน แล้วพร้อมใจกันนำไปถวายเป็นพุทธบูชา

ด้านหน้าพระประธานจะมีพานใส่ดอกไม้ปันโดง ธงพันช่อ เทียนพันเล่ม ข้าวสารที่จะนึ่งปั้นเป็นข้าวพันก้อน ระหว่างนั้นชาวบ้านร้องแงก็จะนำสิ่งที่นำมาจากบ้านมาถวายเรื่อยๆ

โดยในบ่ายวันนั้น แตะดอกไม้เหล่านี้จะอยู่บนพานที่เตรียมไว้เป็นเครื่องติดกัณฑ์เทศน์   หลังจากพระภิกษุขึ้นธรรมมาสน์สวดพระคาถารับดอกไม้แล้ว  ชาวบ้านส่วนหนึ่งจะนำธงไปปักที่ต้นกล้วยหน้าวิหาร  จุดเทียนบูชา  แตะดอกไม้พันดวง จะนำไปแขวนตามคานเสาพระวิหาร  ประดับไว้ตลอดทั้งปี จนยี่เป็งปีหน้าเวียนมา จึงเปลี่ยนเป็นดอกไม้ชุดใหม่

รอประมาณ 15.30 น. ก็จะเริ่มพิธี โดยจะนำพานดอกไม้ ธูป เทียน และอื่นๆ มาเป็นเครื่องติดกัณฑ์เทศน์
พระสงฆ์ขึ้นสวดพระคาถา รับถวายดอกไม้และเครื่องประกอบทั้งหลาย หลังจากนั้นจะมีการเทศน์พระคาถาพัน

แตะดอกไม้พันดวงนี้ใช้ในการบูชาพระคาถาพันซึ่งเป็นบทสวดภาษาบาลี มีจำนวน 1,000 พระคาถา ซึ่งเป็นพระคาถาที่สวดก่อนการเทศน์มหาชาติ ซึ่งในวันยี่เป็ง  วันต่อมา ตั้งแต่เช้ามืดชาวบ้านจะนำข้าวมานึ่งปั้นเป็นข้าวสุกพันก้อน  ก่อนจะเริ่มเทศน์มหาชาติ กินระยะเวลายาวนานกว่าจะจบก็เป็นตอนค่ำ

ระหว่างทำการสวดชาวบ้านก็จะช่วยกันนำแตะดอกไม้ไปประดับตามแนวเสาต่างๆ
บางกลุ่มก็ออกไปด้านหน้าวิหารช่วยกันประดับตกแต่ง
ปักธงพันช่อ ลงบนต้นกล้วยต้นอ้อย ที่สมมุติวาเป็นประตูป่าที่เตรียมต้อนรับพระเวสสันดร

ส่วนที่บ้านนั้น พอยามพลบค่ำ ก็จะมีการแขวนโคม จุดผางประติ๊ด หรือผางประทีป  สมัยก่อนคนลื้อร้องแง จะจุดเทียนไว้บริเวณประตูบ้าน ด้านหนึ่งเพื่อเป็นการขอสมา ธรณีประตูที่เดินผ่านมาตลอดทั้งปี  อีกส่วนก็เป็นการบูชาพระเวสสันดรที่เสด็จฯกลับสู่เมือง

จุดเทียน ตัวแทนเทียนพันเล่ม ถวายเป็นพุทธบูชา
แผงแตะดอกไม้พันดวงที่มีความหลากหลายสวยงาม
ข้าวพันก้อนที่นำมาถวายในเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่เหนือ (15 ค่ำ เดือน 12)

ในอดีตช่วงยี่เป็ง ล้านนาจะมีงานบุญใหญ่ คือการตั้งธรรมหลวง เป็นหัวใจหลัก ตั้งแต่ 13 ค่ำเทศน์ธรรมวัตร  14 ค่ำเทศน์คาถาพัน พอวันพระใหญ่ 15 ค่ำ จึงเป็นการเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก ตั้งแต่เช้ามืดจนจบครบ 13 กัณฑ์ในวันเดียว

ภายในวัดก็จะแต่งสถานที่ทำรั้วราชวัตร ประตูป่า โดยจำลองมาจากการที่พระเวสสันดรถูกขับให้ไปบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่า   บางแห่งก็จะทำเป็นเขาวงกตให้เดินเล่นกันโดยตรงกลางมีแท่นบูชาพระพุทธรูปอยู่  มีการแขวนโคมประดับต่างๆ

ส่วนการตั้งธรรมหลวง นิยมใช้วิหาร  ตกแต่งไปด้วยดอกไม้ เช่น ดอกบัว ช่อสามเหลี่ยมติดกระดาษฉลุลาย  รูปช้าง ม้า วัว ควาย ทาสหญิง ทาสชาย  แก้ว แหวน เงิน ทอง ประดับโคม รวมถึงมีการจุดผางปะติ๊ด หรือผางประทีปเพื่อบูชาพระรัตนตรัย

บริเวณธรรมมาสน์เทศน์ของพระสงฆ์ ก็จะประดับด้วยม่าน  ห้อยดอกพันในหับดอก ที่สานโดยไม่ไผ่ประกบกัน  ดอกไม้พันดอกหรือ สหสสฺปฺปผานี้ ใช้เป็นเครื่องบูชาพระธรรม บูชาพระคาถาจำนวน 1,000  (สหสฺสคาถา)  ดอกไม้ที่นิยมมาบูชา ได้แก่ ดอกกาสะลอง (ปีป) ดอกจี๋หุบ (มณฑา) ดอกสารภี เป็นต้น  ดอกไม้เหล่านี้เป็นดอกไม้หอม  ช่วยทำให้บรรยากาศเหมือนอยู่ในป่าหิมพานต์ 

ทว่าในปัจจุบัน การตั้งธรรมหลวงหรือเทศน์มหาชาตินี้ ก็จัดน้อยลงไปทุกขณะ  การทำแตะดอกไม้พันดวงก็ยิ่งจะหาดูยากขึ้นทุกที อย่างไรก็ตามก็ยังปรากฏอยู่ในหลายชุมชน เช่น ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง  วัดมิ่งเมือง  ในอ.เมืองน่าน ซึ่งปีนี้ตั้งธรรมหลวง ปีหน้าอาจจัดเป็นงานตานก๋วยสลากใหญ่ หรืองานสลากภัต ซึ่งต้องใช้การร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจของคนในชุมชน

ชาวบ้านร้องแงเดิมเป็นชาวลื้อ ต้นตระกูลอพยพมาจากสิบสองปันนา เมื่อแรกตั้งถิ่นฐานแถบนี้ได้เลือกชัยภูมิใกล้ร่องน้ำที่มีต้นแง (ต้นไม้ที่ให้ผลรสเปรี้ยวคล้ายส้ม) ขึ้นชุกชุม  จึงเรียกว่าบ้านร่องแง  ภายหลังเพี้ยนเป็นร้องแง  ดังปัจจุบัน

วัดพระธาตุแช่แห้ง มีการตั้งธรรมหลวง เทศน์มหาชาติ มีการประดับตกแต่งวิหารและเทศน์ในวันยี่เป็ง
ซึ่งเป็นประเพณีปฏิบัติของทางล้านนาไทย
ซึ่งในสมัยโบราณนิยมมากกว่าการไปลอยโคมไฟ หรือลอยกระทงยามค่ำคืน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมใหม่ของภาคกลางที่แพร่หลายเข้ามา

ตั้งแต่เช้าของวันขึ้น  14 ค่ำ ที่พ่อหม่อน แม่หม่อน พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย มาร่วมจัดทำประตูป่า แป๋งแตะดอกไม้ปันโดง  ทำจ้อพันจ้อ เทียนพันเล่ม ทำพิธีถวายดอกไม้ ข้าวสาร  จ้อธง เริ่มฟังพระคาถาพัน  เช้ามืดต่อมาก็มาฟังถวายข้าวพันก้อน  ฟังเทศน์มหาชาติยาวนานจนจบ  แล้วจากนั้นจะนำด้ายสายสิญจน์ที่ผ่านพิธีเทศน์มหาชาติมาเผา เพื่อสืบชาตา หรือปัดเป่าสิ่งไม่เป็นมงคล เผาทุกข์ เผาโศก เสริมสุข ศิริมงคล เป็นอันจบพิธี

การที่ชุมชนยังดำรงและสืบทอดประเพณีเก่าก่อนมาโดยตลอดจึงนับเป็นความงดงามในความเรียบง่าย  ที่ปฏิบัติกันนับเนื่องมายาวนานหลายร้อยปี  ควรค่าแก่การชื่นชม

การประดับตกแต่งแผงแตะดอกไม้พันดวงที่วัดมิ่งเมือง ปีนี้ 2562 มีการตั้งธรรมหลวงเทศน์มหาชาติ ปีหน้าจะเป็นงานสลากภัต สลับกันไป

อานิสงส์การจุดผางประทีส

ธัมม์หรือคัมภีร์ชื่อ อานิสงส์ผางประทีส กล่าวไว้ว่า พระเจ้าห้าพระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) พระศรีอริยะเมตไตร ที่ทั้งห้าพระองค์ได้กำเนิดจากแม่กาเผือกเป็นไข่ห้าฟอง และวันหนึ่งขณะที่แม่กาออกไปหาอาหารได้เกิดพายุ ทำให้ไข่ทั้งไข่ฟองพัดตกจากรังไหลไปตามแม่น้ำ และมีแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์เก็บไปเลี้ยง เมื่อไข่ทั้งห้าฟองฟักออกมาเป็นมนุษย์เพศชาย และได้บวชเป็นฤๅษีทั้งห้า

เมื่อฤๅษีทั้งห้าได้พบกัน จึงไต่ถามถึงมารดาของแต่ละองค์ แต่ละองค์ก็ตอบว่า แม่ไก่เก็บมาเลี้ยง แม่นาคเก็บมาเลี้ยง แม่เต่าเก็บมาเลี้ยง แม่โคเก็บมาเลี้ยง และแม่ราชสีห์เก็บมาเลี้ยง ฤๅษีทั้งห้าจึงสงสัยว่าแม่ที่แท้จริงของตนเป็นใคร จึงพากันอธิษฐานขอให้ได้พบแม่ ด้วยคำอธิษฐานจึงทำให้พกาพรหมผู้เป็นแม่ได้แปลงกายเป็นกาเผือกบินลงมาเล่าเรื่องในอดีตให้ฤๅษีทั้งห้าฟัง และได้บอกว่าหากคิดถึงแม่ ให้น้ำด้ายดิบมาฟั่นเป็นตีนกา แล้วจุดเป็นประทีสบูชาในเดือนยี่เป็ง

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

Info

วัดร้องแง

ที่ตั้ง . วรนคร . ปัว . น่าน

ข้อมูลอ้างอิง

http://library.cmu.ac.th/ntic/lannatradition/yeepeng-thongtom.php

Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer/ Photographer

อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง

อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง

Relate Place

Coffee

กินดี ไปกับ GREENDEE : Buna Organic Coffee

ใครที่มองหาคาเฟ่สวยๆ ไว้นั่งชิลๆ ย่านแบริ่ง นายรอบรู้บอกเลยว่าคุณต้องห้ามพลาด เพราะนกจากบรรยากาศจะดีงามแล้ว ที่นี่ยังมีอาหารสุขภาพมากมายให้เลือก ดีต่อตา ดีต่อใจขนาดนี้ ใครจะพลาดได้…ว่าไหม

Travel

เที่ยวอีสาน เยือนถิ่นลำดวนบาน ณ ผามออีแดง

ช่วงต้นหนาวแบบนี้ “นายรอบรู้” อยากชวนมาเที่ยวผามออีแดง ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ ทิวทัศน์พระอาทิตย์ขึ้นริมหน้าผาที่นี่สวยสุดอีกแห่งในภาคอีสาน เราจะได้สัมผัสไอเย็นจากผืนป่าเบื้องล่าง แล้วเดินชมโบราณสถานอายุนับพันปี ก่อนแวะไปเก็บภาพทุ่งดอกไม้หลากสีบนลานหิน

News

“เทศกาลเที่ยวเมืองไทย ครั้งที่ 40 ประจำปี 2565”

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เดินหน้าพลิกโฉมการท่องเที่ยวไทยสู่มิติใหม่ สะท้อนสัญญาณความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จัดงาน “เทศกาลเที่ยวเมืองไทย ครั้งที่ 40 ประจำปี 2565”ระหว่างวันที่ 18 – 22 กุมภาพันธ์ 2565 ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร ส่งเสริมปีท่องเที่ยวไทย 2565 และ “Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters” มอบประสบการณ์ท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่ปลอดภัย ประทับใจ และแตกต่าง ผสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับเทคโนโลยีการท่องเที่ยวที่พร้อมชูมาตรการสาธารณสุขจัดงานรูปแบบ Covid Free Event

North

อุตรดิตถ์

คนทั่วไปรู้จัก จ. อุตรดิตถ์ในชื่อของ “เมืองลับแล” เมืองแห่งแม่ม่ายและสาวสวย มีสวนลางสาดเลื่องชื่อ ทุเรียนรสอร่อยไม่เป็นรองใคร และบางคนก็อาจรู้จักอุตรดิตถ์ในฐานะถิ่นกำเนิดของพระยาพิชัยดาบหัก ทหารผู้กล้าของพระเจ้าตากสินมหาราช ชื่อ “อุตรดิตถ์” ถูกตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 มีความหมายว่าท่าน้ำแห่งทิศเหนือ อันหมายถึงบางโพธิ์ท่าอิฐชุมชนเดิมซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน