
ขนมตดหมา หอมอร่อยแม้ชื่อไม่เพราะ
วันนี้ นายรอบรู้ นักเดินทาง จะพาท่านไปทำความรู้จักกับ ‘ขนมตดหมา’ ขนมพื้นถิ่น ของชาวบุรีรัมย์ ผ่านคุณ สำราญ กองรัมย์ ผู้ขายขนมตดหมามายานานกว่า 40 ปี
วันนี้ นายรอบรูนักเดินทาง จะพาทุกท่านมารู้จักเกาะเกิด ชุมชนเล็กๆ ริมน้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ใน อ. บางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา ไปชมภูมิปัญญาพื้นบ้าน ชิมขนมรสชาติอร่อย นอนโฮมสเตย์ชมวิถีคนริมน้ำ
ที่มาของชื่อ เกาะเกิด นั้น คุณป้าลำพูน พรรณไวย อดีตผู้ใหญ่บ้าน เล่าว่าในสมัยก่อนมีเรือสำเภาจีนมาค้าขายตามลำน้ำเจ้าพระยา เกิดพายุพัดจนเรือล่มตรงบริเวณหน้าวัดเชิงท่า เวลาผ่านไปกระแสน้ำพัดพาดินตะกอนมาทับถมจนเกิดเป็นเกาะอยู่กลางน้ำ จึงเป็นที่มาของชื่อ “เกาะเกิด”
เดิมทีเกาะเกิดไม่ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ชาวบ้านช่วยกันทำชุมชนที่อยู่อาศัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน แบ่งปันความรู้ภูมิปัญญา เปิดสอนผู้คนที่สนใจ จนเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน
หมู่บ้านโอท็อปเกาะเกิดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2537 โดยป้าลำพูน เป็นผู้นำลูกบ้านช่วยกันพัฒนาชุมชนจนกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ เปลี่ยนบ้านพักอาศัยบางส่วนเป็นโฮมสเตย์ บางหลังอยู่ในสวนบางหลังอยู่ริมน้ำ ปัจจุบันมีให้บริการกว่า 10 หลังด้วยกัน บรรยากาศเงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อน พร้อมเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนริมน้ำอันเรียบง่ายแต่เปี่ยมล้นด้วยเสน่ห์ที่ใครหลายคนตามหา
มาถึงก็ไม่รอช้า เริ่มต้นกันด้วยสินค้าสร้างชื่อของชุมชนอย่าง ยาลูกกลอนสมุนไพร ยานี้พิเศษตรงที่นำสูตรมาจากตำราบรรพบุรุษของป้าลำพูนเอง ใช้กินเป็นยาระบาย ปรับสมดุลร่างกาย กินได้ปลอดภัยเพราะมี อย.รองรับ ส่วนผสมบางชนิดได้มาจากในชุมชนเอง ใครสนใจเรื่องยาสมุนไพรไม่ควรพลาด
หลังจากสูดกลิ่นสมุนไพรจนเต็มปอดท้องก็เริ่มร้อง คงต้องหาขนมอร่อยๆ ชิมกันหน่อย เรามากันที่บ้านคุณยายชม้อย พรรณแก้ว เห็นคุณยายท่าทางใจดีกำลังเคี่ยวน้ำสีเขียวข้นคล้ายสังขยาร้อนระอุอยู่ในกระทะ และสิ่งนั้นคือ ขนมข้าวยาคู แค่ชื่อก็น่าสนใจแล้ว
ขนมข้าวยาคู เป็นขนมไทยโบราณที่ยังคงรักษากระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมเอาไว้ เริ่มจากการนำรวงข้าวตั้งท้องมาตำคู่กับใบเตยในครกไม้มะขาม นำไปคั้นออกมาเป็นน้ำข้าวสีเขียวอ่อน พอถึงขั้นตอนนี้มีให้เลือกระหว่างนำไปต้มผสมน้ำตาลทรายจะได้เป็นน้ำนมข้าวยาคู รสชาติคล้ายน้ำเต้าหู้มีกลิ่นหอมใบเตย ดื่มตอนแช่เย็นยิ่งสดชื่น หรือนำไปผสมแป้งข้าวโพด น้ำตาลมะพร้าวแล้วกวนจนได้ที่ ราดด้วยน้ำกะทิแค่นี้เราก็จะได้ขนมข้าวยาคูหวานมันเนื้อเนียนสีเขียวเข้มหอมกลิ่นใบเตยน่าทานสุดๆ ขนมที่ดูเหนียวข้นกลับมีรสสัมผัสที่นุ่มละมุนละลายแทบจะทันทีเมื่อเข้าปาก
“เมื่อไรจะได้กินขนมกงเสียที”คำพูดติดปากของคนในสมัยก่อน หมายถึงเมื่อไหร่จะแต่งงาน เพราะขนมกงเป็นขนมที่นิยมใช้ในพิธีแต่งงาน เรามาเรียนรู้ดูการทำขนมกงจากคุณป้าสละและลุงสมนึก ที่ทำขนมไทยโบราณได้ทุกแขนง แต่เมนูประจำเห็นจะเป็นขนมสามเกลอกับขนมกงที่ผู้คนสั่งกันไม่ขาดสาย การทำขนมกงเริ่มจากการปั้นเป็นเหมือนเกวียนขนาดเล็ก นำไปชุบกะทิแล้วทอดด้วยน้ำมันบัว ออกมาเป็นขนมกงกรุบกรอบร้อนๆ รสชาติหวานมัน แม้การจะหาศิลปินทำขนมกงอร่อยไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ใช่ว่าจะไม่มี เพราะเราเจอแล้วที่ชุมชนเกาะเกิด ฝีมือการทำขนมของลุงกับป้าคู่นี้ไม่ธรรมดา หากได้ลองลิ้มรสแล้วจะติดใจ
นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มาพักค้างคืนโฮมสเตย์ยังมีกิจกรรมให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปั่นจักรยานเที่ยวชมชุมชน กระโดดเล่นน้ำคลอง นั่งเรือตกกุ้งกลางแม่น้ำ เรียนรู้การทำอาหารพื้นบ้าน ชมบรรยากาศริมน้ำยามค่ำคืน หรือจะใส่บาตรยามเช้าริมแม่น้ำ
หากใครพอมีเวลาแนะนำให้มาค้างคืนที่นี่สักคืน แล้วการผักผ่อนครั้งนี้ของคุณจะเต็มเปี่ยมไปด้วยความสนุกและความสุขง่ายๆ ตามแบบฉบับชุมชนเกาะเกิด
ที่ตั้ง ต. เกาะเกิด อ. บางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา
โทร. 081–851-6632, 08-1372-603 คุณลำพูน พรรณไวย
089-851-6632 ขนมข้าวยาคู บ้านยายชม้อย
081-910-8476 ขนมโบราณบ้านป้าสละ
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
วันนี้ นายรอบรู้ นักเดินทาง จะพาท่านไปทำความรู้จักกับ ‘ขนมตดหมา’ ขนมพื้นถิ่น ของชาวบุรีรัมย์ ผ่านคุณ สำราญ กองรัมย์ ผู้ขายขนมตดหมามายานานกว่า 40 ปี
ใครที่ชื่นชอบอาหารอินเดียคงไม่พลาด Rang Mahal Rooftop Indian Restaurant ห้องอาหารอินเดียในรูปแบบ fine dining บนชั้น 26 ของโรงแรมแรมแบรนดท์ ย่านสุขุมวิท ที่ได้รับรางวัล Thailand’s BestRestaurants จากนิตยสาร Thailand Tatler ถึง 13 ปีซ้อน
ถ้ามาแม่แจ่มตรงงานบุญจุลกฐิน ราวเดือนพฤศจิกายน จะสัมผัสถึงพลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่ งานจุลกฐินของแม่แจ่มจะเรียกว่า “กฐินแล่น” หรือ “กฐินละเอียด” มีประเพณีว่าต้องรีบทอผ้ากฐินสำหรับใช้ทอดให้เสร็จในวันเดียว จึงต้องใช้ผู้คนชำนาญในการทอผ้าจำนวนมาก
ร้านธรรมดาบรรยากาศไม่เลิศหรู แต่ชาวศรีสัชนาลัยต่างแนะนำให้มาลิ้มลองสารพัดเมนูที่ร้าน “ป้าทรงซาว”คำเรียกขาน “ป้าทรงซาว” มาจากเมื่อแรกเริ่มที่ป้าทรงขายอาหารตามสั่งในราคาเพียง 20 บาท ( 20 ภาษาเหนืออ่านว่าซาว)
© 2018 All rights Reserved.