บว่อ-ฆึ ดูเส่อวอ เลอต่าโอะมู พิธีกรรมความเชื่อในไร่หมุนเวียน

ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าผลผลิตจากไร่หมุนเวียนของตนนั้นมาจากตนร่วมกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่าง ๆ ดังนั้น หลังจากปลูกข้าวเสร็จแล้วชาวกะเหรี่ยงจำทำพิธีบว่อ ฆึซึ่งเป็นการเลี้ยงเจ้าที่เจ้าทางที่อยู่ในไร่รวมทั้งคอยช่วยดูแลปกป้องไร่หมุนเวียนให้มีความอุดมสมบูรณ์ปลอดภัยไร่โรคร้ายรวมไปถึงผู้ที่ทำไร่หมุนเวียนให้มีความปลอดภัยอยู่ดีมีความสุข

พิธีบว่อ ฆึเป็นพิธีกรรมที่ทำในครอบครัวที่ทำไร่หมุนเวียนด้วยกัน โดยทั่วไปพิธีนี้เริ่มต้นจากบ้านผู้นำทางจิตวิญญาณฮีโข่แล้วตามด้วยครอบครัวอื่น ๆ

ในการประกอบพิธีบว่อ ฆึนั้นหัวหน้าครอบครัวแต่ละบ้านจะเป็นผู้ประกอบพิธีส่วนสมาชิกคนอื่นๆจะช่วยเตรียมเครื่องประกอบพิธีกรรมเช่นหมูไก่ตัวผู้และไก่ตัวเมียข้าวพืชผักเหรียญโบราณสร้อยลูกปัดและที่ขาดได้เลยคือเหล้าส่วนแท่นพิธีนั้นทำด้วยไม้ไผ่

  เจ้าที่ เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา วันนี้ขอท่านทั้งหลายจงมารับคำขอขมาที่นำมาถวายด้วย หมู ไก่ เหล้าขอให้มากินชิ้นส่วนสำคัญที่นำมาถวายด้วยขอให้ทุกคนรอบพ้นจากอตรายรอบพ้นจากการเจ็บไข้ได้ป่วยขอให้ผลผลิตสวยงาม เขียวขจี ออกดอกออกผล

  เทพแห่งไฟเอย ไฟคือผู้ที่ร้อนที่สุด คือผู้ที่เผาไหม้ทุกสรรพสิ่ง วันนี้มาเลี้ยงเจ้า เจ้าจึงรับคำขอขมา ให้มากินชิ้นส่วนสำคัญที่นำมาถวาย แล้วดลบันดาลให้ข้าวในไร่สวยงาม เขียวขจี ออกดอกออกผล

หนึ่งในคำอธิฐานจิตของผู้นำจิตวิญญาณและเจ้าของไร่หมุนเวียนแปลงนั้นที่แสดงถึงการทดแทนบุญคุณเจ้าที่เจ้าทางในพื้นที่เหล่านั้น ที่ได้ให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ รวมไปถึงขอบคุณธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เกื้อกูลให้พืชผลเจริญงอกงามให้มนุษย์และสัตว์ได้ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย 

. ที่แห่งนี้ ไร่หมุนเวียน บ้านแม่อมยะ ต.ท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เมล็ดพันธุ์ไร่หมุนเวียนกำลังเบ่งบาน ปีนี้บ้านแม่อมยะ ทำไร่หมุนเวียนแปลงใหญ่ 900 ไร่ โดยใช้กรรมสิทธิ์หน้าหมู่ แปลงรวม หรือ โฉนดชุมชน โดยระบบแปลงรวมนี้ีได้รักษาความหลากหลายทางเมล็ดพันธุ์ ทีมวิจัยชุมชนได้รวบรวมเมล็ดพันธุ์ในไร่หมุนเวียน พบว่า บ้านแม่อมยะ มีพันธุ์ข้าว และพืชผักชนิดอื่น ๆ ที่ปลูกในไร่หมุนเวียน รวมแล้ว 80 ชนิด

พื้นที่บ้านแม่อมยะ มีจำนวนประชากร 402 คน จำนวนครัวเรือน 63 หลังคา ผู้หญิง 178 คน  ผู้ชาย 224 คน ร่วมกันดูแลรักษาผืนป่าแผ่นดินแม่ ที่เรียกว่า พื้นที่จิตวิญญาณดูเส่อวอ เลอต่าโอะมูจำนวน 15,664.51    ไร่ โดยใช้ความเชื่อเป็นเครื่องมือจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่มายาวนานกว่า 200 ปีตามหลักฐานการตั้งถิ่นตามประวัติศาสตร์

ทั้งนี้ชุมชนที่วัฒนธรรมประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน กำลังได้รับความเดือดร้อนการประกาศพื้นที่ป่าตามกฏหมายทับพื้นที่ชุมชน  ชุมชนบ้านแม่อมยะ เป็น 1 ใน 49 ชุมชน แม่ฮ่องสอนตาก ที่ได้รับผบกระทบจากการประกาศอุทยานแห่งชาติแม่เงา (เตรียมการ)

มาถึงตรงนี้เราเพียงอยากนำเสนอมิติของการดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ ตาม มติ ครม. 3 สิงหาคม 2553 แนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ในประเด็น การจัดการทรัพยากร ข้อที่ 6 ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชนบนพื้นที่สูง เช่น การรักษาความหลากหลายของการสร้างพันธุ์พืช การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การสร้างความสมดุลของระบบนิเวศผ่านกระบวนการระบบไร่หมุนเวียนมรดกภูมิปัญญาโลก

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer/ Photographer

มูลนิธิพัฒาภาคเหนือ สำนักงานเชียงใหม่

มูลนิธิพัฒาภาคเหนือ สำนักงานเชียงใหม่

Relate Place

News

ชีพจรลง South 12 สิงหา พาแม่เที่ยวใต้

วันแม่ที่ผ่านมา พาคุณแม่ไปเที่ยวที่ไหนกันมาบ้างครับคุณ… “นายรอบรู้” ได้ไปร่วมทริป “ชีพจรลง South 12 สิงหา พาแม่เที่ยวใต้” ที่ จ. ชุมพร งานนี้ชุ่มฉ่ำฝน ชื่นฉ่ำใจ กันเลยที่เดียว

Eat

ร้านข้าวแกงเจ๊นีย์

พัทลุง: หากเข้ามาแล้วเห็นร้านเงียบเชียบ ไม่มีคนนั่งกินก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะร้านนี้เขาเน้นส่งข้าวแกงให้ลูกค้าประจำทั้งต่างจังหวัดและในพื้นที่

Eat

Hong Kong Fisherman ชวนอิ่มบุญ อิ่มอร่อยกับเมนูเจตำรับฮ่องกง

ใครที่ชื่นชอบอาหารอินเดียคงไม่พลาด Rang Mahal Rooftop Indian Restaurant ห้องอาหารอินเดียในรูปแบบ fine dining บนชั้น 26 ของโรงแรมแรมแบรนดท์ ย่านสุขุมวิท ที่ได้รับรางวัล Thailand’s BestRestaurants จากนิตยสาร Thailand Tatler ถึง 13 ปีซ้อน

Travel

เอกกวี วงศ์ข้าหลวง พิพิธภัณฑ์ท่าเตียนที่มีชีวิต

“หนูๆ มาทำรายงานกันใช่ไหม” เสียงอันอบอุ่นของผู้ใหญ่คนหนึ่งดังแว่วมาถึงผม เมื่อหันไปก็พบกับคุณลุงที่ห้อยพระเครื่องเต็มคอนั่งอยู่บนเก้าอี้สำนักงานสีดำ ทำให้เราได้รู้จักกับคุรลุงเอกกวี วงศ์ข้าหลวง หรือที่ชาวท่าเตียนรู้จักในนาม “ลุงคุ้ง”