ททท. จัดงาน “วิจิตร 5 ภาค @กรุงเทพมหานคร”
เริ่มแล้ว! ททท. จัดเต็มแสง เสียง กับงาน “วิจิตร 5 ภาค @กรุงเทพมหานคร” ดึงเทคโนโลยีล้ำสมัย
สะท้อนศิลปะและความเชื่อคนไทย ใน 3 พื้นที่แลนด์มาร์ก กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2325 พระองค์ได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองจากธนบุรีข้ามมายังฝั่งตะวันออกหรือฝั่งที่ตั้งพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน การสร้างพระนครแห่งใหม่แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2328 พระราชทานนามเมืองใหม่ว่า “กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ฯ” ในสมัยรัชกาลที่ 4 ปรับเป็น “กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ฯ” กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการปกครองและศูนย์กลางความเจริญมาจนปัจจุบัน
กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตทางบกติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนอาณาเขตทางทะเลอ่าวไทยตอนใน ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดชลบุรี โดยมีรายละเอียดดังนี้
ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการและอ่าวไทย (ส่วนที่เป็นอ่าวไทยที่เป็นพื้นที่เดิมของจังหวัดธนบุรี ปัจจุบันคือเขตบางขุนเทียน ซึ่งมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อทางอ่าวไทยกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ จุดที่อยู่ใต้สุดอยู่ที่ละติจูด 13 องศา 13 ลิปดา 00 ฟิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา 27 ลิปดา 30 ฟิลิปดาตะวันออก ซึ่งเป็นการแบ่งตามพระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502)
ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม
ตราประจำจังหวัด
พระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ที่ตั้ง : อยู่บน ถ. หน้าพระลานเขตพระนคร
เป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางของฝ่ายอาณาจักรและฝ่ายพุทธจักรรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ถ่ายแบบผังพระราชวังหลวงในกรุงศรีอยุธยามาใช้มีพื้นที่ทั้งหมด 152 ไร่ 2 งานแบ่งออกเป็นสามส่วน คือพระราชฐานชั้นนอก เป็นที่ตั้งของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และหน่วยงานราชการรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามหลวงหรือวัดประจำวังขึ้น คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในเขตพระราชฐานเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในพระราชวังหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา มักเรียกกันว่า วัดพระแก้ว เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตหรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร วัดพระแก้วไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา พระราชฐานชั้นกลาง เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และใช้ประกอบพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกและพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับของพระมเหสีเจ้าจอม และพระราชธิดาส่วนพระราชฐานชั้นกลางนั้นมีพระที่นั่งที่น่าสนใจ เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นที่เก็บพระอัฐิของพระมเหสีและพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ และเป็นสถานที่รับรองทูตานุทูตจากต่างแดนที่มาเข้าเฝ้า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพของกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นที่ประดิษฐานพระสยามเทวาธิราช เป็นต้น
วัดอรุณราชวรราม (วัดแจ้ง)
ที่ตั้ง : อยู่บน ถ. อรุณอัมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่
เป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่ครั้งอยุธยา เดิมชื่อวัดมะกอกนอก ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นวัดในพระราชวังของพระองค์ที่เรียกว่าพระราชวังเดิม วัดอรุณฯ ได้รับการบูรณะมาโดยตลอด โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้เสริมองค์ปรางค์เดิมให้สูงใหญ่มั่นคงยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นมหาธาตุสำหรับพระนคร ทว่ามาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
ที่ตั้ง : อยู่ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ถ. หน้าพระธาตุ เขตพระนคร
เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของวังหน้าในเขตพิพิธภัณฑ์มีพระที่นั่งหลายองค์ แต่ละพระที่นั่งจัดแสดงโบราณวัตถุต่างๆ เช่น พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน จัดแสดงเรื่องราวยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์และเครื่องราชบรรณาการที่กษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ทรงได้รับมา พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ซึ่งอัญเชิญมาจากเชียงใหม่ พระที่นั่งพิมุขมณเฑียรจัดแสดงเครื่องราชยานและคานหามพระที่นั่งทักษิณาภิมุข จัดแสดงเครื่องการละเล่นต่างๆ เช่น หุ่น หัวโขน หนังใหญ่ เครื่องแต่งกายละคร ฯลฯ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ จัดแสดงเครื่องราชูปโภค พระพุทธรูป พระพิมพ์ต่างๆ
วัดบวรนิเวศวิหาร
ที่ตั้ง : อยู่บน ถ. พระสุเมรุแขวงบางลำพู เขตพระนคร
กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2367-2375 ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระอนุชาคือเจ้าฟ้ามงกุฎ (หรือรัชกาลที่ 4) ซึ่งยังทรงผนวชอยู่ มาจำพรรษา ณ วัดนี้ และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ดังเช่นปัจจุบัน ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดพระศรีรัตมหาธาตุ จ. พิษณุโลก และหลวงพ่อโตหรือพระพุทธสุวรรณเขตจากวัดสระตะพาน จ. เพชรบุรี และอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือภาพจิตรกรรมผลงานของขรัวอินโข่ง ศิลปินชั้นยอดสมัยรัชกาลที่ 4
เริ่มแล้ว! ททท. จัดเต็มแสง เสียง กับงาน “วิจิตร 5 ภาค @กรุงเทพมหานคร” ดึงเทคโนโลยีล้ำสมัย
สะท้อนศิลปะและความเชื่อคนไทย ใน 3 พื้นที่แลนด์มาร์ก กรุงเทพมหานคร
เพราะ “ชาดก” ที่เราเคยได้ยินได้ฟังมานั้น คือนิทานหรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ที่เต็มไปด้วยคำสอนโดยเล่าผ่านตัวอักษร รวมถึงการพูดต่อๆ กันมา “นายรอบรู้” อยากชวนทุกคนไปชม “ชาดก” ที่เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวที่ต่างออกไป กับ “นิทรรศการศิลปะ ชาดก” เป็นนิทรรศการเดี่ยว ครั้งที่ 8 ของวีรพงษ์ ศรีตระกูลกิจการ หรือที่รู้จักกันว่า “อายิโน๊ะ”
สำหรับงานวัดบางยี่ขันจัดขึ้นทุกปีในช่วงวันมาฆบูชา เป็นเวลา 9 วัน 9 คืน ภายในคึกคักไปด้วยเครื่องเล่น อาหารการกิน เด็กในชุมชนวิ่งเล่นกันสนุกสนาน มีทั้งเสียงหัวเราะและคราบน้ำตาของเด็กที่งอแงจะเอาของเล่น เป็นสีสันของงานวัดกับเด็กน้อยที่ไม่เคยเลือนหายไปไหน
จากคนสู้ชีวิตที่ทำงานรับจ้างตามร้านอาหารกว่า 20 ปี เก็บเกี่ยวประสบการณ์มาเริ่มสร้างกิจการด้วยการเปิดร้านอาหาร ทั้งลองผิดลองถูก ล้มลุกคลุกคลานจนมาเป็นร้านสมศักดิ์ปูอบที่มีคิวยาวเหยียด สมศักดิ์ ศรีแก้วฟ้าทอง หรือเฮียสมศักดิ์ ขายหอยแครงลวกและหอยแมลงภู่อบมาตั้งแต่ปี 2528 ตั้งร้านเป็นรถเข็นริมทาง มีโต๊ะให้นั่งแค่สองโต๊ะเท่านั้น พอขายดีมีทุนก็ทยอยซื้อโต๊ะเพิ่ม และเริ่มขายปูอบวุ้นเส้น และกุ้งอบวุ้นเส้น เคล็ดลับที่ทำให้ขายดิบขายดีคือความมานะและซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ด้วยเน้นแต่ของดีมีคุณภาพ ปูทะเลทั้งปูเนื้อและปูไข่ทางร้านสั่งปูเป็นๆ จากมหาชัยวันต่อวัน ทุกตัวกล้ามแน่น เนื้อสด รสหวาน ส่วนกุ้งอบวุ้นเส้นก็ใช้กุลาดำบิ๊กไซต์ “สี่ตัวโล” อบทีละหม้อ วุ้นเส้นสั่งพิเศษโดยเน้นส่วนผสมของถั่วเขียวมากกว่าแป้ง จึงเหนียวนุ่ม เมื่อผสมกับน้ำปรุงและน้ำมันหอยสูตรเฉพาะได้รสเข้มข้นจนอยากเลียให้เกลี้ยงหม้อเลยละ เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มซีฟู้ดรสจัดที่โขลกพริกกระเทียมบีบมะนาวสดใหม่ทุกวันและน้ำจิ้มถั่วรสหวาน
แม้จะเป็นร้านรถเข็นดูบ้านๆ ไม่ได้โด่งดังมีชื่อในวงกว้าง แต่ก็จอดขายส้มตำอยู่ข้างธนาคารกสิกรไทย สาขาบางลำพู มานานกว่า 25 ปี ลูกค้าในละแวกต่างรู้จักกันดีแถมการันตีว่า อร่อย ถูก คุณภาพคับจาน พี่ใจ-อุทุมพร สาวอีสานมหาสารคาม เคยคว้ารางวัลชนะเลิศจากการเข้าร่วมแข่งขัน “สูตรเด็ดส้มตำ” ของทางช่อง 3 สูตรเด็ดอยู่ที่การเลือกใช้พริกถึงสามชนิด ทั้งพริกแห้ง พริกขี้หนู และพริกกะเหรี่ยง ส่วนปลาร้าก็ต้มสุกปรุงรสด้วยกะปิจนกลมกล่อมหอมฉุย ที่ขาดไม่ได้คือมะนาว ไม่ว่าจะถูกจะแพงพี่ใจก็ใช้มะนาวสดเท่านั้น เมนูห้ามพลาดคือตำผลไม้ ตำข้าวโพดไข่เค็ม ตำปลาร้าหมูยอ ตำซั่ว ตำลาว และไม่ว่าจะสั่งตำอะไร
จากซัวเถาโล้สำเภามาแบบเสื่อผืนหมอนใบ บุ้นแซ แซ่ลิ้ม เจ้าของสูตรลูกชิ้นปลาเต้นได้ ส่งไม้ต่อมายังรุ่นลูกคือตั่ว-พรพิมล บริบูรณ์ชัยศิริ ที่ยังคงรักษาคุณภาพและเคล็ดลับการทำลูกชิ้นปลาให้เนื้อแน่น กรอบ เด้งราวเต้นได้ กว่า 68 ปี ในตรอกเล็กๆ บนถนนทรงวาด ร้านลิ้มเล่าซาคึกคักไปด้วยลูกค้าขาประจำ บ้างอุดหนุนมาตั้งแต่รุ่นพ่อ จนตอนนี้หอบลูกจูงหลานมากินด้วย รสชาติกลมกล่อมคงเส้นคงวาทำให้กูรูนักชิมจากหลายสำนักต่างแวะเวียนมาให้รางวัลการันตีความอร่อย จนล่าสุดได้รางวัล ‘Michelin Bib gourmand ปี 2019’ ทีเด็ดอยู่ที่ลูกชิ้นปลาทำใหม่สดทุกวัน เลือกใช้เฉพาะปลาดาบยาวและปลาหางเหลือง ขูดเอาแต่เนื้อแล้วผสมเข้าด้วยกัน บด นวด ให้เป็นเนื้อเดียวจนได้ลูกชิ้นปลาแท้
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
© 2018 All rights Reserved.