กลุ่มทอผ้าโบราณบ้านโนนกอก OTOP นวัตวิถีอันดับ 1 ของ จ. อุดรธานี

ประเทศไทยขึ้นชื่อเรื่องผลิตภัณฑ์ชุมชนที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของชุมชนในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะ ผ้าทอมือ ที่เป็นผลิตภัณฑ์เด่น สร้างชื่อเสียงให้หลายภูมิภาค 

วันนี้ นายรอบรู้ นักเดินทาง จะพาคุณไปรู้จักกับอีกหนึ่งชุมชนที่น่าสนใจใน จ.อุดรธานี ที่นำดอกบัว มาย้อมผ้าไหมให้มีสีที่แปลกใหม่และสวยงามจากธรรมล้วนไม่ผสมเคมี ที่นั้นคือ กลุ่มทอผ้าโบราณบ้านโนนกอก

_MG_1624

บ้านโนนกอก เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2558  คุณอภิชาติ พลบัวไข หรือ ต้น นักปราชญ์ชาวบ้าน เล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนไม่ได้มีการทอผ้ามา 20 ปี และเริ่มสูญหายไป จึงอยากฟื้นภูการทอผ้าของชุมชน ช่วงแรกยังไม่มีตลาด เนื่องจากลวดลายยังไม่สวย และยังดูไม่มีเอกลักษณ์ จนสำนักงานชุมชนเข้ามาแนะนำ หลังจากเริ่มศึกษา ค้นหาวิธีของตัวเอง จนค้นพบวิธรการย้อมผ้าด้วยบัวแดง เอกลักษณ์ที่สำคัญของชุมชน หลังจากที่โพสต์ลง Facebook มีลูกค้ามาบอกว่าสวย จึงเริ่มขายทาง online ขึ้น

ปัจจุบันก็เข้าปีที่ 4 แล้ว  ชาวบ้านมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น และความเป็นอยู่ดีขึ้น จากอาชีพเสริมไปสู่อาชีพหลัก

นอกจากนี้ยังได้รับเลือกให้เป็น หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีอันดับ 1 ของ จ. อุดรธานี และยังได้รับรางวัล Knowledge Based OTOP (KBO) การสร้างนวัตกรรมชุมชนระดับประเทศ อีกด้วย

_MG_1695

ที่นี่มีการย้อมผ้าที่เป็นเอกลักษณ์คือ การย้อมสีผ้าด้วยกลีบดอกบัว ดอกบัวแดงย้อมได้ถึง 3 สี เป็นสิ่งมหัศจรรย์จากสีธรรมชาติ ไม่ต้องใช้สารเคมี แต่ก็ยังสามารถผสมเคมีแล้วได้ราคาที่ตลาดจับต้องได้ ต่อให้ราคาไม่สูงก็ยังสามารถใช้ผ้าย้อมจากดอกบัวได้ จึงกลายเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ว่ามาที่โนนกอกต้องมาดูผ้าย้อมบัวแดง

ในการทำผ้าย้อมจะแบ่งออกเป็น 2แบบ คือ ย้อมด้วยกลีบบัวสด ใช้กลีบส่วนกลางมาปั่นและผสมมะนาว เพื่อ ทำให้สีติดดีขึ้น ยิ่งใช้สียิ่งเข้ม และต้องเป็นมะนาวสดเท่านั้น แล้วนำฝ้ายหรือไหมมาย้อมได้เลย โดยขยี้ผ้าประมาณ 30 นาที แล้วทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง เรียกว่าวิธีการย้อมเย็น จะได้เป็นสีชมพูหรือสีม่วง ส่วนสีชมพูสด ต้องใช้ดอกบัวที่พึ่งเก็บมาแล้วย้อมเลยทันทีถึงจะได้สีนี้ ซึ่งการย้อมในแต่ละครั้งได้สีไม่เหมือนกัน

_MG_1680

ส่วนการย้อมร้อนคือ การนำบัวไปต้มในน้ำสะอาด ย้อมได้ทั้งสดและแห้ง  ดอกบัวตากแห้ง จะได้สีน้ำตาลทอง ส่วนสายบัวตากแห้ง จะได้สีเทาเงิน  สีที่ย้อมจากบัวแดงจะมีความติดทนนาน สีไม่ตก ผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ของสถาบันอุตสาหกรรมสิ่งทอ

_MG_1716

สำหรับใครที่อยากมาชมภูมิปัญญาการทออผ้า ณ บ้านโนนกอก ที่นี่มีทั้งวิถีชีวิตที่เรียบง่ายในชุมชน ตั้งแต่ใส่บาตรในตอนเช้า เก็บดอกบัว ไปจนถึงย้อมดอกบัวให้ได้เห็นกันใน 1 วัน สำหรับคนที่อยากค้างคืนก็มีรีสอร์ทชุมชนให้ได้เข้ามาพักผ่อนด้วยเช่นกัน  และในอนาคตจะมีการจัดระเบียบพื้นที่ให้มีทั้ง ที่พัก ที่ศึกษางาน และ ที่รับประทานอาหารอีกด้วย

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

Info

ศูนย์ทอผ้าโบราณบ้านโนนกอก

ที่ตั้ง ต. หนองนาคำ อ. เมืองอุดรธานี จ. อุดรธานี

เปิด ทุกวัน 8:00 – 17:00 น.

โทร. 093-547-8255 คุณต้น

Facebook : กลุ่มทอผ้าโบราณบ้านโนนกอก จ.อุดร

Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer/Photographer​

ณัชชา โหมดวัฒนมงคล

ณัชชา โหมดวัฒนมงคล

Relate Place

News

รมว.กก. นำ “เที่ยวอย่างรับผิดชอบ” หมู่เกาะหมาก และ 2 แหล่งท่องเที่ยว Unseen จังหวัดตราด

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นำคณะผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชน เดินทางสำรวจแหล่งท่องเที่ยว “เกาะหมาก – เกาะกระดาด – เกาะขายหัวเราะ” สถานที่เช็คอินแห่งใหม่ของจังหวัดตราด

Eat

PAAK : โลกใหม่ของผัก อินดี้แอนด์เฮลท์ตี้

“ผัก” คำที่เราคุ้นเคย ที่พอเอ่ยถึงแล้วก็รู้ได้ว่าคือตัวแทนแห่งคุณค่าทางโภชนาการ และถ้าใครสักคนบอกกับเราว่า “กินผักสิ ผักมีประโยชน์ต่อร่างกาย” ก็แปลได้ว่าเขาห่วงใยและปรารถนาดีต่อเรา ร้าน “PAAK” ก็เช่นกัน

Travel

เที่ยวชุมชนบ่อสวก…ชม ชิม ช้อป ของดีเมืองน่าน

วันนี้ นายรอบรู้นักเดินทาง พาทุกคนขึ้นเหนือไปเยือนเมืองน่านกันอีกสักครั้ง ไปสัมผัสหมู่บ้านน่ารักๆ ที่บ้านบ่อสวก อ. เมือง จ. น่าน ไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์เก่าแก่ ไปลองปั้นดิน ไปช้อปผ้าทอ ไปชิมของดี แล้วจะรู้ว่าบ้านบ่อสวกนั้นดี ดี๊ ดี ล่ะคุณ

Travel

สัมผัสความสุขวิถี “บ้านจุ้ม เมืองเย็น” ที่ออนใต้

ชุมชนเก่าร้อยเรื่องราว ทั้งประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม สังคม ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตสืบทอดกันรุ่นสู่รุ่น กลายเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนที่ใช้เรียกขานกันสืบมาว่า “บ้านจุ้ม เมืองเย็น”