ททท. มอบตราสัญลักษณ์ SHA แก่ผู้ประกอบการ จ. ชลบุรี

ททท. มอบตราสัญลักษณ์ SHA แก่ผู้ประกอบการ จ. ชลบุรี เพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวปลอดภัยด้านสาธารณสุข ให้นักท่องเที่ยวได้มั่นใจที่จะออกเดินทางท่องเที่ยวในวิถีใหม่แบบ New Normal

วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศได้จัดพิธีมอบตราสัญลักษณ์ SHA หรือ Amazing Thailand Safety and Health Administration ให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี โดยการรับรองมาตรฐานจำนวน 188 แห่ง ณ โรงแรม The Zign พัทยา

โดยมี นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และนายรณกิจ เอกสิงห์ รองนายกเมืองพัทยา ขึ้นมอบตราสัญลักษณ์ SHA ให้แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน

โดยโครงการ SHA หรือ Amazing Thailand Safety and Health Administration ได้รับความร่วมมือจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พร้อมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
มีวัตถุประสงค์ให้การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการควบคุมโรค และสร้างความมั่นใจในความปลอดภัย ด้านสุขอนามัย รวมถึงการลดความเสี่ยงและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัส COVID-19 ให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ อีกทั้งยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย

ซึ่งมาตรฐานด้านสุขอนามัยของมาตรฐาน SHA ได้แบ่งเป็น 10 ประเภทกิจกรรมได้แก่

1. ประเภทภัตตาคาร ร้านอาหาร

2. ประเภทโรงแรมที่พักและสถานที่จัดประชุม

3. ประเภทนันทนาการและสถานที่ท่องเที่ยว

4. ประเภทยานพาหนะ

5. ประเภทบริษัทนำเที่ยว

6. ประเภทสุขภาพและความงาม

7. ประเภทห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า

8. ประเภทกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว

9. ประเภทโรงละครโรงมหรสพและการจัดกิจกรรม

10. ประเภทร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่น ๆ

ภายหลังผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายยุทธศักดิ์ สุภสร ได้กล่าวว่าในโครงการ SHA มีผู้สมัครมากกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ และเริ่มทยอยตรวจทั้งเอกสารและการสุ่มตรวจ ดังนั้นในปัจจุบันมีผู้ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน SHA ณ วันที่ 18 กรกฎาคม ประมาณ 3,000 กว่าแห่ง ซึ่งเป็นที่น่าดีใจในจังหวัดชลบุรี มีผู้ผ่านการรับรองแล้วประมาณ 300 กว่าแห่ง นับว่าเป็นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้นายยุทธศักดิ์สุภสรกล่าวเสริมว่าในเมืองหลักและสถานที่ท่องเที่ยวหลักทั่วประเทศควรได้รับการรับรองมาตรฐาน SHA จังหวัดละ 80 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นสถานบริการที่มีชื่อเสียง และนักท่องเที่ยวให้ความสนใจ จึงควรได้รับมาตรฐาน SHA เพื่อสร้างความเชื่อมั่นการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยในกับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ

ทั้งนี้สถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเมื่อได้รับตราสัญลักษณ์ SHA แล้วต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดของโครงการ หากนักท่องเที่ยวที่เข้ารับการบริการแล้วพบว่าสถานบริการดังกล่าวไม่ทำตามมาตรฐาน SHA นักท่องเที่ยวสามารถเป็นผู้ตรวจสอบได้เองผ่านช่องทางออนไลน์

นอกจากนี้หากผู้ประกอบการท่องเที่ยวต้องการยกระดับมาตรฐานด้านสุขอนามัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวตามมาตรฐาน SHA สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ และหารายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐาน SHA ได้ง่ายๆ

ดูข้อมูลเติมได้ที่ Amazing Thailand Safety & Health Administration (SHA).
หรือ thailandsha.tourismthailand.org

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer / Photographer

เลิศศักดิ์  ไชยแสง

เลิศศักดิ์ ไชยแสง

Relate Place

News

โขนพระราชทาน เรื่องรามเกียรติ์ชุด “หนุมานชาญกำแหง”

เมื่อวันศุกร์ที่ 24 – วันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2563 มีการการแสดงโขนพระราชทาน เรื่องรามเกียรติ์ชุด “หนุมานชาญกำแหง” แสดงโดยคณะนักแสดงจากโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง ณ บริเวณอุทยานพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนครคีรี จ.เพชรบุรี

Eat

สมศักดิ์ปูอบ ยืนหนึ่งเรื่องความสด

จากคนสู้ชีวิตที่ทำงานรับจ้างตามร้านอาหารกว่า 20 ปี เก็บเกี่ยวประสบการณ์มาเริ่มสร้างกิจการด้วยการเปิดร้านอาหาร ทั้งลองผิดลองถูก ล้มลุกคลุกคลานจนมาเป็นร้านสมศักดิ์ปูอบที่มีคิวยาวเหยียด สมศักดิ์ ศรีแก้วฟ้าทอง หรือเฮียสมศักดิ์ ขายหอยแครงลวกและหอยแมลงภู่อบมาตั้งแต่ปี 2528 ตั้งร้านเป็นรถเข็นริมทาง มีโต๊ะให้นั่งแค่สองโต๊ะเท่านั้น พอขายดีมีทุนก็ทยอยซื้อโต๊ะเพิ่ม และเริ่มขายปูอบวุ้นเส้น และกุ้งอบวุ้นเส้น เคล็ดลับที่ทำให้ขายดิบขายดีคือความมานะและซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ด้วยเน้นแต่ของดีมีคุณภาพ ปูทะเลทั้งปูเนื้อและปูไข่ทางร้านสั่งปูเป็นๆ จากมหาชัยวันต่อวัน ทุกตัวกล้ามแน่น เนื้อสด รสหวาน ส่วนกุ้งอบวุ้นเส้นก็ใช้กุลาดำบิ๊กไซต์ “สี่ตัวโล” อบทีละหม้อ วุ้นเส้นสั่งพิเศษโดยเน้นส่วนผสมของถั่วเขียวมากกว่าแป้ง จึงเหนียวนุ่ม เมื่อผสมกับน้ำปรุงและน้ำมันหอยสูตรเฉพาะได้รสเข้มข้นจนอยากเลียให้เกลี้ยงหม้อเลยละ เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มซีฟู้ดรสจัดที่โขลกพริกกระเทียมบีบมะนาวสดใหม่ทุกวันและน้ำจิ้มถั่วรสหวาน

Eat

ซุปหมี่เนื้อวัวที่ตลาดนางเลิ้ง

เพื่อนหญิงคนหนึ่งของผมเคยลั่นวาจาไว้เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน สมัยที่เราทั้งกลุ่มยังเป็นนักเรียนอุดมศึกษาร่วมชั้น แล้วทุกเที่ยงวันก็เที่ยวตระเวนกินหมี่เนื้อวัวตุ๋นน้ำแดง ลาบ – น้ำตกแซ่บๆ เนื้อย่างติดมันตามร้านข้างทาง หรือบางทีก็เป็นผัดพริกกะเพราเนื้อสับรสเผ็ดจัดจ้านที่เราผลัดกันไปทำกินที่ครัวบ้านเพื่อนคนนั้นทีคนนี้ที, เธอว่า “…ชีวิตนี้ถ้าชั้นกินเนื้อ (วัว) ไม่ได้เมื่อไหร่ ต้องแย่แน่ๆ เลย…”

Shopping

ผ้าหมักโคลนเจ้าพระยา สินค้าOTOP จากอุทกภัย

ใครจะรู้ว่าโคลนที่เอามามาร์กหน้า พอกตัวยังสามารถทำให้ผ้าเกิดความนุ่มลื่นขึ้น จากความช่างสังเกตของ          คุณดวงพร อารีพันธุ์ หัวหน้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านภูมิปัญญาผ้าหมักโคลน ที่ได้ค้นพบวิธีการหมักผ้าไทยด้วยโคลนจากแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เนื้อผ้ามีสัมผัสนุ่มลื่นจนเป็นเอกลักษณ์ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน จากอุทกภัยน้ำท่วมเมื่อปี 2538 ที่ ต.บางน้ำเชี่ยว อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ทำให้ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เกิดความเสียหาย หลังจากน้ำลด ดวงพร ได้ทำความสะอาดบ้านจึงไปพบกับห่อผ้าของคุณแม่ที่ถูกโคลนทับเป็นเวลา 2-3 เดือน หลังจากนำมาซักกลับพบว่าผ้ามันนุ่มลื่น จนเกิดไอเดียเป็น “ผ้าหมักโคลนเจ้าพระยา” เช่นทุกวันนี้ แรกเริ่มเดิมทีคุณดวงพรใช้ผ้าลายไทยที่เป็นอัตลักษณ์ของภาคกลางไปหมักโคลนให้นุ่ม