
เมื่อ “ชั่วฟ้าดินสลาย” กลายเป็นเรื่องจริง บ้านห้าง ร . 5
พะโป้ จากตัวละครในนวนิยายชื่อดัง กลายมาเป็นเรื่องราวที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เหมือนว่า พะโป้ ในนิยาย นั้นอาจจะมีตัวตนอยู่จริงๆ ก็เป็นได้
บรรยากาศแสนสบายช่วงหัวค่ำในฤดูฝน ท้องนาเขียวขจี แหงนมองบนฟ้ามีเมฆหมอกลอยล่องจางๆ มีผาหินใหญ่บ้านค้างคาวเป็นเบื้องหลังกระทบกับแสงสุดท้ายของวันที่ช่างแสนอบอุ่น เพื่อนร่วมทริปคนนึงที่เชี่ยวชาญพื้นที่แถบนี้บอกกับเราว่า “จะพาไปกินหมูกระทะที่สุดแสนจะพิเศษ” ได้ฟังอย่างนั้นก็แปลกใจเล็กน้อย จนกระทั่งมาถึง..ไม่น่าเชื่อที่อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น จะมีร้านหมูกระทะที่หรูหราด้วยบรรยากาศเช่นนี้
ฟาร์มคิดเป็นร้านที่ตกแต่งโดยการใช้วัสดุที่มีในชุมชนมาประกอบกันได้อย่างน่าสนใจ มีไม้ไผ่เป็นโครงสร้างหลัก หลังคามุงฟาง และทำเป็นซุ้มเล็กซุ้มน้อยแบ่งโซนอาหาร เครื่องดื่ม และมุมต่างๆ แทรกซ้อนไปด้วยแปลงพืชผักที่จัดวางได้อย่างลงตัวในพื้นที่ที่พอเหมาะริมถนนขนาดเล็กในชุมชน
โดยปกติแล้วภูผาม่านนั้นมีชื่อเสียงในหมู่นักท่องเที่ยวผู้หลงใหลในการดูค้างคาวกันอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่จะดูกันที่หน้าถ้ำ ซึ่งค้างคาวจะบินกระจายออกเหมือนผึ้งแตกรัง แต่วิวจากหลังฟาร์มคิดนั้นสุดพิเศษและน้อยคนที่จะได้เห็นค้างคาวที่บินออกมาเป็นเส้น ผ่านช่องแสงที่เปิดในมุมนี้พอดี
“ฟาร์มคิด (Farm kits) สำหรับผมหมายถึงชุดคิทของการทำฟาร์ม เมื่อเติม S จึงมีมากกว่า “หนึ่ง” คือเราจะทำฟาร์ม แต่ความคิดไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ที่เรื่องฟาร์มก็ได้” กุลชาติ เค้นา หรือ พี่กุล ชายวัย 35 ปีเจ้าของร้านฟาร์มคิด ณ ภูผาม่านผู้คิดจะพัฒนาวิถีการทำเกษตรของครอบครัวแบบเดิมๆ มาแปรรูปทรงเครื่องให้เข้ากับการท่องเที่ยวชุมชนสมัยใหม่ โดยมองเห็นว่าทำเลที่ตั้งของร้านน่าสนใจและเหมาะกับการทำร้านอาหารเล็กๆ สำหรับรับแขกทางไกลที่แวะมาพักผ่อน
“อีกอย่างมันเป็นคำวัยรุ่น คำว่า “ฟาม” หมายถึง “ความ” “ฟามคิด” ผมเลยคิดว่าพอมันมาผนวกกันแล้วมันน่าสนใจดี” พี่กุลกล่าวพร้อมจะเตรียมตัวเสิร์ฟอาหารชุดพิเศษให้กับพวกเราที่เป็นลูกค้าต่างแดน
ปัจจุบันงานหลักพี่กุล คือการเป็น UI designer (User Interface Designer-ผู้ออกแบบเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น) ซึ่งการทำงานแบบ work from home คุยงานและประชุมผ่านทางออนไลน์เป็นหลัก จึงสามารถแบ่งเวลาทำงานประจำและดูแลครอบครัวไปพร้อมกันได้ และมีภูผาม่านอากาศดีๆ วิวสวยๆ เป็นออฟฟิศส่วนตัวอย่างน่าอิจฉา
“มาฟาร์มคิดต้องสั่งอะไร” บทสนทนาของเพื่อนในทริป จากนั้นพี่กุลไม่รีรอจัดอาหารชุดใหญ่มาเสิร์ฟ
โดยมีหมูกระทะพระเอกของร้านที่ตั้งเตารอแล้วตั้งแต่หัวค่ำ สเต็กหมูนุ่มลิ้น และสเต็กเนื้อจิ้มแจ่วสูตรเด็ดที่มาพร้อมกับสลัดผักออร์แกนิคที่เพิ่งตัดออกมาจากแปลง ปิดท้ายด้วยเฉาก๊วยนมสดหวานหอมและแตงโมแช่เย็นชื่นใจๆ มาตัดคาว
“ช่วงที่ผมมาอยู่ใหม่ๆ ก็จัดอีเวนท์ไอทีบ่อยๆ มีการจัดอบรมโปรแกรมเมอร์ หรือ งานดีไซน์ และความคิดของผมคือภูผาม่านน่าผลักดันให้เป็นที่ท่องเที่ยวมาก แต่เวลาผมคุยกับคนในพื้นที่เขาก็ถามผมกลับมาว่าใครจะมาเที่ยว”
พี่กุลเองพยายามดึงเพื่อนพ้องจากกรุงเทพฯ ให้มาเที่ยวภูผาม่านอยู่หลายหน แต่ประเด็นใหญ่ที่ต้องคิดช่วยกันคือมาแล้วคนนอกไม่รู้ว่าต้องไปกิน ไปพัก ไปนั่งทำงาน ที่ไหน ในช่วงแรกนั้นแม้แต่ร้านกาแฟก็ไม่มี “ผมก็เลยรู้สึกว่าเป็น bad experience (ประสบการณ์ที่ไม่ดี) เหมือนภูผาม่านยังไม่พร้อมที่จะรับแขกคนเมือง เรารู้สึกว่าไหนๆ เราก็ทำธุรกิจครอบครัวแล้วเราเลยทำ ฟาร์มคิด”
ในช่วงความคิดตั้งต้นตอนแรกของพี่กุลมีคิดไว้ว่าอยากทำโฮมสเตย์ด้วย แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างที่ไม่อำนวยและพิจารณาว่าครอบครัวของตนยังไม่พร้อม “เรายังอยากเลี้ยงลูกกันเองอยู่ ยังรักสงบและความเป็นส่วนตัว” พี่กุลพูดกับเราพลางอุ้มลูกสาวตัวน้อยไว้บนตักอย่างอบอุ่น
สิ่งที่พี่กุลอยากให้เกิดคือให้ชาวบ้านช่วยกันจัดเตรียมที่พักและเขาเองจะเป็นคนต้อนรับแขกให้ เพราะตนเองจะไม่เปิดแข่งกับชุมชน แต่จะทำหน้าที่มองหาว่าชุมชนใดบ้างที่มีศักยภาพพอที่จะรับแขก “ผมมองว่าการลงทุนด้วยอาคารสถานที่มันแพง และมันเป็นการสร้างใหม่ แต่ถ้าใครพร้อมอยู่แล้วเราจะไปสนับสนุนให้มีรายได้ไปด้วยกัน” พี่กุลกล่าว
พี่กุลพยายามสร้างทีมงานในท้องถิ่น เป้าหมายคืออยากผลักดันร้านตัวเองให้เป็น tourist information เวลามีนักท่องเที่ยวเข้ามาสามารถมีข้อมูลที่เป็นดิจิทัลสำหรับสื่อสารออกไปได้ อาจจะมีแผนที่สแกนคิวอาร์โค้ดตามพื้นที่ต่างๆ มีข้อมูลติดต่อผู้คนในท้องถิ่น รวมถึงที่พัก
“เราไม่ได้มองว่าเป็นธุรกิจหรอก จริงๆ ถ้ามีคนมาเราก็ได้ประโยชน์อยู่ดีเพราะหนึ่งเราเป็นผู้เริ่มต้น สองเราเป็นผู้ให้ข้อมูล และสุดท้ายโลเคชั่นเราก็อย่างที่เห็น เรารู้สึกว่านี่เป็นโอกาส”
จุดเริ่มต้นเล็กๆ ของการรับแขกต่างบ้านต่างเมืองที่เป็นเพื่อนพ้องของตนเอง ทำให้เวลากว่า 7 เดือนฟาร์มคิดเริ่มก่อตัวเติบโต เหมือนโรสแมรี่ในฟาร์มที่พร้อมขยายพันธุ์ไปทั่วทั้งกระถางและส่งมอบให้คนอื่นต่อไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ
“ผมอยากกลับมาอยู่บ้าน กลับมาทดลองทำสวนที่บ้านดู ผมมีคำถามว่า ทำไมเราเรียนจบแล้วเราต้องไปหาทำงานโรงงาน ถ้าเราอยากจะทำฟาร์มแล้วจะสามารถทำ social enterprise (กิจการเพื่อสังคม) เพื่อที่จะขับเคลื่อนสังคม” เป้าหมายของพี่กุลจากอดีตพนักงานออฟฟิศในเมืองใหญ่ ที่อยากกลับมาพัฒนาภูผาม่านในฐานะ “ลูกหลาน”
ข้างหน้าคือร้านกาแฟเล็กๆ ของภรรยาพี่กุล ส่วนหนึ่งเป็นครัว และร้านหมูกระทะ “ไหนๆ ลุงป้าน้าอาก็จะทำร้านหมูกระทะ ทำไมไม่เอามาไว้ด้วยกันเลย เพราะความคิดตั้งต้นเราคือจะทำให้คนในครอบครัวมีอาชีพ” พี่กุลเอ่ยถึงความฝันที่อยากให้ครอบครัวมีอาชีพร่วมกัน
อีกส่วนหนึ่งที่จะต้องกล่าวถึงคือ พื้นที่ส่วนใหญ่ของร้านที่พี่กุลเลือกทำในส่วนโถงตรงกลางร้านให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ co-working space จัดสรรขึ้นสำหรับเด็กในชุมชนมาใช้ประโยชน์กัน โปรเจ็คต่อไปที่พี่กุลอยากให้เกิดขึ้นคือการพาเด็กทำเกษตรอินทรีย์ ปลูกผักส่งให้คนเมืองเพื่อแลกกับชุดนักเรียนหรือรองเท้า
ฟาร์มคิดไม่ใช่แค่ฟาร์ม หรือร้านอาหาร แต่ยังเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมของคนในชุมชนโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ พี่กุลเลือกทำกิจกรรมที่ตนถนัดคือ สอนให้เด็กในชุมชนรู้จักการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ โดยเริ่มต้นจากการรู้จักคอมพิวเตอร์ รู้จักการใช้โปรแกรมพื้นฐาน “เขามาก็รู้สึกว่าตื่นเต้น เหมือนความรู้สึกเราตอนเด็กๆ ที่ไม่เคยแตะคอมเลย มาแตะตอนอยู่มอหกแล้ว ซึ่งสมัยนี้รู้ช้าก็ไม่ทันแล้ว” พี่กุลกล่าวพร้อมยกตัวอย่างสิ่งที่ให้เด็กทดลองทำ
เด็กที่เข้าร่วมเรียนรู้ทำกิจกรรมที่ฟาร์มคิด ก็จะมีการฝึกเขียนเว็บไซต์ เขียนบล็อก สร้างคอนเทนท์ต่างๆ สิ่งที่พี่กุลคิดไว้คือต้องหาพื้นที่ให้เด็กทำงานไปด้วยระหว่างเรียน โดยการติดต่อกับบริษัทไอทีในเมืองใหญ่จ้างงานเด็กหรือให้ฝึกงาน เพื่อให้เด็กในชุมชนมีรายได้
“ตอนแรกผมคิดไม่ตกระหว่างจะทำให้เป็น brand enterprise หรือ ธุรกิจครอบครัว กลับกลายเป็นว่ามันคือเรื่องเดียวกัน ถ้าเราแก้ปัญหาในครอบครัวไม่ได้เราก็ไม่รู้ว่าจะต้องไปแก้ปัญหาให้ใคร ผมก็เลยเปิดหมูกระทะควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมเพื่อสังคม”
บรรยากาศการรับประทานหมูกระทะในอ้อมกอดของหมอกบางๆ ชมวิวภูผาม่านเย็นๆ ไออุ่นเตาหมูกระทะและการนั่งล้อมวงสนทนาระหว่างรออาหารสุกช่างรื่นรมย์และอบอุ่น บวกกับรอยยิ้มและความเป็นกันเองของเจ้าของร้านมากความฝัน ร้าน – ฟาร์ม – บ้าน คือความฝันเล็กๆ ของชายหนุ่มคนหนึ่งที่อยากให้แขกทางไกลได้สัมผัสบรรยากาศสบายๆ ในแบบของฟาร์มคิดมากกว่าการมาทานอาหารแล้วแยกกันไป แต่เขาอยากดูแลลูกค้าเหมือนเพื่อน เราในฐานะนักท่องเที่ยวไปครั้งแรกยังรู้สึกได้ถึงบรรยากาศการมาเยี่ยมยามบ้านเพื่อนถึงแม้จะเพิ่งรู้จักกันก็ตาม
ขอขอบคุณ กุลชาติ เค้นา เจ้าของร้านฟาร์มคิด อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น
ที่ตั้ง ซอย โยธาธิการ ต. ภูผาม่าน อ. ภูผาม่าน จ. ขอนแก่น
เปิด 09.00 – 21.00 น.
โทร 081 920 0252
Facebook https://www.facebook.com/farmkits.co
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
พะโป้ จากตัวละครในนวนิยายชื่อดัง กลายมาเป็นเรื่องราวที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เหมือนว่า พะโป้ ในนิยาย นั้นอาจจะมีตัวตนอยู่จริงๆ ก็เป็นได้
รวมเมนูเด็ดร้านดังที่เลือกใช้วัตถุดิบอินทรีย์ ทั้งปลูกเอง และรับมาจากเพื่อนเกษตรกรเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศ มาครีเอทเมนูอร่อยเพื่อสุขภาพ ที่พร้อม Delivery ความอร่อยถึงบ้านคุณ ในช่วงที่หลายคนกำลังกักตัว และ Work From Home กันอย่างต่อเนื่อง
เข้าพักระยะยาวในห้องสวีทพร้อมสระส่วนตัวสุดหรู บนชายหาดอันสวยงามและเงียบสงบ พร้อมสิทธิพิเศษมากมาย
รีสอร์ตได้รับการจัดอันดับให้ติดหนึ่งในรีสอร์ตชั้นนำที่มีจำนวนเพียง 1% ของโรงแรมทั้งหมดทั่วโลก ในกลุ่มโรงแรมหรูที่ดีที่สุด (Best Luxury), โรงแรมที่ให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) และ โรงแรมที่โรแมนติกที่สุด (Best Romance) โดย TripAdvisor
ข้อมูลจังหวัด เชียงราย รวบรวมโดย นายรอบรู้นักเดินทาง จากหนังสือท่องเที่ยวจังหวัดต่างๆ ในเมืองไทย ที่รวมรวมข้อมูลน่ารู้ ที่เที่ยวน่าไป ของกินน่าทาน
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเต็มงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 ณ นครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย โดยผนึกกำลังพันธมิตรอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ยกทัพ Soft Power ของไทยเสนอแก่นักท่องเที่ยวออสเตรเลียอย่างใกล้ชิด เพื่อมุ่งสร้างความเชื่อมั่นและแรงบันดาลใจ
สู่การตัดสินใจเดินทางมายังประเทศไทย พร้อมตอกย้ำแบรนด์ Amazing Thailand ควบคู่กับแนวคิด Responsible Tourism ฉายภาพมิติใหม่ของท่องเที่ยวไทยที่พร้อมส่งมอบประสบการณ์ Amazing Experience อันเปี่ยมด้วยคุณค่า และความหมายในทุกช่วงเวลา
นางสาวปาริชาติ บุญคล้าย ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า การจัดงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ถือเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ “ปีท่องเที่ยวไทย 2566”
ตามแคมเปญ “Visit Thailand Year 2023, Amazing New Chapters” โดย ททท. มุ่งมั่น กระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลกมายังประเทศไทย เพื่อค้นพบมุมมองใหม่ของการท่องเที่ยวไทย โดยเฉพาะการท่องเที่ยว
เชิงประสบการณ์ (Experience-based-Tourism) ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เติมพลัง เติมความหมายบทใหม่ของชีวิต ผ่านสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว รวมถึง Soft Power of Thailand และการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ เพื่อยกระดับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยภายใต้แบรนด์ Amazing Thailand ให้แข็งแกร่งและยั่งยืน
สำหรับหมุดหมายสุดท้ายของงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 ณ the Southern Forecourt, Overseas Passenger Terminal, Circular Quay West ใจกลางนครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย โดยได้รับความร่วมมือจากทีมประเทศไทย ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงแคนเบอร์รา ผู้ประกอบการร้านอาหารไทย ธุรกิจนำเที่ยว และหน่วยงานพันธมิตร ผนึกกำลังออกแบบประสบการณ์ Amazing Experience ของประเทศไทยผ่านพลังแห่ง Soft Power มานำเสนอให้ชาวออสเตรเลียสัมผัสอย่างใกล้ชิด
พิธีเปิดงาน “Amazing Thailand Fest 2023 in Sydney” ในวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ได้รับเกียรติจาก นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรีเลีย นางสาวสุกัญญา สิริกาญจนากุล ผู้อำนวยการภูมิภาคอาเซียน เอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้ ททท. นางสาวปาริชาต บุญคล้าย ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ททท. ร่วมเปิดงาน ภายในงาน ททท. เนรมิตบรรยากาศแห่งความรื่นเริงภายใต้ธีมงานเทศกาลประเพณีไทย F-Festival ประดับด้วยธงราว ตุง โคม และกระทงหลากสี พร้อมจัดพื้นที่จำลองบรรยากาศสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม โดดเด่น เช่น หาดทรายและชายทะเลไทย ก่อนจะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้นักท่องเที่ยวผ่าน
Soft Power ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย 4 ภาค อาทิ รำไทย
สี่ภาค โขน โนรา เซิ้งอีสาน รำกลองยาว และการแสดงสุดพิเศษศิลปะการต่อสู้แม่ไม้มวยไทย F-Fight มรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังได้มีส่วนร่วมลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในโซนสาธิต ภายใต้แนวคิด Responsible Tourism นำเสนอกิจกรรมทำกระเป๋าสานจากขยะอวนทะเล จาก จ.กระบี่ และกิจกรรมการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นของที่ระลึกจาก จ. ภูเก็ต รวมทั้งกิจกรรมสาธิตทางวัฒนธรรม ได้แก่ การวาดร่ม การเพ้นท์หน้ากากผีตาโขน และ F-Fashion เชิญชวนผู้เข้าร่วมงานแบ่งปันและโพสต์ประชาสัมพันธ์งาน Amazing Thailand Fest 2023 บนโซเชียลมีเดีย เพื่อรับของที่ระลึกกางเกงช้างแฟชั่นยอดฮิตของไทย
อีกหนึ่งไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด คือ การนำเสนอวัฒนธรรมอาหาร F-Food กับ 8 บูธร้านอาหารไทยในซิดนีย์
จัดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มต้นตำรับไทย ประกอบด้วย ร้านชาติไทย (หมูพวง ส้มตำ ปากหม้อ ลาบไก่ ไส้กรอก
ไก่ย่างไม้) ร้าน Dodee Paidang Haymarket (ก๋วยเตี๋ยวต้มยำกุ้ง ปาท่องโก๋ เกี๊ยวทอด กล้วยทอด ไก่ทอด) ร้าน Thai Riffic Express (ผัดไทย โรตี ทาโก้ สะเต๊ะ) ร้าน Show Neua (ข้าวเหนียวหมูทอดน้ำพริก ข้าวซอย น้ำเงี้ยว ขนมจีน
แกงปู) ร้านพริกไทย (ผัดผักรวมเม็ดมะม่วง มัสมั่นเนื้อ ขาหมู แกงเขียวหวาน ผัดกะเพรา ผัดซีอิ๊ว) ร้าน Tawandang @ George St (ส้มตำ ไก่ย่าง ข้าวเหนียว) ร้าน Sabuy Express (ทุเรียน ขนุน ส้มโอ สับปะรด) ร้าน Top Class (มะพร้าว)
ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีบูธผู้ประกอบการพันธมิตรด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์
จัดกิจกรรมสาธิตเพ้นท์หน้ากากรูปสัตว์, สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (Thai Trade) ณ นครซิดนีย์
จัดกิจกรรมชิมผลไม้ไทย, สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงแคนเบอร์รา จัดกิจกรรมชิมเนื้อเป็ดปรุงสุกซึ่งมีการนำเข้าเพื่อจำหน่ายในออสเตรเลียเป็นครั้งแรก, สายการบินไทย, ไทยแอร์เอเชีย และต่อยอดแนวคิด Responsible Tourism เสนอเส้นทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ 20 เส้นทาง รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการตลาด “BOOK NOW, GET 80 AUS NOW” จัดโปรโมชั่นจองที่พักที่ส่งเสริมความยั่งยืนในประเทศไทยภายในงาน ผ่านเว็บไซต์ agoda รับส่วนลด 80 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราคา 2,000 บาท) ทั้งนี้ การจัดงานยังคง DNA ของ ททท. ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมด้วยการลดปริมาณการใช้พลาสติก เลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ย่อยสลายได้ มีการวางระบบการคัดแยกขยะ และตระหนักถึงการใช้วัสดุตกแต่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
นอกจากนี้ ททท. ได้จัดกิจกรรม “Amazing Thailand Fest Media Briefing” ในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ณ Watersedge at Campbell’s Stores, the Rocks นครซิดนีย์ โดยเชิญพันธมิตรผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและสื่อมวลชนในพื้นที่ จำนวน 40 ราย ร่วมอัปเดตสถานการณ์ท่องเที่ยวไทย รวมถึงสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวของไทย และต่อยอดจัดกิจกรรม “Amazing Thailand Fest to Fam Trip Australia to Thailand” นำคณะสื่อมวลชน influencers bloggers จากเครือรัฐออสเตรเลีย เดินทางสัมผัสประสบการณ์ Amazing Experience ทดสอบสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวไทย ใน 3 จุดหมายปลายทางหลัก ได้แก่ มาสัมผัส กรุงเทพฯ เชียงราย และกาญจนบุรี- สมุทรสงคราม ระหว่างวันที่ 20 – 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
ตลาดนักท่องเที่ยวออสเตรเลียเป็นตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีนัยยะสำคัญต่ออัตราการเติบโตของตลาดระยะใกล้ จากสถิติปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีโอกาสต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียแล้วกว่า 336,688 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 กรกฎาคม 2566 มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียเดินทางเข้าไทย
385,100 คน เทียบเท่าร้อยละ 85 ของสถิติในปี 2562 และจุดหมายปลายทางยอดนิยม 5 อันดับ ได้แก่กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต เกาะสมุย (สุราษฎร์ธานี) พัทยา (ชลบุรี) และกระบี่ ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Millennials
/ Gen Y Digital nomad Family และ Health-conscious รวมทั้ง เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพที่ตระหนักถึงการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน สอดคล้องกับกลยุทธ์พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปีท่องเที่ยวไทย ทั้งนี้ ททท. วางเป้าหมายกระตุ้นตลาดนักท่องเที่ยวออสเตรเลียเข้าเที่ยวไทย 522,000 ภายในสิ้นปีนี้
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
เช้าวันนี้ (5 พฤศจิกายน 2564) นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มอบตราสัญลักษณ์ SHA Plus ให้แก่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร (วัดโพธิ์) โดยมี เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นผู้รับมอบ และ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร โดยมีนางสาวปุณณภา ปรีดีขนิษฐ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นผู้รับมอบ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร และศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ
ส่งท้ายเดือนกุมพาพันธ์ ที่มีวันแสนพิเศษถึง 2 วัน สำหรับผู้มีความรัก กุมภาพันธ์คงเป็นเดือนที่ดีของคุณและคู่ครอง ที่จะได้ฉลองให้กับความรักที่ผลิบาน สำหรับพุทธศาสนิกชน ภุมภาพันธ์ยังมีวันสำคัญอย่าง วันมาฆบูชา ที่ชาวพุทธจะแสดงตนเป็นพุทธมามกะ และทำนุบำรุงดูแลศาสนา
จากตัวเมืองอยุธยา ถ้าไปเที่ยวต่อที่ปราสาทนครหลวง หรือหมู่บ้านตีมีดอรัญญิกย่าน อ. นครหลวง ขอแนะนำให้แวะที่ร้านคูเหลาไก่รวน อยู่ริมทุ่งนาบรรยากาศดี จะกินเป็นมื้อเที่ยงหรือมื้อเย็นก็เหมาะทั้งนั้น
ที่เที่ยวใหม่ที่อยากพาทุกคนมาชมบรรยากาศท้องทุ่งนาแบบสุดลูกหูลูกตาจากมุมสูง นั่นคือ หอชมทุ่งต้นตาล ตั้งอยู่ที่ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
© 2018 All rights Reserved.