
ก๋วยจั๊บน้ำข้นป้าหนูเล็ก
บางกอกใหญ่ กทม. : แม้เพียงเปิดได้เพียงไม่กี่ปี แต่รสชาติความอร่อยนั้นไม่เป็นรองใคร เครื่องพะโล้เขาปรุงกันเต็มสูตร เส้นก๋วยจั๊บก็เคี้ยวนุ่มหนึบปาก เครื่องเคราที่ใส่มาให้ก็จุใจคนกิน
“พวกเราดื่มกาแฟเป็น เพราะกาแฟพี่อู๋” เราบอกกับใครๆ เช่นนี้เสมอเมื่อคุยถึงเรื่องกาแฟด้วยอารมณ์ถวิลหาอดีตสมัยเรียนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) และคิดว่ารื่นรมย์ก็คงเป็นตำนานในใจของนิสิตหลายๆ คนที่เติบโตจากการเล่าเรียนในรั้วมมส. และฝันของหลายคนก็มาพองโตจากการพูดคุยกันที่ร้านนี้ ลูกค้าทุกคนจะคุ้นเคยกับพี่อู๋ หนุ่มผมยาวผู้ชอบใส่เสื้อสีเข้มยืนชงกาแฟในร้านเล็กๆ สีเทาบนพื้นอิฐแดงใต้ต้นไม้ริมสระน้ำ พี่อู๋มักเดินเสิร์ฟกาแฟร้อนพร้อมชาหอมๆ ด้วยตัวเองพร้อมกับคำทักทายลูกค้าอย่างเป็นกันเอง ที่สำคัญจำลูกค้าได้แทบทุกคน
“ผมอยากให้ร้านรื่นรมย์เป็นที่อ่านหนังสือ แรกทำร้านที่สมัยนั้นยังไม่มีมือถือเท่าไหร่ ก็ยังพอมีภาพคนมา
นั่งอ่านหนังสือที่ร้านกาแฟเรา เราก็เอาหนังสือเล่มโปรด เล่มรักของเรามาวางให้คนอ่าน”
พี่อู๋ผู้ชายใจดีในชุดสีเข้ม ไว้ผมยาวในภาพจำของน้องๆ หลายคน เป็นเจ้าของร้านรื่นรมย์อันร่มรื่นใต้ต้นไม้ ริมสระน้ำกับบรรยากาศร้านอันแสนอบอุ่น รื่นรมย์เป็นร้านกาแฟที่อยู่กับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) มาร่วมสิบสามปีแล้ว อาจจะบอกได้ว่าเป็นร้านกาแฟที่มีอายุยืนยาวที่สุดในละแวกนี้เลยก็ว่าได้ พี่อู๋บอกต่อเรื่องราวร้านกาแฟในฝันให้เราได้ฟัง
ทำไมต้องเป็นสารคาม? เราถามถึงการบุกเบิกที่ทางกาแฟในดินแดนอันเงียบเชียบแห่งนี้เมื่อสิบกว่าปีก่อน พี่อู๋ก็เริ่มเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนทำเบเกอรี่ส่งที่ขอนแก่นอันเป็นบ้านเกิด และอยากทำร้านที่นั่นแต่ยังไม่มีโอกาส ในช่วงนั้นก็เริ่มซ่องสุมกำลังโดยการซื้อเครื่องทำกาแฟและอุปกรณ์มาสะสมไว้แล้ว หลังจากนั้นประมาณสักหกเจ็ดเดือน แฟนที่สอนหนังสืออยู่ที่มหาสารคามอยู่แล้วก็ได้ชวนให้มาทำร้านอยู่ที่นี่ แต่ต้องขายในพื้นที่ของฟาร์มมหาวิทยาลัย และต้องดูแลผลิตภัณฑ์ให้ฟาร์มด้วย
“ตอนแรกไม่อยากมาเลยมันเงียบมาก เราก็เริ่มมานั่งทุบจอมปลวกปรับพื้นที่ร้าน ขายตอนแรกก็ไม่เท่าไหร่ ประมาณสิบแก้วต่อวันแต่ก็อยู่ได้เรื่อยมา”
“ชื่อรื่นรมย์มาจากไหน” ด้วยความเป็นนักเรียนประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยา เราก็ยังคงเน้นคำถามแบบพื้นๆ เพื่อให้เห็นหลักแหล่งที่มาที่ไป เพราะส่วนใหญ่มันมักจะนำพาเราไปพบความฝันของเจ้าของร้านผ่านชื่อบ้านนามร้านเสมอ และแน่นอนว่าครั้งนี้ก็เช่นกัน
พี่อู๋เล่าถึงอิทธิพลหลายอย่างของร้านนี้ที่ได้มาจากรองศาสตราจารย์ ดร. ธัญญา สังขพันธานนท์ เจ้าของนามปากกา “ไพฑูรย์ ธัญญา” นักเขียนที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2530 ในขณะนั้นเป็นอาจารย์ประจำอยู่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งการอยากให้ร้านเป็นมุมเล็กๆ อ่านหนังสือ โดยเริ่มจากการเป็นนักอ่านมาก่อนและการได้รู้จักอาจารย์ธัญญา
ในตอนแรกนั้นยังไม่มีชื่อร้าน คนก็เรียกกันง่ายๆ ว่า “ร้านฟาร์ม” เพราะตั้งอยู่ใกล้ฟาร์ม แต่อาจารย์ธัญญาเป็นคนแรกที่เอ่ยถามว่าชื่อร้านอะไร ต้องมีชื่อร้านแล้ว จึงได้ตั้งว่า “รื่นรมย์”
“ชื่อรื่นรมย์เพราะเราเองอยากเปิดที่ขอนแก่นตรงถนนรื่นรมย์ และรื่นรมย์ก็ได้ความงามทั้งส่วนรูปธรรม
และนามธรรม ในสวนอันรื่นรมย์ เป็นจุดแรกที่เราเริ่มอยากเป็นพื้นที่ของการสร้างงานศิลป์”
พี่อู๋เล่าถึงการเริ่มต้นทำร้านที่ชวนให้ถอดใจได้อยู่ตลอดเวลา จนเมื่อตั้งตัวได้ทำให้ช่วงหลังที่ร้านมีลูกค้าเพิ่มมากขึ้น และมีจุดพลิกผันที่ร้านรอบๆ ก็เริ่มผุดขึ้นมาใหม่พร้อมกับลูกค้าที่เริ่มหายไป ยืนยันจากยอดขายชาเขียว หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ที่ลดลง มีแต่ยอดขายกาแฟที่ยังคงอยู่ตลอด
“ยิ่งทำให้มั่นใจว่าถึงแม้ว่าจะเป็นวันหยุด หรือ การเกิดใหม่ของหลายร้านรอบๆ แต่คนที่สั่งกาแฟยังคงเท่าเดิม”
ร้านกาแฟริมสระน้ำที่รู้จักกันในชื่อ “รื่นรมย์” ยังเป็นความทรงจำดีๆ ของหลายคนที่นึกอยากจะหาที่นั่งพักผ่อนสบายๆ เราเองก็หนึ่งในนั้นที่เดินทะลุซอกตึกออกมาหาความ “รื่นรมย์” นี้
ที่ตั้ง อยู่ในหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต. ขามเรียง อ. กันทรวิชัย จ. มหาสารคาม
เปิด ทุกวัน 8.00 – 17.00น.
พีเบอร์รี่ เพอร์ เซ เป็นร้านน้องใหม่ โดยเริ่มถือกำเนิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เป็นระยะเวลาเกือบหนึ่งปีมาแล้ว และเป็นหนึ่งปีที่ผ่านสมรภูมิด้านเศรษฐกิจมาอย่างแข็งแกร่งจากพิษโควิด-19 พี่อู๋เริ่มทำงานร่วมกับคนอื่นมากขึ้น โดยมีหุ้นส่วนทั้งหมดสามส่วน แต่ตัวพี่อู๋เองยังเป็นคนดูแลร้านเป็นหลักและมีอิสระที่จะทำกาแฟในแบบของตัวเองอย่างเต็มตัว ส่วนรื่นรมย์ยังคงอยู่ที่เดิมแต่มีผู้ช่วยดูแลเพิ่ม
“พีเบอร์รี เพอร์ เซ” เป็นชื่อที่หุ้นส่วนทั้งสามคนช่วยกันตั้ง “per se” เป็นคำที่มีความหมายดีคือ by itself หมายถึง ด้วยตัวมันเอง พี่อู๋จึงเติม “พีเบอร์รี” ซึ่งเป็นกาแฟลูกกลมเข้าไปด้วยจะได้เห็นถึงความเป็นร้านกาแฟ เลยได้ชื่อยาวอย่าง “พีเบอร์รี เพอร์ เซ”
พี่อู๋กล่าวว่า “ชื่อยาวทำการตลาดยากเลย ผมเลยคุยกับหุ้นส่วนว่าถ้าชื่อยาวขนาดนี้ต้องทำใจด้วยนะถ้าคนจะเรียกว่ารื่นรมย์เก่า รื่นรมย์ใหม่ หรือ ร้านพี่อู๋ เขาก็โอเคเลยเพราะฉากหน้าเขาให้เราเป็น owner (เจ้าของร้าน) เต็มตัว”
“ร้านนี้ผมอยากทำมากกว่าร้านกาแฟคือพื้นที่ของศิลปะด้วย”
พีเบอร์รี่ เพอร์เซ นอกจากจะเป็นร้านกาแฟและเบเกอรี่แล้ว ยังมีส่วนของแกลอรี่เล็กๆ ที่เจ้าของร้านตั้งใจ
อยากให้มีพื้นที่ทางศิลปะร่วมกับการดื่มกินกาแฟ ด้วยจากประสบการณ์ที่เป็นนักชมพิพิธภัณฑ์และงานศิลป์อยู่แล้วจึงมองว่าส่วนใหญ่แกลอรี่ในมหาวิทยาลัยนั้นแห้งแล้ง ถึงจะมีพื้นที่สำหรับการจัดแสดงงาน แต่ก็ไม่มีกิจกรรมอย่างอื่นของผู้คนประกอบด้วยมากนัก
“ร้านนี้คืองานของคนท้องถิ่น คนสารคาม ขอนแก่น”
เมื่อมีพื้นที่ร้านเป็นของตัวเองนอกรั้วมหาวิทยาลัยแล้วพี่อู๋เองก็อยากใช้พื้นที่ตรงนี้ทำตามความฝันที่เคยวาดไว้ให้เกิดขึ้นจริง คือการเปิดพื้นที่ให้ศิลปินรุ่นใหม่ได้มาโชว์ผลงานและเล่นดนตรี รวมถึงยังอยากให้เป็นสถานที่จัดงานเสวนาทั้งเป็นวิชาการและไม่เป็นวิชาการ อย่างงานแรกที่เพิ่งจัดไปเมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา คืองาน “ศิลปสานอภิวัฒน์” หัวข้อ “ศิลปะกับการกดขี่” โดยมีอาจารย์ถนอม ชาภักดี เป็นวิทยากร และสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตคืออยากเชิญชวนนักเขียนที่รู้จักมาตั้งวงคุยกันที่ร้าน
ขนาดของห้องที่เตรียมไว้ก็สามารถรับคนได้ประมาณหนึ่ง ภายนอกมีพื้นที่ด้านหน้าสำหรับลงทะเบียน รวมถึงสนามหญ้าที่เป็นพื้นที่ว่าง ทุกอย่างที่กล่าวมานี้ถูกจัดวางไว้สำหรับการเปิดพื้นที่ทางศิลปะและการพูดคุยไว้หมดแล้ว พี่อู๋บอกกล่าวกับเราว่างานศิลปะที่ว่าไม่จำเป็นต้องเป็นงานร่วมสมัย เพราะงานพื้นถิ่นอีสานเองก็มีเสน่ห์มากพอที่จะแสดงได้
ไม่เพียงแต่จะผลักดันเฉพาะพื้นที่อย่างที่กล่าวมาเท่านั้น ในด้านกาแฟพี่อู๋ก็พยายามศึกษาและพัฒนาอยู่เสมอ เพราะความฝันอันยิ่งใหญ่อีกอย่างคือการอยากเติบโตให้ได้ไกลกว่านี้ “ยังอยากค่อยๆ เขยิบจากปลายน้ำไปถึงต้นน้ำบ้าง” พี่อู๋กล่าวถึงการเติบโตในทิศทางของการทำกาแฟ เพื่อจะผลักดันให้มหาสารคามเป็นเมืองเล็กๆ ที่สามารถหากาแฟดีๆ ดื่มได้อย่างเมืองใหญ่ๆ
“ตอนแรกเริ่มขายฝันขำๆ แต่พออยู่ไปอยู่มาสักสิบปีก็เริ่มคิดว่าถ้าอยู่ก็อยากจะอยู่ให้เป็นตำนาน ให้คนจำเราได้ในทิศทางที่ดีๆ”
ขอขอบคุณ
พี่อู๋รื่นรมย์
ร้านกาแฟรื่นรมย์
ร้านพีเบอร์รี เพอร์ เซ
อาร์ตี้และแตงกวา สำหรับการร่วมวงเสวนา
ที่ตั้ง ใกล้กับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ. กันทรวิชัย จ. มหาสารคาม
เปิด ทุกวัน 9.00 – 18.00น.
โทร 081 625 3823
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
บางกอกใหญ่ กทม. : แม้เพียงเปิดได้เพียงไม่กี่ปี แต่รสชาติความอร่อยนั้นไม่เป็นรองใคร เครื่องพะโล้เขาปรุงกันเต็มสูตร เส้นก๋วยจั๊บก็เคี้ยวนุ่มหนึบปาก เครื่องเคราที่ใส่มาให้ก็จุใจคนกิน
“ฮึบ เอ้า ฮึบ หนึ่ง สอง สาม สี่ …..” เสียงฝีพายจากเรือยาวสองลำกำลังส่งเสียงพร้อมกับออกแรงวาดพายให้กินน้ำพร้อมตวัดพายอย่างรวดเร็วจนน้ำกระจาย เพื่อเร่งส่งให้เรือยาวหัวนาคลำสวยของหมู่บ้านตนชิงเข้าเส้นชัย
ไม่ต้องบินไปไกลถึงญี่ปุ่น.. ก็อร่อยฟินกับชีสเค้กสไตล์ญี่ปุ่นแท้ ๆ ต้นตำรับจากเกาะฮอกไกโด ได้ที่ Farm Design พื้นที่เล็ก ๆ ที่ตกแต่งสไตล์คาเฟ่ญี่ปุ่น ด้วยโครงสร้างและเฟอร์นิเจอร์ไม้โทนสีเบจดูสว่างและอบอุ่น โดดเด่นด้วยโลโก้วัวใส่แว่นกันแดดมาดเท่ห์ ที่มีสายพันธุ์จากแคนาดาและถูกเลี้ยงแบบระบบเปิดในทุ่งหญ้าอันอุดมสมบูณณ์แห่งเกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น
© 2018 All rights Reserved.