อลังการฉางข้าวไทย-จีน เสน่ห์ “แสลงพัน”

ผู้ที่ชอบนั่งรถไฟเที่ยวชมบรรยากาศริมทางสถานีรถไฟแสลงพันคือสถานที่หนึ่งที่จะทำให้คุณประทับใจ ด้วยทิวทัศน์ทุ่งนากว้างใหญ่และร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนเก่าแก่ซึ่งผสมผสานวัฒนธรรมไทยจีนอย่างลงตัว

ในอดีตกว่า 100 ปีที่แล้ว แสลงพันเป็นเพียงสถานีเล็กๆ ให้รถไฟจอดรับส่งผู้โดยสารเท่านั้น  ต่อมาเมื่อมีพ่อค้าชาวจีนหอบเสื่อผืนหมอนใบมาตั้งรกราก ก็เริ่มมีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาทำการค้าและจับจองเป็นที่อยู่อาศัยกันมากขึ้น  จากสถานีทางผ่านเล็กๆ แสลงพันจึงค่อยๆ พัฒนาเป็นชุมชนหนาแน่นในเวลาต่อมา

บรรดาอาคารบ้านเรือนอายุนับ 100 ปียังคงมีสภาพสมบูรณ์  บ้านเก่าสถาปัตยกรรมจีนซึ่งตั้งเบียดเสียดอยู่และมีกลิ่นอายของวัฒนธรรมที่ผสมผสานกันนั้นหาชมได้ยาก เหมาะเดินเที่ยวชมพร้อมๆ กับสัมผัสวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของท้องถิ่นชนบท โดยเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาวที่อากาศกำลังดี ไม่ร้อนไม่หนาวจนเกินไป

ห่างจากสถานีรถไฟไปทางทิศตะวันออกไม่ไกลเรามองเห็นฉางข้าวโบราณขนาดใหญ่ตั้งอยู่อย่างโดดเด่น  พ่อค้าในอดีตสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บสินค้า  โครงสร้างที่เป็นไม้เก่าโบราณแข็งแรงสีขาวอมเทา ดูงามสง่าดึงดูดสายตาผู้คน

ปี 2561 บ้านแสลงพันพัฒนาได้รับการจัดเป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยมีเส้นทางท่องเที่ยวหลักเป็นฉางข้าวโบราณนี้ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางชุมชน

นอกจากฉางข้าวโบราณยังมีตลาดสายหยุด” (ตลาดหน้าสถานีรถไฟ) ที่ไม่ว่าใครที่ได้ไปเยือนจะต้องแปลกใจ เพราะติดตลาดตอน 7 โมงเช้า พอ 8 โมงเช้าตลาดก็วายแล้ว เป็น 1 ชั่วโมงที่ทำให้เราทั้งฉงนทั้งประหลาดใจกับความรวดเร็วของบรรยากาศการซื้อขาย

ตลาดนี้เกิดขึ้นเพราะพ่อค้าแม่ขายต่างมารอขึ้นรถไฟเที่ยว 8 โมงเช้าทุกวัน แล้วในช่วงเวลาสั้นๆ นี้ผู้คนละแวกใกล้เคียงก็เข้ามาจับจ่ายซื้อพืชผัก ผลไม้ ขนมหวาน กันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งและอย่างเร่งรีบ เพราะพอรถไฟเที่ยว 8 โมงเช้าเทียบชานชาลา พ่อค้าแม่ค้าก็รีบขนของขึ้นรถไฟไปแล้วเพื่อไปขายยังสถานีปลายทาง เหลือแต่พื้นที่ว่างเปล่าหน้าสถานี ตลาดจึงต้องหยุดขายตอนสายๆ ไปโดยปริยาย สมชื่อตลาดสายหยุด

เที่ยวตลาดแล้วต้องแวะพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านโบราณซึ่งตั้งอยู่ในวัดบ้านแสลงพัน เพื่อชมข้าวของเครื่องใช้ในอดีตของชุมชนที่ทางพิพิธภัณฑ์เก็บรวบรวมไว้ ไม่ว่าจะเป็นเกวียน ตะเกียงเจ้าพายุ คันไถนา โอ่งโบราณ หรือเครื่องไม้เครื่องมืออีกหลากหลายชนิด

ใกล้ ๆ วัด บริเวณที่มีต้นแสลงพันขนาดใหญ่ที่เหลืออยู่เพียงต้นเดียวในชุมชน เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อหลวงศรีซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน  ผู้ไปเยือนสามารถแวะสักการะได้

ในชุมชนยังมีศาลเจ้าอีกแห่งคือศาลเจ้าพ่อไทลือแสลงพัน เป็นศาลเจ้าจีนตั้งอยู่ท้ายหมู่บ้าน ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนอีกแห่ง อยู่คู่ชุมชนมาตั้งแต่แรกแล้ว  อาคารศาลสร้างอย่างประณีตด้วยสถาปัตยกรรมจีน น่าแวะเที่ยวชมและกราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคล

ห่างออกไปท้ายหมู่บ้านยังเป็นที่ตั้งของศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ พาเยี่ยมชมวิถีเกษตรปลอดสารพิษซึ่งเป็นต้นแบบแห่งแรก ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะการใช้พลังงานโซลาร์เซลล์แทนไฟฟ้าในการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ทำให้มีผลผลิตที่สำคัญ คือ แคนตาลูปซึ่งปลูกเป็นแห่งแรกของจังหวัดบุรีรัมย์ พุทรารสชาติหวานกรอบ และพืชผักอีกหลายชนิด ที่ผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถเลือกซื้อได้สดๆ จากแปลงปลูก

แสลงพัน16

ก่อนกลับหากอยากมีของติดไม้ติดมือกลับไปฝากคนที่บ้าน ต้องแวะที่ลานวิถีชีวิต/วัฒนธรรมชุมชนอยู่ริมถนนใกล้สระน้ำของหมู่บ้าน  มีสินค้าท้องถิ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านวางจำหน่าย  ลานนี้เป็นที่จัดงานกิจกรรมภายในชุมชนด้วย

การเดินทางมาแสลงพันสามารถโดยสารรถไฟมาได้แต่ถ้าไม่สะดวกก็ขับรถยนต์ส่วนตัวมาได้เช่นกันอยู่ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ไม่มากไม่ถึง 20 นาทีก็ถึงหมู่บ้านแล้ว

แสลงพัน14

บ้านแสลงพันพัฒนาแม้เป็นชุมชนเล็กๆ แต่ก็มีโฮมสเตย์และรีสอร์ตตั้งอยู่ประปราย เพราะหมู่บ้านอยู่คั่นกลางระหว่างอำเภอเมืองบุรีรัมย์กับอำเภอลำปลายมาศ  ผู้ที่ชื่นชอบอาบบรรยากาศจะเลือกพักค้างแรมที่นี่ก็น่าสนใจทีเดียว เพราะจะได้เพลิดเพลินกับทิวทัศน์ริมทุ่งนาของภาคอีสานอย่างเต็มอิ่ม โดยเฉพาะช่วงปลายฝนที่มองไปทางไหนก็ล้วนแต่ชุ่มชื่นสบายตา

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

Info

ฉางข้าวโบราณแสลงพัน

ที่ตั้ง หมู่ 14 บ้านแสลงพันพัฒนา ต. แสลงพัน อ. ลำปลายมาศ จ. บุรีรัมย์

โทร. 08-5763-1263 หรือ 08-2724-1688 (แสงจันทร์ ปวงสุข) 

06-2229-4756 (สำราญ ปวงสุข)  08-1876-8356

(ผู้ใหญ่วิชัย)

Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer/ Photographer

ณัฐพงศ์ อินต๊ะริด

ณัฐพงศ์ อินต๊ะริด

Relate Place

Eat

ยิ้ม ยิ้ม อร่อยอิ่มยิ้มกลับบ้าน

ร้านนี้เปิดบริการมา 40 ปีแล้ว จานแรกเรียกน้ำย่อยคือลูกชิ้นปลากรายลวกจิ้ม ทางร้านทำเองตั้งแต่ขูดเนื้อปลามาตีจนเหนียว ทำเป็นลูกชิ้นขนาดพอดีคำ ลวกในน้ำเดือดจัด พอสะเด็ดน้ำดีแล้วก็นำใส่จานโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว เวลากินจิ้มกับน้ำจิ้มซีฟูดรสแซบ ลูกชิ้นกรอบเด้งไม่มีกลิ่นคาว กินเพลินดีค่ะคุณขา

ชิโนโปรตุกีส ภูเก็ต
tips travelers

ชิโนโปรตุกีส รากเหง้า เมืองเก่าภูเก็ต

สถาปัตยกรรมเปี่ยมเสน่ห์เก๋ล้ำด้วยวัฒนธรรม 2 ทวีป คือคำจำกัดความของสถาปัตยกรรมใจกลางเมืองภูเก็ตอย่างตึกชิโนโปรตุกีส ที่ผสมผสานการตกแต่งของชาวจีนและรูปแบบการสร้างสไตล์ยุโรปไว้ได้อย่างลงตัว แต่เพราะต้องการยกย่องโปรตุเกส ชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับภูเก็ต จึงเรียกสถาปัตยกรรมนี้ว่า ชิโน-โปรตุกีส

Travel

บันทึก “รถแห่” ในสถานการณ์โควิด-19

ในช่วง 5-10 ปีมานี้ มหรสพสายพันธุ์ใหม่จากดินแดนที่ราบสูงที่รู้จักกันในนาม “รถแห่” ปรากฏอยู่ในสายตาคนทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ในถิ่นที่ของคนอีสานเอง แต่ยังเหมารวมไปถึงภาคกลางและภาคตะวันออกด้วย รถแห่อีสานวิ่งรับงานกันไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งในรูปแบบของการเป็นมหรสพในพิธีกรรมอย่างงานบวช งานกฐิน งานผ้าป่า ไปจนถึงการเปิดวิก ล้อมผ้า (ล้อมสังกะสี) เก็บเงินค่าเข้าชม ถือเป็นยุครุ่งเรืองของศิลปินอีสานรุ่นใหม่เลยก็ว่าได้
ในช่วง 5-10 ปีมานี้ มหรสพสายพันธุ์ใหม่จากดินแดนที่ราบสูงที่รู้จักกันในนาม “รถแห่” ปรากฏอยู่ในสายตาคนทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ในถิ่นที่ของคนอีสานเอง แต่ยังเหมารวมไปถึงภาคกลางและภาคตะวันออกด้วย รถแห่อีสานวิ่งรับงานกันไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งในรูปแบบของการเป็นมหรสพในพิธีกรรมอย่างงานบวช งานกฐิน งานผ้าป่า ไปจนถึงการเปิดวิก ล้อมผ้า (ล้อมสังกะสี) เก็บเงินค่าเข้าชม ถือเป็นยุครุ่งเรืองของศิลปินอีสานรุ่นใหม่เลยก็ว่าได้

Eat

N10 café BLACK COFFEE ดื่มด่ำกาแฟดำในแดดบ่าย

แดดบ่ายแลเรืองอยู่รำไรภายในร้านที่แวดล้อมด้วยต้นไม้ โมบายล์ปลาตะเพียนสานสีแดงแกว่งไกวอยู่กลางร้าน ริมระเบียงด้านนอกชิดใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา สายลมกำลังรำเพย ไม่รุนแรงแต่ร่มเย็น