
10 อาหารพื้นถิ่นที่คุณอาจไม่เคยกิน
อย่างที่รู้กันว่าอาหารพื้นถิ่นสะท้อนอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ซึ่งเน้นใช้ของวัตถุดิบในท้องถิ่นนั้นมาประกอบอาหาร ครั้งนี้”นายรอบรู้”ได้รวบรวมอาหารพื้นถิ่นที่คุณอาจไม่เคยกินหรือไม่รู้จักเลยก็ได้เลยก็ได้มาดูกัน
ในช่วง 5-10 ปีมานี้ มหรสพสายพันธุ์ใหม่จากดินแดนที่ราบสูงที่รู้จักกันในนาม “รถแห่” ปรากฏอยู่ในสายตาคนทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ในถิ่นที่ของคนอีสานเอง แต่ยังเหมารวมไปถึงภาคกลางและภาคตะวันออกด้วย รถแห่อีสานวิ่งรับงานกันไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งในรูปแบบของการเป็นมหรสพในพิธีกรรมอย่างงานบวช งานกฐิน งานผ้าป่า ไปจนถึงการเปิดวิก ล้อมผ้า (ล้อมสังกะสี) เก็บเงินค่าเข้าชม ถือเป็นยุครุ่งเรืองของศิลปินอีสานรุ่นใหม่เลยก็ว่าได้
แต่เมื่อรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 และประกาศเคอร์ฟิวซึ่งมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็มีการประกาศห้ามมีการชุมนุมด้วย งานมหรสพในงานบุญต่างๆ จึงถูกงดไปพร้อมกัน ส่งผลให้รายได้ที่เพิ่มพูนขึ้นจากการวิ่งรับงานของชาวรถแห่ต้องหยุดชะงักไปชั่วขณะ
“ตอนนี้ก็ลำบากครับ ต่างคนต่างแยกย้ายกันกลับบ้านไปก่อน” เสียงสะท้อนของการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดของเจ้าของรถแห่จากเมืองมหาสารคาม
รถแห่ซึ่งมีความอลังการใหญ่โต สีสันสดใส ที่หลายคนเคยผ่านตามานั้น มีพัฒนาการมาจากวงดนตรีแห่ในงานบุญของชาวอีสาน จากวงกลองยาวที่มีการผสมวงระหว่างเครื่องประกอบจังหวะ (percussion) คือ กลอง ฉิ่ง ฉาบ กับเครื่องเดินทำนอง (melody) ที่ในระยะแรกมีเพียงพิณและแคน เล่นทำนองพื้นบ้านที่เรียกว่า “ลาย” เช่น ลายเต้ย ลายลมพัดพร้าว ลายเซิ้ง ฯลฯ ในเวลาต่อมาก็มีการผสมวงเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น นำเครื่องดนตรีสากลมาใช้ ทั้งคีย์บอร์ด กีตาร์ และเบส แต่ยังคงเสียงพิณซึ่งเป็นเอกลักษณ์ความเป็นอีสานไว้ และต่อเครื่องขยายเสียงกับแบตเตอรี่รถยนต์ แล้วใช้ “รถยู้” หรือรถเข็น เข็นแห่รอบหมู่บ้านขนาดเล็ก
เครื่องเสียงที่ติดอยู่กับรถเข็นนั้นถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นเครื่องเสียงขนาดใหญ่ติดตั้งบนรถกระบะ จากนั้นค่อยๆ พัฒนาจนกลายเป็นรถแห่คันใหญ่ขนาดเท่ารถหกล้อ มีเครื่องเสียงเทียบเท่าเวทีหมอลำ และยังสามารถเล่นในขณะเคลื่อนที่ได้ด้วย
ผู้เขียนเห็นว่า รถแห่มีความเป็นลูกผสม (hybrid) ระหว่างความเป็นดนตรีแห่กับวงลูกทุ่งหมอลำ ผสมผสานความเป็นพื้นบ้านและความทันสมัย ผ่านฝีมือความชำนิชำนาญด้านดนตรีและความรู้ด้านเทคโนโลยี
“เรื่องดนตรีแห่มันต้องปรับตัวอยู่ตลอดให้เข้ากับโลกสมัยใหม่ หาสิ่งใหม่ๆ มาให้คนตื่นเต้น เข้ากับรสนิยมคนในแต่ละยุค” พี่โอเล่ เจ้าของรถแห่ “ย่องเบามิวสิคออนทัวร์ มหาสารคาม” พูดถึงการปรับตัวในฐานะผู้ประกอบการดนตรีรถแห่
การเล่นดนตรีของชาวรถแห่ไม่ได้มีแค่บนรถในงานบุญหรือล้อมผ้าโชว์ตามงานวัดเท่านั้น ปัจจุบันยังมาโลดแล่นบนเวทีออนไลน์จนมีชื่อเสียงในวงกว้างอีกด้วย วิดีโอการแสดงสดของรถแห่คณะดังๆ มียอดวิวเป็นหลักล้าน กระแสความป็อปของรถแห่ดูได้จากนักร้องหลายคนซึ่งดังเทียบเท่านักร้องดังที่มีค่ายสังกัดเลยทีเดียว โดยเฉพาะ ออย แสงศิลป์ ที่ได้สมญาว่า “ราชารถแห่” และ ใบปอ รัตติยา ที่เรียกขานว่าเป็น “ราชินีรถแห่” ต่างก็เติบโตมาจากคลิปวิดีโอรถแห่ที่ลงใน YouTube
นอกจากนี้บรรดาผู้ประกอบการรถแห่ยังมีการรวมกลุ่มกัน เช่นที่พบเห็นในเฟซบุ๊กอย่าง “ชมรมรถแห่ มโหรี ดนตรีสด แห่งประเทศไทย” ซึ่งจากสถิติปี 2562-2563 มีคณะที่เข้าร่วมจำนวนถึง 39 รายนามรถแห่ และบางเจ้าก็มีรถมากกว่า 1 คัน แต่ความจริงยังมีรถแห่ที่อยู่นอกชมรมนี้จำนวนมากกว่านี้หลายเท่า การรวมกลุ่มกันดังกล่าวก็เพื่อหาลูกค้า ปรึกษางาน และตั้งราคากลาง รวมถึงเป็นการเปิดพื้นที่ให้เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน แชร์ประสบการณ์การทำงานซึ่งกันและกัน สร้างความสนิทสนมกลมเกลียว
“ปกติเราจะวางแผนไว้ว่า ช่วงเดือนมีนาฯ–เมษาฯ เป็นช่วงพีค มีงานเยอะที่สุดในรอบปี เราจะเร่งทำงานเก็บเงินไว้สำหรับช่วงเข้าพรรษาที่จะมาถึง สามเดือนที่งานลดลง ถ้าสถานการณ์แบบนี้แห่ไม่ได้ไปจนถึงออกพรรษาแย่แน่ๆ”
ช่วงเข้าพรรษา งานแห่ที่อยู่ในพื้นที่นั้นค่อนข้างน้อยหรือแทบไม่มีเลยสำหรับบางคัน แต่ชาวรถแห่ก็ช่วยกันหาเวทีโดยการขยับรุกเข้ามาเปิดวิกในเมืองกรุง โดยมีชื่อในวงการว่า “มหกรรมรถแห่” ที่ร้อง เล่น เต้น โชว์ กันในวงล้อมสังกะสี เก็บค่าเข้าชมคนละร้อยสองร้อย
การทำงานที่บ้าน (work from home) สามารถทำได้ในงานหลายอาชีพ แต่ไม่ใช่กับชาวรถแห่และอาชีพศิลปินที่มีหน้างานอยู่กับกลุ่มคน งานบุญ และงานรื่นเริง จริงที่ว่ารถแห่ไม่ได้มีงานทุกวัน แต่บางวงที่ดังๆ เดือนหนึ่งสามารถรับงานได้มากกว่า 20 งาน แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการหรือเจ้าของรถก็ต้องแบกภาระทั้งค่าผ่อนรถซึ่งมีราคาสูงคันละกว่าล้านบาท ทั้งค่าใช้จ่ายภายในบ้านและค่าดูแลสมาชิกในวง เจ้าของรถแห่บางคันที่อยู่ไม่ได้ แบกรับภาระต้นทุนไม่ไหว ก็จำใจต้องประกาศขายรถ เป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นมากในเฟซบุ๊กช่วงนี้
ดังนั้นรายได้อย่างเดียวที่มีในตอนนี้ก็คือการโลดแล่นบนเวทีออนไลน์ เช่น ยูทูบ เฟซบุ๊ก สมาชิกบางคนในวงที่เป็นยูทูบเบอร์มีรายได้บ้างจากงานนี้ แต่ไม่มากมายเท่าการเล่นสดที่มีงานอยู่เกือบทุกวัน บางคนจึงขยับไปเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กันบ้าง
“แต่เมื่อต้นเดือนพี่คนที่ทำยูทูบก็เอาเงินมาแบ่งให้คนในวงอยู่ครับ” เสียงจากนักร้องรถแห่เอ่ยถึงน้ำใจในยามยากจากเพื่อนร่วมงานบางคนซึ่งยังมีรายได้ในวิกฤตนี้ แม้ไม่มากมายแต่พวกเขาก็ช่วยเหลือเจือจานกัน
—ขอเป็นกำลังใจให้ศิลปิน คนทำงานทุกท่าน ผ่านวิกฤตและกลับมาจับไมค์ร้องเพลง เต้นหน้ารถ ไปด้วยกันอีกครั้ง—
ขอขอบคุณ: คณะรถแห่ย่องเบามิวสิคออนทัวร์ มหาสารคาม, ชมรมรถแห่ มโหรี ดนตรีสด แห่งประเทศไทย
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
อย่างที่รู้กันว่าอาหารพื้นถิ่นสะท้อนอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ซึ่งเน้นใช้ของวัตถุดิบในท้องถิ่นนั้นมาประกอบอาหาร ครั้งนี้”นายรอบรู้”ได้รวบรวมอาหารพื้นถิ่นที่คุณอาจไม่เคยกินหรือไม่รู้จักเลยก็ได้เลยก็ได้มาดูกัน
นครพนม : คงจะดีไม่น้อย ถ้าได้ชมอาทิตย์ดวงโตกำลังลาลับขอบฟ้าไปพร้อมๆ กับได้ชิมมื้อเย็นรสเด็ดที่เป็นเมนูปลาแม่น้ำโขง
ท่ามหาราช คอมมูนิตี้ มอลล์ริมน้ำเจ้าพระยา ร่วมกับ ทรู คอร์ปปอเรชั่น และบุญรอดบริวเวอรี่ จัดงาน Feel Good Night Market กิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ตลอดเดือนธันวาคม
วังบูรพา-ย่านเก่าที่ฮอตฮิตสมัยวัยรุ่นยุค 2499 อันธพาลครองเมือง มีร้านเกาเหลาเนื้อที่บรรดานักชิมต่างยกให้อยู่ระดับแถวหน้าถึง 3 ร้าน (เป็นอย่างน้อย)
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเต็มงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 ณ นครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย โดยผนึกกำลังพันธมิตรอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ยกทัพ Soft Power ของไทยเสนอแก่นักท่องเที่ยวออสเตรเลียอย่างใกล้ชิด เพื่อมุ่งสร้างความเชื่อมั่นและแรงบันดาลใจ
สู่การตัดสินใจเดินทางมายังประเทศไทย พร้อมตอกย้ำแบรนด์ Amazing Thailand ควบคู่กับแนวคิด Responsible Tourism ฉายภาพมิติใหม่ของท่องเที่ยวไทยที่พร้อมส่งมอบประสบการณ์ Amazing Experience อันเปี่ยมด้วยคุณค่า และความหมายในทุกช่วงเวลา
นางสาวปาริชาติ บุญคล้าย ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า การจัดงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ถือเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ “ปีท่องเที่ยวไทย 2566”
ตามแคมเปญ “Visit Thailand Year 2023, Amazing New Chapters” โดย ททท. มุ่งมั่น กระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลกมายังประเทศไทย เพื่อค้นพบมุมมองใหม่ของการท่องเที่ยวไทย โดยเฉพาะการท่องเที่ยว
เชิงประสบการณ์ (Experience-based-Tourism) ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เติมพลัง เติมความหมายบทใหม่ของชีวิต ผ่านสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว รวมถึง Soft Power of Thailand และการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ เพื่อยกระดับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยภายใต้แบรนด์ Amazing Thailand ให้แข็งแกร่งและยั่งยืน
สำหรับหมุดหมายสุดท้ายของงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 ณ the Southern Forecourt, Overseas Passenger Terminal, Circular Quay West ใจกลางนครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย โดยได้รับความร่วมมือจากทีมประเทศไทย ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงแคนเบอร์รา ผู้ประกอบการร้านอาหารไทย ธุรกิจนำเที่ยว และหน่วยงานพันธมิตร ผนึกกำลังออกแบบประสบการณ์ Amazing Experience ของประเทศไทยผ่านพลังแห่ง Soft Power มานำเสนอให้ชาวออสเตรเลียสัมผัสอย่างใกล้ชิด
พิธีเปิดงาน “Amazing Thailand Fest 2023 in Sydney” ในวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ได้รับเกียรติจาก นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรีเลีย นางสาวสุกัญญา สิริกาญจนากุล ผู้อำนวยการภูมิภาคอาเซียน เอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้ ททท. นางสาวปาริชาต บุญคล้าย ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ททท. ร่วมเปิดงาน ภายในงาน ททท. เนรมิตบรรยากาศแห่งความรื่นเริงภายใต้ธีมงานเทศกาลประเพณีไทย F-Festival ประดับด้วยธงราว ตุง โคม และกระทงหลากสี พร้อมจัดพื้นที่จำลองบรรยากาศสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม โดดเด่น เช่น หาดทรายและชายทะเลไทย ก่อนจะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้นักท่องเที่ยวผ่าน
Soft Power ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย 4 ภาค อาทิ รำไทย
สี่ภาค โขน โนรา เซิ้งอีสาน รำกลองยาว และการแสดงสุดพิเศษศิลปะการต่อสู้แม่ไม้มวยไทย F-Fight มรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังได้มีส่วนร่วมลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในโซนสาธิต ภายใต้แนวคิด Responsible Tourism นำเสนอกิจกรรมทำกระเป๋าสานจากขยะอวนทะเล จาก จ.กระบี่ และกิจกรรมการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นของที่ระลึกจาก จ. ภูเก็ต รวมทั้งกิจกรรมสาธิตทางวัฒนธรรม ได้แก่ การวาดร่ม การเพ้นท์หน้ากากผีตาโขน และ F-Fashion เชิญชวนผู้เข้าร่วมงานแบ่งปันและโพสต์ประชาสัมพันธ์งาน Amazing Thailand Fest 2023 บนโซเชียลมีเดีย เพื่อรับของที่ระลึกกางเกงช้างแฟชั่นยอดฮิตของไทย
อีกหนึ่งไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด คือ การนำเสนอวัฒนธรรมอาหาร F-Food กับ 8 บูธร้านอาหารไทยในซิดนีย์
จัดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มต้นตำรับไทย ประกอบด้วย ร้านชาติไทย (หมูพวง ส้มตำ ปากหม้อ ลาบไก่ ไส้กรอก
ไก่ย่างไม้) ร้าน Dodee Paidang Haymarket (ก๋วยเตี๋ยวต้มยำกุ้ง ปาท่องโก๋ เกี๊ยวทอด กล้วยทอด ไก่ทอด) ร้าน Thai Riffic Express (ผัดไทย โรตี ทาโก้ สะเต๊ะ) ร้าน Show Neua (ข้าวเหนียวหมูทอดน้ำพริก ข้าวซอย น้ำเงี้ยว ขนมจีน
แกงปู) ร้านพริกไทย (ผัดผักรวมเม็ดมะม่วง มัสมั่นเนื้อ ขาหมู แกงเขียวหวาน ผัดกะเพรา ผัดซีอิ๊ว) ร้าน Tawandang @ George St (ส้มตำ ไก่ย่าง ข้าวเหนียว) ร้าน Sabuy Express (ทุเรียน ขนุน ส้มโอ สับปะรด) ร้าน Top Class (มะพร้าว)
ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีบูธผู้ประกอบการพันธมิตรด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์
จัดกิจกรรมสาธิตเพ้นท์หน้ากากรูปสัตว์, สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (Thai Trade) ณ นครซิดนีย์
จัดกิจกรรมชิมผลไม้ไทย, สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงแคนเบอร์รา จัดกิจกรรมชิมเนื้อเป็ดปรุงสุกซึ่งมีการนำเข้าเพื่อจำหน่ายในออสเตรเลียเป็นครั้งแรก, สายการบินไทย, ไทยแอร์เอเชีย และต่อยอดแนวคิด Responsible Tourism เสนอเส้นทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ 20 เส้นทาง รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการตลาด “BOOK NOW, GET 80 AUS NOW” จัดโปรโมชั่นจองที่พักที่ส่งเสริมความยั่งยืนในประเทศไทยภายในงาน ผ่านเว็บไซต์ agoda รับส่วนลด 80 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราคา 2,000 บาท) ทั้งนี้ การจัดงานยังคง DNA ของ ททท. ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมด้วยการลดปริมาณการใช้พลาสติก เลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ย่อยสลายได้ มีการวางระบบการคัดแยกขยะ และตระหนักถึงการใช้วัสดุตกแต่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
นอกจากนี้ ททท. ได้จัดกิจกรรม “Amazing Thailand Fest Media Briefing” ในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ณ Watersedge at Campbell’s Stores, the Rocks นครซิดนีย์ โดยเชิญพันธมิตรผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและสื่อมวลชนในพื้นที่ จำนวน 40 ราย ร่วมอัปเดตสถานการณ์ท่องเที่ยวไทย รวมถึงสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวของไทย และต่อยอดจัดกิจกรรม “Amazing Thailand Fest to Fam Trip Australia to Thailand” นำคณะสื่อมวลชน influencers bloggers จากเครือรัฐออสเตรเลีย เดินทางสัมผัสประสบการณ์ Amazing Experience ทดสอบสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวไทย ใน 3 จุดหมายปลายทางหลัก ได้แก่ มาสัมผัส กรุงเทพฯ เชียงราย และกาญจนบุรี- สมุทรสงคราม ระหว่างวันที่ 20 – 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
ตลาดนักท่องเที่ยวออสเตรเลียเป็นตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีนัยยะสำคัญต่ออัตราการเติบโตของตลาดระยะใกล้ จากสถิติปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีโอกาสต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียแล้วกว่า 336,688 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 กรกฎาคม 2566 มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียเดินทางเข้าไทย
385,100 คน เทียบเท่าร้อยละ 85 ของสถิติในปี 2562 และจุดหมายปลายทางยอดนิยม 5 อันดับ ได้แก่กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต เกาะสมุย (สุราษฎร์ธานี) พัทยา (ชลบุรี) และกระบี่ ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Millennials
/ Gen Y Digital nomad Family และ Health-conscious รวมทั้ง เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพที่ตระหนักถึงการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน สอดคล้องกับกลยุทธ์พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปีท่องเที่ยวไทย ทั้งนี้ ททท. วางเป้าหมายกระตุ้นตลาดนักท่องเที่ยวออสเตรเลียเข้าเที่ยวไทย 522,000 ภายในสิ้นปีนี้
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
เช้าวันนี้ (5 เมษายน 2565) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมนายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมประชาสัมพันธ์กิจกรรม “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2565” แก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ส่งมอบความสุขรับปีใหม่ไทยด้วยวิถีปกติใหม่ หรือ New Normal เพื่อกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ขอนแก่น เมืองแห่งดอกคูนเสียงแคน แดนอีสาน กำลังจะมีงานใหญ่ส่งท้ายปี! งานที่รวมประเพณีแห่งความสามัคคีกลมเกลียวและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมคุณภาพดีไว้ด้วยกัน ใน เทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2561 วันที่ 19 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม 2561 นี้
วันนี้เรามีโอกาสมาเที่ยวที่ชุมชนไทลื้อ บ้านดอนมูล อ. ท่าวังผา จ. น่าน ทำให้ได้รู้จักคุณยายคำหล้า อินปา หรือแม่อุ้ยหล้า ยายหล้า
หมอลำเป็นมหรสพที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวอีสานมาอย่างยาวนาน มีความหลากหลายและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่เคยหยุดนิ่ง ทั้งปรากฏอยู่ในพิธีกรรมต่างๆ และเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิง ปัจจุบันถูกพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัยและเทคโนโลยีมากขึ้น ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในนาม “หมอลำซิ่ง”
© 2018 All rights Reserved.