
เที่ยวกาฬสินธ์ เยือนถิ่นไดโนเสาร์
เดินทางไป Jurassic park เมืองไทย ย้อนอดีตสู่ดินแดนโลกล้านปี ไปสัมผัสชีวิตไดโนเสาร์ที่ จ. กาฬสินธ์ นครหลวงของไดโนเสาร์ของเมืองไทย
หากเอ่ยถึง ชุมชนตลาดเก่าหัวตะเข้ ภาพจำของใครหลายคน คือชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งเรียงรายริมฝั่งคลองประเวศบุรีรัมย์มีอายุยาวนานกว่าร้อยปี เป็นบ้านไม้หลังคามุงสังกะสีที่กลายเป็นสีสนิมดูคลาสสิก ยังคงกลิ่นอายของบรรยากาศเก่าๆ ทั้งร้านรวง ตลาด ร้านโชห่วย ร้านตัดผม ฯลฯ ที่มีอายุหลายสิบปียังหลงเหลือและเปิดบริการอยู่จนถึงปัจจุบัน
แม้ทุกวันนี้จะมีร้านอาหาร คาเฟ่ เกสเฮ้าส์ เกิดขึ้นใหม่ แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์ของบ้านไม้เก่าไว้ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งตลอดเดือนกรกฎาคมนี้ ชุมชนตลาดเก่าหัวตะเข้จะเปลี่ยนไปในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน กับงานRakDok Floral Week(s) โดยนักจัดดอกไม้ชื่อดังและเป็นผู้ก่อตั้งคอมมิวนิตี้คนรักดอกไม้ที่ชื่อ “รักดอก”
โจ้–ชยวัสส์ ปัญจภักดี เป็นผู้จุดประกายไอเดียเล็กๆ ให้กลายเป็นนิทรรศการ “ดอกไม้แรก(ยิ้ม)แย้ม” ที่นำดอกไม้ราว 1 ตันจากเกษตรกรมาแต่งแต้มสีสันเปลี่ยนชุมชนเก่าให้กลายเป็นแกลเลอรีขนาดย่อมที่เต็มไปด้วยเรื่องราวของชุมชน
นิทรรศการดอกไม้แรกยิ้มแย้มที่ชุมชนตลาดเก่า หัวตะเข้ คือการนำดอกไม้มาเป็นสื่อกลางเพื่อเล่าถึงเสน่ห์ชุมชน ซึ่งไอเดียหรือวัสดุที่ใช้ในนิทรรศการก็ดึงออกมาจากชุมชนเกือบทั้งหมด เช่น อุปกรณ์จับปลาที่ขายกันอยู่หลายร้านในตลาด รวมทั้งเข่งสานของใช้งานที่เห็นได้ทั่วไปในชุมชน และบางชิ้นงานจัดกลมกลืนอยู่กับบ้านไม้เก่า บางงานก็เป็นการถมเรือพุ่มพวงขายของชำลำเก่าให้เป็นอุโมงค์ดอกไม้เล็กๆ ที่ถ่ายรูปออกมาแล้วสวยอลังการมาก
สำหรับ นิทรรศการดอกไม้แรก(ยิ้ม)แย้มได้กระจายศิลปะจากดอกไม้อยู่ทั่วตลาดประมาณ 12 จุด ไฮไลต์คือ โรงระหัด โรงไม้ที่เคยเป็นที่สร้างระหัดวิดน้ำเข้าสวนเข้าไร่ ซึ่งด้านหน้าโรงระหัดได้ถูกแปลงให้เป็น Rakdok Market ตลาดดอกไม้ที่หมุนวนดอกไม้จากเกษตรกรไทยมาจัดจำหน่าย พร้อมนำตะกร้าสานที่หาได้ในชุมชนหัวตะเข้ มาเปลี่ยนเป็นแจกันดอกไม้ขนาดใหญ่ในชิ้นงาน Flower Bubble
ไฮไลท์ของงานเห็นจะเป็นคลองสีม่วงของดอกสแตติส (statice) ในชิ้นงาน How you remind me? ที่ให้ผู้เข้าร่วมงานนั่งเรือลงไปถ่ายรูปกลางคลองสายดอกไม้ ซึ่งการเลือกใช้ดอกสแตติสด้วยเหตุผลว่านิทรรศการครั้งนี้เป็นนิทรรศการดอกไม้ระยะยาวกินเวลาราว 1 เดือน ดอกไม้ที่เลือกใช้จึงเป็นดอกไม้สดที่สามารถเปลี่ยนเป็นดอกไม้แห้งได้อย่างสวยงาม
ด้านในสุดของโรงระหัดคือชิ้นงาน Fify Shades of Planet นำขยะพลาสติกอย่างพวกบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ ใส่สี ดีไซน์ ลวดลายลงไปก็กลายเป็นแจกันที่สวยงาม ซึ่งการลดขยะในงานดอกไม้นี้ถือเป็นอีกลายเซ็นของ โจ้ Rainforest ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วยการหาทางออกให้สิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากการจัดงานแต่งงาน
Cafe aux fleurs คาเฟ่เล็กๆ ริมคลองที่เป็นจุดเริ่มต้นของงานนี้ ถือเป็นอีกไฮไลต์ของการจัดงาน ในร้านมีดอกไม้เต็มทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ระหว่างสองข้างทางที่เดินไปร้านนี้ถ้าสังเกตดีๆ จะมีงาน Installation art ซ่อนอยู่ตามสองข้างทาง ไปจนจบที่ร้านสี่แยกหัวตะเข้ คาเฟ่ แอนด์ เกสท์เฮ้าส์ ซึ่งมีเรือขายของชำลำเก่าผูกอยู่กลางน้ำ ในเรือขนดอกไม้ไว้เต็มลำจนกลายเป็นอุโมงค์ดอกไม้ลอยน้ำ อีกจุดไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาดเก็บภาพความประทับใจ
ใครที่ยังไม่เคยมาเยือนชุมชนตลาดเก่าหัวตะเข้ ลองมาให้ได้สักครั้ง ยิ่งมาช่วงเดือนกรกฎาคมที่มีงาน “ดอกไม้แรก(ยิ้ม)แย้ม” คุณจะได้เห็นเสน่ห์ของชุมชนจนตกหลุมรักชุมชนเก่าแห่งนี้แบบไม่รู้ตัว
ชุมชนตลาดเก่าหัวตะเข้ ลาดกระบัง ซอย 17 เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ
จัดตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2563
เวลา 10.00-18.00 น.
การเดินทาง : นั่ง Airport Rail Link ลงสถานีลาดกระบัง ต่อรถสองแถวหน้าสถานีมาลงปากซอยลาดกระบัง 17 เดินมาสุดซอยถึงตลาดเก่าหัวตะเข้
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
เดินทางไป Jurassic park เมืองไทย ย้อนอดีตสู่ดินแดนโลกล้านปี ไปสัมผัสชีวิตไดโนเสาร์ที่ จ. กาฬสินธ์ นครหลวงของไดโนเสาร์ของเมืองไทย
“นายรอบรู้” ขอแนะนำคาเฟ่วาฬสีน้ำเงินที่มาแล้วจะรู้สึกเหมือนได้จิบกาแฟอยู่ในโลกใต้ทะเล
“ทุกอย่างเริ่มมาจากดิน ก่อเกิดจาก mother of earth ไส้เดือนที่คอยดูแลโลก ถามว่าเราเคยตอบแทนอะไรดิน หรือรู้จักดินที่เรายืนอยู่บ้างมั้ย ยืนอยู่ทุกวันนี้ไม่เคยรู้อะไรเลย เกิดมาทำไม และมีประโยชน์กับใครบ้าง”
ถ้ามาแม่แจ่มตรงงานบุญจุลกฐิน ราวเดือนพฤศจิกายน จะสัมผัสถึงพลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่ งานจุลกฐินของแม่แจ่มจะเรียกว่า “กฐินแล่น” หรือ “กฐินละเอียด” มีประเพณีว่าต้องรีบทอผ้ากฐินสำหรับใช้ทอดให้เสร็จในวันเดียว จึงต้องใช้ผู้คนชำนาญในการทอผ้าจำนวนมาก
© 2018 All rights Reserved.