
ประเพณีออกหว่า
ประเพณีที่โดดเด่นของอำเภอแม่สะเรียง คือ ประเพณีออกหว่า หรือ ปอยออกหว่า ถือเป็นประเพณีที่สืบทอด
กันมายาวนานกว่าร้อยปี
หลายครั้งที่เดินทางมายังภาคใต้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าภาพความสวยงามของธรรมชาติและมนต์เสน่ห์แห่งดินแดนพหุวัตนธรรมยังตราตรึงใจเสมอ ทั้งหมดหล่อหลอมจนเป็นวิถีชีวิตและมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าหลงไหล หนึ่งในนั้นคือ วัดชลธาราสิงเห หรืออีกชื่อ ที่มักเจอในหน้าประวัติศาสตร์ไทยคือ วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย
วัดชลธาราสิงเห ตั้งอยู่ที่ ต. เจ๊ะเห อ. ตากใบ จ. นราธิวาส ท่านพระครูโอภาสพุทธคุณ (พุด) เป็นผู้เริ่มก่อตั้งวัดแห่งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2403 โดยขอที่ดินจากพระยากลันตัน แต่เดิมเรียกว่าวัดเจ๊ะเหตามชื่อหมู่บ้าน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการโดยนายอำเภอตากใบคนแรกว่า วัดชลธาราสิงเห ซึ่งแปลว่า วัดริมน้ำที่สร้างด้วยพระภิกษุที่มีบุญฤทธิ์ประดุจราชสีห์ พื้นที่วัดตั้งอยู่บนเนินดินริมแม่น้ำตากใบ ทำให้เวลาเดินเที่ยวชมภายในวัดมักมีลมเย็น ๆ ลอยมาสัมผัสให้ชื่นใจเสมอ
ประวัติเล่าไว้ว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2452 วัดแห่งนี้เป็นหมุดหมายสำคัญที่ทำให้สยาม ต่อมากลายเป็นไทย ยังคงรักษาดินแดนในพื้นที่ภาคใต้ได้อยู่ จากกรณีแบ่งแยกดินแดนตากใบระหว่าง สยาม กับมลายู ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ ต่อมากลายเป็นมาเลเซียในปัจจุบัน
โดยอังกฤษได้ทำการปักปันเขตแดนเข้ามาถึงบ้านปลักเล็กเลยจากวัดชลธาราสิงเห 25 กิโลเมตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัวจึงทำการแย้ง โดยให้เหตุผลว่าวัดชลธาราสิงเหเป็นวัดไทยที่มีความสำคัญ เป็นมรดกทางที่สำคัญพุทธศาสนา มีสถาปัตยกรรมภายในวัดและศิลปะบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของชุมชน มาเป็นเครื่องต่อรองการแบ่งปันเขตแดน ฝ่ายอังกฤษจึงยอมรับและเลื่อนการปักปันเขตแดนถอยลงไปทางใต้จนถึงลำน้ำโกลก ทำให้ อ. ตากใบ อ. แว้งและ อ. สุไหงโกลก ยังอยู่ในการปกครองของไทยจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่นั้นจึงมีการเรียกวัดแห่งนี้ว่า “วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย”
พระอุโบสถตั้งอยู่ประมาณกึ่งกลางของวัด หันหน้าไปทางลำน้ำตากใบ มีสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 เป็นอาคารเครื่องก่อ มีชายคาปีกนกลดหลั่นลงมา 3 ชั้น ท่านอาจารย์พุด ได้สร้างพระอุโบสถโดยมอบให้พระไชยวัดเกาะสะท้อนเป็นช่างก่อสร้าง โดยมี พระธรรมวินัย (จุ้ย) และทิดมี ชาวสงขลาช่วยกันเขียนภาพในพระอุโบสถ มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง 3 ด้าน ยกเว้นแต่ด้านหลังขององค์พระประธาน รวมถึงบนเสาและเพดาน ด้วยความที่มีชาวสงขลามาร่วมวาด ทำให้ภาพเขียนมีลวดลายความเป็นจีนเข้ามา ภาพส่วนใหญ่เป็นพุทธประวัติที่สอดแทรกภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้น อีกทั้งมีภาพการใช้ชีวิตทั้งคนพุทธ มุสลิม จีน ซึ่งบ่งบอกได้ดีถึงวิถีชีวิตแบบพหุวัฒนธรรมในพื้นที่แห่งนี้มายาวนาน
อาคารที่ปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2498 โดยพระครูสิทธิสารวิหารวัตร เดิมเป็นอาคารกุฏิไม้ทั้งหลังแต่ปัจจุบันมีการต่อเติมบำรุงใหม่และได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรให้เป็นพิพิธภัณฑสถานวัดชลธาราสิงเหเพื่อเก็บโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของวัด จากภาพถ่ายเก่า พบว่ากุฏิสิทธิสารประดิษฐ์เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ยกพื้นสูง หลังคาเป็นทรงปั้นหยาซ้อนกันหลายชั้น มุงกระเบื้องดินเผา บันไดหน้าเป็นบันไดก่ออิฐถือปูน มีการทำพนักเป็นรูปตัวนาค ปลายหางโค้งงอนรับกับมุขหลังคา ยอดหลังคาตกแต่งด้วยปูนปั้นลายเครือเถา ส่วนมุมหลังคาทำรูปคล้ายหางหงส์หรือหัวนาค
ด้านในมีการจัดแสดงอุปกรณ์เครื่องใช้สมัยก่อนทั้งเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพและอาวุธต่าง ๆ รวมถึงการจำลองเหตุการณ์การลงนามในสัญญาไทย – อังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2451
ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จประพาสวัดชลธาราสิงเหและได้มีการสร้างพลับพลาริมแม่น้ำตากใบเป็นที่ประทับซึ่งทางวัดยังรักษาไว้ในสภาพที่สมบูรณ์ พื้นที่ตรงนี้เป็นลานกว้างริมแม่น้ำให้ได้มานั่งพักผ่อนย่อนใจ ทัศนียภาพโดยรอบเป็นแม่น้ำตากใบอันสวยงาม ไฮไลท์คือสามารถมองเห็นสะพานคอย 100 ปี ทอดข้ามแม่น้ำตากใบไปยังเกาะยาว ตรงนี้เป็นวิวที่สวยงามที่สุดอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาสเลยก็ว่าได้ หากใครมาอย่าลืมมา นั่งเล่นปล่อยอารมณ์ให้ผ่านไปกับสายน้ำและลมเย็น ๆ กันด้วยนะ…สบายอย่าบอกใครเชียว
นอกจากอาคารสถาปัตยกรรมแล้วที่แห่งนี้ยังมีภาษาที่ปัจจุบันหาฟังได้แค่ที่นี้เท่านั้นคือ ภาษาเจ๊ะเห เป็นภาษาถิ่นแต่ดั้งเดิม มีความไพเราะแตกต่างจากภาษาถิ่นใต้ทั่วไป เป็นเอกลักษณ์ของชาวตากใบและจังหวัดนราธิวาสมาจนถึงปัจจุบันนี้
หากใครชอบความสบายและบรรยากาศเงียบสงบสถานแห่งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งที่ควรจะมาท่องเที่ยวสักครั้งหากมีโอกาส ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามด้านสถาปัตยกรรมและธรรมชาติที่สวยงาม อีกทั้งเต็มไปด้วยวิถีชีวิตของชาวเจ๊ะแห รวมถึงความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ที่สำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
ประเพณีที่โดดเด่นของอำเภอแม่สะเรียง คือ ประเพณีออกหว่า หรือ ปอยออกหว่า ถือเป็นประเพณีที่สืบทอด
กันมายาวนานกว่าร้อยปี
วัดบ้านพราน วัดเก่าแก่กว่า 800 ปี มี วิหารหลวงพ่อไกรทอง วิหารทรงเก๋งจีนบนเรือสำเภา ตกแต่งด้วยเครื่องเบญจรงค์เรียงราย สวนงามและเป็นที่เคารพของชาวบ้านโดยรอบ
โฮงเจ้าฟองคำเป็นบ้านทรงล้านนาที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ต้องมาแวะชมเพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างน่าประทับใจ นับตั้งแต่เดินเข้าประตูรั้วสู่บริเวณบ้านที่ร่มรื่นมาจนถึงโฮงเจ้าฟองคำ
ถ้าให้นึกถึงร้านรีฟิลล์ย่านอ่อนนุช คงหนีไม่พ้นร้าน Better Moon x Refill Station ที่เพียงแค่เลี้ยวเข้ามาใน ซ. สุขุมวิท 77/1 ก็จะพบร้านที่เต็มไปด้วยต้นไม้สีเขียวดูร่มรื่นแล้ว
© 2018 All rights Reserved.