ชีวิตติดงอบ…

“งอบ” เป็นสิ่งที่ชาวจังหวัดตราดรู้จักและนิยมเรียกกันว่า “หมวกใบจาก” ตรงๆ ตามประเภทการใช้งานและวัสดุที่นำมาเย็บ

คุณตาประเสริฐและคุณยายสำรอง พันธุ์พิริยะ เจ้าของสวนยางพาราและนาข้าวในตำบลห้วยแร้ง จังหวัดตราด ที่ทำสืบต่อกันมา เล่าให้ทีมงาน Growth ฟังว่า งอบเป็นเหมือนอุปกรณ์ประจำกาย ทุกครั้งเวลาออกไปทำงาน ลงสวน หรือเข้านา สิ่งที่ไม่ลืมหยิบไปเสมอคืองอบคู่ใจ  

GrowTH-ชีวิตติดงอบ-3

เมื่อถามว่าซื้องอบมาจากไหน คำตอบคือเสียงหัวเราะอย่างอารมณ์ดีของคุณตาและคุณยาย

“ฉันเย็บเอง ทำเอง เอาไปใช้เวลาทำสวน ถางหญ้า หรือตอนเกี่ยวข้าว หว่านข้าว มันสะดวก ทำง่าย บังแดดบังฝนได้ด้วยน่ะ” 

สำเนียงเหน่อๆ แบบชาวตราดดั้งเดิมสุดๆ ของยายรอง ชวนให้คนถามอดยิ้มด้วยไม่ได้ 

“ใช้มาตั้งนานแล้ว พ่อแม่ของตายายก็ใช้กัน  บ้านเราอยู่ติดริมคลอง เวลาเดินเท้ากันไปลงน้ำจับปลาก็ตัดใบจากมาสานเป็นหมวกใช้ต่อด้วย ถ้าเอาไปขายก็ได้เงินมาใช้อีก” ตาประเสริฐกล่าวอย่างยิ้มแย้ม 

GrowTH-ชีวิตติดงอบ-9

ผู้เขียนนึกย้อนถึงสมัยเด็กที่ต้องเข้าสวนกับพ่อแม่ ภาพของหมวกใบไม้ที่แม่มักเอามาสวมให้เป็นประจำเพื่อกันแดดกันฝน นั่นก็คืองอบนั่นเอง (หลงเรียกว่าหมวกใบไม้เสียตั้งนาน)

ยายรองเล่าให้ฟังว่ากว่าจะเป็นงอบแต่ละใบไม่ได้ใช้แค่มือทำ หากแต่ต้องใส่ใจลงไปด้วย ให้อารมณ์เหมือนกำลังปรุงแต่งรสชาติอาหารให้กลมกล่อม เพราะทุกๆ ขั้นตอนต้องประณีต ทุกเส้นสานของใบจาก คือการบอกเล่าเรื่องราวและวิถีชีวิตของคนในชุมชน 

หากใครมาเยือนชุมชนห้วยแร้งต้องเห็นชาวบ้านใส่งอบจนชินตา  

“ยายไม่อยากให้ภูมิปัญญาการทำงอบนี้หายไปเลย กลัวคนจะลืม อยากเก็บเป็นของสะสม อนุรักษ์ให้ลูกหลานได้รู้จักและสืบสานต่อ”  สีหน้าคุณยายบอกถึงความรักและหวงแหนภูมิปัญญาการทำงอบมาก 

ทุกครั้งที่มีโอกาสได้รับเชิญเป็นวิทยากรสอน ไม่ว่าจะตามโรงเรียนหรือหน่วยงานต่างๆ คุณยายจะตอบตกลงทันที โดยไม่หวังค่าตอบแทนใดๆ 

GrowTH-ชีวิตติดงอบ-11

งอบ : หมวกใบจาก DIY by ยายรอง

วัตถุดิบที่ใช้ : ใบจาก เชือก เข็มเย็บจาก ใบไผ่ + อารมณ์ดีและความตั้งใจ

  • ใบจากไม่แก่ไป ไม่อ่อนไป ประมาณ 24-36 ใบ เรียงเป็นตับ ใช้เข็มร้อยด้ายแทงรวบให้ใบยึดติดกัน มัดให้แน่น
  • จับใบจากหมุนเวียนจากใบล่างสุดไปเรื่อยๆ เรียงกันใบต่อใบจับสอดเรียงสลับขึ้นลง ทำอย่างนี้ไปจนหมด ใช้เชือกรัดใบไว้โดยสลับปลายเชือก จะได้ใบจากที่ขึ้นรูปหมวกและตัดปลายพร้อมจะเย็บต่อไป
  • ใช้ก้นเข็มขีดเป็นวงกลม แล้วเย็บตามรอยที่ขูดไว้ด้วยวิธีการด้น ดังรูป  จากนั้นเย็บขอบด้วยตอกไม้ไผ่ และนำไปตากแดดให้แห้ง 
  • ติดเสวียนเป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนทำหมวกใบจากสไตล์บ้านๆ ของยายสำรอง พันธุ์พิริยะ 
GrowTH-ชีวิตติดงอบ-14

โครงการกล้าใหม่…ใฝ่รู้

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เสริมสร้างเยาวชนไทยให้เติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer/ Photographer

นิตยสาร GrowTH

นิตยสาร GrowTH

โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม จังหวัดตราด

Relate Place

Travel

ยองเส้น @ เชียงคาน ต้องลองสักครั้ง!

ใครไปเที่ยวอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ไม่ควรพลาดการนวด “ยองเส้น” อันแสนเร้าใจสูตรไทเลยของแม่คำก้อย – อุไรรัตน์ ทิพย์รส ซึ่งเปิดให้บริการเพียงหนึ่งเดียวในเชียงคาน และอาจจะเป็นหนึ่งเดียวในประเทศ

Eat

มาสุรินทร์ต้องลอง 3 ส้มตำสุดแซ่บ

เคยได้ยินคนพูดกันเล่นๆ ว่ามาสุรินทร์ต้องกินสุรา แต่พอได้มาเยือนเมืองนี้ต้องขอพูดจริงๆ ว่ามาสุรินทร์ต้องกินส้มตำ เพราะมีร้านส้มตำมากโข ถึงกับมีการประกวดตำส้มตำในสุรินทร์กันสม่ำเสมอ ร้านระดับแชมป์จึงมีให้เลือกกินหลายร้าน บางร้านก็เป็นถึงแชมป์ระดับภาคและระดับประเทศเลยทีเดียว ขาแซบสะออนไปสุรินทร์เป็นได้อร่อยซี้ดซ้าดกันทั้ง 3 มื้อ

ตลาดศาลเจ้าโรงทอง
Travel

ชิมขนมโบราณ ชมอาคารเก่า “ตลาดศาลเจ้าโรงทอง”

“นายรอบรู้” ขอพาคุณไปเยือนตลาดร้อยปี ไปกินขนมโบราณอร่อยๆ ไปชมอาคารบ้านเรือนเก่าแก่แบบสถาปัตยกรรมจีน ณ “ตลาดศาลเจ้าโรงทอง” ตลาดวิถีไทย-จีนที่ยังคงมนตร์เสน่ห์แห่งวิถีชุมชนใน อ. วิเศษชัยชาญ จ. อ่างทอง

News

Unconditionally : ผู้เป็นที่รัก

นิทรรศการศิลปะคัดสรรโดย Art Theory 12ณ Silpa Bhirasri’s place บ้านอาจารย์ฝรั่งจัดแสดงตั้งแต่วันนี้ ถึง 29 พ.ค. 2562 “ผู้เป็นที่รัก” ศิลปินทั้งห้าไม่เพียงมีความสัมพันธ์ในฐานะของการเป็น “ครอบครัว” เดียวกันเท่านั้น แต่ยังมีใจรักในศิลปะเสมือนกับเป็นสิ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ของทุกคนในบ้านไว้อีกด้วย อดุลย์พันธ์ อิศรางกู​ร​ ณ​ อยุธยา หัวหน้าครอบครัว และอดีตนักศึกษาคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ รุ่นที่ 17 ศิษย์ รุ่นหลังๆ ของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี