เที่ยวสวนสัตว์จากทุกมุมโลก ผ่าน livestream

ปัญหาการระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่มีทีท่าจะดีขึ้นในเร็ววัน ทำให้วิถีชีวิตของเราไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกต้องปรับตัวไปตามๆ กัน การทำงานก็ต้อง Work from home  จะออกไปท่องเที่ยวที่ไหนก็คงจะยากในช่วงนี้ จึงทำให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวผ่านโลกออนไลน์ขึ้น หนึ่งในนั้นคือการพาคุณไปสัมผัสชีวิตสัตว์โลกผ่าน Livestream

เพราะวิกฤตโควิดทำให้สวนสัตว์ต้องหยุดให้บริการชั่วคราว แต่เจ้าสัตว์ตัวน้อยในสวนสัตว์ยังคงดำรงชีวิตกันต่อไปถึงแม้จะไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาชม  สวนสัตว์ต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศจึงปึ๊งไอเดียเก๋ ด้วยพาพระเอกของสวนสัตว์ไปให้ชมถึงหน้าจอ

ZOO AT HOME จาก สำนักอนุรักษ์และวิจัย องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ใครที่เคยไปสวนสัตว์เปิดเขาเขียว คงเคยได้เห็นความน่ารักของสัตว์นาๆ ชนิดที่อวดโฉมอยู่ที่นั่น แต่วันนี้ สำนักอนุรักษ์และวิจัย องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดสวนสัตว์มาอยู่บนหน้าจอกับรายการ ZOO AT HOME ที่จะพาสัตว์น้อยใหญ่มาพบกับคุณผ่าน Facebook live

นอกจากเจ้าสัตว์น่ารักๆ แล้ว ยังมีรายการให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ และการอนุรักษ์ธรรมชาติอีกมากมาย

โดยสามารถติดตามชมรายการได้ที่ https://www.facebook.com/pg/ZpoThailand/about/?ref=page_internal

LIVE CAM จากสวนสัตว์ Sandiego

ที่สวนสัตว์ซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มี Live สัตว์ในสวนสัตว์มากมาย พระเอกของงานนี้อย่าง แพนด้า ที่อวดโฉมหน้ากล้องด้วยการกิน กิน กิน ทั้งวัน ก็ให้อารมณ์น่ารัก น่าเอ็นดูไม่น้อย

นอกจากนี้ยังมีสัตว์อีกมากมายทั้ง เพนกวิน ลิงบาบูน หมีขั้วโลก โคอาล่า ฯลฯ

ตามดูกันได้เลยที่ https://zoo.sandiegozoo.org/live-cams

Live animal cams จาก Zoo Victoria

ฝั่ง Australia ก็ไม่น้อยหน้า จัด Livestrem สัตว์โลกแบบ 24 ชั่วโมงไม่แพ้ที่อื่น ที่นี่มีทั้งสัตว์จาก Healesville SanctuaryMelbourne Zoo และ Werribee Open Range Zoo เข้าแถวต่อคิวมาให้คุณชมถึงหน้าจอ

สัตว์พื้นเมืองอย่าง โคอาล่า และวอลลาบีเป็นพระเอกของงานนี้ ยังมีเพนกวิน และลูกเสือดาวหิมะที่คอยอวดโฉมรอคุณอยู่เช่นกัน

ติดตาม Zoo Victoria ได้ที่ https://www.zoo.org.au/animals-at-home/

ชมชีวิตนกธรรมชาติจาก Cornell Lab Bird Cams

ดูสัตว์จากสวนสัตว์กันแล้ว คราวนี้เราออกไปท่องโลกกว้างชมชีวิตอิสระกันบ้าง กับ Channel Youtube อย่าง Cornell Lab Bird Cams ที่ถ่ายทอดสดชีวิตของนกต่างๆ มากมายในธรรมชาติ

ใครที่อยากดูการเลี้ยงลูกน้อยของเหยี่ยวหางแดง หรือจะคอยเฝ้า West Texas Hummingbird มากินน้ำ จนไปถึงตั้งตารอเหยี่ยว Ospreys กลับรังหลังจากการล่า  ถ้าคุณโชคดีก็อาจจะได้เห็นภาพสดๆ จากล้องที่ติดไว้บนรังนกเหล่านี้ก็เป็นได้

ติดตาม Cornell Lab Bird Cams ได้ที่https://www.youtube.com/channel/UCZXZQxS3d6NpR-eH_gdDwYA

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer/ Photographer

กรดล แย้มสัตย์ธรรม

กรดล แย้มสัตย์ธรรม

Relate Place

Travel

เที่ยวบ้านฉัน…ชาติตระการ

ถ้ากล่าวถึง อำเภอชาติตระการ หลายคนจะรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ คือ น้ำตกชาติตระการ แต่วันนี้เราไม่ได้พาไปเที่ยวชมน้ำตก แต่เราจะพามารู้จักกับบ้านเราอีกหลายมุม ที่หลายคนยังไม่รู้จัก จะว่าไปแล้ว…พวกเรายังรู้จักไม่หมดเลย บ้านเรามีดีขนาดนี้เลยเหรอ

News

เปิดบริการซื้อบัตรมิวพาส ที่เซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขา สุดคุ้ม 299 บาท

กรุงเทพฯ 9 พฤษภาคม 2562 – สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) เปิดตัวช่องทางการจำหน่ายบัตรมิวพาส ผ่านบริการ All Deal ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) ทุกสาขา บัตรท่องเที่ยวแหล่งเรียนรู้ 55 แห่งทั่วประเทศสุดคุ้มราคาเดียว 299 บาท   โดยผู้ที่สนใจสามารถหาซื้อบัตรมิวพาสที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นได้แล้วตั้งแต่วันนี้ โดยแสดงภาพบาร์โค้ด ให้เจ้าหน้าที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นสแกนบาร์โคดเพื่อชำระเงิน จากนั้นนำหมายเลขรหัสรีเดิมชั่นโค้ดจากท้ายใบเสร็จ ไปกรอกลงในแอปพลิเคชันมิวเซียมไทยแลนด์ (Museum Thailand Application) ที่สามารถดาวน์โหลดใช้ฟรีได้ทั้งระบบไอโอเอส และแอนดรอย  โดยสามารถเริ่มใช้งานได้ทันทีหลังเปิดใช้บัตร

Travel

ชั่งหัวมัน…โครงการพระราชดำริแห่งสุดท้าย

โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 บ้านหนองคอไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ที่มาของชื่อโครงการที่ดูแตกต่างและน่าสนใจนี้ได้มาจากการให้เจ้าพนักงานไปวางหัวมันเทศที่ชาวบ้านนำมาถวายไว้บนตาชั่งในห้องทรงงาน ณ วังไกลกังวล เมื่อเด็จกลับมาอีกครั้งทรงพบว่า หัวมันเทศที่วางไว้บนตาชั่งมียอดใบอ่อนแตกออกมา และต่อมาได้นำมาขยายพันธุ์ในพื้นที่ของโครงการ และพระราชทานชื่อโครงการแห่งนี้ว่า “ชั่งหัวมัน”