
งานศิลปะเทียนนานาชาติเมืองอุบล UBON INTERNATIONAL WAX 2018
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวร่วมชม “งานศิลปะเทียนนานาชาติเมืองอุบล” ในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี
จำได้ลางๆ ว่าเคยมาเที่ยว จ. ลพบุรี สมัยครั้งยังเป็นเด็กน้อย กาลเวลาผ่านไปจนเกือบลืมเรื่องราวความสนุกของจังหวัดที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากมาย อาจเป็นโชคดีที่นำพาเรากลับมาลพบุรีอีกครั้ง มารำลึกความหลังเมืองลิง ถิ่นพระนารายณ์
วันนี้เด็กฝึกงานจากโคราชขออาสา พาเที่ยวเมืองลิง สัมผัสเรื่องราวประวัติศาสตร์ ไหว้พระ ชมวิว กันสักหน่อยแล้วกัน
พูดถึงเมืองลพบุรีก็ต้องนึกถึงลิง และลิงก็เปรียบเสมือนจิ้กซอว์ที่พาให้เราเดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่ที่อยู่ในความทรงจำวัยเด็กและที่นั่นก็คือ พระปรางสามยอด
สมัยเด็กเราเคยมีโอกาสมาเยือนพระปรางสามยอดกับคุณลุง ตอนนั้นเราตื่นเต้นมาก เพราะนอกจากจะมีสถาปัตยกรรมแปลกตา ที่นี่ยังเต็มไปด้วยเจ้าลิงจ๋อตัวแสบมากมาย
พระปรางสามยอด เป็นปราสาทศิลาแลงแบบขอม เรียงต่อกัน 3 องค์ ถูกสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ภายในปราสาทประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่องปราสาท ทิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวร ปราสาทด้านทิศเหนือ ปริษฐานรูปพระนางปรัชญาปรามิตา ดูแล้วรู้สึกถึงความเก่าแก่ และเรื่องราวประวัติศาสตร์ในอดีต
การมาครั้งนี้ไม่ได้เพียงแต่มาเที่ยวสนุกสนานเท่านั้น แต่เรายังได้รับข้อมูลของสถานที่กลับไปด้วย เป็นอีกความทรงจำในการมา จ. ลพบุรี ของเรา และเราอยากจะบอกกับตัวเองในวัยเด็กว่า “เราได้พานายมาอีกครั้งแล้วนะ”
ที่ตั้ง ต. ท่าหิน อ. เมืองลพบุรี จ. ลพบุรี
เปิด 08.00-18.00 น.
อัตราค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท
ไม่ไกลจากพระปรางสามยอดนัก เป็นที่ตั้งของศาลพระกาฬ ศาสนสถานเก่าแก่ที่ชาวลพบุรีให้ความเคารพนับถือ
ในอดีตเมือง ลพบุรี เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม ศิลปะและสถาปัติยกรรมส่วนใหญ่ในเมืองจึงได้รับวัฒนธรรมขอมมามาก ศาลพระกาฬ ก็เช่นเดียวกัน
ศาลพระกาฬตั้งอยู่ในวงเวียนกลางเมืองลพบุรี สมัยก่อนชาวบ้านเรียกกันว่า ศาลสูง เพราะว่าตั้งอยู่บนฐานหินศิลาแลงสูงขึ้นจากพื้น ภายในประดิษฐานเทวรูปขอม หรือที่เรียกกันว่า เจ้าพ่อพระกาฬ
เจ้าพ่อพระกาฬ เชื่อกันว่าอาจจะเป็นพระวิษณุ หรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ในอดีตเจ้าพ่อพระกาฬนั้นมีองค์เป็นสีดำ แต่ปัจจุบันเจ้าพ่อพระกาฬไม่เหลือส่วนสีดำให้ได้มองเห็นอีกแล้ว เนื่องจากประชาชนผู้ศรัทธาเดินทางมาปิดทองจนองค์เจ้าพ่อพระกาฬสีทองอร่ามดังที่เห็น
มีตำนานเล่าว่าเมืองลพบุรีนั้นเป็นเมืองลิง เพราะพระรามได้ยกเมืองลพบุรีให้หนุมาน ลิงจึงมาอาศัยอยู่ที่นี่กันมาก คุณจะสามารถพบเห็นเจ้าลิงน้อยที่เดินเล่นบนท้องถนนไม่ว่าจะมองไปมุมไหน ก็จะพบมันวิ่งเล่นซุกซนเต็มไปหมด ไม่ว่าบนหลังคาบ้าน บนต้นไม้ รวมไปถึงบนยอดของกำแพง ทำให้ลิงกลายเป็นเอกลักษณ์หนึ่งเมื่อมาลพบุรี บางคนต้องมาเซลฟี่กับเจ้าจ๋อ ไม่อย่างนั้นก็เหมือนมาไม่ถึงเมืองลิง…ใช่ไหมล่ะ
ที่ตั้ง ริมทางรถไฟ ด้านทิศตะวันออกของพระปรางสามยอด ต. ท่าหิน อ. เมืองลพบุรี จ. ลพบุรี
เปิด 08.00-16.30 น.
หากคุณได้มีโอกาสในการเดินทางมาที่ จ.ลพบุรี สถานที่ห้ามพลาดอีกที่หนึ่งก็คงจะเป็น พระนารายณ์ราชนิเวศน์ด้วยกระแสของละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส ฉากสำคัญต่างๆ ในละครที่ในปัจุบันยังหลงเหลืออยู่ก็คือ พระนารายณ์ราชนิเวศน์นั่นเอง
พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2209 สมัยของพระนารายณ์มหาราช โดยใช้วิศวกรฝรั่งเศสและอิตาลี เป็นผู้ร่วมกันออกแบบสร้างพระราชวัง กำแพงเมือง และป้อมปราการต่างๆ ใช้เพื่อเป็นที่ประทับและต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
ปัจจุบันเราสามารถเข้ารับชมและไปตามรอยละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส ที่ยังคงเป็นกระแสนิยมทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชนไม่ขาดสาย นอกจากนี้ปริเวณพระนารายณ์ราชนิเวศน์นี้ยังมีการจัดงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่จะจัดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บอกเลยว่าเป็นงานใหญ่ระดับจังหวัดที่เหมือนคุณได้ย้อนยุคไปอยู่ในสมัยพระนารายณ์เลยล่ะ
ที่ตั้ง ถ. สรศักดิ์ ต. ท่าหิน อ. เมืองลพบุรี จ. ลพบุรี
เปิด 07.30-17.30 น.
อัตราค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท
เดินทางกันต่อมาที่ อ. บ้านหมี่ มาสักการะพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์พุทธคยากลางน้ำ
เมื่อเราได้ก้าวเท้าเข้ามาสู่วัดห้วยแก้วอันเงียบสงบ สิ่งแรกที่เห็นคือ เจดีย์ที่สูงเด่นเป็นสง่าที่กลางสระน้ำสีเขียว เจดีย์พุทธคยากลางน้ำ หรือ พระเจดีย์มหาเมตตารัตนะรังษี เป็นเจดีย์กลางน้ำศิลปะร่วมสมัย ด้านนอกสร้างด้วยหินทรายลักษณะคล้ายกับปราสาทขอม
ด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูป 8 องค์ ประจำทิศต่างๆ 8 ทิศ มีสะพานเดินเข้าไปหาองค์เจดีย์ ตรงซุ้มประตูมีลักษณะที่เหมือนกับ โคปุระ ศิลปะแบบขอม ภายในเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ด้านล่างมีพระพุทธรูป หยกเขียว และ หยกขาว 8 องค์ ล้อมรอบ
พระเจดีย์สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของชาวบ้านที่หวังจะให้เป็นที่เคารพสักการะ และเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
ที่ตั้ง ต. มหาสอน อ. บ้านหมี่ จ. ลพบุรี
เปิด 06.30-18.00 น.
การมาลพบุรีครั้งนี้เราได้มีโอกาสเดินทางไปยัง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งถือเป็นการมาเที่ยวที่นี่ครั้งแรก เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดลพบุรีอีกด้วย
ที่นี่มีบริการรถลากจูงชมสันเขื่อนฯ ระยะทางไป – กลับ 9,720 เมตร ระหว่างที่เรานั่งรถลากจูงนั้นเราก็จะได้สัมผัสกับอากาศที่สดชื่นโปรดโปร่ง ลมเย็นสบาย นอกจากนี้ยังมีมัคคุเทศก์ตัวน้อย ที่จะให้ข้อมูลในการนั่งรถลากจูงตลอดการเดินทางอีกด้วย
รถลากจูงพาเรามาถึงปลายทางที่เราจะได้พบกับ พระพุทธรัตนมณีมหาบพิตรชลสิทธิ์มงคลชัย (หลวงปู่ใหญ่ป่าสัก) อยู่บริเวณท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ถ้ามาเที่ยวที่นี้แล้วไม่ได้มาไหว้หลวงปู่ใหญ่ป่าสัก เหมือนว่ามาไม่ถึงเขื่อนป่าสักฯ ก็ว่าได้
ที่ตั้ง ต. หนองบัว อ. พัฒนานิคม จ. ลพบุรี
เปิด 08.00-20.00 น.
โทร. 036-494-291, 036-494-243
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวร่วมชม “งานศิลปะเทียนนานาชาติเมืองอุบล” ในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี
เมืองไทยมีอะไรให้ออกไปสัมผัสอีกมากมาย มีความหลากหลายของธรรมชาติอย่างน่าเหลือเชื่อ ออกไปสัมผัสกับตา ได้ยินกับหู และรู้สึกกับใจตัวเองสึกครัง แล้วคุณจะหลงรักเมืองไทย มากกว่าเดิม
ยามเช้าในวันที่สายหมอกปกคลุมยอดดอย อากาศเย็นไหลวนจนไม่อยากลุกจากที่นอน ถ้ามีกาแฟหอมๆกับขนมอร่อยๆ รับเช้าวันใหม่ ที่ Groon Cafe มันก็คงจะดีไม่น้อย…
หลายคนคิดว่าเที่ยวป่าไม่สนุก มีแต่ต้นไม้กับต้นไม้ ยิ่งในฤดูแล้งเช่นนี้กลัวพบแต่แดดจ้ากับใบไม้แห้ง ถ้าไม่ได้มาห้วยขาแข้งคงไม่รู้ว่าป่าหน้าแล้งก็มีเสน่ห์ ทั้งดอกไม้ป่าบานสะพรั่ง เส้นทางศึกษาธรรมชาติเดินสะดวก การมาเยือนห้วยขาแข้งครั้งนี้จึงเหมือนได้เปิดประตูความรู้ไปสู่ป่าอีกขั้นหนึ่ง ด้วยมีสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายสิ่งซุกซ่อนอยู่…
© 2018 All rights Reserved.