
สตรีทอาร์ต ลำปาง ปลายทางฝัน
ภาพวาดแสนน่ารักที่หลายภาพซ่อนมุกให้เราสนุกกับการเข้าไปออกแอ็กชันเป็นส่วนหนึ่งของภาพได้อย่างกลมกลืน
ส่วนอีกหลายภาพก็สอดแทรกเอกลักษณ์ของเมืองลำปางไว้อย่างลงตัว
ปัจจุบันร้านส้มตำในกรุงเทพฯ เป็นของธรรมดาที่สามารถหารับประทานได้ทั่วไป เนื่องจากชาวอีสานเข้าทำงานในกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก คนอีสานจำนวนไม่น้อยที่ใช้ร้านอาหารอีสานเป็นพื้นที่พบปะพูดคุยและรวมกลุ่มกัน
“มื้อนี้กินหยังดีน้อ” เสียงหวานๆ ของป้านาง อุ่นเรือน สว่างวงษ์ แม่ค้าส้มตำวัย 62 ปี ที่ทักทายลูกค้าทุกคนด้วยความเป็นกันเอง โดยใช้ภาษาอีสานบ้านเกิดและความคุ้นเคยที่ขายส้มตำในย่านนี้กว่า 40 ปี ถือว่าเป็นแม่ค้าส้มตำอีสานที่มีความเก่าแก่ร้านหนึ่งในกรุงเทพฯ สลับกับการตระเตรีมอาหารเพื่อเสิร์ฟลูกค้าคนอื่นๆ อย่างชำนิชำนาญ
ในตรอกพระศุลีริมถนนดินสอใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยโรงเรียนสตรีวิทยาและโรงเรียนวัดบวรฯหลบมุมถนนใหญ่เข้ามามีร้านส้มตำอาหารอีสานเล็กๆไม่มีชื่อไม่มีป้ายแต่เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักชิมแถบนั้นดีโดยเฉพาะครูนักเรียนโรงเรียนสตรีวิทยาและในละแวกใกล้เคียง
เดินเข้ามาจะพบเจอรอยยิ้มจากสองแม่ค้าคือป้านาง และพี่ติ๊ก ประภาภรณ์ แสงพล วัย 39 ผู้เป็นหลานสาวและการเคลื่อนไหวร่างกายที่ทะมัดทะแมงแข็งขันว่องไวไม่หยุดนิ่งเพื่อให้ทันใจลูกค้าผู้หิวโหยหลังสิ้นการงาน
“คนแถวนี้เขารู้จักกันดีเพราะป้าออกจากบ้านมาขายส้มตำแถวนี้มาตั้งแต่เป็นสาว” ป้านางเริ่มเล่าเรื่องราวส่วนตัวว่าเริ่มเข้ากรุงมาแสวงโชคเหมือนคนอีสานอื่นๆ
ป้านางเป็นชาวอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธรเริ่มเข้ามาทำมาค้าขายในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยช่วงแรกนั้นปูเสื่อขายส้มตำบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2527 จึงได้ย้ายมาตั้งร้านณตรอกพระศุลีจนถึงปัจจุบัน
“แต่ก่อนบ้านป้าอยู่ในซอยตรงนั้นน่ะ” ป้านางชี้ไปฝั่งตรงข้ามที่ปัจจุบันกลายเป็นอาคารเรียนของโรงเรียนวัดบวรฯ เมื่อบ้านพักเดิมได้ถูกเวนคืนที่ดินทำให้ชาวบ้านที่เคยเช่าอยู่พื้นที่ตรงนั้นต้องย้ายออกไปพักที่อื่น ป้านางก็คือหนึ่งในนั้น แต่ถึงแม้จะพักอยู่ที่อื่นแล้วยังคงยึดมั่นที่จะค้าขายอยู่จุดเดิม
ป้านางเดินทางมาจากบ้านพักที่ถนนจรัญสนิทวงศ์ ฝั่งธนบุรี เริ่มเตรียมของย่างไก่ ย่างหมูตั้งแต่บ่ายสามโมงของทุกๆ วัน วันธรรมดาจันทร์ – ศุกร์มีน้องๆนักเรียนเป็นลูกค้ากลุ่มแรกที่เลิกเรียนประมาณสี่โมงเย็นป้านางและพี่ติ๊กก็จะเริ่มประจำที่ของตนเพราะจะเป็นช่วงที่วุ่นมากๆเมื่อนักเรียนมัธยมเข้ามารับประทานอาหารและถือเป็นการคั่นเวลาที่จะเรียนพิเศษณโรงเรียนกวดวิชาที่อยู่ข้างๆ
เวลาห้าโมงคือกลุ่มลูกค้าในเวลาต่อมาซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยทำงานที่จะเลิกงานประมาณห้าโมงเย็นไปจนถึงค่ำ กลุ่มนี้มีหลากหลายทั้งครูโรงเรียนใกล้เคียง พนักงานออฟฟิศ และผู้ปกครองที่มารอรับบุตรหลาน ส่วนเสาร์–อาทิตย์ และวันหยุดก็จะมีลูกค้าเป็นผู้ที่พักอาศัยอยู่ในแถบนี้และนักท่องเที่ยวทั่วไป
“ส่วนใหญ่เมนูอะไรขายดี” ผู้เขียนถามแม่ค้าทั้งสอง พี่ติ๊กมือตำส้มตำตอบด้วยความไม่ลังเลที่จะตอบว่า “คอหมูย่างจะขายดีที่สุด ส่วนส้มตำจะเท่าๆ กันระหว่างตำไทยและตำลาว” พี่ติ๊กยังกล่าวไปอีกว่า “เดี๋ยวนี้น้องๆ มัธยมกินตำลาวเผ็ดๆ เก่งมาก ทางร้านจึงขายดีเลยทีเดียว” รสชาติส้มตำพริกติดครกของเราที่สั่งทานประจำดูจืดไปเลย
ร้านส้มตำในกรุงเทพฯมีมากก็จริงแต่จะหารสชาติบ้านๆดั้งเดิมนั้นก็ยากจากการสังเกตและตระเวนรับประทานอาหารอีสานอยู่หลายร้านพบว่าร้านส้มตำอีสานเปลี่ยนมาใช้ปลาร้าขวดสำเร็จรูปที่ผลิตจากโรงงานไปหมดแล้วส้มตำหลายๆร้านจึงมีรสชาติคล้ายๆกันไปหมด
จากการสนทนากันไปเรื่อยๆ ผู้เขียนเริ่มแลกเปลี่ยนกับแม่ค้าทั้งสองด้วยการบอกว่าเป็นคนอีสานเหมือนกัน โดยแนะนำตัวว่าเป็นคนจังหวัดมหาสารคาม
“ถ้าป้ากลับยโสในเส้นทางเก่าจะต้องผ่านบ้านหนูแน่ๆ แต่ตอนนี้ป้ากลับทางตัดใหม่แล้วคือเส้นอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เพราะมันใกล้และสะดวกกว่า แต่ก็แล้วแต่คนขับนะ” ป้าพูดไปยิ้มไป
หลังจากที่รู้ว่าพื้นเพเป็นชาวอีสานเหมือนกัน ภาษาในการสนทนาก็เริ่มเปลี่ยนไป ป้าไม่พูดภาษากลางกับเราและมีความสนิทสนมมากยิ่งขึ้น เพลง “คนบ้านเดียวกัน” ของพี่ไผ่ พงศธร ก็แว๊บเข้ามาในหัวทันที สำนึกร่วมความเป็นท้องถิ่นเดียวกันเริ่มชัดขึ้น ป้าเริ่มถามไถ่เราต่างๆ นานาเหมือนลูกเหมือนหลาน
“ปลาร้าป้าเอามาจากบ้านเฮาเลย ป้าเอามาต้มเอง” ป้านางกลับเข้าเรื่องส้มตำที่ค้างกันไว้พร้อมทั้งกล่าวถึงเคล็ด (ไม่) ลับของความอร่อยและความดั้งเดิมของส้มตำยโสธรบ้านเกิดในตำรับของป้า
ผู้เขียนเริ่มตื่นเต้นและถามต่อว่าป้าใช้ปลาแบบไหนมาทำปล้าร้า “ปลาข่อนบ้านเฮานี่ล่ะลูก” ปลาข่อนในที่นี้หมายถึง ปลาที่อยู่ในแอ่งน้ำขนาดเล็กตามทุ่งนา การทำปลาร้าของป้าจะนำปลาตัวเล็กๆ ที่ได้จากแอ่งน้ำน้อยๆ มาหมักในไหตามสูตรเฉพาะ ป้านางบอกว่าปลาร้าที่มาจากบ้านรสจัดเกินไปต้องปรุงโดยใช้น้ำกระเทียมดองก่อนมาใส่ส้มตำจึงจะได้รสชาติที่พอดี
ปลาร้าทำเองที่ว่าเด็ดและจะให้ครบเครื่องเรื่องส้มตำตามสูตรตำรับที่คนอีสานกินกันต้องใส่มะกอกลงไปด้วย เพิ่มรสชาติความนัวจึงจะถึงใจ ปัจจุบันแม้แต่ในพื้นที่อีสานเองจะหาส้มตำที่ใส่มะกอกก็ว่ายากแล้ว ในกรุงเทพฯ ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ น้อยนักน้อยหนาที่จะเจอ แต่ร้านป้านางมีครบเพิ่มความเป็นอีสานที่ชาวอีสานโหยหาอย่างมาก จึงไม่แปลกที่จะพบชาวอีสานทั้งวัยรุ่นหนุ่มสาว วัยทำงาน ตลอดจนถึงผู้สูงอายุ มารวมตัวกันที่นี่
ถึงแม้ว่าร้านป้านางจะมีเมนูให้เลือกไม่มาก แต่อยากจะบอกว่า “น้อยแต่ดี” นัวทั้งส้มตำครกลาวและไทยเมนูปิ้งย่างก็มีทั้งไก่หมูปลาดุกเมนูลาบหรือจะต้มแซบร้อนๆซดให้สดชื่น
เราเริ่มสะสางค่าใช้จ่ายที่เราสั่งไป 4-5 อย่างในราคาไม่ถึง 200 บาท ถือว่าพอใจทั้งผู้จ่ายและผู้รับ อิ่มหนำสำราญจากอาหารและการพูดคุย
จากนั้นลาจากป้าและมื้อค่ำด้วยการบันทึกภาพบรรยากาศที่แสนอบอุ่น แสงพระอาทิตย์ที่กำลังตกดินกระทบกับควันไฟย่างหมูของป้านางกำลังงาม สลับกับความวุ่นวายของผู้คนที่เดินผ่านไปมาเข้าออกตรอกมิขาดสาย แม้ว่าช่วงสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโควิด -19 จะทำให้ซอยนี้ไม่มีชาวต่างชาติเข้าๆออกๆเหมือนเคยก็ตาม
เสร็จสิ้นภารกิจมื้อเย็นแล้ว ป้าทิ้งทายกล่าวคำอำลาเราด้วยความสนิทชิดเชื้อ “โชคหมานเด้อลูก” ตามประสาไทอีสานเหมือนกัน
ที่ตั้ง ตรอกพระศุลี ริมถนนดินสอ ใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โรงเรียนสตรีวิทยาและโรงเรียนวัดบวรฯ
เปิด ทุกวัน ประมาณ 16.00 เป็นต้นไป
โทร 089-0697187 พี่ติ๊ก
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
ภาพวาดแสนน่ารักที่หลายภาพซ่อนมุกให้เราสนุกกับการเข้าไปออกแอ็กชันเป็นส่วนหนึ่งของภาพได้อย่างกลมกลืน
ส่วนอีกหลายภาพก็สอดแทรกเอกลักษณ์ของเมืองลำปางไว้อย่างลงตัว
เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของโลก จึงไม่แปลก ที่พัทยา จะมีอาหารดีๆ ทั้งอาหารไทย และอาหารอิตาเลี่ยน สตรีทฟู้ด หลากหลายประเภทให้เลือกสรรค์ วันนี้ นาบรอบรู้นักเดินทาง จะพาคุณไปร้านอาหารและคาเฟ่สุดหรูใจกลางพัทยา หรูทั้งหน้าตาอาหาร หรูทั้งบรรยากาศ
ครั้งแรกที่มากินร้านโกปี๊ เกิดคำถามว่า ทำไมคนเยอะจัง? ทั้งๆที่ในตัวเมืองนครศรีฯมีร้านกาแฟทั้งหลายร้าน ได้คำตอบเมื่อเข้ามานั่งและลิ้มลองเมนูเด็ดๆ ของที่นี้ ..
“ฟาร์มฝันแม่” หรือ ไร่รวงข้าวภูตะวัน ต. น้ำพุ อ. เมือง จ. ราชบุรี ของครอบครัว “ศรีสาหร่าย” มีจุดเริ่มต้นมาจากแม่ลำพึง ที่มีประสบการณ์ปลูกผักอินทรีย์มายาวนานและรักอาชีพนี้มาก จนใฝ่ฝันอยากมีที่ดินทำเกษตรอินทรีย์เป็นของตัวเอง จนกระทั่งปี 2557 มาซื้อที่ดินที่จังหวัดราชบุรี แล้วพลิกฟื้นผืนดินจากสวนมันสำปะหลังให้กลายเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะกับการเกษตรแบบผสมผสาน
© 2018 All rights Reserved.