เหตุไฉน ‘คิวปิด’ จึงอยู่ในวัด?

ลำปางได้ชื่อว่ามีวัดศิลปะพม่ามากที่สุดในประเทศไทย  นับเนื่องจากสมัยรัชกาลที่ 5 เมืองลำปางอันอุดมไปด้วยไม้สักจำนวนมหาศาล  เป็นที่หมายปองของบริษัทค้าไม้ต่างชาติซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมดินแดนต่างๆรอบๆสยามประเทศอยู่ในขณะนั้น ได้เข้ามาขอสัมปทานค้าไม้จากราชสำนักสยามที่กรุงเทพฯ เข้าทำอุตสาหกรรมไม้ในเขตเมืองลำปาง  

ในครั้งนั้นบริษัทค้าไม้ขนาดใหญ่สัญชาติอังกฤษได้สัมปทานไป จึงเข้ามาพร้อมแรงงานชาวพม่าที่ซึ่งอยู่ในการคุมครองของนายจ้างชาวอังกฤษซึ่งชำนาญในการทำไม้

cupid
มณฑปของวัดพระแก้วดอนเต้าฯ มีหลังคาซ้อนกัน 7 ชั้นยอดสูงสุดประดับด้วยฉัตร หลังคาเช่นนี้เรียกว่า ทรงพญาธาตุ

การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของธรุกิจค้าไม้ของชาวพม่า ทำให้มีโอกาสสะสมทุนและกลายเป็นคหบดีที่ร่ำรวย ด้วยความศรัทธาในพุทธศาสนาอันแรงกล้า จึงสร้างวัดขึ้นในถิ่นที่ตนเองทำธุรกิจ

จุดเด่นของวัดพม่าที่เห็นชัดคือ สร้างด้วยไม้และแกะสลักอย่างละเอียดยิบ วัดพม่าที่น่าสนใจควรแวะเที่ยวชมก็คือวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม และวัดศรีชุม  อ. เมืองลำปาง

cupid2
จองวิหารของวัดศรีชุม เป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ สร้างแบบปราสาท

นอกจากความงดงามของสถาปัตยกรรมแบบพม่าที่ชวนให้หลงใหลแล้ว ทั้งสองวัดยังมีสิ่งน่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง ที่สร้างความฉงนแปลกใจให้กับนักท่องเที่ยว นั่นก็คือ ตุ๊กตาไม้แกะสลักเป็นรูป ‘คิวปิด’ (cupid) กามเทพเด็กรูปร่างจ้ำม่ำ เปลือยกาย พร้อมกับมีปีกเล็กๆ งอกจากส่วนหลังทั้งสองข้าง

cupid2
จองวิหารของวัดศรีชุม เป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ สร้างแบบปราสาท

คิวปิดที่ว่านี้ ถูกประดับไว้ที่ฝ้าเพดานในมณฑปของวัดพระแก้วดอนเต้าฯ ซึ่งหากนักท่องเที่ยวไม่ช่างสังเกตพอ หรือไม่ได้แหงนหน้าขึ้นมองแล้ว คงพลาดโอกาสในการรับชม ส่วนที่วัดศรีชุมนั้น เพียงแค่เดินไปหยุดอยู่หน้าวิหาร จะสะดุดตาเข้ากับคิวปิดร่างเล็กๆ ที่ประดับอยู่บริเวณซุ้มเหนือบันไดทางขึ้น และภายในวัดทั้งสองยังมีรูปแกะสลักคิวปิดให้ชมอีกหลายจุดด้วย

…..คิวปิด มาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร?

OLYMPUS DIGITAL CAMERA
จองวิหารของวัดศรีชุม เป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ สร้างแบบปราสาท

ถึงเวลาหาคำตอบ

กามเทพน้อยเหล่านี้ถูกสร้างสรรค์โดยช่างฝีมือชาวพม่า ซึ่งในสมัยนั้นได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปกรรมมาจากประเทศอังกฤษ และมีการนำแนวคิดมาผสมผสานเข้ากับศิลปะดั้งเดิมและคติความเชื่อประจำชาติของตนเอง 

ในช่วงที่ลำปางเฟื่องฟูเรื่องการทำไม้ ช่างฝีมือเหล่านี้ได้เข้ามารับจ้างสร้างวัดในประเทศไทย ตามคำว่าจ้างของคหบดีชาวพม่า ที่ร่ำรวยมั่งคั่งจากการเข้ามาทำธุรกิจป่าไม้ในลำปาง พวกเขาจึงฝากผลงานเชิงความคิดนี้เอาไว้บนแผ่นไม้ และนำไปประดับประดาตามวัดวาอาราม  กลายเป็นศิลปะที่สร้างรอยยิ้มให้กับผู้ที่พบเห็นได้เป็นอย่างดี   คราวนี้หากใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวชมวัดพม่าในลำปางล่ะก็ อย่าลืมมองหาคิวปิดเหล่านี้ว่าซ่อนตัวอยู่ตรงไหนบ้าง

cupid4
จองวิหารของวัดศรีชุม เป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ สร้างแบบปราสาท

>>>แถมกันอีกนิด!! สาเหตุที่พ่อเลี้ยงชาวพม่าที่ร่ำรวยจากการค้าไม้หลายต่อหลายคนนิยมสร้างวัดนั้น สืบเนื่องมาจากแต่เดิมนั้นชาวพม่า เป็นชาวพุทธที่มีความศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างแรงกล้าอยู่แล้ว ประกอบกับมีความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้ เมื่อตัดโค่นต้นไม้จำนวนมากจึงเกรงกลัวว่า รุกขเทวดา ซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยจะเกิดความโกรธแค้นและหันมาทำร้ายตัวเอง จึงได้มีการสร้างวัด รวมถึงปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและอุทิศส่วนกุศลให้กับผีสางนางไม้เหล่านั้นนั่นเอง<<<

Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer /Photographer

Relate Place

Eat

ไปอร่อยที่สุโขทัยกับ “ร้านป้าทรง”

ร้านธรรมดาบรรยากาศไม่เลิศหรู แต่ชาวศรีสัชนาลัยต่างแนะนำให้มาลิ้มลองสารพัดเมนูที่ร้าน “ป้าทรงซาว”คำเรียกขาน “ป้าทรงซาว” มาจากเมื่อแรกเริ่มที่ป้าทรงขายอาหารตามสั่งในราคาเพียง  20 บาท ( 20 ภาษาเหนืออ่านว่าซาว)

ผัดหมี่ป้ายวน

พวกเรายกให้เป็นร้านผัดหมี่อมตะแห่งเมืองปักธงชัย เพราะป้ายวนผัดขายตั้งแต่อายุ 17 จนล่วงเข้า 73 ปีในปีนี้ ป้าก็ยังคงผัดหมี่อย่างคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง ทุกวันยังไม่ทันตั้งเตา ลูกค้าจะมายืนรอเป็นขบวนรถไฟแล้ว ความอร่อยอยู่ที่ป้ายวนใช้หมี่บ้านตะคุและถั่วงอกบ้านวังหมี ของดีตามคำ “ถั่วงอกต้องบ้านวังหมี เส้นหมี่ต้องบ้านตะคุ” ของชาวปักธงชัย เส้นหมี่เหนียวนุ่มกับถั่วงอกอวบกรอบมาพบกับฝีมือปรุงไม่มีวันตกของป้ายวน

Eat

ข้าวแกงเจ็กปุ๊ย (เจ๊เฉี๋ย) ตำนานความอร่อยกว่า 70 ปี

ข้าวแกงในตำนานย่านเยาวราช เสิร์ฟความอร่อยมาตั้งแต่รุ่นอากงหาบขาย มีเก้าอี้ไม้ทรงเตี้ยให้ลูกค้านั่งกินข้างหาบ ส่งต่อเคล็ดลับสู่รุ่นลูกคือเจ๊เฉี๋ย-ทัศนีย์ ธนัญชัยกุล ปัจจุบันดูแลโดยทายาทรุ่นที่ 3 คือเฮียนัท-ธรรมรัตน์ ธนัญชัยกุล จากหาบเปลี่ยนเป็นรถเข็น จากเก้าอี้ไม้กลายเป็นเก้าอี้พลาสติกสีแดงตั้งเรียงรายริมทางเท้า เก้าอี้แดงเด่นหน้าบานเฟี้ยมสีเขียวซีดที่เต็มไปด้วยใบปิดโฆษณาเลือนรุ่ยหลุดลอกตามกาลเวลา เป็นภาพสุดคลาสสิกของร้าน แต่ไม่กี่เดือนมานี้ทั้งรถเข็นและเก้าอี้ขยับเข้าในซอย ตั้งหน้าบ้านฝั่งตรงข้ามประตูวัดมังกรกมลาวาส(วัดเล่งเน่ยยี่) แม้จะหลบมุมแต่ลูกค้าก็ยังเข้าคิวจับจองเก้าอี้ สมกับฉายา ‘ข้าวแกงเก้าอี้ดนตรี’ “หมู-เชียง เนื้อ-เชียง ปู-เชียง ไก่-โล้ ปู-โล้…” คือเมนูที่มีออเดอร์ตลอดวัน มีแกงกะหรี่หมู แกงกะหรี่เนื้อกินคู่กุนเชียงเป็นเมนูเด่น อีกทั้งแกงเขียวหวานไก่ เขียวหวานลูกชิ้น ไข่พะโล้อบ ผัดปู

Travel

เที่ยว พัก มัก ม่วน ณ เมืองอุบล

อุบลราชธานีจังหวัดที่ได้รับแสงแรกของวันก่อนใครอื่นเพราะอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศไทยและถือเป็นจังหวัดใหญ่อันดับต้นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเมืองที่มีความพิเศษที่มีแม่น้ำสายสำคัญของอีสานไหลมาบรรจบกันทั้งโขงชีมูล จึงทำให้เมืองอุบลราชธานีนอกจากจะมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลแล้วยังเป็นชุมทางการเดินทางสำคัญของผู้คนในแถบนี้จึงทำให้เมืองอุบลฯ มีที่กิน ที่เที่ยว หลากหลายให้เราเลือกสรรกัน