“ฮดสรง” : เถราภิเษก และพิธีกรรมเปลี่ยนผ่านในสังคมอีสาน

การฮด / หดสรง เป็นสำเนียงในภาษาอีสานหมายถึงการรดน้ำ หรือพิธีเถราภิเษก พิธีกรรมยกย่องพระผู้ใหญ่ผ่านน้ำศักดิ์สิทธิ์ นิยมทำในช่วงงานบุญเดือนห้า เดือนหก เป็นพิธีกรรมเก่าแก่ที่หาได้ยากในปัจจุบัน พบในกลุ่มคนลาวทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง ถือเป็นการถวายสมณศักดิ์ให้แก่พระสงฆ์ เป็นการยกย่องพระสงฆ์ในระดับหมู่บ้าน ที่ชาวบ้านร่วมใจกันจัดขึ้น

1
ฮูปแต้มเล่าเรื่องพิธีกรรมฮดสรง บนสิมวัดป่าเลไลย์ ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ฮางฮด หรือ รางรดน้ำ ที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายในช่วงออกพรรษา
บรรยากาศพิธีกรรมฮดสรง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายในช่วงออกพรรษา

พิธีกรรมฮดสรงถูกกำหนดโดยชาวบ้าน เพื่อยกย่องพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผ่านมติของชาวบ้าน หรือเป็นการสร้างขวัญกำลังให้กับพระสงฆ์โดยมีเจ้าภาพจัดกองฮดขึ้นมา พิธีกรรมนี้นิยมจัดขึ้นในช่วงเดือนห้า หรือช่วงสงกรานต์ บ้างพบในพิธีกรรมการทำบุญแจกข้าวที่ใช้แทนกองบวช เรียกว่ากองฮดเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และพบในช่วงออกพรรษา มีการทำพิธีสำหรับพระสงฆ์ที่จำพรรษาตั้งแต่ 1 พรรษาขึ้นไป  มีฮางฮดหรือ รางรด เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการประกอบพิธี

จากการสำรวจวัดทั้งในและนอกพื้นที่ภาคอีสานพบว่ามีร่องรอยของพิธีกรรมนี้อยู่ทั่วไป แต่ไม่เป็นที่นิยมแล้ว จากการสังเกตเห็นว่ามีฮางสรงน้ำถูกแขวนโชว์ไว้ในสภาพที่ไม่ได้ใช้งานอยู่หลายแห่ง และยังพบว่ามีฮางสรงน้ำในลักษณะเดียวกันนี้ในชุมชนชาวพวนที่อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี แต่จากคำบอกเล่าของชาวบ้านก็ยืนยันว่าไม่มีพิธีกรรมดังกล่าวนี้แล้ว

นอกจากนี้ยังพบว่าพิธีกรรมฮดสรง หรือเถราภิเษกในวัฒนธรรมลาวอีสานนี้ปรากฏให้เห็นเป็นภาพบนฮูปแต้ม (จิตรกรรม) บนสิม หรือ โบสถ์วัดป่าเลไลย์ ในอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ที่ละเอียดงดงามมากในแบบงานช่างพื้นถิ่น ผู้เขียนเองได้มีโอกาสไปร่วมงานฮดสรงในครั้งแรกจากคำเชิญของเพื่อนในช่วงวันออกพรรษาที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จึงขอนำภาพบรรยากาศมาให้ชมประกอบ

4
พระขึ้นเสลี่ยงในขบวนแห่ของพิธีกรรมฮดสรง

วัตถุทางวัฒนธรรมที่สำคัญในการประกอบพิธีกรรม

ฮางหดหรือ รางรด อุปกรณ์สำคัญในการประกอบพิธีกรรมนี้ จากลักษณะที่พบเป็นท่อนไม้รูปพญานาค หรือคล้ายเรือสุพรรณหงส์ แต่มีหัวเป็นรูปนาค ตรงกลางถูกทำให้เป็นร่องเพื่อที่จะให้น้ำไหลผ่าน และส่วนหางมีการเจาะเป็นรูสำหรับการเทน้ำอบ น้ำหอมลงไป ตกแต่งให้สวยงามโดยการแต่งเติมแต้มสีสัน ส่วนขนาดใหญ่น้อยนั้นขึ้นอยู่กับชุมชนว่าจะทำขึ้นมาอย่างไร  น้ำที่ใช้สรงพระบางชุมชนที่เคร่งครัดต้องมีการตระเตรียมน้ำจากบ่อหรือแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเชื่อถือ หรือไม่มีก็ใช้น้ำฝนและผ่านพิธีกรรมและมีคนหาบน้ำใส่หม้อดินแห่พร้อมๆ กับขบวนแห่พระด้วย

สำเร็จเพียงตา ซาเพียงหู คูเพียงง่อน” (ชั้นสำเร็จยาวเท่าตา ชั้นซายาวเท่าหู ชั้นครูยาวเท่าท้ายทอย)

นอกจากฮางหดที่เป็นเครื่องประกอบพิธีที่สำคัญแล้ว ยังมีเครื่องประกอบพิธีกรรมอื่นๆ ที่สำคัญอีกคือ เครื่องยศ หรือหลาบเงิน หลาบทอง มีลักษณะแผ่นเงินแผ่นทองสำหรับจารหรือบันทึกชื่อของพระภิกษุที่ประกอบพิธีลงไป ขนาดของหลาบขึ้นอยู่กับลำดับชั้นในการฮดสรงดังนี้

5
พิธีกรรมฮดสรง หรือ เถราภิเษก อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

หลาบชั้นสำเร็จ หรือ การเข้าพิธีครั้งแรก ได้หลาบขนาดกว้าง 1 นิ้ว หรือวัดความยาวจากคางขึ้นไปถึงลูกตาหรือ

หลาบขั้นชาหรือซา ขนาดกว้าง 1 นิ้ว วัดความยาวจากใบหูซ้ายไปจนถึงใบหูขวา ตำแหน่งซา ต้องผ่านพิธีกรรม หรือต้องฮดถึง 3 ครั้ง เรียกว่า ซา 1 หลาบ ซา 2  หลาบและ 3 หลาบ

หลาบเงินชั้นคู ขนาดกว้าง 1 นิ้ว  หรือยาวจากท้ายทอยฝั่งด้านซ้ายไปจนถึงด้านขวา หรือวัดได้รอบศีรษะ ตำแหน่งคูนี้ ต้องผ่านพิธีกรรม หรือฮดถึง 3 ครั้ง เช่นกัน เรียกว่า คู 1 หลาบ คู 2 หลาบ คู 3 หลาบ

นอกจากนี้เครื่องประกอบพิธีกรรมยังต้องมีอัฐบริขาร เครื่องใช้ของพระภิกษุ 8 อย่าง (ผ้าจีวร  ผ้าสังฆาฏิ ผ้าสบง รัดประคด มีดโกน กล่องเข็ม  ธมกรกหรือเครื่องกรองน้ำ และมีดตัดเล็บ) ผ้าห่ม รองเท้า  ไม้เท้าเหล็ก หมวก (หว่อม) ที่ทำด้วยผ้าสีแดงปักด้วยไหมทองสำหรับสวมทำเป็นเกศ เม็ง (เตียง) ตาลปัตร

การฮดสรงจากหางฮางฮดโดยชาวบ้าน
มโหรีพื้นบ้านในขบวนแห่ของพิธีกรรมฮดสรง

ช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน

พิธีกรรมเปลี่ยนผ่านนี้ในทางทฤษฎีทางมานุษยวิทยาเป็นสภาวะทางสังคมอย่างหนึ่งที่จะปฏิบัติเมื่อเปลี่ยนแปลงจากสภาวะหนึ่งเข้าสู่อีกสภาวะหนึ่ง  โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) ช่วงการแบ่งแยกหรือการผละออก (separation) 2) ช่วงที่เป็นสภาวะก้ำกึ่ง (liminal) และ 3) การกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยผ่านพิธีกรรมอันสมบูรณ์แล้ว (aggregation) (Turner,Victor...1969 หน้า 94-130)  ในช่วงเวลาของการประกอบพิธีกรรมนี้เป็นช่วงเวลาที่อยู่ในสภาวการณ์พิเศษ ซึ่งในเวลาปกติไม่สามารถกระทำการเช่นนี้หรือปฏิบัติกับพระสงฆ์อย่างในพิธีฮดสรงได้

ในช่วงการประกอบพิธีกรรมฮดสรง ชาวบ้านได้มีการแห่พระสงฆ์ที่จะเข้าประกอบพิธีกรรมรอบๆ โบสถ์หรือศาลาการเปรียญสามรอบ ในขณะที่แห่นั้นมีมหรสพรื่นเริงพร้อมด้วยชาวบ้าน คณะสงฆ์ผู้ใหญ่ผู้น้อยมาร่วมขบวนฟ้อนรำ ส่งเสียงดัง ชาวบ้านใช้เสลี่ยงแบกหาม หยอกล้อ โยนพระสงฆ์ที่กำลังจะเข้าพิธีขึ้นลงอย่างสนุกสนาน 

จากนั้นเมื่อเข้าพิธีการสำคัญคือการฮดสรงโดยใช้น้ำอบน้ำหอมรดผ่านฮางฮด หรือ รางรดที่ได้ตระเตรียมไว้เป็นอย่างดี หรือแม้แต่ราดกับตัวพระเองก็เห็นว่าทำได้ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ในเวลาปกตินั้นไม่สามารถกระทำได้

การฮดนั้นมีลำดับขั้นของการถวายยศ หรือ สมณศักดิ์ คือ ชั้นฮดครั้งแรกคือสำเร็จเมื่อสึกออกมาเรียกจาน” (อาจารย์) ฮดครั้งที่ 2 เรียกซาสึกออกมาเรียกอาจารย์ซาฮดครั้งที่ 3 เรียกญาครูสึกออกมาเรียกอาจารย์ครูฮดครั้งที่ 4 เรียกญาท่านสึกออกมาเรียกพระหลักคำฮดครั้งที่ 5 เรียกพระลูกแก้วฮดครั้งที่ 6 เรียกพระยอดแก้ว” (กันหา สีกุนวง.2559)

ฮางฮดที่แขวนอยู่ที่วัดสุวรรณคีรี (วัดบ้านกลับเก่า) ตำบลบ้านกลับ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวพวน ในภาคกลาง
ฮางฮดที่แขวนอยู่วัดบ้านโด ตำบลห้วยแอ่ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ปัจจุบันพิธีกรรมฮดสรงเหลือให้คนรุ่นใหม่เห็นไม่มากนัก พบมากก็แต่ร่องรอยของการมีพิธีดังกล่าวจากฮางฮด หรือ รางรดน้ำที่แขวนอยู่บนศาลาวัด แต่ก็ยังไม่หมดไปเสียทีเดียว บางชุมชนที่มีความเคร่งครัดในพิธีกรรมแบบดั้งเดิมก็ยังปฏิบัติสืบทอดกันอยู่ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับพระภิกษุ เชื่อมร้อยความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับวัดในฐานะศูนย์กลางของชุมชนอย่างที่เคยเป็นมา

อ้างอิง

กันหา สีกุนวง.ฮางฮดสรง : สื่อสัญลักษณ์ สุนทรียภาพ พิธีกรรม และความเชื่อในแขวงหลวงพระบาง

นครหลวงเวียงจันทน์ และ แขวงจำปาสักของ สปป.ลาว.วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่8  ฉบับที่ 2 กรกฎาคมธันวาคม 2559

พิธีกรรมเถราภิเษก(ฮดสรง).(ออนไลน์)สืบค้นจาก http://www.watnon.com/watn/index.php?option=com_content&view=article&id=58&Itemid=60

เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2563

Turner,Victor..1969.The ritual process : structure and anti-structure หน้า 94-130
Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer/ Photographer

จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์

จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์

Relate Place

Coffee

กาแฟสยาม ฟินคัก ๆ คนฮักบ้านเกิด @ศรีสะเกษ

ใครที่มาเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษแล้วมองหาร้านกาแฟชิว ๆ บรรยากาศสบาย ๆ “นายรอบรู้” ขอแนะนำ ร้านกาแฟสยาม เป็นร้านเล็ก ๆ ที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองศรีสะเกษ แถมเจ้าของร้านยังมีดีกรีเป็นถึงบาริสต้าชนะรางวัลระดับประเทศอีกด้วย

Eat

ขนมปังเจ้าอร่อยเด็ดเยาวราช กรอบนอกนุ่มในหอมกลิ่มเตาถ่าน

ไม่ว่าจะผ่านไปเยาวราชกี่สิบหน ร้านขนมปังเจ้าอร่อยเด็ดเยาวราช หน้าธนาคารออมสิน ก็ไม่เคยร้างราผู้คนกลิ่นหอมๆ ของขนมปังปิ้งอบอวลมาพร้อมควันที่ลอยขึ้นจากเตาถ่าน รูปชายหญิงในโลโก้สุดคลาสสิกคือ ปู่จินต์ และ ย่าพรทิพย์ หวังวาณิชย์ ผู้คิดค้นสูตรขนมปังปิ้งไส้ทะลัก แรกเริ่มทำกันเพียงสี่ไส้ มีเนยนมสูตรข้นมันหวานน้อย สังขยาไข่รสละมุน พริกเผาเผ็ดน้อยรสกลมกล่อม และช็อคโกแลตรสเข้มข้น ที่ทำสดใหม่ปลอดภัยไร้สารกันบูด กว่า 40 ปี ขนมปังเหนียวนุ่มที่สั่งทำสูตรพิเศษถูกย่างบนเตาถ่าน มีให้เลือกเนื้อสัมผัสได้สามแบบ คือ กรอบ นิ่ม และกรอบนอกนุ่มใน เดี๋ยวนี้มีไส้เก้าอย่างแล้ว เพิ่มเนยน้ำตาล เนยถั่วเนื้อเนียน และพวกแยมที่มีเนื้อผลไม้เป็นชิ้นๆ

Eat

ครัวบ้านกรู

ใครที่ชื่นชอบอาหารอินเดียคงไม่พลาด Rang Mahal Rooftop Indian Restaurant ห้องอาหารอินเดียในรูปแบบ fine dining บนชั้น 26 ของโรงแรมแรมแบรนดท์ ย่านสุขุมวิท ที่ได้รับรางวัล Thailand’s BestRestaurants จากนิตยสาร Thailand Tatler ถึง 13 ปีซ้อน

Travel

ตลาดน้ำสะพานโค้ง สุ่มปลายักษ์ @ สุพรรณบุรี

ตลาดน้ำสะพานโค้ง สุ่มปลายักษ์ @ สุพรรณบุรี ถ้าพูดถึงตลาดน้ำ แน่นอนว่าทุกคนต้องคิดถึงตลาดที่มีเรือลอยลำขายของกันเป็นอย่างแรกแน่นอน ใช่ครับมันเป็นแบบนั้น แต่ที่พิเศษไม่เหมือนที่ไหน คือ ตลาดน้ำสะพานโค้งสุ่มปลายักษ์ แลนด์มาร์คแห่งใหม่ใน อ. สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี ที่นักท่องเที่ยวต้องเดินบนสะพานไม้ที่ทอดยาวเป็นทางคดโค้งสมชื่อตลาด โดยสร้างเชื่อมโยงสองฝั่งคลองสองพี่น้อง ระหว่างศูนย์หัตถสานบ้านต้นตาล กับสะพานโค้ง 100 ปี วัดทองประดิษฐ์ ตลอดสองฝั่งสะพานจะมีพ่อค้าแม่ขายพายเรือมาจอดเทียบท่าขายของ มีของกินหลากหลายให้เลือกซื้อชิม ทั้งของคาวอย่างก๋วยเตี๋ยวเรือ ส้มตำ ก๋วยจั๊บ หมูหัน ขนมจีบ ซาลาเปา