บ้านดงเย็น ร่มเย็นสมชื่อ

ถ้ามาเที่ยวที่บ้านเชียง และอยากซื้อของฝากกลับไป คุณจะนึกถึงอะไรเป็นอย่างแรก? เชื่อว่าหลายคนทราบกันดีว่าสินค้า OTOP ที่ขึ้นชื่อที่สุดของที่นี่ก็คือ ไหหม้อดิน แต่ก็ไม่ได้มีแค่ไหเท่านั้นที่เป็นของดีของเด่นประจำเมือง นายรอบรู้เลยจะพาทุกคนไปรู้จักกับ ชุมชนบ้านดงเย็น 

1

ชุมชนบ้านดงเย็นเกิดจากการที่ เดิมชาวบ้านอพยพมาจากเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว เมื่อปี 2327 เนื่องจากเกิดสงครามแย่งชิงอำนาจของเจ้าเมือง จึงได้อพยพมาเพื่อแสวงหาแหล่งทำมาหากินที่สงบ อุดมสมบูรณ์ จนมาเจอเนินสูงเป็นป่าดงแพง มีลำห้วยล้อมรอบ หลังจากนั้นก็ได้มีผู้อพยพเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมากขึ้นจนเกิดเป็นชุมชน

ชื่อ บ้างดงเย็น นั่นก็เพราะว่า ทางที่จะเข้าไปในชุมชนจะผ่านดงป่าดงหนึ่ง ระหว่างที่เข้าไปในดงอากาศจะเย็น และร่มรื่นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นอีกหนึ่งความน่าหลงใหลของสิ่งที่ธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา จึงเรียกว่า บ้านดงเย็น นั่นเอง

4

กลุ่มจักรสานพื้นบ้าน

เมื่อก่อนมีการทำงานจักสานกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ถ่ายทอดให้แก่ลูกหลาน จนเป็นที่รู้จักว่าหมู่บ้านแห่งนี้ทำเครื่องจักสานกันมาก ที่นี่มีวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียวเป็นปกติ เลยเป็นปัจจัยที่ทำให้เครื่องจักสานประเภทกระติบข้าว เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย จึงผลิตแต่กระติบข้าวที่ทำจากไม้ไผ่เป็นหลัก 

ตอนนี้ได้ต่อยอดโดยการผลิตอย่างอื่นขึ้นมา เช่น กล่องใส่ทิชชู่ ตะกร้า โคมไฟไม้ไผ่ กล่องกับตะกร้าอเนกประสงค์ กระเป๋า เพื่อให้มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น สานขึ้นด้วยมือ ทำขึ้นด้วยใจ ของคนในชุมชน

5

กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง

เกิดมาจากการที่ชาวบ้านทอผ้า ย้อมคราม เพื่อสวมใส่กันเอง แล้วได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาวบ้านเชียง กลายมาเป็นสินค้า OTOP ของหมู่บ้าน และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยลายผ้าแต่ก่อนดูจากหนังสือ แต่ในภายหลังได้ลองนำลายเขียนสีจากหม้อดินเผาบ้านเชียงมาประยุกต์

ผ้าย้อมครามมาจากการปลูกครามเองตามธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี ใช้ต้นครามที่มีอายุ 3 เดือน เพื่อให้ได้สีครามที่สวยพอดี ไม่เข้มหรืออ่อนจนเกินไป  สินค้าที่น่าสนใจ ได้แก่ ผ้าพันคอ, ผ้าตัดเสื้อ, ผ้าซิ่น, ผ้าขาวม้า, ผ้าคลุมไหล่, ผ้าสีพื้น, กระเป๋า และยังรับทำผ้าตามสั่งทั่วไป

9

กลุ่มปั้นหม้อเขียนลาย

งานหัตถกรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านเชียง ทำขึ้นจากดินที่มาจากห้วยดินดำ ดินที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านเชียงนำมาใช้ปั้น เขียนลายสีแดงอิฐ ลวดลาย และรูปทรงเลียนแบบเครื่องปั้นดินเผาโบราณบ้านเชียง  และยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในปี 2552 อีกด้วย

ลวดลายแรกที่เริ่มทำคือ ลายก้นหอย ก้างขด ก้างปลา ในปัจจุบันมีลวดลายอิสระ ตามความคิดของเรา เพื่อให้มีความหลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ที่นี่ยังมีกิจกรรมให้ทุกคนได้ลองสัมผัสวิธีการ ปั้นไห หรือ เขียนลาย ได้ด้วยตนเองอีกด้วย คงจะดีไม่น้อยถ้าได้ของที่ระลึกจากมือของเราเองใช่มั้ยหละ

12
Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

Info

ชุมชนบ้านดงเย็น

ที่ตั้ง ต. บ้านดงเย็น อ. หนองหาน จ. อุดรธานี

เปิด ทุกวัน 8.00 – 18.00 น.

โทร. 085-675-6288

Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer/ Photographer

ณัชชา โหมดวัฒนมงคล

ณัชชา โหมดวัฒนมงคล

Relate Place

Travel

อาบน้ำแร่ ชมน้ำตก – เวลาความสุขที่ อุทยานแห่งชาติ แจ้ซ้อน

นายรอบรู้ชวนเที่ยว อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จ.ลำปาง เล่นน้ำตก ชมบ่อน้ำพุร้อน พักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติของผืนป่าเขียวชอุ่ม

Eat

บ้านชายนา ปลาแม่น้ำ…ร้านอร่อยใกล้กรุง

เพราะว่ารักและใส่ใจ จึงมอบมื้ออาหารดีๆ แทนความรัก ต้อนรับเทศกาลวาเลนไทน์
กับ 5 คาเฟ่ออร์แกนิก ที่ทำด้วยใจ ใส่ใจ และคัดเลือกวัตถุดิบจากคนที่ผลิตด้วยหัวใจเหมือนกัน

Travel

หิ้วตะกร้า ช็อปของพื้นถิ่นที่ ตลาดหนองชะอม

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงฝนฉ่ำฟ้า มองไปทางไหนล้วนเขียวชอุ่มชุ่มใจ มาเที่ยวปราจีนบุรีคราวนี้ นอกจากหิ้วสมุนไพรกลับไปบำรุงร่างกายให้แข็งแรงแล้ว พวกเราจึงแวะที่ตลาดหนองชะอมกันด้วย  มาดูซิว่าหน้าฝนอย่างนี้ ตลาดภาคตะวันออกเขามีอะไรวางขายบ้าง แม้ใครบางคนในกลุ่มเราตอบมาตามลมว่า “ตลาดหนองชะอม ก็มีชะอมน่ะซี้”ก็ตามตลาดหนองชะอม บริเวณสามแยกหนองชะอม ต. โคกไม้ลาย อ. เมือง ห่างจากตัวเมืองปราจีนฯ ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงแห่งนี้ เป็นแหล่งจำหน่ายพืชผักผลไม้ที่ปลูกในปราจีนบุรีและจังหวัดใกล้เคียงมานาน มีผักผลไม้ตามฤดูกาลสลับสับเปลี่ยนมาวางขายตลอดทั้งปี 

Eat

ข้าวยำใบพาโหม… ไม่มีน้ำบูดู แต่หรอยแรง!

เวลาพูดถึง “ข้าวยำ” เราจะนึกถึงข้าวที่คลุกรวมสารพัดผักสมุนไพร ใส่มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง บางที่ก็มีดอกดาหลา กระถิน ที่สำคัญคือต้องราดด้วยน้ำบูดูที่ปรุงรสออกหวานแหลมจึงครบสูตร แต่พอมาสั่ง “ข้าวยำ” ที่ภูเก็ต กลับไม่เป็นอย่างนั้น! ….จานที่ยกมาไม่มีน้ำบูดู ไม่มีกุ้งแห้ง… แต่พอเคี้ยวแล้วต้องอุทานว่า “หรอยแรง” เลยทีเดียว