ปั่นจักรยานเที่ยวเวียงกุมกาม

ในความเป็นจริงเชียงใหม่ก็มีสถานที่น่าปั่นจักรยานเที่ยวหลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือเวียงกุมกาม เมืองเก่าก่อนการเกิดของเมืองเชียงใหม่  เวียงกุมกามเป็นพื้นที่ชุมชนที่อยู่คู่กับโบราณสถาน ภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านคู่กับภาพโบราณสถานที่สื่อถึงความรุ่งเรืองในอดีต ใครที่เคยไปเที่ยวเมืองเก่าอย่างอยุธยา สุโขทัย และชอบบรรยากาศประมาณนั้น เวียงกุมกามก็ให้บรรยากาศนั้นเช่นกันแต่ต่างกันที่ตรงที่เวียงกุมกามนั้นร่มรื่นน่าปั่นจักรยานมากกว่า

คำว่า “เวียง” แปลว่าเมือง  กุมกามเป็นเวียงโบราณที่พญามังรายสร้างขึ้นก่อนการสร้างเมืองเชียงใหม่ หลังจากที่พระองค์ได้ย้ายศูนย์กลางอำนาจจากเวียงเชียงแสนที่เชียงรายลงมายังที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง และเข้าตีเมืองหริภุณไชย (ลำพูน)ได้แล้ว จึงตั้งเมืองใหม่ที่เวียงกุมกามในพ.ศ. 1830  ทว่าถูกแม่น้ำปิงกัดเซาะใน พ.ศ. 1839 พญามังรายจึงย้ายเมืองหลวงไปที่เชิงดอยสุเทพและทิ้งเวียงกุมกามไว้ นานวันตะกอนจากแม่น้ำปิงทับทมจนกลบมิด กระทั่งปี 2523 กรมศิลปกรได้ขุดแต่งและบูรณะจนเป็นอย่งาที่เห็นทุกวันนี้ 

ใครที่จะมาเที่ยวเวียงกุมกามแนะนำให้นำจักรยานมาหรือจะมาเช่าที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ใกล้กันเป็นอาคารศูนย์ข้อมูลและอาคารพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางปั่นในทริปนี้  ภายในศูนย์ข้อมูลและอาคารพิพิธภัณฑ์จะให้ความรู้และข้อมูลภาพรวมของพื้นที่เวียงกุมกามทั้งทางงด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 

จากนั้นก็ได้เวลาถีบสองล้อปั่นชมเวียงกุมกาม จากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวไปโบราณสถานวัดกู่ป้าด้อมซึ่งเหลือไว้ให้เห็นเพียงฐานวิหารและเจดีย์ ตั้งอยู่ลึกจากผิวดินปัจจุบันประมาณ 1 เมตร. แม้จะเหลือเพียงแค่ฐานแต่ก็ยังเห็นศิลปกรรมของฐานวิหารที่เป็นฐานปัทม์เป็นลักษณะคล้ายทรงนาฬิกาทรายที่จะมีเอวคอดตรงกลาง ภายในวิหารยังมีการพบฐานชุกชีด้วย  

จากนั้นพวกเราก็ปั่นมายังวัดช้างค้ำซึ่งต้องผ่านวัดธาตุน้อยที่เหลือวิหารและเจดีย์ ด้านหลังวิหารมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปที่เหลือเพียงหน้าตักขนาด 2 ม. ชมครู่หนึ่งก็ได้เวลาปั่นมาที่วัดช้างค้ำ 

วัดช้างค้ำหรือวัดกานโถม ตั้งอยู่ในกลางเวียง พงศาวดารเหนือระบุว่า พญามังรายโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1831 เหลือเพียงฐานวิหารและเจดีย์ที่เห็นถึงร่องรอยเป็นช้างค้ำแบบเจดีย์สุโขทัย  เชื่อกันว่าพญามังรายกัลปนาที่ดินและผู้คนจากเมืองหงสาวดีเป็นจำนวน 500 ครัวมาที่วัดช้างค้ำแห่งนี้  ในบริเวณใกล้กับมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่

จากนั้นพวกเราก็ปั่นไปดูเวียงกุมกามซึ่งก็เหลือเพียงฐานเช่นกัน แต่ชื่อวัดปรากฎอยู่ในตำนานชินกาลมณีปกรณ์ เรียกว่าวัดกุมกามทีปาราม ภายในวัดประกอบด้วยฐานของวิหารและเจดีย์แปดเหลี่ยม บริเวณวัดเป็นที่ตั้งของร้านค้าขายของที่ระลึก

บางวันอาจจะได้ยินดนตรีทำนองเพราะจากบรรดาพ่ออุ้ยแม่อุ้ยที่ใช้เวลาว่างมาเล่นดนตรีให้กับนักท่องเที่ยวฟัง จากนั้นไปไหว้พระที่วัดธาตุขาว นักท่องเที่ยวชอบมาแวะที่นี้เพื่อสักการะพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่ 

ทริปนี้สิ้นสุดที่วัดเจดีย์เหลี่ยม  ปรากฎในตำนวนเมืองเชียงใหม่และพงศาวดารเหนือว่า พญามังรายโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1831 รูปทรงเป็นรูปสามเหลี่ยมดูคล้ายปิระมิด เชื่อว่าเป็นอารามแห่งแรกที่พญามังรายโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญภาวนาของพระกัสสปเถระและสงฆ์สานุศิษย์ที่ธุดงค์มาถึงเวียงกุมกาม วัดนี้ได้รับการบูรณะหลายครั้งเช่นในปี พ.ศ. 2445 หลวงโยนกการพิจิตร ชาวพม่าเข้ามาทำไม้ในเชียงใหม่จนร่ำรวยเข้ามาบูรณะ  

เวลาสิ้นสุดทริปในช่วงเวลาเกือบเที่ยง จึงรีบหิ้วท้องไปหาร้านอาหารพื้นเมืองทาน นั้นคือร้านหลองข้าวลำ – ยุ้งข้าวล้านนา (Lanna ricebarn)  ใครอยากอ่านรายละเอียดของร้านนี้ ติดตามต่อไป

ติดต่อสอบถามเส้นทางเวียงกุมกาม ศุูนย์บริการนักท่องเที่ยว เวียงกุมกาม โทร. 0-5314-0322 หรือ http://www.wiangkumkam.com/

ขอบคุณ:การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, สายการบิน Thai smile 

Writer

เอกพงศ์ ศรทอง

เอกพงศ์ ศรทอง

Photographer

เอกพงศ์ ศรทอง

เอกพงศ์ ศรทอง

Relate Place

News

ททท. เปิดตัว “โครงการ 365 วัน มหัศจรรย์เมืองไทย เที่ยวได้ทุกวัน”

ททท. เปิดตัวกิจกรรมสุดว้าว ภายใต้ “โครงการ 365 วัน มหัศจรรย์เมืองไทย เที่ยวได้ทุกวัน” ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ตรงใจนักท่องเที่ยว

เริ่มแล้ว! ททท. จัดเต็มแสง เสียง กับงาน “วิจิตร 5 ภาค @กรุงเทพมหานคร” ดึงเทคโนโลยีล้ำสมัย สะท้อนศิลปะและความเชื่อคนไทย ใน 3 พื้นที่แลนด์มาร์ก กรุงเทพมหานคร
News

ททท. จัดงาน “วิจิตร 5 ภาค @กรุงเทพมหานคร”

เริ่มแล้ว! ททท. จัดเต็มแสง เสียง กับงาน “วิจิตร 5 ภาค @กรุงเทพมหานคร” ดึงเทคโนโลยีล้ำสมัย
สะท้อนศิลปะและความเชื่อคนไทย ใน 3 พื้นที่แลนด์มาร์ก กรุงเทพมหานคร

News

เปิดเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำ กรุงเทพมหานครถึงพระนครศรีอยุธยา

ททท. ร่วมกับหอการค้าไทย เดินหน้าเปิดเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำ กรุงเทพมหานครถึงพระนครศรีอยุธยา หวังกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ สู่การท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน