ททท. จัดพิธีมอบตราสัญลักษณ์ SHA Plus แก่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร และศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

เช้าวันนี้ (5 พฤศจิกายน 2564) นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ              การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มอบตราสัญลักษณ์ SHA Plus ให้แก่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร (วัดโพธิ์) โดยมี เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นผู้รับมอบ และ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร โดยมีนางสาวปุณณภา ปรีดีขนิษฐ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นผู้รับมอบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร และศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ

มาตรฐาน SHA Plus เป็นเครื่องหมายที่ได้รับการยกระดับจากมาตรฐาน SHA หรือ Amazing Thailand Safety & Health Administration ซึ่งเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยด้วยมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย ททท. กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมควบคุมโรค
กรมอนามัย และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันเพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้ปรับตัวและเตรียมความพร้อมให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และ
การใช้ชีวิตวิถีปกติใหม่ (New Normal)  ซึ่งผู้ประกอบการที่ลงทะเบียน SHA Plus จะต้องผ่านเกณฑ์ SHA และพนักงานต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบ 2 เข็มไม่ต่ำกว่า 70% ของพนักงานทั้งหมด โดยพนักงาน
ที่อยู่ในส่วนต้อนรับ หรือ Frontline จะต้องได้รับการฉีดวัคซีน 100% เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้ารับบริการและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ หลังการเปิดประเทศเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

โดยวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร (วัดโพธิ์) และศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
เป็นสถานประกอบการที่ได้รับรองมาตรฐาน SHA เรียบร้อยแล้วในปี 2563 และเป็นสถานประกอบการประเภท
แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับรองมาตรฐาน SHA Plus จากจำนวนที่ได้รับมาตรการในกรุงเทพมหานคร ทั้งสิ้น 510 แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564) โดยแบ่งประเภทสถานประกอบการที่สามารถขอรับมาตรฐาน SHA และ

SHA Plus ออกเป็น 10 หมวด ได้แก่ 1. ภัตตาคาร/ร้านอาหาร 2. โรงแรม/ ที่พัก และสถานที่จัดประชุม
3. นันทนาการและสถานที่ท่องเที่ยว 4. ยานพาหนะ 5. บริษัทนำเที่ยว 6. สุขภาพและความงาม 7. ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า 8. กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว 9. โรงละคร โรงมหรสพและการจัดกิจกรรม และ 10. ร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่นๆ

ทั้งนี้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร (วัดโพธิ์) อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชมและสักการะ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นต้นไป ในเวลา 08.00 – 16.30 น. โดยทางวัดฯ ขอความร่วมมือการลงทะเบียนโดย
แจ้งข้อมูลชื่อ-นามสกุล และเบอร์โทรศัพท์ หรือสแกน QR CODE เว็บไซต์ ไทยชนะ.com ณ จุดเข้า-ออก ทุกครั้งพร้อมทั้งตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าและสวมหน้ากากตลอดเวลาที่อยู่ภายในวัด และขอเชิญร่วมงานฉลองสมโภชรูปหล่อฤๅษีดัดตน 80 ท่า 82 ตน และ งานวันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 12 – 15 พฤศจิกายน 2564 รวมถึงเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เปิดใหม่ พิพิธภัณฑ์นวดไทย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
มีค่าเข้าชมท่านละ 200 บาท สำหรับคนไทยเข้าชมฟรี

สำหรับศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าสักการะได้ทุกวัน ตั้งแต่วันที่
1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาเช่นกัน ในเวลา 06.30 – 18.30 น.
และขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางของรัฐบาลในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยสามารถเข้าสักการะได้ฟรีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ผู้สนใจสามารถเดินทางสักการะขอพรวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร (วัดโพธิ์) และศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร รวมทั้งพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่ได้รับตราสัญลักษณ์ SHA Plus ก่อนหน้านี้ พร้อมเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้าชมได้อีกครั้ง

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer

WebMaster

WebMaster

Photographer

วิจิตร แซ่เฮ้ง

วิจิตร แซ่เฮ้ง

Relate Place

News

ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา

“การจินตนาการชีวิตความเป็นอยู่ในอดีตนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่นิทรรศการชุดใหม่นี้จะพาผู้คนทั่วโลกไปสำรวจวิถีชีวิตประจำวันของชาวสยามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำลำคลองมากมายหลายสายในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงกลางศตวรรษที่ 20”

Eat

ลิ้มเล่าซา ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาเต้นได้

จากซัวเถาโล้สำเภามาแบบเสื่อผืนหมอนใบ บุ้นแซ แซ่ลิ้ม เจ้าของสูตรลูกชิ้นปลาเต้นได้ ส่งไม้ต่อมายังรุ่นลูกคือตั่ว-พรพิมล บริบูรณ์ชัยศิริ ที่ยังคงรักษาคุณภาพและเคล็ดลับการทำลูกชิ้นปลาให้เนื้อแน่น กรอบ เด้งราวเต้นได้ กว่า 68 ปี ในตรอกเล็กๆ บนถนนทรงวาด ร้านลิ้มเล่าซาคึกคักไปด้วยลูกค้าขาประจำ บ้างอุดหนุนมาตั้งแต่รุ่นพ่อ จนตอนนี้หอบลูกจูงหลานมากินด้วย รสชาติกลมกล่อมคงเส้นคงวาทำให้กูรูนักชิมจากหลายสำนักต่างแวะเวียนมาให้รางวัลการันตีความอร่อย จนล่าสุดได้รางวัล ‘Michelin Bib gourmand ปี 2019’ ทีเด็ดอยู่ที่ลูกชิ้นปลาทำใหม่สดทุกวัน เลือกใช้เฉพาะปลาดาบยาวและปลาหางเหลือง ขูดเอาแต่เนื้อแล้วผสมเข้าด้วยกัน บด นวด ให้เป็นเนื้อเดียวจนได้ลูกชิ้นปลาแท้

Eat

ลมโชย แซ่บสะเด็ด…ล้ง 1919

“นายรอบรู้” มีร้านอาหารแห่งใหม่มานำเสนอ ซึ่งเป็นร้านน้องใหม่ล่าสุดของนักปั้นมือทอง หรือผู้จัดการดาราดังอย่างพี่เอ ศุภชัย ที่รวบรวมอาหารใต้ อีสาน เหนือ กลาง ออก ตก ที่แซ่บทุกรสชาติอร่อยครบทุกภาคมาไว้ที่ “ร้านลมโชย”

Eat

กุยช่ายหนุ่มผมยาว ปรากฏการณ์ขายไม่ถึง 20 นาที

นาทีนี้ไม่มีใครไม่รู้จักกุยช่ายหนุ่มผมยาวแห่งตลาดพลู ซึ่งโด่งดังในโลกโซเชียลฯ ด้วยปรากฏการณ์ขายกุยช่าย 500 กว่าลูกในเวลาเพียงไม่ถึงยี่สิบนาทีก็หมดเกลี้ยง ทุกเที่ยงครึ่ง พี่ง้วง-อธิศ เจ้าของฉายา ‘กุยช่ายหนุ่มผมยาว’ เข็นรถเข็นคันเล็กขนาดพอวางหม้อสแตนเลสใบใหญ่พร้อมกล่องใส่ถุงบรรจุซอสสูตรเข้มข้นเผ็ดหน่อยๆ จอดใต้สะพานข้ามแยกตลาดพลู ลูกค้าบางคนมารอต่อคิวก่อนกว่า 2 ชั่วโมง เพื่อให้ได้คิวลำดับต้นๆ บางคนมาเป็นวันที่ 3 เพิ่งถึงคิวลุ้นใจจดใจจ่อยิ่งกว่าลุ้นหวย ทีเด็ดเคล็ดลับของเจ้านี้คือพิถีพิถันทำแบบโฮมเมดทุกขั้นตอน มีเพียงกุยช่ายและเผือกขายมาตั้งแต่รุ่นพ่อ ลูกละ 50 สตางค์ ปรับราคาตามยุคสมัยจนมาถึงรุ่นพี่ง้วงคือลูกละ 10 บาท ปรับสูตรให้แป้งบางขึ้น แต่เหนียวนุ่ม ไส้แน่น รสกลมกล่อมเหมือนเดิม