นิทรรศการ People’s Gallery ประจำเดือนมีนาคม ที่หอศิลป์ กรุงเทพฯ

DISSECTION OF BREATHING

วันที่ : 03 มีนาคม 2565 – 27 มีนาคม 2565

สถานที่: People’s Gallery ห้อง P2

โดย สิทธิพนธ์ เลาะไชยสงค์

จังหวะและลีลาถูกเรียงร้อยผ่านจุด เส้นและสี ประทับลงบนพื้นที่ว่างของผืนผ้าใบ แสดงออกเป็นภาษาภาพเพื่อพรรณนาถึงจังหวะการเคลื่อนไหวของลมหายใจที่มีทั้งความหนักหน่วงและแผ่วเบา การประกอบกันของแต่ละจุดบนพื้นที่ว่าง ค่อยๆร้อยเรียงกลายเป็นเส้นและรูปร่างเพื่อแสดงถึงลักษณะของอารมณ์ที่แตกต่างกันตามช่วงของแต่ละเวลา องค์ประกอบในผลงานถูกกลั่นกรองมาจากภาพจำภายในจิตใต้สำนึกที่บ่งบอกถึงความคิดและความรู้สึกบางอย่างที่ไม่สามารถอธิบายเป็นภาษาพูด ให้กลายเป็นภาษาภาพ เพื่อทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในธรรมชาติที่ตนเป็น ต่างภาพต่างอารมณ์ ต่างบุคลิกต่างลักษณะของทัศนธาตุที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับกระบวนการการทำงานของสมองที่ถูกปรุงแต่งขึ้นในระหว่างการสร้างสรรค์  ประสบการณ์ที่สั่งสมมาจากการวิจัยทางศิลปะ และการทดลองทางเทคนิค มีส่วนอย่างมากในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมนามธรรมชุดนี้  จนในท้ายที่สุด นำมาสู่การปฏิบัติโดยการใช้เม็ดสีที่สามารถเรืองแสงในความมืด แสดงความสัมพันธ์กันของจังหวะการเต้นของหัวใจที่มีความสอดคล้องกันอย่างแยกไม่ออกกับอารมณ์และความรู้สึกในแต่ละช่วงเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกันไม่ว่าจะในที่มืดหรือที่สว่าง

ลวดลายในธรรมชาติ

วันที่ : 02 มีนาคม 2565 – 27 มีนาคม 2565

สถานที่: People’s Gallery ห้อง P3

โดย วิริยะพร จิตราภิรมย์

แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานนั้นเกิดจากความสนใจและความประทับใจในลวดลายซึ่งมีความงดงาม รวมถึงความจริง อันเป็นสัจธรรมทางพุทธศาสนา ที่อยู่ในภายใต้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ และการอยู่ร่วมกันของสรรพสัตว์ ซึ่งแสดงออกได้ว่า บ้านเมืองเรานั้นยังคงอุดมสมบูรณ์ โดยผ่านเทคนิค วิธีการในแบบจิตรกรรมไทยที่ทำสืบต่อมาแต่โบราณ มาสร้างสรรค์ในแบบฉบับของตนเอง

People's Gallery-in-mar5

ร่องรอยชีวิตของชาวนา

วันที่ : 02 มีนาคม 2565 – 27 มีนาคม 2565

สถานที่: People’s Gallery ห้อง P1

โดย นัฐวุฒิ  กองลี

แนวความคิดของนิทรรศการ

นิทรรศการชุดร่องรอยของชีวิตชาวนานี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการนำเสนอสภาวะการของชนชั้นกรรมาชีพชาวนาในปัจจุบันที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของบริบทและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่างๆซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาหรือผลกระทบต่างๆของชาวนาโดยมุ่งเน้นเป้าหมายเพื่อการรับรู้เชิงคุณค่าและการตีความหมายผ่านมุมมองทางสุนทรียภาพของภาพวิวทิวทัศน์​(ทุ่งนา)​ ในผลงานจิตรกรรมที่แฝงความงามภายใต้ความทุกข์ยากลำบากด้วยรูปแบบกึ่งนามธรรม

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer/ Photographer

WebMaster

WebMaster

Relate Place

Eat

Let’s make a better day at Dose Espresso Factory

ปัจจัยสำคัญในการไปเที่ยวสำหรับคุณนั้นมีอะไรบ้าง? ที่เที่ยวสวย ที่พักดี และขาดไม่ได้อย่างแน่นอนเลยก็คือ ร้านอาหารรสชาติเด็ด ที่จะทำให้ทริปสมบูรณ์แบบสุดๆ วันนี้ นายรอบรู้ นักเดินทาง จะพาคุณไปรู้จักกับอีกหนึ่งร้านที่เป็นทั้งคาเฟ่และร้านอาหาร บรรยากาศสุดชิค และเป็นอีกจุดเช็คอินห้ามพลาดใน จ. อุดรธานี

Eat

ภูมิใจการ์เด้น สวนลิ้นจี่โบราณย่านบางขุนเทียน

พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ นับวันยิ่งมองหาได้ยาก ต้นไม้ สวนป่า เปลี่ยนแปลงเป็นอาคารระฟ้า เตรียมรองรับเมืองที่กำลังเติบโต แต่ก็ใช่ว่าจะหาร่มไม้และร่องสวนไม่ได้ ที่ “ภูมิใจการ์เด้น” สวนลิ้นจี่โบราณอายุกว่า 100 ปี ริมคลองบางขุนเทียน ยังคงรักษาสวนและคลองไว้เป็นอย่างดี รวมถึงวิถีดั้งเดิมของคนในชุมชนด้วย

Shopping

“สะเร็นน่า”…น่าซื้อ หัตถกรรรมทรงคุณค่า

หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่ชื่นชอบเครื่องประดับหรือกำลังมองหาเครื่องประดับให้กับคนพิเศษสักคน เราขอแนะนำสินค้าเลื่องชื่อของจังหวัดสุรินทร์ คือ “ประคำ” สวย หรือเครื่องประดับประเภท “เครื่องเงิน” ที่ประดิษฐ์ขึ้นด้วยฝีมืออันประณีตของกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่อพยพเข้ามาตั้งแต่เมื่อครั้งยุคแรกตั้งเมืองสุรินทร์

Eat

ข้าวแกงเจ็กปุ๊ย (เจ๊เฉี๋ย) ตำนานความอร่อยกว่า 70 ปี

ข้าวแกงในตำนานย่านเยาวราช เสิร์ฟความอร่อยมาตั้งแต่รุ่นอากงหาบขาย มีเก้าอี้ไม้ทรงเตี้ยให้ลูกค้านั่งกินข้างหาบ ส่งต่อเคล็ดลับสู่รุ่นลูกคือเจ๊เฉี๋ย-ทัศนีย์ ธนัญชัยกุล ปัจจุบันดูแลโดยทายาทรุ่นที่ 3 คือเฮียนัท-ธรรมรัตน์ ธนัญชัยกุล จากหาบเปลี่ยนเป็นรถเข็น จากเก้าอี้ไม้กลายเป็นเก้าอี้พลาสติกสีแดงตั้งเรียงรายริมทางเท้า เก้าอี้แดงเด่นหน้าบานเฟี้ยมสีเขียวซีดที่เต็มไปด้วยใบปิดโฆษณาเลือนรุ่ยหลุดลอกตามกาลเวลา เป็นภาพสุดคลาสสิกของร้าน แต่ไม่กี่เดือนมานี้ทั้งรถเข็นและเก้าอี้ขยับเข้าในซอย ตั้งหน้าบ้านฝั่งตรงข้ามประตูวัดมังกรกมลาวาส(วัดเล่งเน่ยยี่) แม้จะหลบมุมแต่ลูกค้าก็ยังเข้าคิวจับจองเก้าอี้ สมกับฉายา ‘ข้าวแกงเก้าอี้ดนตรี’ “หมู-เชียง เนื้อ-เชียง ปู-เชียง ไก่-โล้ ปู-โล้…” คือเมนูที่มีออเดอร์ตลอดวัน มีแกงกะหรี่หมู แกงกะหรี่เนื้อกินคู่กุนเชียงเป็นเมนูเด่น อีกทั้งแกงเขียวหวานไก่ เขียวหวานลูกชิ้น ไข่พะโล้อบ ผัดปู