จรัสLight สัญจร: สงขลาเมืองเก่า

ตั้งแต่อดีต ถึง ปัจจุบัน เทคโนโลยี การขยายตัวของเมือง ได้นำการพัฒนาเดินทางเข้ามาในชุมชนและนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าและขยายตัวของชุมชน ทั้งในด้านขนาดของชุมชนเมือง การขยายจำนวนประชากร รวมถึงนำพาความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภค ในอดีตนั้น การพัฒนาของชุมชนเป็นไปอย่างเชื่องช้าและค่อยเป็นค่อยไป แต่เมื่อมีการพัฒนาเรื่องระบบอุตสาหกรรม เทคโนโลยี ถึงจุดหนึ่ง ทำให้กระบวนการการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น  ชุมชนที่ไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ อาจส่งผลให้เกิดการปะทะกันระหว่างอดีตและปัจจุบัน สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงในกระบวนการการพัฒนานั้น  คือการรักษามรดกทางวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมอันมีคุณค่าคู่ควรแก่การอนุรักษ์ (High Conservation Values) เอาไว้ พร้อมกับรับสิ่งใหม่ๆเข้ามาอย่างมั่นคง 

ประเด็นเรื่องการใช้พลังงานก็เป็นประเด็นที่สำคัญประเด็นหนึ่ง เมื่อมีการพัฒนาเป็นเมือง (urbanization) ความต้องการทางด้านพลังงานย่อมเพิ่มขึ้นตามมา ดังนั้น เพื่อเตรียมตัวรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ ในฐานะผู้ดำเนินงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม หอศิลปกรุงเทพฯ จึงได้นำเสนอโครงการที่จะทดลองหาความเป็นไปได้ในการคำนึงถึงพื้นฐานการใช้ชีวิต การเป็นชุมชนที่พึ่งพาตัวเอง และ สร้างการพัฒนาด้านพลังงานไปพร้อมๆ กัน โดยจะสร้างความเชื่อมโยงพื้นที่ทางประวัตศาสตร์เดิมกับชุมชนในปัจจุบัน และแนวคิดในการใช้พลังงานทางเลือก เพื่อสร้างความยั่งยืนทางพลังงานที่มีความกลมกลืนไปกับสภาพของเมือง

นิทรรศการ ‘จรัส Light สัญจร: สงขลาเมืองเก่า’ เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการ ‘จรัส: แสงสร้างสรรค์’ ริเริ่มและดำเนินการโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ผ่านงานศิลปะ และกิจกรรมทางวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ ตลอดปีพ.ศ. 2562 ไปจนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

จากมุมมองของเมืองที่วิวัฒน์ไปกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยอย่างต่อเนื่องนี้ โครงการ จรัส Light สัญจร: สงขลาเมืองเก่า จึงได้โอกาสนำนิทรรศการมาสัญจร เพื่อนำเสนอทางเลือกและความคิดสร้างสรรค์อื่นๆ เพื่อเพิ่มสีสันและความหลากหลายอย่างยั่งยืนให้กับพื้นที่แห่งนี้ โดยเฉพาะในเรื่องพลังงานไฟฟ้าทางเลือก โดยได้นำงานของศิลปิน 3 ท่าน คือ นพไชย อังคะวัฒนพงศ์, วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ และกฤช งามสม ที่สร้างสรรค์โดยใช้พลังงานส่วนหนึ่งมาจากแผงโซล่าร์เซลล์ หลังจากได้เข้าร่วมในเทศกาล ‘จรัส Light’ บริเวณลานด้านหน้า หอศิลปกรุงเทพฯ สัญจรมาจัดแสดงที่สงขลาในครั้งนี้ รวมทั้งข้อมูลความรู้ และภาพถ่ายโดยช่างภาพอีกหลายท่านที่ร่วมกันขยายความเข้าใจและความสำคัญของพลังงานในอนาคตจากแสงอาทิตย์ ที่เคยจัดแสดงที่ห้อง จรัส LAB ที่หอศิลปกรุงเทพฯ ในปีที่ผ่านมา 

การเติบโตของเมืองเดิมกับพัฒนาการของการใช้พลังงานที่สะอาดและยั่งยืนเป็นเรื่องที่น่าใคร่ครวญ และทดลองความเป็นไปได้ นี่เป็นอีกแนวคิดหนึ่งของการสัญจรโครงการในครั้งนี้ เป็นทีทราบกันดีในระยะที่ผ่านมาว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหินและน้ำมันดิบ) จำนวนมหาศาลถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในกระบวนการผลิตไฟฟ้า และก็มีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้น เป็นตัวการสำคัญในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ส่งผลให้เกิดสภาวะเรือนกระจก นำมาซึ่งวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติที่แปรผันรุนแรงมหาศาล อย่างที่ประสบกันทั่วโลกในหลายทศวรรษที่ผ่านมา

จรัส Light สงขลา_19

โลกของเรารับรังสีอาทิตย์ (แสงแดด) ราว 73,000 เทอราวัตส์ หรือ 10,000 เท่า ของความต้องการพลังงานในแต่ละวัน แสงอาทิตย์จึงเป็นแหล่งพลังงานทดแทนสำคัญ ที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยอาศัยเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ทำให้โลกในปัจจุบันหันมาสนใจและพัฒนานวัตกรรมในการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่เป็นพลังงานสะอาด ใช้ได้ไม่มีวันหมด และส่งผลกระทบต่อโลกน้อยกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล

นี่จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่เราจะเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้เรื่องพลังงาน และพลังงานทดแทน ที่กำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านการได้มาซึ่งพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน เพื่อกระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญในความมั่นคงและยั่งยืนของการใช้พลังงานไฟฟ้า อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการขับเคลื่อนสิ่งต่างๆ ในสังคมโลก

จากโครงการนี้ หอศิลปกรุงเทพฯ หวังสร้างแนวคิด ความตระหนักและทัศนคติที่ดีให้กับชุมชนในเรื่องการใช้พลังงานทางเลือกที่ยั่งยืนและเป็นจริง ผ่านกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อสร้างพื้นที่ตัวอย่างในการใช้พลังงานทางเลือกในชีวิตประจำวัน และเพื่อสร้างพื้นที่ตัวอย่างในการนำสุนทรียศาสตร์มาเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ (เก่า) กับ เทคโนโลยีพลังงานทางเลือก (ใหม่) และเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายที่ทำงานเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก เข้ากับเครือข่ายศิลปิน และเครือข่ายชุมชนต่อไป

จรัสLight สัญจร: สงขลาเมืองเก่า จัดแสดงที่บ้านสงครามโลก ถนนนครนอก และ ลานทางเดิน ท่าน้ำศักดิสิทธิ์พิทักษ์ สงขลา ระหว่างวันที่ 11 กันยายน – 11 ตุลาคมนี้

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer/ Photographer

Webmaster

Webmaster

Relate Place

Travel

หลีเป๊ะ อาดัง-ราวี : สามจุดสุดฟินทะเลสตูล

เกาะหลีเป๊ะ เกาะอาดัง-ราวี รวมถึงหมู่เกาะดง เป็นเส้นทางการท่องทะเลสตูลที่ถือว่าเป็นที่สุดของที่สุดสำหรับคนเลิฟทะเล หมู่เกาะแถบนี้มีบริการด้านการท่องเที่ยวครบครัน รวมทั้งจุดต่อเรือไป-กลับท่าเรือปากบาราหรือเกาะลังกาวีของมาเลเซีย ฤดูร้อนคนรักทะเลหลายคนมาพักผ่อนที่นี่กันจนนับครั้งไม่ถ้วนก็มี

News

เย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์ มุกดาหาร 2019

เย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์ มุกดาหาร 2019 สงกรานต์ปีนี้หากใครยังไม่มีแพลนไปไหน ไปสาดความสนุก เพิ่มความฟิน พร้อมกับการสืบสานประเพณี ที่มุกดาหาร เมืองรองสุดชายแดนริมน้ำโขง มาในชื่อธีม “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ MUK-SAVAN Songkran Fun & Fin 2019” ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ในวิถีชาติพันธุ์ ณ หาดมโนภิรมย์ ต.ชะโนด อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร ระหว่างวันที่ 12-16 เมษายน 2562

Eat

ไปอร่อยที่สุโขทัยกับ “ร้านป้าทรง”

ร้านธรรมดาบรรยากาศไม่เลิศหรู แต่ชาวศรีสัชนาลัยต่างแนะนำให้มาลิ้มลองสารพัดเมนูที่ร้าน “ป้าทรงซาว”คำเรียกขาน “ป้าทรงซาว” มาจากเมื่อแรกเริ่มที่ป้าทรงขายอาหารตามสั่งในราคาเพียง  20 บาท ( 20 ภาษาเหนืออ่านว่าซาว)

ลำพูน
North

ลำพูน

ลำพูนเป็นจังหวัดเล็กๆ ภายในตัวเมืองมีการรักษาอาคารบ้านเรือนตึกแถว วัดโบราณไว้ได้มาก อาณาจักรหริภุญไชยซึ่งคือบริเวณเมืองลำพูนในปัจจุบัน ก่อตั้งขึ้นก่อนการสร้างเมืองเชียงใหม่ ดังนั้นลำพูนจึงมีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุดในล้านนา มีวัดวาอารามและโบราณสถานหลายแห่งเหมาะแก่การเที่ยวชม เช่น วัดพระธาตุหริภุญชัย วัดจามเทวี เป็นต้น