
เช็คอิน..แม่แจ่ม ช่วงปลายฝน
“นายรอบรู้” ตั้งกล้องล็อกมุมเก็บภาพความงาม ณจุดชมทะเลหมอกบ้านบนนานับเป็นจุดไฮไลต์ของการชมทะเลหมอกที่ต้องมาสัมผัส
“ยำแตร็ยปรัย” เมนูสุดแซ่บของคนเซาะกราว>>>ยำอะไร ชื่ออ่านย๊ากยาก แต่ใครจะรู้ว่าเนี่ยแหละ สุดยอดอาหารประจำถิ่นบุรีรัมย์เขาเลย!
ยำแตร็ยปรัย ประยุกต์มาจาก “กุ้งจ่อม-ปลาจ่อม” เป็นอาหารพื้นบ้านที่คนเซาะกราวชาวบุรีรัมย์ทำกินกันก้นครัวมานานแล้ว (เซาะกราว เป็นภาษาเขมรแปลว่า “คนบ้านนอก” กองเชียร์ทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ชอบเรียกตัวเองว่า กองเชียร์เซาะกราว) โดยเฉพาะแถบอำเภอประโคนชัยที่มีกุ้งจ่อมขึ้นชื่อมาก หน้าตายำแตร็ยปรัยคล้ายๆ น้ำพริกปลาร้าสับ แต่มีรสชาติและกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใครชอบทางนี้คงหลงรัก …
1.ย้อนเวลาสู่ดินแดนสัตว์โลกล้านปีที่ “ศูนย์วิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง”
ศูนย์วิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า เป็นสถานที่ค้นพบฟอสซิล “ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” ซากไดโนเสาร์กินพืชตัวแรกที่พบในประเทศไทยและได้รับพระราชานุญาตให้อัญเชิญ พระนามาภิไธยของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มาเป็นชื่อชนิด
“นายรอบรู้” ได้ข้าวเหนียวร้อนๆ จิ้มกินกับผักพื้นบ้าน ก็กินได้เป็นกระติบโดยแทบไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว แตร็ยปรัย (ออกเสียงคล้ายๆ ตรัย-ปรัย) เป็นภาษาแขมร์ “แตร็ย” แปลว่า ปลา ส่วน “ปรัย” แปลว่าเค็ม รวมแล้วจึงหมายถึงปลาหมักเค็ม แตร็ยปรัยต่างจากปลาร้าตรงที่ปลาร้าจะทำจากปลาตัวใหญ่และหมักนาน แต่แตร็ยปรัยหรือปลาจ่อมทำจากปลาเล็กปลาน้อยพวกปลาซิว ปลาอีก ซึ่งมีมากในฤดูน้ำหลาก นำมาทำความสะอาด ขยำคลุกกับเกลือสินเธาว์แล้วหมักในภาชนะปิด เช่น ไหหรือโอ่ง แล้วหมักเพียง 2-3 วัน
จากนั้นจึงผสมกับข้าวคั่ว หมักต่อไปประมาณ 5-6 วัน ก็เปิดมารับประทานได้ จะได้กลิ่นหอมข้าวคั่วและรสเค็มเปรี้ยวของปลา ส่วนกุ้งจ่อมก็ทำเหมือนกัน เพียงเปลี่ยนจากปลาเป็นกุ้งฝอยน้ำจืด ว่ากันว่ากุ้งฝอยทำแล้วหอมอร่อยกว่าปลา ต่อมาเปลี่ยนมาใช้น้ำปลาหมักแทนเกลือ เพราะให้รสชาติที่ละมุนกว่า ไม่เค็มโดด และยังทำให้กุ้งมีสีสันสวยกว่า ไม่คล้ำเหมือนหมักด้วยเกลือ ชาวบ้านจึงทำต่อกันมาเรื่อยๆ นับเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารที่ทำให้มีของอร่อยไว้กินนานๆ
ยำแตร็ยปรัยสูตรดั้งเดิม ทำโดยนำกุ้งจ่อมหรือปลาจ่อมมาคลุกเคล้ากับเครื่องสมุนไพร ทั้งตะไคร้ ใบมะกรูดซอย พริกซอย หอมซอย คลุกให้เข้ากัน จะได้ยำรสเค็มปนเปรี้ยวจากกุ้งจ่อม หอมเครื่องสมุนไพร กินกับข้าวร้อนๆ เจริญอาหารนักแล ถ้าไม่ชอบกินของดิบ เขาก็จะนำส่วนผสมทั้งหมดไปผัด ใส่หมูสับ ใส่ไข่ กลายเป็น “กุ้งจ่อมทรงเครื่อง” ที่กินง่ายขึ้น บางสูตรก็เติมน้ำตาลมะพร้าว น้ำมะขามเปียก เพิ่มรสเปรี้ยวหวาน กลมกล่อมมากขึ้น และตักใส่กระปุกเก็บเข้าตู้เย็นไว้กินได้นานขึ้น ในช่วงหลังๆ กุ้งฝอยที่หาได้ในธรรมชาติลดลง จึงทำให้เมนูพื้นถิ่นเหล่านี้หากินยากขึ้น หลายบ้านก็เลิกทำกันไป เป็นโอกาสดีที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดโครงการ อาหารถิ่น ตะลุยกินทั่วไทย เน้นการไปเที่ยวไปลองชิมอาหารเฉพาะถิ่นของจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ชวน “นายรอบรู้” มาลองลิ้มชิมยำแตร็ยปรัย ของดีของบุรีรัมย์ที่หาชิมยากแล้ว โดยเชิญเชฟแนทตี้ คุณนภาวดี พยัคฆโส เจ้าของเพจ Natty Cake ที่โด่งดังในโลกออนไลน์ มาสอนการปรุงยำแตร็ยปรัยสูตรดั้งเดิม และยำแตร็ยปรัยทรงเครื่องที่กินได้ง่ายขึ้น ที่อุทยานดอกไม้เพลาเพลิน อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
นอกจากนี้เชฟยังสอนทำสปาเก็ตตียำตรัยปรัย อาหารฟิวชันไทยประยุกต์ที่อร่อยเกินคาด โดยนำกุ้งจ่อมมาผัดกับเครื่องสมุนไพร ทั้งหอมแดง ตะไคร้หั่นฝอย กระเทียมสับ พริกขี้หนู ใบมะกรูด พริกแห้ง ให้เข้ากันโดยใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันรำข้าว เมื่อผัดจนหอมแล้วนำสปาเก็ตตีเส้นเล็ก หรือ Angel Hair ลงไปผัด โรยด้วยกุ้งฝอยที่ชุบแป้งทอดจนกรอบ จะได้สปาเก็ตตีกุ้งจ่อที่มีรสเปรี้ยวนิดๆ เผ็ดหน่อยๆ เคี้ยวมัน หอมสมุนไพร รสจัดถูกปากคนไทย ใครได้ลองเป็นติดใจกันทั้งนั้น มาถึงบุรีรัมย์ทั้งที ก็น่าจะได้กินอาหารแบบคนเซาะกราวแท้ๆ ไปร้านไหนอย่าลืมลองสั่งเมนูยำแตร็ยปรัย หรือกุ้งจ่อมทรงเครื่อง ถ้ายังนึกไม่ออกว่าจะไปหากินได้ที่ไหน “นายรอบรู้” ขอแนะนำร้านบ้านชายน้ำ ในอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งทำยำเตร็ยปรัยได้รสแซ่บดีทีเดียว อย่าลืมไปลองกัน.
ขอขอบคุณ : งานสื่อมวลชนสัมพันธ์ในประเทศ กองประชาสัมพันธ์ในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเต็มงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 ณ นครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย โดยผนึกกำลังพันธมิตรอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ยกทัพ Soft Power ของไทยเสนอแก่นักท่องเที่ยวออสเตรเลียอย่างใกล้ชิด เพื่อมุ่งสร้างความเชื่อมั่นและแรงบันดาลใจ
สู่การตัดสินใจเดินทางมายังประเทศไทย พร้อมตอกย้ำแบรนด์ Amazing Thailand ควบคู่กับแนวคิด Responsible Tourism ฉายภาพมิติใหม่ของท่องเที่ยวไทยที่พร้อมส่งมอบประสบการณ์ Amazing Experience อันเปี่ยมด้วยคุณค่า และความหมายในทุกช่วงเวลา
นางสาวปาริชาติ บุญคล้าย ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า การจัดงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ถือเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ “ปีท่องเที่ยวไทย 2566”
ตามแคมเปญ “Visit Thailand Year 2023, Amazing New Chapters” โดย ททท. มุ่งมั่น กระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลกมายังประเทศไทย เพื่อค้นพบมุมมองใหม่ของการท่องเที่ยวไทย โดยเฉพาะการท่องเที่ยว
เชิงประสบการณ์ (Experience-based-Tourism) ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เติมพลัง เติมความหมายบทใหม่ของชีวิต ผ่านสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว รวมถึง Soft Power of Thailand และการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ เพื่อยกระดับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยภายใต้แบรนด์ Amazing Thailand ให้แข็งแกร่งและยั่งยืน
สำหรับหมุดหมายสุดท้ายของงาน “Amazing Thailand Fest 2023” ครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 ณ the Southern Forecourt, Overseas Passenger Terminal, Circular Quay West ใจกลางนครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย โดยได้รับความร่วมมือจากทีมประเทศไทย ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงแคนเบอร์รา ผู้ประกอบการร้านอาหารไทย ธุรกิจนำเที่ยว และหน่วยงานพันธมิตร ผนึกกำลังออกแบบประสบการณ์ Amazing Experience ของประเทศไทยผ่านพลังแห่ง Soft Power มานำเสนอให้ชาวออสเตรเลียสัมผัสอย่างใกล้ชิด
พิธีเปิดงาน “Amazing Thailand Fest 2023 in Sydney” ในวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ได้รับเกียรติจาก นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรีเลีย นางสาวสุกัญญา สิริกาญจนากุล ผู้อำนวยการภูมิภาคอาเซียน เอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้ ททท. นางสาวปาริชาต บุญคล้าย ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ททท. ร่วมเปิดงาน ภายในงาน ททท. เนรมิตบรรยากาศแห่งความรื่นเริงภายใต้ธีมงานเทศกาลประเพณีไทย F-Festival ประดับด้วยธงราว ตุง โคม และกระทงหลากสี พร้อมจัดพื้นที่จำลองบรรยากาศสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม โดดเด่น เช่น หาดทรายและชายทะเลไทย ก่อนจะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้นักท่องเที่ยวผ่าน
Soft Power ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย 4 ภาค อาทิ รำไทย
สี่ภาค โขน โนรา เซิ้งอีสาน รำกลองยาว และการแสดงสุดพิเศษศิลปะการต่อสู้แม่ไม้มวยไทย F-Fight มรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังได้มีส่วนร่วมลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในโซนสาธิต ภายใต้แนวคิด Responsible Tourism นำเสนอกิจกรรมทำกระเป๋าสานจากขยะอวนทะเล จาก จ.กระบี่ และกิจกรรมการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นของที่ระลึกจาก จ. ภูเก็ต รวมทั้งกิจกรรมสาธิตทางวัฒนธรรม ได้แก่ การวาดร่ม การเพ้นท์หน้ากากผีตาโขน และ F-Fashion เชิญชวนผู้เข้าร่วมงานแบ่งปันและโพสต์ประชาสัมพันธ์งาน Amazing Thailand Fest 2023 บนโซเชียลมีเดีย เพื่อรับของที่ระลึกกางเกงช้างแฟชั่นยอดฮิตของไทย
อีกหนึ่งไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด คือ การนำเสนอวัฒนธรรมอาหาร F-Food กับ 8 บูธร้านอาหารไทยในซิดนีย์
จัดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มต้นตำรับไทย ประกอบด้วย ร้านชาติไทย (หมูพวง ส้มตำ ปากหม้อ ลาบไก่ ไส้กรอก
ไก่ย่างไม้) ร้าน Dodee Paidang Haymarket (ก๋วยเตี๋ยวต้มยำกุ้ง ปาท่องโก๋ เกี๊ยวทอด กล้วยทอด ไก่ทอด) ร้าน Thai Riffic Express (ผัดไทย โรตี ทาโก้ สะเต๊ะ) ร้าน Show Neua (ข้าวเหนียวหมูทอดน้ำพริก ข้าวซอย น้ำเงี้ยว ขนมจีน
แกงปู) ร้านพริกไทย (ผัดผักรวมเม็ดมะม่วง มัสมั่นเนื้อ ขาหมู แกงเขียวหวาน ผัดกะเพรา ผัดซีอิ๊ว) ร้าน Tawandang @ George St (ส้มตำ ไก่ย่าง ข้าวเหนียว) ร้าน Sabuy Express (ทุเรียน ขนุน ส้มโอ สับปะรด) ร้าน Top Class (มะพร้าว)
ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีบูธผู้ประกอบการพันธมิตรด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์
จัดกิจกรรมสาธิตเพ้นท์หน้ากากรูปสัตว์, สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (Thai Trade) ณ นครซิดนีย์
จัดกิจกรรมชิมผลไม้ไทย, สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงแคนเบอร์รา จัดกิจกรรมชิมเนื้อเป็ดปรุงสุกซึ่งมีการนำเข้าเพื่อจำหน่ายในออสเตรเลียเป็นครั้งแรก, สายการบินไทย, ไทยแอร์เอเชีย และต่อยอดแนวคิด Responsible Tourism เสนอเส้นทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ 20 เส้นทาง รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการตลาด “BOOK NOW, GET 80 AUS NOW” จัดโปรโมชั่นจองที่พักที่ส่งเสริมความยั่งยืนในประเทศไทยภายในงาน ผ่านเว็บไซต์ agoda รับส่วนลด 80 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราคา 2,000 บาท) ทั้งนี้ การจัดงานยังคง DNA ของ ททท. ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมด้วยการลดปริมาณการใช้พลาสติก เลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ย่อยสลายได้ มีการวางระบบการคัดแยกขยะ และตระหนักถึงการใช้วัสดุตกแต่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
นอกจากนี้ ททท. ได้จัดกิจกรรม “Amazing Thailand Fest Media Briefing” ในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ณ Watersedge at Campbell’s Stores, the Rocks นครซิดนีย์ โดยเชิญพันธมิตรผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและสื่อมวลชนในพื้นที่ จำนวน 40 ราย ร่วมอัปเดตสถานการณ์ท่องเที่ยวไทย รวมถึงสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวของไทย และต่อยอดจัดกิจกรรม “Amazing Thailand Fest to Fam Trip Australia to Thailand” นำคณะสื่อมวลชน influencers bloggers จากเครือรัฐออสเตรเลีย เดินทางสัมผัสประสบการณ์ Amazing Experience ทดสอบสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวไทย ใน 3 จุดหมายปลายทางหลัก ได้แก่ มาสัมผัส กรุงเทพฯ เชียงราย และกาญจนบุรี- สมุทรสงคราม ระหว่างวันที่ 20 – 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
ตลาดนักท่องเที่ยวออสเตรเลียเป็นตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีนัยยะสำคัญต่ออัตราการเติบโตของตลาดระยะใกล้ จากสถิติปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีโอกาสต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียแล้วกว่า 336,688 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 กรกฎาคม 2566 มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียเดินทางเข้าไทย
385,100 คน เทียบเท่าร้อยละ 85 ของสถิติในปี 2562 และจุดหมายปลายทางยอดนิยม 5 อันดับ ได้แก่กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต เกาะสมุย (สุราษฎร์ธานี) พัทยา (ชลบุรี) และกระบี่ ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Millennials
/ Gen Y Digital nomad Family และ Health-conscious รวมทั้ง เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพที่ตระหนักถึงการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน สอดคล้องกับกลยุทธ์พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปีท่องเที่ยวไทย ทั้งนี้ ททท. วางเป้าหมายกระตุ้นตลาดนักท่องเที่ยวออสเตรเลียเข้าเที่ยวไทย 522,000 ภายในสิ้นปีนี้
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
“นายรอบรู้” ตั้งกล้องล็อกมุมเก็บภาพความงาม ณจุดชมทะเลหมอกบ้านบนนานับเป็นจุดไฮไลต์ของการชมทะเลหมอกที่ต้องมาสัมผัส
ถ้ามาแม่แจ่มตรงงานบุญจุลกฐิน ราวเดือนพฤศจิกายน จะสัมผัสถึงพลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่ งานจุลกฐินของแม่แจ่มจะเรียกว่า “กฐินแล่น” หรือ “กฐินละเอียด” มีประเพณีว่าต้องรีบทอผ้ากฐินสำหรับใช้ทอดให้เสร็จในวันเดียว จึงต้องใช้ผู้คนชำนาญในการทอผ้าจำนวนมาก
จะมีร้านกาแฟสักกี่ร้านที่ได้บรรยากาศเช่นนี้ ตั้งอยู่ใต้ถุนบ้านมีทุ่งนาอยู่ด้านหน้า รอบๆบ้านก็เป็นสวนครัวที่เก็บทำอาหารเสิร์ฟลูกค้า
ขอเชิญชวนกลุ่มนักสร้างสรรค์ นักศึกษา หรือประชาชน เข้าร่วมแข่งขันการออกแบบแฟชั่นและเครี่องแต่งกายด้วยผ้าไทย ภายใต้แนวคิด “ผ้าไทยใส่ได้ทุก GEN”
© 2018 All rights Reserved.