ห้ามผู้หญิงเข้า (ศาสนสถาน) ทำไม?

ป้าย“ห้ามผู้หญิงเข้า “มักเห็นอยู่บ่อยครั้งเวลาไปตามทางเข้าศาสนสถาน ผู้หญิงหลายคนบ่นถึงไม่เท่าเทียมและผุดคำถามว่าว่าทำไมผู้ชายเข้าได้แล้วผู้หญิงเข้าไม่ได้? นั้นคือการปะทะกันของความคิดสมัยใหม่ที่เน้นความเท่าเทียมทางเพศ กับธรรมเนียมที่ปฎิบัติผ่านความเชื่อที่ยึดถือมาตั้งแต่อดีต “นายรอบรู้” จึงอยากพาไปดูเหตุทางความเชื่อว่าทำไม สถานศักดิ์สิทธิ์ของศาสนสถานจึงห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าไป

ศาสนสถาน

อย่างแรกเราต้องทำความเข้าใจบทบาททางศาสนาก่อนว่าส่วนใหญ่จะยกย่องเพศชายเป็นใหญ่ น้อยมากที่จะเห็นศาสดาเป็นผู้หญิง ทั้งที่ก่อนที่จะเกิดศาสนาเหล่านี้ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ผู้หญิงเคยเป็นใหญ่มากก่อน เพราะเพศหญิงเป็นผู้ให้กำเนิดบุตร กำหนดความอุดมสมบูรณ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เพศหญิงเป็นใหญ่ ก่อนที่ศาสนาต่างถิ่นอย่างฮินดู พุทธ หรืออิสลามซึ่งนำคติความเชื่อที่ผู้ชายเป็นใหญ่จะเข้ามา ลดบทบาทของผู้หญิงลง

ศาสนสถานคือพื้นที่ศักด์สิทธิ์ของศาสนา และบางศาสนายังยึดคติว่าผู้หญิงคือเพศที่เป็นภัยคุกคามต่อความศักดิ์สิทธิ์นั้น เช่นนักบวชห้ามแตะตัวผู้หญิง ผู้หญิงเป็นภัยต่อการคุกคามการบรรลุทางศาสนา ล้วนแต่เป็นการกดขี่ผ่านความคิด แต่ก็มีตัวอย่างของความย้อนแย้งของความกดขี่เพศหญิงให้เห็นอยู่ นั้นคือ ประจำเดือนในเพศหญิง

ความเชื่อของชาวพุทธในประเทศไทยเชื่อว่าประจำเดือนเป็นของสกปรก หลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จึงห้าม จริงๆความเชื่อเรื่องการประจำเดือนเป็นวิธีคิดแบบฮินดูที่แทรกซึมเข้าสังคมพุทธในบ้านเรา แต่แปลกที่ประจำเดือนกลับมีเหนืออำนาจในทางไสยศาสตร์ ที่สามารถทำความศักดิ์สิทธิ์ของไสยศาสตร์ให้เสื่อมลงได้แสดงว่าเพศหญิงคือเพศอยู่เหนือความศกดิ์สิทธิ์ หรือไม่?

การอ้างเหตุเรื่องประจำเดือนทำลายความศักดิ์สิทธิ์ทำให้วัดหลายแห่งทางภาคเหนือภาคอีสานบางส่วนห้ามผู้หญิงเข้า ตามความเชื่อว่ากันว่า พระธาตุเจดีย์ในสมัยโบราณฝังตัวพระธาตุไว้ใต้ดิน การเข้าไปของผู้หญิงจะทำให้พระธาตุเหล่านั้นเลื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลง แม้บางคนบอกว่าเป็นกุศโลบายของคนโบราณที่ไม่อยากให้ผู้หญิงที่มีประจำเดือนไปเข้าไป เพราะจะทำให้เลอะเทอะ ไม่เหมาะสมกับศาสนาศักดิ์สิทธิ์ก็ยังเป็นข้อถกเถียงกันต่อไป แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นสำหรับผู้หญิงใดให้กำเนิดบุตร 7 คน และทั้ง 7 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุมาแล้ว

>>>นอกจากนี้ความเชื่อของชาวล้านนายังห้ามผู้หญิงเข้าไปในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

>>>ห้ามเก็บพืชผักในระหว่างที่มีประจำเดือน เพราะเชื่อว่าทำให้ผักแห้ง เฉาตายลง

>>>ห้ามกินผลไม้แฝด เพราะจะทำให้มีลูกแฝด คลอดยาก

ทั้งหมดล้วนเป็นความเชื่อที่บางส่วนอาจวางอยู่บนข้อเท็จจริง แม้บางเรื่องในสังคมของพวกเราอาจมองว่าเป็นเรื่องความเชื่อที่ไม่มีเหตุผล แต่ในการท่องเที่ยวนั้น พวกเราควรให้การเคารพให้กฎในสังคมที่เราไปเที่ยวด้วย ควรศึกษาข้อห้ามและรู้ถึงที่มาของความเชื่อนั้นว่าเป็นมาอย่างไร

Writer

เอกพงษ์ ศรทอง

เอกพงษ์ ศรทอง

Relate Place

Eat

หนมดู@สงขลา

“หนมดู๋” คืออะไร หนมดู๋มาจากไหน? ตอนนี้กำลังสงสัยกันอยู่ใช่ไหมคะ คำว่า ขนมดู๋ คือ ชื่อขนมสำเนียงคนใต้ แต่สำหรับคนภาคกลางที่ไม่คุ้นชินกับคำนี้ จะเรียกกันว่า “ขนมดู” ขนมดูเป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดสงขลา

News

Hua Hin International Jazz Festival 2020

ภายใต้บรรยากาศสุดโรแมนติกบนชายหาด พร้อมฟังดนตรีสดเพราะๆและเลือกช็อปของที่ระลึกจากศิลปินภายในงาน รวมถึงอาหารหลากหลายเมนูกับงานเทศกาล Hua Hin International Jazz Festival 2020เพื่อเป็นการมอบความสุขส่งท้ายปี

Travel

“สานผักตบ งมสมหวัง” เที่ยววิถีชุมชนสุพรรณบุรี

หากพูดถึงเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองรอง จังหวัดสุพรรณบุรี ถือเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่น่าสนใจ เพราะอยู่ใกล้กรุงเทพฯ มาก ขับรถแค่ชั่วโมงเดียวก็ถึง จะไปเช้าเย็นกลับ หรือขับรถไปเที่ยวแบบค้างคืนก็สนุกแบบครบรส
ทริปนี้ “นายรอบรู้” จะพาไปสนุกกับการสานผักตบ ต่อด้วยการงมสมหวัง พร้อมทั้งสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนเก่าแก่ของ จ. สุพรรณบุรี

Travel

สูดอากาศบริสุทธิ์ ชมวิวทะเลหมอกที่ ผาหัวนาค

อากาศบนภูเขาเริ่มหนาว แค่หายใจออกมาก็เป็นไอลอยระเหยในอากาศ ในขณะที่เรากำลังก้าวเท้าขึ้นไปยังจุดชิมวิวบนเส้นทางที่ไม่ลาดชันมากนัก ความประทับใจแรกที่ผาหัวนาคต้อนรับคือทะเลหมอกซึ่งปกคลุมไปทั่วอาณาบริเวณ