ผ้าทอลายน้ำไหลไทลื้อ บ้านหนองบัว

ผ้าทอหลากลวดลายหลายสีสันที่แขวนวางอยู่ตามมุมต่างๆ ของร้านค้าในหมู่บ้านหนองบัว  . ท่าวังผา  ใกล้กับวัดหนองบัวที่มีงานจิตกรรมฝาผนังชั้นเลิศนั้น  สร้างความตื่นตาแก่ผู้ที่รักผ้าไทย  อีกทั้งรูปแบบลายผ้า ยังมีหลายผืนที่คล้ายคลึงกับที่ปรากฏในจิตรกรรม

A1
ใส่บรเรือเก่าไทลื้อ หลังวัดหนองบัว ที่ใต้ถนมีการสาธิตการทอผ้ารยายภาพ
สาธิตการ “อีดฝ้าย” ดีดฝ้าย และปั่นฝ้ายให้เป็นเส้น
การอีดฝ้าย เป็นการแยกเมล็ดฝ้ายออกจากปุยฝ้าย เมล็ดจะนำไปปลุกในปีต่อไป

ในยุคหลายร้อยปีก่อนที่ผู้คนยังมีวิถีชีวิตพึ่งพิงกับธรรมชาติ  ผู้คนในถิ่นฐานต่างๆ อาศัยฝีมือในการสร้างพื้นฐานปัจจัยสี่  อาหาร บ้านเรือน ยารักษาโรค และโดยเฉพาะ เครื่องนุ่งห่ม ล้วนแต่เป็นความสามารถในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน

เช่นเดียวกับหญิงสาวชาวไทลื้อ  ซึ่งอพยพจากดินแดนสิบสองปันนา มาอาศัยอยู่ในหลายจังหวัดทางภาคเหนือของไทย  โดยเฉพาะใน เชียงราย น่าน พะเยา  ราว 200 ปีมาแล้ว ไทลื้อเมืองล้า กลุ่มใหญ่ได้มาตั้งรกรากอยู่บริเวณบ้านหนองบัว  . ท่าวังผา  รวมไปถึงบ้านดอนมูล  บ้านต้นฮ่าง  และอีกหลายหมู่บ้าน

B1-3
ย้อมด้ายด้วยสีธรรมชาติ

ในยุคที่ต้องลงแรงปลูกฝ้ายในเดือนสิงหาคมกันยายน เพื่อให้ได้ดอกฝ้ายสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน (ปุยหุ้มเมล็ด) เพื่อพร้อมในการนำมาทำเป็นเส้นด้ายในปลายปี  สาวๆ ในยุคนั้นชำนาญในการอีดฝ้ายแยกเมล็ดออกจากปุย  ดีดให้ฟูแล้วนำมาม้วนที่อุ๊ยๆ บอกว่าเป็นการ  แปงหางเป็นม้วนๆ ก่อนนำมาดึงเป็นเส้นฝ้ายยาว นำมาม้วนเป็นใจ 

จากนั้นจึงนำไปย้อมด้วยสีสันต่างๆ  เช่น สีน้ำเงินจากฮ่อม  สีแดงจากครั่ง  สีน้ำตาลจากแก่นฝาง สีดำจากมะเกลือ และอื่นๆ  จากนั้นจึงนำมาทอเป็นผืนผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ผ้าหลบหรือผ้าเติ้ม (ผ้าปุที่นอน) ผ้าห่ม ที่เรียกว่า ผ้าตาโก้ง  หรือผ้าผืนธรรมดาที่ไว้ตัดเสื้อป้าย ตัดกางเกงสะดอขายาว  มุ้ง  หมอน

B1
อุปกรณ์ในการแปรสภาพดอกฝ้ายให้กลายเป็นเส้นไหม

ที่โดดเด่นและงดงามที่สุดคงเป็น ผ้านุ่ง  หรือที่เรียกว่าผ้าซิ่นตา  มีลักษณะแปลกว่าผ้ากลุ่มชนอื่นคือเป็นผ้าซิ่นที่มีสองตะเข็บ เรียกว่าซิ่นตา โดยจะทอผ้าตามยาวจนได้ขนาดที่ต้องการแล้วนำมาเย็บด้านข้างทั้งสองด้านจนเป็นถุง

ในช่วงกาลหลายร้อยปี  ชาวไทลื้อนอกจากได้รักษาลวดลายในผืนผ้าของตัวเองไว้แล้ว ยังได้รับอิทธิพล และผสมผสานลวดลายต่างๆ  ทั้งจากกลุ่มคนไทยวน  ม่าน (พม่า) ลาว  รวมถึงลื้อกลุ่มใหม่ๆ ที่อพยพเข้ามาในระยะหลังๆ  ทำให้ซิ่นไทลื้อมีความโดดเด่นด้วยเทคนิคการทอที่หลากหลาย ตั้งแต่การมัดหมี่  จก ขิด  เกาะ ล้วง  การยกดอก

ผ้าไทลื้อที่โดดเด่นมากมีสามประเภท คือ  ผ้าซิ่นม่าน  ซิ่นก่าน และซิ่นลายน้ำไหล

ทอผ้าที่หลังวัดหนองบัว
ทอผ้าที่หลังวัดหนองบัว

ถ้ามาที่หลังวัดหนองบัวจะมีกลุ่มคนเฒ่า มีแม่อุ๊ยสามสี่คน  นั่งทอผ้าอยู่เกือบทุกวัน  แม่อุ๊ยนิยมนุ่งผ้าซิ่นม่านกับเสื้อป้าย   ซิ่นม่านเป็นซิ่นที่ใช้นุ่งในชีวิตประจำวัน รวมถึงในในงานพิธีกรรม หรืองานบุญต่างๆ  มีลักษณะเป็นลายขวาง  สีน้ำเงิน  ม่วง แดง สลับลายมุก แต่ละช่องไม่เท่ากัน  บ้างก็นิยมทอด้วยไหมหรือสอดดิ้นเงินดิ้นทองไว้ด้วย 

ผ้าตาโก้ง เป็นผ้าที่ชาวไทลื้อนิยมใช้เป็นผ้าห่ม
ผ้าเติ้มหรือผ้าหลบ ผ้าปูที่นอนลวดลายโบราณ
D1
ผืนสีน้ำเงินด้านหน้าคือ “ซิ่นมันก่าน” ย้อมคราม
D2
ซิ่นม่าน ใช้สีแบบเอิธโทน เป็นผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ สีสันเรียบง่ายไม่ฉูดฉาด

ซิ่นก่าน  หรือเรียกว่า ซิ่นมัดก่าน/คาดก่าน  ซิ่นแบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากคนไทลื้อในลาวที่อพยพเข้ามา  มีลักษณะเดียวกับผ้ามัดหมี่ คือนำด้ายที่จะทอมามัดเป็นลวดลายต่างๆ เช่น ลายน้ำไหล ลายขอ  หรือลวดลายอื่นๆ ตามจินตนาการของผู้ทอ  ส่วนใหญ่นิยมย้อมด้วยคราม ซึ่งจะให้สีน้ำเงิน  หรือครั่งที่ให้สีแดงก่ำ  โดยบริเวณที่มัดไว้จะเป็นลวดลายสีขาว 

E
ซิ่นน้ำไหลไทลื้อ ที่เต็มได้ด้วยสีสันและลวดลายอันสวนงาม สังเกตผืนที่สองจาดด้านขวาเป็น ลายน้ำไหลภูเขา

ซิ่นลายน้ำไหลไทลื้อ  ซิ่นลายนี้เป็นการรทอลวดลายเลียนแบบการไหลของกระแสน้ำที่พลิ้วไหว  ใช้ด้ายพุ่งสลับสีแล้วใช้วีธีเกาะ ล้วง ทำเป็นลวดลาย มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่  เรียกลวดลายแตกต่างกันออกไป เช่น ลายน้ำใหลใบข้าว น้ำไหลมัดแตง  น้ำไหลภูเขา

ลายน้ำไหล ผสมกับลายขอ
E5
ลวดลายต่างๆ ทีปรากฏบนผืนผ้าลายน้ำไหล ยิ่งทอลายเล็กละเอียดเต็มผืน ยิ่งทอยาก ต้องเป็นสาวๆ ที่ยังมีสายตาดีที่สามารถทอได้

ในสมัยก่อนนั้น หญิงสาวทุกคนจะต้องทอผ้าเป็น เพราะถือเป็นคุณสมบัติสำคัญ  หากใครทอผ้าไม่เป็นก็จะไม่มีใครมาสู่ขอ  เช่นเดียวกันชายหนุ่มที่นิยมสักลายที่ขา  เพื่อแสดงถึงความกล้าหาญ  การที่เราเห็นลวดลายผ้าทอหลากลวดลายเต็มผืนผ้านั้น  ส่วนใหญ่คนทอมักจะเป็นสาวๆ หรือแม่เรือนที่เพิ่งออกเรือน  สายตายังดี จึงสามารถทอผ้าที่มีลวดลายจำนวนมาก  เช่นลายมุก ลายขอใหญ่  ลายหงส์ เป็นลายลื้อล้วงที่สวยงาม  พออายุมากขึ้นสายตาแย่ลงก็มักจะทอผ้าที่เรียบง่าย  ลวดลายน้อยลง

ผ้าทอลายเรียบๆ ผืนหนึ่งๆ หากนับเวลาตั้งแต่เตรียมปลูกฝ้ายจนสามารถเก็บดอกฝ้ายได้ก็ใช้เวลานานหลายเดือน  และยังต้องใช้เวลาอีกนับเดือนหลังงานบ้าน งานนา เพื่อมาทอผ้า  ยิ่งเป็นผ้าผืนสวยลวดลายประณีตที่สาวๆ มักจะทอให้ตัวเองไว้ใช้ในงานบุญ  หรือแม้แต่เก็บไว้ใช้ในงานแต่งงานของตัวเองนั้น  บางผืนต้องใช้เวลาทอนานนับปี   

G
พี่อุ๊หลั่น จันต๊ะยอด ผู้ดูแลร้านสิบสองปันนา ผ้าทอไทลื้อ

ลวดลายที่สอดแทรกอยู่ในผืนผ้าจึงมีใช่เพียงใช้เป็นอาภรณ์  แต่ยังเป็นผลงานของศิลปะแห่งชีวิต  ที่นับวันจะมีผู้สืบทอดน้อยลงไป

indigo
Indigo ต้นครามน้อย
Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

Info

กลุ่มทอผ้า หลังวัดหนองบัว (ร้านสิบสองปันนา ผ้าทอไทลื้อ)

เป็นกลุ่มทอผ้าโดยคนเฒ่าคนแก่ของบ้านหนองบัว  มีการสาธิตการอีดฝ้าย การดีดฝ้าย หรือการดึงฝ้ายเป็นเส้น  สามารถไปทดลองทำได้ 

ร้านสิบสองปันนา ผ้าทอไทลื้อ

ที่ตั้ง ตำบล ป่าคา อำเภอ ท่าวังผา น่าน 55140

Facebook สิบสองปันนา ผ้าทอไทลื้อ

Info

กลุ่มทอผ้า จันทร์สมการทอ

หลายสิบปีก่อน  นางจันทร์สม พรหมปัญญา เป็นผู้รื้อฟื้นและชักชวนให้หญิงสาวชาวหนองบัวกลับมาทอผ้าพื้นเมืองขึ้นมาอีกครั้ง  โดยเฉพาะผ้าทอลายน้ำไหลไทลื้อ  สามารถไปชมการทอผ้าได้ทุกวัน

ที่ตั้ง  บ้านหนองบัว .ป่าคา .ท่าวังผา .น่าน

โทร 054 685 222

Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer/ Photographer

 อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง

อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง

Relate Place

Travel

สวมชุดยูกะตะ เที่ยวหมู่บ้านโคโรโระคุง@ Coro Field

ใครที่ชื่นชอบบรรยากาศฟาร์มสไตล์ญี่ปุ่น “นายรอบรู้” ขอแนะนำให้มาสวมชุดยูกะตะ ถ่ายรูปเก๋ๆ ในงานเทศกาลหมู่บ้านโคโรโระคุง ที่จะจัดขึ้นในช่วงลมหนาวตลอดเดือนธันวาคมนี้

tips travelers

เจดีย์ทรายในวันสงกรานต์

ถ้าไปทำบุญตามวัดทางเหนือช่วงสงกรานต์ จะเห็นภาพของแม่อุ๊ยประดับตุงไว้บนพระเจดีย์ทรายที่ชาวบ้านก่อขึ้นร่วมกันให้สวยงาม รู้ไหมว่าสึงเหล่านี้มีความหมาย

Eat

Slappy Cake สแลปปี้เค้ก ย้อนวัยเด็กกับแพนเค้ก D.I.Y

ใครที่ชื่นชอบอาหารอินเดียคงไม่พลาด Rang Mahal Rooftop Indian Restaurant ห้องอาหารอินเดียในรูปแบบ fine dining บนชั้น 26 ของโรงแรมแรมแบรนดท์ ย่านสุขุมวิท ที่ได้รับรางวัล Thailand’s BestRestaurants จากนิตยสาร Thailand Tatler ถึง 13 ปีซ้อน

ต้นไทร

ถ้าชอบกินเห็ดสดๆ นานาชนิดที่เพิ่งเก็บจากไร่ ต้องมาร้านต้นไทร เขาปรุงเป็นสารพัดเมนูให้ชิม ขอแนะนำเห็ดหอมอบซีอิ๊ว เห็ดสดๆ นำมาอบจนซีอิ๊วขาวและพริกไทยดำเข้าเนื้อ เคี้ยวอร่อยหอมนุ่ม ผัดฉ่าเห็ดออรินจิ ก็รสชาติไม่เป็นสองรองจานอื่น จัดจ้านร้อนแรงด้วยใบมะกรูด กระชายซอย เม็ดพริกไทยอ่อน และพริกขี้หนูตำหยาบ