ห้ามผู้หญิงเข้า (ศาสนสถาน) ทำไม?

ป้าย“ห้ามผู้หญิงเข้า “มักเห็นอยู่บ่อยครั้งเวลาไปตามทางเข้าศาสนสถาน ผู้หญิงหลายคนบ่นถึงไม่เท่าเทียมและผุดคำถามว่าว่าทำไมผู้ชายเข้าได้แล้วผู้หญิงเข้าไม่ได้? นั้นคือการปะทะกันของความคิดสมัยใหม่ที่เน้นความเท่าเทียมทางเพศ กับธรรมเนียมที่ปฎิบัติผ่านความเชื่อที่ยึดถือมาตั้งแต่อดีต “นายรอบรู้” จึงอยากพาไปดูเหตุทางความเชื่อว่าทำไม สถานศักดิ์สิทธิ์ของศาสนสถานจึงห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าไป

ศาสนสถาน

อย่างแรกเราต้องทำความเข้าใจบทบาททางศาสนาก่อนว่าส่วนใหญ่จะยกย่องเพศชายเป็นใหญ่ น้อยมากที่จะเห็นศาสดาเป็นผู้หญิง ทั้งที่ก่อนที่จะเกิดศาสนาเหล่านี้ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ผู้หญิงเคยเป็นใหญ่มากก่อน เพราะเพศหญิงเป็นผู้ให้กำเนิดบุตร กำหนดความอุดมสมบูรณ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เพศหญิงเป็นใหญ่ ก่อนที่ศาสนาต่างถิ่นอย่างฮินดู พุทธ หรืออิสลามซึ่งนำคติความเชื่อที่ผู้ชายเป็นใหญ่จะเข้ามา ลดบทบาทของผู้หญิงลง

ศาสนสถานคือพื้นที่ศักด์สิทธิ์ของศาสนา และบางศาสนายังยึดคติว่าผู้หญิงคือเพศที่เป็นภัยคุกคามต่อความศักดิ์สิทธิ์นั้น เช่นนักบวชห้ามแตะตัวผู้หญิง ผู้หญิงเป็นภัยต่อการคุกคามการบรรลุทางศาสนา ล้วนแต่เป็นการกดขี่ผ่านความคิด แต่ก็มีตัวอย่างของความย้อนแย้งของความกดขี่เพศหญิงให้เห็นอยู่ นั้นคือ ประจำเดือนในเพศหญิง

ความเชื่อของชาวพุทธในประเทศไทยเชื่อว่าประจำเดือนเป็นของสกปรก หลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จึงห้าม จริงๆความเชื่อเรื่องการประจำเดือนเป็นวิธีคิดแบบฮินดูที่แทรกซึมเข้าสังคมพุทธในบ้านเรา แต่แปลกที่ประจำเดือนกลับมีเหนืออำนาจในทางไสยศาสตร์ ที่สามารถทำความศักดิ์สิทธิ์ของไสยศาสตร์ให้เสื่อมลงได้แสดงว่าเพศหญิงคือเพศอยู่เหนือความศกดิ์สิทธิ์ หรือไม่?

การอ้างเหตุเรื่องประจำเดือนทำลายความศักดิ์สิทธิ์ทำให้วัดหลายแห่งทางภาคเหนือภาคอีสานบางส่วนห้ามผู้หญิงเข้า ตามความเชื่อว่ากันว่า พระธาตุเจดีย์ในสมัยโบราณฝังตัวพระธาตุไว้ใต้ดิน การเข้าไปของผู้หญิงจะทำให้พระธาตุเหล่านั้นเลื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลง แม้บางคนบอกว่าเป็นกุศโลบายของคนโบราณที่ไม่อยากให้ผู้หญิงที่มีประจำเดือนไปเข้าไป เพราะจะทำให้เลอะเทอะ ไม่เหมาะสมกับศาสนาศักดิ์สิทธิ์ก็ยังเป็นข้อถกเถียงกันต่อไป แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นสำหรับผู้หญิงใดให้กำเนิดบุตร 7 คน และทั้ง 7 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุมาแล้ว

>>>นอกจากนี้ความเชื่อของชาวล้านนายังห้ามผู้หญิงเข้าไปในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

>>>ห้ามเก็บพืชผักในระหว่างที่มีประจำเดือน เพราะเชื่อว่าทำให้ผักแห้ง เฉาตายลง

>>>ห้ามกินผลไม้แฝด เพราะจะทำให้มีลูกแฝด คลอดยาก

ทั้งหมดล้วนเป็นความเชื่อที่บางส่วนอาจวางอยู่บนข้อเท็จจริง แม้บางเรื่องในสังคมของพวกเราอาจมองว่าเป็นเรื่องความเชื่อที่ไม่มีเหตุผล แต่ในการท่องเที่ยวนั้น พวกเราควรให้การเคารพให้กฎในสังคมที่เราไปเที่ยวด้วย ควรศึกษาข้อห้ามและรู้ถึงที่มาของความเชื่อนั้นว่าเป็นมาอย่างไร

Writer

เอกพงษ์ ศรทอง

เอกพงษ์ ศรทอง

Relate Place

Travel

เตรียมตัวเที่ยวป่าหน้าฝน

ตอนนี้หัวใจนักเดินทางเริ่มกลับมาพอองโตอีกครั้ง หลังจากที่ได้ข่าวว่าอุทยานแห่งชาติกำลังจะกลับมาเปิดให้นักท่องเที่ยวอย่างเรา ออกไปสัมผัสกับกลิ่นฝน สายหมอก และบรรยากาศของธรรมชาติอีกครั้ง
วันนี้ นายรอบรู้ นักเดินทาง เลยขอชวนเพื่อนๆ มาเตรียมตัวเที่ยวป่าหน้าฝนนี้ มั่นใจว่าจะต้องได้เห็นธรรมชาติแบบตระการตาอย่างแน่นอน

Travel

ATTA ATTA(อัฏฐะ อัตตา) : ศิลปะจากโชคชะตาภายในตัวตน

ตลอดเดือนสิงหาคมนี้ “นายรอบรู้” ขอพาไปสำรวจนิทรรศการใกล้สามย่านมิตรทาวน์ แหล่งรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมและของอร่อยขึ้นชื่อ มีนิทรรศการที่ฟังแค่ชื่อก็น่าสนใจแล้ว

News

Guide ใกล้ Application

Nairobroo – “นายรอบรู้” คือทีมงานนักเดินทางที่จัดทำหนังสือคู่มือและแผนที่ท่องเที่ยวทั่วเมืองไทยมานานกว่า 20 ปี เราคัดสรรเรื่องราวจากทุกซอกมุมมานำเสนอด้วยความพิถีพิถัน ใส่ใจ และเจาะลึก…เชื่อว่าคุณก็ต้องชอบเหมือนเรา

Travel

มองเพลง “ไทบ้าน” อีสานผ่าน “อีเกิ้งเหลือง” คนทำซาวด์ท้องถิ่นร่วมสมัย

ช่วง 5 – 10 ปีมานี้ ในขณะที่เพลงจากท้องถิ่นอื่นๆ ได้เบาบางลงไปในกระแสเพลงหลักทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และในอินเตอร์เน็ต แต่เพลงจากอีสานกลับโด่งดังขึ้นมาเป็นพลุแตก บางคนถือว่าดังได้ข้ามคืนมียอดผู้ชมกว่าล้านครั้ง กลายเป็นศิลปินหน้าใหม่ในวงการเพลงไทยเลยก็ไม่น้อย และก่อกำเนิดค่ายเพลงอีสานทั้งใหญ่น้อยมากมาย มีค่ายเพลงและสตูดิโอที่โด่งดังเป็นที่รู้จัก เช่น  ค่ายเซิ้งมิวสิค ที่โด่งดังจากการทำหนังไทบ้านเดอะซีรี่ย์, คืนถิ่น สตูดิโอ,ภูไทเร็คคอร์ด ฯลฯ กลุ่มคนทำเพลงเหล่านี้สร้างมิติใหม่แห่งวงการเพลงอีสาน ขยายวงกว้างขึ้นไปสู่ระดับวงการเพลงไทยที่ไม่ใช่แค่ความดังระดับท้องถิ่นเฉพาะกลุ่มอีกต่อไป ศิลปินบางคนมีงานแทบทุกวันหรือมีงานวันละหลายงานซึ่งงานที่ไปทัวร์คอนเสิร์ตไม่ใช่เพียงแค่ในดินแดนที่ราบสูงอีสานบ้านเฮา แต่เป็นงานที่ไปนอกพื้นที่โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ การทำเพลงอีสานร่วมสมัยจึงไม่ใช่การทำฟังกันเองอีกต่อไป เพลงอีสานสมัยใหม่จึงมีความหลากหลาย ทั้งท่วงทำนอง เนื้อหา โดยเฉพาะเรื่องของดนตรี เครื่องดนตรีอีสานในมุมมองที่แตกต่าง