
พะเยา
ข้อมูลจังหวัด พะเยา รวบรวมโดย นายรอบรู้นักเดินทาง จากหนังสือท่องเที่ยวจังหวัดต่างๆ ในเมืองไทย ที่รวมรวมข้อมูลน่ารู้ ที่เที่ยวน่าไป ของกินน่าทาน
วัดอรุณฯ หนึ่งในวัดที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร หลายคนไปเที่ยวไหว้พระ ถ่ายภาพแชร์มุมเก๋ผ่านโซเชียยลกันยกใหญ่ แล้วคุณรู้จักวัดอรุณดีแค่ไหน?
ที่มาของชื่อวัดแจ้งมีเรื่องราวในหน้าประวัติศาสตร์ว่า หลังกรุงศรีอยุธยาถูกเผาทำลายในคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 จนยากจะบูรณะให้คงเดิมได้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งพระยาวชิรปราการ เสด็จมาตามลำน้ำเจ้าพระยาจนถึงวัดมะกอกนอกในเวลาแจ้ง
ภายในวัดมีปรางค์ขนาดย่อมองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ พระองค์จึงเสด็จขึ้นไปนมัสการ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดแจ้งวัดแจ้งหรือวัดมะกอกนอกนี้มีมาแต่ครั้งอยุธยาตอนปลาย เหตุที่เรียกวัดมะกอกนอกเพราะตั้งอยู่นอกเขตชุมชนดั้งเดิม ลึกเข้ามาในคลองบางกอกใหญ่หรือคลองบางหลวงในเวลาต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนากรุงธนบุรีแล้ว พระองค์โปรดให้บูรณะวัดแจ้งขึ้นใหม่และยกฐานะเป็นวัดในเขตพระราชฐานพร้อมวัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) ที่อยู่ใกล้กัน
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดอรุณราชธาราม และในสมัยรัชกาลที่ 4 เปลี่ยนสร้อยท้ายชื่อเป็นวัดอรุณราชวราราม โดยความหมายยังคงเป็น “วัดแห่งรุ่งอรุณ” ชาวต่างชาติก็เรียกวัดนี้ในความหมายเดียวกันว่า “The Temple of Dawn”
ส่วนยอดขององค์ปรางค์ประดับด้วยนภศูล (อาวุธของพระอินทร์) มีลักษณะเป็นฝักเก้าแฉก เหนือขึ้นไปเป็นมงกุฎซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นำมาจากเศียรของพระประธานในโบสถ์วัดนางนอง ย่านบางขุนเทียน เมื่อปี พ.ศ. 2390 นักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่าพระองค์ทรงต้องการสื่อว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ หรือรัชกาลที่ 4 คือกษัตริย์องค์ต่อไป
สังคมไทยมีความเชื่อเรื่องไตรภูมิ โดยบางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าความเชื่อนี้แฝงฝังอยู่ใกล้ตัวเรา อย่างเช่นเรื่องราวของแดนนรกแดนสวรรค์ เรื่องของพระอินทร์และเทวดา เรื่องราวของไตรภูมิถูกจำลองไว้ในสถาปัตยกรรมของพระปรางค์วัดอรุณฯ ด้วยเมื่อเราเดินผ่านประตูรั้วขององค์ปรางค์ที่เปรียบเสมือนกำแพงของจักรวาล พื้นลานกว้างเปรียบคือท้องทะเลสีทันดร กลางทะเลมีเขาพระสุเมรุซึ่งก็คือองค์ปรางค์ แวดล้อมด้วยปรางค์ทิศทั้งสี่แทนสี่ทวีป ซึ่งในไตรภูมิก็คือ อุตรกุรุทวีปด้านทิศเหนือ บุรพวิเทหทวีปด้านตะวันออก อมรโคยานทวีปด้านตะวันตก และชมพูทวีปด้านทิศใต้ซึ่งเป็นที่อาศัยของมนุษย์บริเวณฐานพระปรางค์มีสัตว์ป่าหิมพานต์ เช่น กินรี สูงขึ้นไปเป็นลำดับชั้น คือ ยักษ์ ลิง และเทวดาที่อยู่สวรรค์ชั้นล่างสุด ช่วยกันแบกเขาพระสุเมรุ
หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องราวเหล่านี้แต่ไม่เคยเห็นยักษ์แบก ลิงแบก มาวัดนี้ก็จะได้เห็น ยักษ์แบกหรือมารแบกเป็นปูนปั้นประดับอาคารที่พบครั้งแรกในสมัยอยุธยา แล้วพัฒนามาเป็นยักษ์แต่งกายแบบโขนในสมัยรัตนโกสินทร์ ยักษ์แบกอยู่ชั้นล่างสุด ลิงแบกอยู่เหนือขึ้นมา และเทวดาแบกอยู่ชั้นบนสุดถัดขึ้นไปเป็นส่วนเรือนธาตุของพระปรางค์หรือยอดเขาพระสุเมรุอันเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในไตรภูมิ ส่วนนี้ถ้าพกกล้องส่องทางไกลไปด้วยจะดี เพราะจะเห็นรายละเอียดของซุ้มทิศซึ่งประดับด้วยปูนปั้นรูปพระอินทร์เจ้าผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ทรงช้างเอราวัณได้อย่างชัดเจน
ช่วงรัชกาลที่ 1-5 มีการบูรณะวัดอรุณฯ หลายครั้ง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 2 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปรางค์องค์เดิมให้มีขนาดสูงใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นพระธาตุประจำพระนคร แต่การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชกาลที่ 3พระปรางค์มีความสูงราว 27 เมตร ศิลปะเด่นที่ควรพินิจคือการประดับองค์ปรางค์ด้วยกระเบื้องเคลือบและเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ที่นำเข้าจากเมืองจีน แม้ดูใกล้ๆ จะไม่วิจิตรนัก ทว่าเป็นรูปแบบศิลปะที่รัชกาลที่ 3 ทรงนิยม หรือที่เรียกว่า “ศิลปะพระราชนิยม”
ยามมองผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังฝั่งพระนครจะเห็นโบสถ์วัดพระเชตุพนฯ หรือวัดโพธิ์ โบสถ์วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เจดีย์ประธานวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วิหารวัดสุทัศนเทพวราราม โบสถ์วัดเทพธิดาราม และภูเขาทองวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เรียงตัวในแนวเกือบเป็นเส้นตรงอย่างน่าอัศจรรย์
ถ้าพูดถึงเรื่องยักษ์ในเมืองไทย คงไม่มียักษ์ที่ไหนดังเท่ายักษ์วัดแจ้งและยักษ์วัดโพธิ์ ครั้งหนึ่งถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง ท่าเตียน อันโด่งดัง เมื่อปี พ.ศ. 2516 ตำนานเล่าขานต่อกันมาว่า ยักษ์วัดแจ้งหรือวัดอรุณฯ ฝั่งธนบุรี กับยักษ์วัดโพธิ์หรือวัดพระเชตุพนฯ ในฝั่งพระนคร เป็นเพื่อนรักกันมานาน แต่เกิดผิดใจกันเพราะยักษ์วัดโพธิ์ข้ามฟากไปยืมเงินยักษ์วัดแจ้งแล้วไม่ยอมใช้คืน เป็นเหตุให้ทะเลาะต่อสู้กันจนบริเวณโดยรอบราพณาสูร กลายเป็นท่าเตียนในปัจจุบันยักษ์วัดแจ้งมีสองตน ยืนอยู่หน้าโบสถ์วัดอรุณฯ กายสีขาวชื่อสหัสเดชะ กายสีเขียวชื่อทศกัณฐ์ ส่วนยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งอยู่บริเวณทางเข้าพระมหาเจดีย์ เป็นยักษ์ศิลปะแบบจีน สลักจากหิน หรือที่เรียกว่าอับเฉา ซึ่งชาวจีนใช้ถ่วงใต้ท้องเรือสำเภา
เกิดการเผาตัวเองที่วัดอรุณฯ !เรื่องราวของคนเผาตัวเองเป็นเรื่องน่าตื่นตกใจสำหรับคนทั่วไป การเผาตัวเองของนายเรืองกับนายนกก็เช่นกัน
เรื่องของนายเรืองมีกล่าวไว้ใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 1 ว่าในปี พ.ศ. 2333 นายเรืองกับเพื่อนพากันมาเสี่ยงทายในโบสถ์วัดครุฑซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดอรุณฯ โดยอธิษฐานว่าถ้าดอกบัวใครบานก่อน คนนั้นจะได้สำเร็จพระโพธิญาณ วันรุ่งขึ้นดอกบัวของนายเรืองบานก่อน นายเรืองจึงเข้าไปที่วัดอรุณฯ เพื่อถือศีล ฟังเทศน์ และเอาสำลีชุบน้ำมันจุดไฟบูชาตั้งบนแขนตนเอง ทำเช่นนี้อยู่ 9-10 วันแล้วจึงเผาตัวเองตายเพื่อสำเร็จพระโพธิญาณ
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 2 กล่าวถึงนายนก ว่าในปี พ.ศ. 2360 นายนกซึ่งศรัทธาในพระพุทธศาสนามากและหวังไปสู่นิพพาน ได้เฝ้ารักษาศีล ปฏิบัติธรรม ละทิ้งบ้านเรือน ไม่กินข้าว และทรมานตนเองอยู่ที่วัดอรุณฯ จนกระทั่งเผาตัวเองตายการเผาตัวเองของนายเรืองและนายนกได้รับการยกย่องจากคนในสมัยนั้นว่าเป็นการสละชีพเพื่อพระพุทธศาสนา จึงมีการสร้างรูปสลักหินของทั้งสองตั้งไว้ในศาลาใกล้โบสถ์วัดอรุณฯ โดยรูปสลักของนายเรืองเป็นชายไว้ผมทรงมหาดไทย นั่งสมาธิอยู่ทางด้านซ้ายของโบสถ์ ส่วนด้านขวาคือนายนก แกะสลักเป็นรูปคล้ายกัน แต่นั่งพนมมือ
Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว
ข้อมูลจังหวัด พะเยา รวบรวมโดย นายรอบรู้นักเดินทาง จากหนังสือท่องเที่ยวจังหวัดต่างๆ ในเมืองไทย ที่รวมรวมข้อมูลน่ารู้ ที่เที่ยวน่าไป ของกินน่าทาน
ความรู้จากตำราไม่อาจเทียบได้กับการมาสัมผัส ‘เมืองเก่าสุโขทัย’ ด้วยตนเอง เพราะเมื่อก้าวเท้าเข้าสู่เขตเมืองเก่าสุโขทัย สิ่งแรกที่เห็นคือ ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่เปี่ยมไปด้วยสถาปัตยกรรมและงานศิลปะจำนวนมาก ตั้งตระหง่านผ่านกาลเวลามานานหลายร้อยปี ทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุที่เต็มเปี่ยมไปด้วยมนต์ขลัง
ร้านธรรมดาบรรยากาศไม่เลิศหรู แต่ชาวศรีสัชนาลัยต่างแนะนำให้มาลิ้มลองสารพัดเมนูที่ร้าน “ป้าทรงซาว”คำเรียกขาน “ป้าทรงซาว” มาจากเมื่อแรกเริ่มที่ป้าทรงขายอาหารตามสั่งในราคาเพียง 20 บาท ( 20 ภาษาเหนืออ่านว่าซาว)
วันนี้ “นายรอบรู้” ขอพาคุณไปร่วมหลงใหลในความงามของศิลปวัฒนธรรมสองแผ่นดิน แอ่วเหนือเที่ยวสงกรานต์แม่สอด อู้กำเมือง เดินชิลล์สัมผัสวัฒนธรรมที่ลงตัวระหว่างไทยกับเมียนมาไปพร้อมกับชมวิวธรรมชาติหลักล้าน ซึ่งจะมอบความทรงจำสุดพิเศษให้คุณไม่รู้ลืม…
© 2018 All rights Reserved.