7 เรื่องที่ไกด์อาจไม่เคยบอกคุณ :
เมื่อมาปราสาทพนมรุ้ง

ปราสาทพนมรุ้ง เป็นสถานท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ภูเขาไฟเก่าเมื่อหลายแสนปีก่อน เป็นหลักฐานยืนยันว่าประเทศไทยเคยมีเป็นดินแดนแห่งภูเขาไฟมาก่อน ทั้งยังเป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดในบุรีรัมย์ ทำให้บริเวณนั้นมีความอุดมสมบูณณ์เป็นอย่างสูง เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้มีกลุ่มชนหลายชุมมาตั้งถิ่นฐานที่นี้และกลายเป็นชุมชนใหญ่ในที่สุด

ปราสาทพนมรุ้ง

ปราสาทพนมรุ้ง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 โดยพระเจ้านเรนราทิตย์ ผู้เป็นญาติกับพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งทรงสร้างนครวัด ในประเทศกัมพูชา สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานของฮินดูนิกายนับถือพระศิวะเป็นใหญ่ (ไศวนิกาย)หลายคนอาจจะเคยมาเที่ยวปราสาทพนมรุ้ง ทั้งแบบที่มาเดินเล่นชมสถาปัตยกรรมคนเดียว บางคนอาจจะมีไกด์หรือผู้รู้เรื่องปราสาทเขาพนมรุ้งเป็นอย่างดี วันนี้ “นายรอบรู้” ขอาสาพาเที่ยวแบบอันแน่นกับเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของปราสาทที่คุณไม่รู้หรือไกด์ไม่ได้บอกคุณ

ปราสาทพนมรุ้ง

>>>1. ปราสาทนี้อาจมีชื่อพนมรุ้งมาตั้งแต่แรกสร้าง?

ตามการค้นคว้าจารึกที่พบที่ปราสาท มีจารึกหนึ่งกล่าวว่าปราสาทหลังนี้ชื่อว่าวนํ รุง (วะ-นัม-รุง) เป็นภาษาขอมโบราณ คำว่า วนํ หรือพนมแปลว่าภูเขา ส่วน รุง หือรุ้ง แปลว่า ใหญ่ จึงมีความหมายว่า ภูเขาใหญ่ บนยอดเขามีการสร้างศาสนาสถานนิกายลัทธิไศวนิกาย โดยเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของเขาไกรลาสซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาล และเป็นที่ประทับของพระศิวะ เนื่องจากบริเวณปราสาทพนมรุ้งมีกลุ่มชนหลายกลุ่มทำให้การออกเสียงอาจกร่อนหรือเพี้ยนไปบ้าง แต่นักวิชาการบางคนยังยืนยันว่าพนมรุ้งเป็นเชื่อที่เรียกมาตั้งแต่สร้าง

 

>>>2. แล้วใครอยู่ที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง?

ปราสาทเป็นศาสนสถานที่มีการใช้อย่างต่อเนื่อง จึงไม่ใช่ที่พักหรือพระราชวังของกษัตริย์ คนที่อยู่ที่นี้ต้องใกล้ชิดกับพระเจ้า ในจารึกได้บรรยายว่ามีนักพรตโยคีมาบำเพ็ญพรตที่ปราสาทแห่งนี้

ปราสาทพนมรุ้ง

>>>3 ตามข้อมูลว่าปราสาทเขาพนมรุ้งสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานของฮินดู ไศวนิกายและทำไมจึงมีเทพพระเจ้าอื่นมากมาย?

ในการสร้างมีการอ้างถึงตรีมูรติ คือพระศิวะ พระวิษณุหรือพระนารายณ์ และพระพรหมด้วย แต่เชิดชูพระศิวะเป็นหลัก ส่วนเทพองค์อื่นคือส่วนเติมเต็มของปราสาท เช่นทับหลังหลายชิ้นสลักเป็นพระกฤษณะและพระวิษณุ พระนารายณ์ เพื่อให้ครบองค์ประกอบทางศาสนา

ปราสาทพนมรุ้ง

>>>4 ทับหลังนารายณ์ที่ประดับที่ปราสาทเขาพนมรุ้งปัจจุบันเป็นของจริงหรือไม่? แล้วมีความหมายอย่างไร?

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่เห็นเป็นของจริงที่นำกลับมาประดับไว้ที่เดิมหลังจากถูกขโมยไป แล้วทำไมต้องเป็นทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์จึงประดับไว้อยู่ตรงนี้ จากการค้นคว้าของนักวิชาการสันนิษฐานว่า เป็นเรื่องเชิดชูพระศิวะเหนือพระนารายณ์ที่เป็นตัวแทนของลัทธิไวษณพนิกาย ถ้าสังเกตด้านบนของทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ สลักเป็นรูปศิวนาฎราช-พระศิวะร่ายรำ อีกทั้งจารึกที่เจอที่ปราสาทยังบรรยายว่าได้มีสร้างรูปพระนารายณ์ไว้ในเรือนของพระศิวะ เรือนที่นี้คือปราสาทประธานนี้เองนั้นเอง

ปราสาทพนมรุ้ง

>>>5. ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์นั้นมีมังกรอยู่ด้วย มาจากไหน?

ตามคัมภีร์ไม่ได้ระบุถึงมังกร แต่เป็นส่วนต่อเติมจากการแกะสลัก นักวิชาการบางคนยังบอกว่า พญานาคกับมังกรมีจุดร่วมฐากความคิดเดียวกันคือการบูชางูของคนในสมัยโบราณ อย่างที่เรารู้ว่ามังกรเป็นวัฒนธรรมของจีนถูกส่งผ่านศิลปะจามซึ่งอยู่บริเวณตอนกลางมาถึงตอนใต้ของเวียดนามมาสู่อาณาจักรเขมรโบราณ เป็นที่นิยมในศิลปะนครวัดมาก ซึ่งในเวลาต่อมาจะเหลือแต่มังกรอย่างเดียว พญานาคก็จะหายไปในศิลปะบายน

ปราสาทพนมรุ้ง

>>>6 มีนกแก้วปรากฎอยู่ในหลายที่ของปราสาทเขาพนมรุ้ง

นกแก้วมักไม่ค่อยเห็นในปราสาทหินมากนัก แต่ที่ปราสาทหินพนมรุ้งมีพบอยู่หลายจุด อย่างที่เห็นเด่นชัดคือทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ เป็นที่น่าสังเกตว่าภาพนกแก้วเหล่านี้สลัก ได้เหมือนจริงตามธรรมชาติ แต่ยังไม่รู้ว่าช่างยังต้องการสื่อมากกว่าการตกแต่งหรือไม่

ปราสาทพนมรุ้ง

>>>7 ทวารบาล เป็นของจำลอง?

ทวารบาลมีหน้าที่เฝ้าศาสนสถานมิให้สิ่งชั่วร้ายทั้งหลายผ่านเข้าสู่ศาสนสถานได้ ทวารบาลของปราสาทพนมรุ้งมีสองแบบคือแบบนั่งกับยืน ทว่าทั้งสองแบบถูกเก็บรักษาไว้ ดังนั้นทวารบาลที่อยู่ที่ปราสาทพนมรุ้งเป็นตัวจำลองเพื่อให้นักท่องเที่ยว

Info

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

เปิด ทุกวัน 06.00-18.00 น. 

ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท 

สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง 

โทร. 0-4478 -2715 โทรสาร 0-4478-2717

Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer / Photographer

เอกพงษ์ ศรทอง

เอกพงษ์ ศรทอง

Relate Place