ห้ามผู้หญิงเข้า (ศาสนสถาน) ทำไม?

ป้าย“ห้ามผู้หญิงเข้า “มักเห็นอยู่บ่อยครั้งเวลาไปตามทางเข้าศาสนสถาน ผู้หญิงหลายคนบ่นถึงไม่เท่าเทียมและผุดคำถามว่าว่าทำไมผู้ชายเข้าได้แล้วผู้หญิงเข้าไม่ได้? นั้นคือการปะทะกันของความคิดสมัยใหม่ที่เน้นความเท่าเทียมทางเพศ กับธรรมเนียมที่ปฎิบัติผ่านความเชื่อที่ยึดถือมาตั้งแต่อดีต “นายรอบรู้” จึงอยากพาไปดูเหตุทางความเชื่อว่าทำไม สถานศักดิ์สิทธิ์ของศาสนสถานจึงห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าไป

ศาสนสถาน

อย่างแรกเราต้องทำความเข้าใจบทบาททางศาสนาก่อนว่าส่วนใหญ่จะยกย่องเพศชายเป็นใหญ่ น้อยมากที่จะเห็นศาสดาเป็นผู้หญิง ทั้งที่ก่อนที่จะเกิดศาสนาเหล่านี้ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ผู้หญิงเคยเป็นใหญ่มากก่อน เพราะเพศหญิงเป็นผู้ให้กำเนิดบุตร กำหนดความอุดมสมบูรณ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เพศหญิงเป็นใหญ่ ก่อนที่ศาสนาต่างถิ่นอย่างฮินดู พุทธ หรืออิสลามซึ่งนำคติความเชื่อที่ผู้ชายเป็นใหญ่จะเข้ามา ลดบทบาทของผู้หญิงลง

ศาสนสถานคือพื้นที่ศักด์สิทธิ์ของศาสนา และบางศาสนายังยึดคติว่าผู้หญิงคือเพศที่เป็นภัยคุกคามต่อความศักดิ์สิทธิ์นั้น เช่นนักบวชห้ามแตะตัวผู้หญิง ผู้หญิงเป็นภัยต่อการคุกคามการบรรลุทางศาสนา ล้วนแต่เป็นการกดขี่ผ่านความคิด แต่ก็มีตัวอย่างของความย้อนแย้งของความกดขี่เพศหญิงให้เห็นอยู่ นั้นคือ ประจำเดือนในเพศหญิง

ความเชื่อของชาวพุทธในประเทศไทยเชื่อว่าประจำเดือนเป็นของสกปรก หลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จึงห้าม จริงๆความเชื่อเรื่องการประจำเดือนเป็นวิธีคิดแบบฮินดูที่แทรกซึมเข้าสังคมพุทธในบ้านเรา แต่แปลกที่ประจำเดือนกลับมีเหนืออำนาจในทางไสยศาสตร์ ที่สามารถทำความศักดิ์สิทธิ์ของไสยศาสตร์ให้เสื่อมลงได้แสดงว่าเพศหญิงคือเพศอยู่เหนือความศกดิ์สิทธิ์ หรือไม่?

การอ้างเหตุเรื่องประจำเดือนทำลายความศักดิ์สิทธิ์ทำให้วัดหลายแห่งทางภาคเหนือภาคอีสานบางส่วนห้ามผู้หญิงเข้า ตามความเชื่อว่ากันว่า พระธาตุเจดีย์ในสมัยโบราณฝังตัวพระธาตุไว้ใต้ดิน การเข้าไปของผู้หญิงจะทำให้พระธาตุเหล่านั้นเลื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลง แม้บางคนบอกว่าเป็นกุศโลบายของคนโบราณที่ไม่อยากให้ผู้หญิงที่มีประจำเดือนไปเข้าไป เพราะจะทำให้เลอะเทอะ ไม่เหมาะสมกับศาสนาศักดิ์สิทธิ์ก็ยังเป็นข้อถกเถียงกันต่อไป แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นสำหรับผู้หญิงใดให้กำเนิดบุตร 7 คน และทั้ง 7 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุมาแล้ว

>>>นอกจากนี้ความเชื่อของชาวล้านนายังห้ามผู้หญิงเข้าไปในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

>>>ห้ามเก็บพืชผักในระหว่างที่มีประจำเดือน เพราะเชื่อว่าทำให้ผักแห้ง เฉาตายลง

>>>ห้ามกินผลไม้แฝด เพราะจะทำให้มีลูกแฝด คลอดยาก

ทั้งหมดล้วนเป็นความเชื่อที่บางส่วนอาจวางอยู่บนข้อเท็จจริง แม้บางเรื่องในสังคมของพวกเราอาจมองว่าเป็นเรื่องความเชื่อที่ไม่มีเหตุผล แต่ในการท่องเที่ยวนั้น พวกเราควรให้การเคารพให้กฎในสังคมที่เราไปเที่ยวด้วย ควรศึกษาข้อห้ามและรู้ถึงที่มาของความเชื่อนั้นว่าเป็นมาอย่างไร

Writer

เอกพงษ์ ศรทอง

เอกพงษ์ ศรทอง

Relate Place

News

สีสันธารา พาท่องเที่ยววิถีไทย สัมผัสเสน่ห์ชุมชน

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สนับสนุนบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ดำเนินโครงการ “สื่อลอยฟ้า” เพ้นท์เครื่องบินสายการบินไทยแอร์เอเชียอย่างต่อเนื่องเป็นลำที่ 4 ด้วยลาย “สีสันธารา” (Shades of the River) สะท้อนความงดงามของวิถีไทยที่เรียบง่ายอันกลมกลืนกับธรรมชาติ และมีความผูกพันกับสายน้ำ ควบคู่กับลวดลายความเป็นไทย

News

กรุงเก่าบวงสรวงถวายพระเจ้าอู่ทอง นางรำกว่าพันคนร่วมใจรำถวาย



วันที่ 13 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมใจรำถวายสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง พร้อมแปลอักษร “HERITAGE” เพื่อเฉลิมฉลองที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

Eat

ฟ้าใส ซีฟู๊ด

ร้านนี้ตั้งอยู่ทางเข้าท่าเรือปากบารา บรรยากาศริมชายหาด มีคลืนน้ำทะเลสีใสๆซัดเป็นระยะ แต้มด้วยสีฟ้าครามของท้องฟ้าคือจดเด่นของที่นี้ สมกับชื่อ “ฟ้าใส” เมนูแนะนำของร้านมีให้เลือกหลายอย่าง แต่ “นายรอบรู้” ขอจัดซัดสามเมนูเด็ดๆมาเสิร์ฟมาเรียกน้ำย่อย จานแรกเป็นผัดสะตอกุ้ง ความอร่อยอยู่ตรงที่สะตอซึ่งทางร้านคัดเอาที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป ผัดกับเครื่องเคราและกะปปิชั้นดีของเมืองสตูล ทำให้รสชาติออกหวานเค็ม ยิ่งถ้าได้เคี้ยวสะตอที่มันๆ ต้องยกนิ้วให้จานนี้เลย

tips travelers

สุสานหอย เกิดได้อย่างไร

รู้ไหมว่า สุสานหอย เกิดขึ้นมาได้อย่างไร? เคยสังเกตุไหมเวลาเราไปสุสานหอยทางภาคใต้ โดยเฉพาะ จ. สตูล และ กระบี่ เราจะได้พบสุสานหอยล้านปีสุสานพวกนี้เกิดจากอะไร?