ร่องรอยอารยธรรมบ้านเชียง สู่มรดกโลก

ใครจะเชื่อว่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชุมชนบ้านเชียงจะเก่าแก่เทียบเท่า อารยะธรรมเมโสโปเตเมียอันเลื่องชื่อ ยังได้รับเลือกให้เป็นแหล่งมรดกโลกอีกด้วย  หากไม่ได้มาเห็นด้วยตาตัวเองก็ต้องต้องคิดว่าโกหกแน่ๆ ที่พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงยังมีเรื่องราวอารยะธรรมก่อนประวัติศาสตร์น่าสนใจ ชวนให้เราเรียนรู้อีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น วิถีชีวิต เรื่องราวจากข้าวของเครื่องใช้ การฝังศพ และอีกมากมายมาให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกัน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ก่อตั้งขึ้นหลังการเสด็จประพาสเยี่ยมชมหลุมขุดค้นทางโบราณคดีของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบรมราชินีนาถ ในปีพ.ศ. 2515 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์และโบราณสถาน  ซึ่งกำลังประสบปัญหาการลักลอบค้าโบราณวัตถุในสมัยนั้น

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 กรมศิลปากรได้ดำเนินการเปิดพิพิธภัณฑ์ให้เข้าชม ซึ่งถือว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ประจำแหล่งแห่งแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองเมื่อปี พ.ศ. 2535 อีกด้วย

ในพื้นที่จะมีการแบ่งอาคารออกเป็น 4 อาคารด้วยกัน ก็คือ อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นศูนย์รวมส่วนบริการต่างๆ ได้แก่ จุดประชาสัมพันธ์และจำหน่ายบัตรเข้าชม  ห้องประชุม และห้องจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน

2 มรดกโลก

อาคารกัลยาณิวัฒนา เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการหลัก จัดแสดงเรื่องเล่าความเป็นมา วิถีชีวิตของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ความเชื่อ การขุดค้น และวัตถุโบราณในพื้นที่บ้านเชียง ไม่ว่าจะเป็น ภาชนะดินเผา เครื่องมือ เครื่องใช้ ฯลฯ แต่ไฮไลต์ที่สำคัญของที่นี่ก็คือ 7 มหัศจรรย์ไทยที่บ้านเชียง ที่กรมศิลปากรเลือกให้เป็นของหายาก มีเอกลักษณ์ ชิ้นเดียวในไทย ก็คือ กระบวยสำริด, ใบหอก, เครื่องมือเกษตรกรรม, ภาชนะดินเผา 3 ชิ้น, โครงกระดูกสุนัขโบราณ ได้มาจัดแสดงอยู่ที่นี่ด้วย เรียกได้ว่าห้ามพลาด…

ข้างในอาคารแบ่งออกเป็นอีก 9 ส่วนด้วยกัน โดยขั้นตอนการเดินชม ต้องเริ่มจากห้องในสุดก่อนเป็นห้องแรก แล้วเดินออกมาเรื่อยๆ

4 ส่วนที่ 1

ส่วนที่ 1 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บอกเล่าเรื่องการเสด็จประพาสเข้ามาศึกษา และพัฒนาของในหลวงรัชการที่ 9

4.2 ห้องเก็บโบราณวัตถุ

ส่วนที่ 2 การดำเนินงานทางโบราณคดี จัดแสดงลำดับเวลาการศึกษาด้านโบราณคดีในบ้านเชียง เน้นเหตุการณ์ และบุคลากรสำคัญ ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเป็นหลัก

ส่วนที่ 3 การปฏิบัติงานทางโบราณคดีที่บ้านเชียง  แสดงขั้นตอนการทำงานและการศึกษาระหว่างการขุดค้นของนักโบราณคดีที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่

ส่วนที่ 4 หลุมขุดค้นทางโบราณคดี จำลองสภาพหลุมขุดค้น ฉาก และบรรยากาศสภาพหลุมขุดค้น ที่นี่จะทำให้คุณได้สังเกตขั้นตอนการทำงานภายในหลุมขุดค้นจำลองอย่างใกล้ชิด

ส่วนที่ 5 จัดแสดงโบราณวัตถุจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดโพธิ์ศรี โบราณวัตถุที่ถูกพบในหลุมขุดค้น ถูกนำมาจัดแสดงในส่วนจัดแสดงนี้ แบ่งออกตามสมัยของวัฒนธรรมบ้านเชียง

7 ส่วนที่ 6

ส่วนที่ 6 วัฒนธรรมบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์  จำลองบรรยากาศ และโบราณวัตถุเกี่ยวกับวิถีชีวิตคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ภาชนะดินเผาลวดลายแสดงถึงสัญลักษณ์ของเพศชาย
ภาชนะดินเผาลวดลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คาดว่าเป็นลูกวัว
7 สิ่งมหัษจรรย์ 3
ใบหอก โลหะสองชนิดที่เชื่อมเข้าด้วยกันคือ เหล็กกับการเจอโลหะสองชนิดเชื่อมเข้าด้วยกันแสดงว่ามีการเชื่อมต่อของวัฒนธรรมในการใช้เหล็กกับสำริด

ส่วนที่ 7 การค้นพบยุคสำริดที่หายสาบสูญ  เป็นส่วนที่จะอธิบายการศึกษาทางโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป

8 ส่วนที่ 8

ส่วนที่ 8 มรดกโลก  จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับเลือกเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ.2535

9 ส่วนที่ 9

ส่วนที่ 9 การกระจายตัวของวัฒนธรรมบ้านเชียง จัดแสดงโบราณวัตถุที่ถูกพบระหว่างการสำรวจจากแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ กับพื้นที่ใกล้เคียง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงยังมี อาคารนิทรรศการไทพวน จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของชาวไทพวน ซึ่งเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงในปัจจุบัน และ หลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน ตั้งอยู่ห่างออกไปจากพิพิธภัณฑ์ราว 500 เมตร ที่จัดแสดงหลุดขุดค้นทางโบราณคดี ไว้ให้ผู้ที่สนใจได้ชมกันอีกด้วย

หลังจากที่ได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ จะทำให้คุณได้เรียนรู้ถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยก่อนได้อย่างดีว่าต้องผ่านอะไรมาบ้าง กว่าจะมาเป็นสิ่งที่เรามีในปัจจุบัน ไม่ได้มีแค่เพียงโบราณวัตถุอย่างเดียวเท่านั้นที่สวยงาม แต่ยังมีเรื่องราวต่างๆ ที่ทำให้วัตถุนั้นดูสวยงาม และมีคุณค่าขึ้นมาอีกด้วย สิบปากว่าก็ไม่เท่าตาเห็น คุณไม่อยากไปเห็นด้วยตาตัวเองดูซักครั้งหรอคะ

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

Info

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง

ที่ตั้ง ถ. สุทธิพงษ์ ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี

เปิด พ.-อา. 09:00 – 16:00 น. เปิดทำการในวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ที่ตรงกับวันพุธ – วันอาทิตย์)

โทร. 042-208-340

Facebook พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง กรมศิลปากร

Website http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/index.php/th/

Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer/ Photographer

ณัชชา โหมดวัฒนมงคล

ณัชชา โหมดวัฒนมงคล

Relate Place

News

งานเทศกาลตำนานคาวบอยมวกเหล็ก ครั้งที่ 2

“ หนาวนี้ เรามีนัดกันที่ งานเทศกาลตำนานคาวบอยมวกเหล็ก! ”
นายรอบรู้ขอเชิญทุกท่านเที่ยวงาน “ The Legends of Muaklek Cowboy festival ” หรือที่เรียกันอีกชื่อว่า “ เทศกาลตำนานคาวบอยมวกเหล็ก ” ซึ่งจัดมาเป็นครั้งที่ 2 แล้ว เป็นกิจกรรมเพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชาวอำเภอมวกเหล็ก

News

งานสงกรานต์บ้านปาร์คนายเลิศ 13-14 เมษายน 2562 ร่วมสรงน้ำพระพุทธรูปโบราณและทำเครื่องหอมไทย

เทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ขอเชิญชวนผู้สนใจมาร่วมงานสงกรานต์ที่บ้านปาร์คนายเลิศ 13-14 เมษายนนี้ โดยมีกิจกรรมสรงน้ำพระพุทธรูปโบราณคู่บ้านปาร์คนายเลิศเพื่อความสิริมงคลในวันขึ้นปีใหม่ไทย ชมนิทรรศการเครื่องหอมไทยในเทศกาลสงกรานต์ หอมกรุ่นกลิ่นวัฒนธรรมกลางกรุง เรียนรู้การดีไซน์กลิ่นหอมอย่างไทยกับกิจกรรมทำน้ำอบน้ำปรุงและบุหงารำไป พร้อมสัมผัสวิถีชีวิตคนไทยผ่านเรื่องราวและข้าวของเครื่องใช้เก่าแก่ของบ้านปาร์คนายเลิศ

News

5 สีสันสุดมันส์ ของงาน MotoGP 2019

ปิดฉากกันไปแบบตราตรึงใจแฟนๆ โมโตสปอร์ต กับงาน PTT Thailand Grand Prix 2019 หรือการแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบ MotoGP 2019 นายรอบรู้ รักเดินทาง ได้ไปร่วมสัมผัสบรรยากาศสุดมันส์ 3 วัน ภายในงาน ต้องขอบอกเลยว่า ประทับใจแบบล้นเหลือจริงๆ ทั้งการแข่งขัน แฟนๆ และทีมงาน จัดมาแบบสุดๆ หางานใดเทียบได้ยาก
วันนี้ นายรอบรู้ จึงอยากพาทุกๆ คน ไปสัมผัสกับ 5 เรื่อง น่าประทับใจของงาน PTT Thailand Grand Prix 2019 กัน

Coffee

“กาแฟคุณพ่อ” จากกาแฟโบราณรุ่นพ่อสู่โรงคั่วเมล็ดกาแฟสดรุ่นลูก

“ตอนนี้ไม่ใช่แค่กาแฟคั่วเข้ม คั่วกลาง คั่วอ่อนแล้ว แต่ตอนนี้คนสนใจเรื่องกลิ่นมากขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้ก็เริ่มหลากหลาย อุปกรณ์ต้องเริ่มเปลี่ยนพร้อมๆ เมล็ดกาแฟ เพราะลูกค้าไม่อยากกินแบบเดิมๆ แล้ว เมื่อไลฟ์สไตล์คนต่างกัน เราจึงต้องมีเมล็ดกาแฟหลายตัวเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในทุกๆ เจน (gen) ถ้าแบ่งงานกันผมเป็นคนทำธุรกิจ ส่วนแฟนผมทำกาแฟ” วรพล ภัคสุขชัย หรือ ปิง หนุ่มวัย 34 ปี ผู้สนับสนุนภรรยาในการสานต่อความฝันที่อยากพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟต่อจากคุณพ่อ