ปอยส่างลอง…สเน่ห์ไม่ลับ ต้องกลับมาค้นหา

เข็มสั้นนาฬิกาชี้เลข 5 ในช่วงรุ่งสาง ฟ้ายังไม่ทันสว่าง ณ วัดผาบ่องเหนือ เด็กน้อย อายุไม่เกินบรรพชาสามเณร นั่งในท่าสบาย จับเป็นกลุ่มๆ ล้อมด้วยญาติสนิท มิตรสหายผู้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน และกำลังช่วยกันแต่งหน้าแต่งเติมตา ปะลวดลายคล้ายดอกไม้บนใบหน้า บ้างก็ยืนก็แต่งองค์ทรงเครื่องสีสันสดใสให้ครบตามแบบฉบับของส่างลอง

ส่างลอง เป็นการแต่งกายเลียนแบบเหตุการณ์ที่พระนางพิมพาได้แต่งองค์ทรงเครื่องให้พระราหุลกุมารและส่งไปขอราชสมบัติจากพระพุทธเจ้า แทนที่พระพุทธเจ้าจะพระราชทานสมบัติให้ แต่กลับรับสั่งให้บรรพชาเป็นสามเณรเพื่อพระราชทานอริยทรัพย์อันยั่งยืนแทน พิธีกรรมนี้นับเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของประเพณีปอยส่างลอง การบรรพชาสามเณรที่คนไต หรือชาวไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่อนสอน ให้ความสำคัญ และปฏิบัติสืบทอดต่อกันมามากกว่า 100 ปี ตามความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจนเป็นเอกลักษณ์

ปอยส่างลอง เป็นภาษาไทยใหญ่ “ปอย” แปลว่า งาน คำว่า “ส่าง” สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจาก “สาง” หรือ “ขุนสาง” หมายถึงพระพรหม อีกความหมายหนึ่งนั้นมาจาก “เจ้าส่าง”  หมายถึงสามเณร และคำว่า “ลอง” มาจาก อลอง แปลว่าพระโพธิสัตว์ หรือหน่อพุทธางกูร ปอยส่างลอง จึงหมายถึง งานบวชลูกแก้วหรือบวชเณรของชาวล้านนา นั่นเอง

ส่างลอง จะถือว่าเป็นเจ้าชาย ไม่สามารถสัมผัสกับพื้นโดยตรงจนกว่าจะบรรพชาเป็นสามเณร  หากนั่งหรือยืนจะต้องมีเบาะหรือผ้ารอง จะไปไหนจะต้องมี “ตะแป” หรือคนที่ส่างลองจะต้องขี่คอ สลับกัน 2-3 คน ที่สำคัญจะต้องมีคนดูแล 1 คนเสมอ เพราะชาวชาวไทยใหญ่เชื่อว่าภูตผีที่ชอบเครื่องทรงอันสวยงามจะมาชิงตัวส่างลองไปซ่อนไว้

การบวชส่างลองนั้นเป็นพิธีกรรมที่เชื่อว่าได้บุญสูงสุด ใครที่มีลูกชายถึงคราวอายุพร้อมจะบรรพชาเป็นสามเณร ก็จะให้เข้าพิธีปอยส่างลอง หากครอบครัวไหนไม่มีบุตรชายก็สามารถเป็นเจ้าภาพในการบวชส่างลองให้แก่ครอบครัวที่มีบุตรชายแต่ฐานะไม่พร้อม และจะถูกเรียกว่าเป็น พ่อข่าม แม่ข่าม ทั้งสองครอบครัวที่ได้จัดงานร่วมกัน ภายหลังก็ถือว่าเป็นญาติกันแม้งานเลี้ยงจะเลิกราไปแล้วก็ตาม

การจัดงานมักจะแบ่งเป็น 3 วัน หรือ 7 วัน พิธีกรรมหลักจะจัดภายใน 3 วันแรก ส่วนวันที่เหลือจะเป็นงานเลี้ยงฉลองตามแต่กำลังทรัพย์ของแต่ละบ้าน  วันแรกเรียกว่า วันเอาส่างลอง จะมีการแต่งองค์ทรงเครื่องให้กับลูกแก้ว แล้วแห่ไปตามถนนหนทาง ในขบวนแห่ก็จะมีเสียงดนตรีบรรเลงให้จังหวะอยู่ตลอด

ด้วยความที่ชาวไทยใหญ่เป็นกลุ่มที่รักความสนุกสนาน เครื่องดนตรีจึงมีบรรเลงอยู่ตลอดตั้งแต่เช้าจรดเย็น ประกอบด้วย กลองยาว กลองมองเซิงเป็นหลัก ช่วงที่สนุกสุดเหวี่ยงคงหนีไม่พ้นการแห่ ที่มีการเต้น เขย่า ขย่อน กันอย่างเมามันส์ ทั้งส่างลอง และตะแป แม้กระทั่งคนที่คอยกาง “ทีคำ” หรือร่มใหญ่ปิดทอง ก็สู้ไม่ถอย  จนกระทั่งรอบหมู่บ้าน แล้วยังมีโชว์ต่างๆ นำมาแสดงวันจัดงานอีก เรียกได้ว่าสนุกสนานทั้งในและนอกขบวน

ก่อนเริ่มขบวนแห่จะมีการบอกกล่าวเจ้าพ่อหลักเมืองให้ทราบด้วยตัวหัวหน้าตะแปส่างลอง โดยอัญเชิญมาประทับบน “ม้าเจ้าเมือง” เพื่อปกป้องคุ้มครองให้ส่างลองปลอดภัยตลอดจนจบงาน แล้วเคลื่อนขบวนไปกราบนมัสการเจ้าอาวาสวัดในหมู่บ้าน

วันที่สอง เรียกว่าวัน วันรับแขก จะเริ่มพิธีด้วยขบวนแห่เช่นวันแรก แต่จะมีเครื่องสักการะ ธูปเทียนต่างๆ เพื่อถวายพระพุทธ และเครื่องจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์ จากนั้นจะมีการเลี้ยงอาหารส่างลอง แล้วจึงเป็นพิธีทำขวัญให้กับส่างลอง วันที่สองนี้จะเป็นวันที่คนไทยใหญ่ถือว่ามีความสำคัญยิ่งในพิธีบวชลูกแก้ว

ส่วนวันที่สาม หรือ วันบวช เริ่มด้วยการแห่งลูกแก้วไปที่วัด จากนั้นทำพิธีทางศาสนาเพื่อบรรพชาลูกแล้วเป็นสามเณร แล้วเปลี่ยนเครื่องแต่งกายส่างลองไปเป็นผ้ากาสาวพัตร์ จากนั้นก็ทำการถวายภัตตาหารเพลถือเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีบวชลูกแก้ว

นับเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่มีเสน่ห์ชวนน่าหลงใหลในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่จะจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง ทุกปีในเดือน มีนาคม – เมษายน ซึ่งเป็นช่วงว่างเว้นจากการทำนา และมีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องของอาหาร และแน่นอนว่าเป็นช่วงที่เด็กๆ ปิดเทอม ถือเป็นการใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมนี้ ศึกษาหาความรู้ และฝึกปฏิบัติตามรูปแบบชองชาวพุธ เรียกได้ว่าเป็นกลวิธีในการให้เด็กได้เรียนรู้ และสืบสานประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่นได้ดีมากๆ

ใครที่อยากไปชมความงดงามของประเพณีเก่าแก่อย่าง พิธีปอยส่างลอง นายรอบรู้แนะนำเลยว่าห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง เพราะนอกจากจะได้บุญจากการเข้าร่วมพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว คุณยังจะได้เห็นวิถีชีวิต การแต่งกาย และวัฒนธรรมอันสวยงาม น่าหลงใหลของชาวไทยใหญ่ รับรองเลยหละว่าคุณจะหลงรัก…

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Info

วัดผาบ่องเหนือ

ขอขอบคุณ กองประชาสัมพันธ์ในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ประเพณีปอยส่างลอง วัดผาบ่องเหนือ

ที่ตั้ง วัดผาบ่องเหนือ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

พิธีปอยส่างลอง นิยมจัดกันในช่วงต้นเดือน เมษายน ของทุกๆ ปี โดยมากจากจัดกันในอำเภอเมืองอำเภอขุนยวม และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Previous
Next

Guide ใกล้ : Application คู่ใจคนชอบท่องเที่ยวตัวจริง

Guide ใกล้ เหมือนมีไกด์ไว้ใกล้ตัว
Application นี้จะช่วยแนะนำว่า ตำแหน่งรอบตัวเรามีที่เที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่พัก หรือสถานที่จุดใดน่าแวะไปสัมผัส ชิม ช็อป แชะ แชร์ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำเดือน แผนที่ลงจุดใช้งานง่าย ดูสนุกและสะดวก แค่ดูภาพสวยๆ ก็อยากไปแล้ว

Writer/ Photographer

กฤต พรพิชิตภัย

กฤต พรพิชิตภัย

Relate Place

มิวเซียมสยาม
Travel

ตามหา “ความเป็นไทย” แบบสนุกและทันสมัยที่- มิวเซียมสยาม

ครุฑเป็นของไทยหรือเปล่า ผัดกะเพราล่ะ ใช่ไหม แล้วนางกวัก ที่ต้องบูชาด้วยน้ำหวานสีแดงล่ะ?
ใครที่อยากค้นหาคำตอบว่าข้าวของรอบตัวชิ้นไหนเป็นของไทยแท้ และ อะไรคือความเป็นไทย ให้ตรงไปที่มิวเซียมสยาม หรือพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ในย่านท่าเตียน กรุงเทพมหานคร ได้เลย

News

เย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์ มุกดาหาร 2019

เย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์ มุกดาหาร 2019 สงกรานต์ปีนี้หากใครยังไม่มีแพลนไปไหน ไปสาดความสนุก เพิ่มความฟิน พร้อมกับการสืบสานประเพณี ที่มุกดาหาร เมืองรองสุดชายแดนริมน้ำโขง มาในชื่อธีม “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ MUK-SAVAN Songkran Fun & Fin 2019” ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ในวิถีชาติพันธุ์ ณ หาดมโนภิรมย์ ต.ชะโนด อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร ระหว่างวันที่ 12-16 เมษายน 2562

Travel

4 วัด 3 ปราสาท@ศรีสะเกษ ใครพลาดถือว่าเอาท์

ศรีสะเกษ ดินแดนหอมหวนเมืองดอกลำดวนบาน แหล่งรวมวัฒนธรรม 4 ชนเผ่าไท (เขมร ลาว กูย เยอ) ที่ผสมผสานกันอย่างตัว เป็นจังหวัดสุดชายแดนที่ใครหลายคนอาจไม่รู้ว่าที่นี่ มีสถานที่สุดอะเมซิ่งอยู่หลายแห่ง “นายรอบรู้” ขอแนะนำ4 วัดดัง 3 ปราสาทสุดอะเมซิ่ง ที่ใครมาศรีสะเกษแล้วไม่แวะถือว่าเอาท์แน่นอน